สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

คนต่างด้าว ตามกฎหมายไทย (2)

คอลัมน์ “เข้าใจนโยบายภาษี” ใน สรรพากรสาส์นฉบับเดือนมีนาคม 2550 ได้กล่าวถึงความหมายของ “คนต่างด้าว” ตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 และได้อธิบายถึง สิทธิของคนต่างด้าวที่จะอยู่อาศัยในประเทศไทย และอาชีพที่ไม่สามารถกระทำได้ในประเทศไทย หรืออาชีพที่ต้องขออนุญาตก่อน ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2521 คอลัมน์ “เข้าใจนโยบายภาษี” ฉบับนี้จะอธิบายถึงอาชีพที่คนต่างด้าวไม่สามารถกระทำได้ในประเทศไทยหรือ อาชีพที่ต้องขออนุญาตก่อน ตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2521 ความหมายของ “ธุรกิจต่างด้าว” ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของ     คนต่างด้าว พ.ศ. 2542 และประเด็นการ       แก้ไขปรับปรุงตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่  9 มกราคม ที่ผ่านมา สำหรับหลักการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลของไทยที่ เกี่ยวข้องกับคนต่างด้าวและธุรกิจต่างด้าวจะกล่าวถึงในคอลัมน์ “เข้าใจนโยบายภาษี” ฉบับต่อไป  

          คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่เป็นการชั่วคราวในประเทศไทยอาจได้ รับสิทธิที่จะประกอบอาชีพทางธุรกิจหรือรับจ้างทำงานได้ตามข้อกำหนดและหลัก เกณฑ์ต่างๆ ที่กฎหมายไทยบัญญัติไว้ ในปัจจุบันมีกฎหมายหลักที่เกี่ยวข้องกับการทำงานและการประกอบธุรกิจของคน ต่างด้าวอยู่ 2 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2521 และ  พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ท่านผู้อ่านอาจจะพอคาดเดาวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันของกฎหมายทั้ง 2 ฉบับจากชื่อของกฎหมายได้ โดยความหมายของ “คนต่างด้าว” ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 นอกจากจะครอบคลุม “บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย” เช่นเดียวกับความหมายของ “คนต่างด้าว” ตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.  2521 แล้ว ยังครอบคลุมถึงนิติบุคคลซึ่งไม่ได้ จดทะเบียนในประเทศไทย และนิติบุคคลซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทยที่มีลักษณะบางประการดังที่จะได้กล่าว ถึงในรายละเอียดต่อไป

          พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2521  ถูกบัญญัติขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดกฎเกณฑ์สำหรับคนต่างด้าวที่ต้อง การจะทำงานในลักษณะใช้กำลังกายหรือความรู้เพื่อให้ได้รับค่าจ้างหรือ ประโยชน์อื่นเป็นการตอบแทน โดยคนต่างด้าวจะทำงานได้เมื่อได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมการจัดหางานหรือเจ้า พนักงานซึ่งอธิบดีมอบหมายเท่านั้น โดยคนต่างด้าวที่มีสิทธิขออนุญาตทำงานได้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้

          1) คนต่างด้าวทั่วไป (ตามมาตรา 7) ได้แก่ คนต่างด้าวที่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร หรือได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว (Non-Immigrant Visa) เช่น เข้ามาทำธุรกิจหรือสื่อมวลชน

          2) คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการ ส่งเสริมการลงทุน หรือตามกฎหมายอื่นที่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับคนต่างด้าวในลักษณะเดียวกัน (ตามมาตรา 10)

          3) คนต่างด้าวกลุ่มพิเศษ (ตามมาตรา 12) ได้แก่ คนต่างด้าวที่ถูกเนรเทศ หรือที่อยู่ในระหว่างการรอเนรเทศ คนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมาย และอยู่ในระหว่างรอการส่งกลับออกนอกราชอาณาจักร คนต่างด้าวที่เกิดในราชอาณาจักรแต่ไม่ได้รับสัญชาติไทย  หรือถูกสัญชาติ

          สำหรับอาชีพหรือวิชาชีพที่คนต่างด้าวที่ไม่สามารถกระทำได้ในไทยนั้น ท่านผู้อ่านอาจเคยเห็นตำรวจที่ตามไล่จับคนต่างชาติที่เดินเร่ขายอาหาร เช่น ถั่ว หรือโรตี หรือท่านผู้อ่านอาจสังเกตว่า ไม่เคยพบเห็นคนต่างชาติขับรถแท๊กซี่  เหตุผลก็เพราะว่า งานเร่ขายสินค้า และงานขับขี่ยานยนต์ เป็นอาชีพที่ต้องห้ามตามบัญชีท้าย พระราชกฤษฎีกากำหนดงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ พ.ศ. 2522 อาชีพและวิชาชีพอื่นที่ห้ามคนต่างด้าวทำ เช่น งานแกะสลักไม้ งานเจียระไน หรือขัดเพชรหรือพลอย งานตัดผม งานดัดผม หรืองานเสริมสวย เป็นต้น

          ตามสถิติจำนวนแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานอยู่ในประเทศไทย ณ เดือนธันวาคม 2549 มีจำนวนแรงงานต่างด้าวทั้งหมด 154,220 คน มีแรงงานชาวญี่ปุ่นทั้งหมด 22,976 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นข้าราชการหรือผู้จัดการ สำหรับแรงงานที่มาจากประเทศเพื่อนบ้านของเรา ได้แก่ พม่า ลาว และ กัมพูชา โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 8,664 คน 1,355 คน และ 300 คน ตามลำดับ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานที่ทำอาชีพขั้นพื้นฐานต่างๆ (รายละเอียดตามตาราง)

may01_810


         สำหรับคนต่างด้าวที่ต้องการเข้ามาประกอบธุรกิจในไทยนั้น ต้องเป็นไปตามกฎระเบียบและข้อบังคับของพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคน ต่างด้าว พ.ศ. 2542 ซึ่งมีหน่วยงานหลักที่ดูแลให้เป็นไปตามกฎหมายนี้ คือ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ และ จากที่กล่าวข้างต้นความหมายของ “คนต่างด้าว”  ตามกฎหมายนี้ นอกจากจะครอบคลุม “บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย” แล้วยังครอบคลุม ถึงนิติบุคคลซึ่งไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย และนิติบุคคลซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทยที่มีหลักการพิจารณาความเป็นคน ต่างด้าวจากสัดส่วนการถือหุ้นต่อการลงทุนตั้งแต่กึ่งหนึ่งขึ้นไป

         สำหรับการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวที่ไม่สามารถกระทำได้ในไทย หรือธุรกิจที่ต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีโดยการอนุมัติของคณะรัฐมนตรี หรือธุรกิจที่ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการ ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม ตามบัญชีท้าย ดังนี้

         1) บัญชีที่ 1 ธุรกิจที่ไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวประกอบกิจการด้วยเหตุผลพิเศษ เช่น การทำกิจการหนังสือพิมพ์หรือทำกิจการสถานีวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุ โทรทัศน์ การทำนา ทำไร่ หรือทำสวน การทำป่าไม้และการแปรรูปไม้จากป่าธรรมชาติ และ การค้าที่ดิน

         2) บัญชีที่ 2 ธุรกิจที่คนต่างด้าวสามารถทำได้เมื่อได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวง พาณิชย์โดยการอนุมัติของคณะรัฐมนตรี ซึ่งประกอบไปด้วย 3 หมวดใหญ่  ได้แก่

                      (1) หมวดธุรกิจที่เกี่ยวกับความปลอดภัยหรือความมั่นคงของประเทศ เช่น การผลิต การจำหน่าย และการซ่อมบำรุงอาวุธปืน หรืออาวุธยุทโธปกรณ์ เป็นต้น 
                      (2) หมวดธุรกิจที่มีผลกระทบต่อศิลปวัฒธรรม จารีประเพณี และหัตถกรรมพื้นบ้าน เช่น การค้าของเก่า หรือศิลปวัตถุ การผลิตเครื่องไม้แกะสลัก การเลี้ยงไหม การผลิตเครื่องทอง เครื่องเงิน เครื่องถม การผลิตถ้วยชามหรือเครื่องปั้นดินเผาที่เป็นศิลปวัฒนธรรมไทย เป็นต้น และ 
                      (3) หมวดธุรกิจที่มีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม เช่น การผลิตน้ำตาลจากอ้อย การทำนาเกลือ การทำเหมือง การแปรรูปไม้เพื่อทำเครื่องเรือนและเครื่องใช้สอย เป็นต้น

         3) บัญชีที่ 3 ธุรกิจที่คนต่างด้าวสามารถทำได้เมื่อได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจ การค้าโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว   ซึ่งเป็นธุรกิจที่คนไทยยังไม่มีความพร้อมที่จะ แข่งขันในการประกอบกิจการกับคนต่างด้าว เช่น การสีข้าว และการผลิตแป้งจากข้าวหรือพืชไร่ การทำป่าไม้จากป่าปลูก การผลิตปูนขาว การทำกิจการบริการทางบัญชี การทำกิจการบริการทางกฎหมาย การทำกิจการบริการทางสถาปัตยกรรม การทำกิจการบริการทางวิศวกรรม เป็นต้น

           เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2550 ที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติฯ ซึ่งเป็นที่กล่าวถึงอย่างกว้างขวาง2 การแก้ไขมีสาระสำคัญ คือ

           1) การเพิ่มเติมนิยาม  “คนต่างด้าว” โดยเพิ่มการพิจารณาสิทธิการออกเสียง (voting rights) ของคนต่างด้าวด้วย ซึ่งในปัจจุบันอนุญาตให้คนต่างด้าวที่มีสัดส่วนการถือหุ้นน้อยสามารถมีสิทธิ ออกเสียงข้างมาก โดยผ่านการถือหุ้นบุริมสิทธิ การแก้ไขปรับปรุงกฎหมายจะมีผลให้นิติบุคคลใดที่แม้จะมีคนต่างด้าวถือหุ้นต่อ การลงทุนน้อยกว่าร้อยละ 50 แต่คนต่างด้าวมีสิทธิออกเสียงตั้งแต่กึ่งหนึ่งขึ้นไป ก็จะถือว่านิติบุคคลนั้นเป็นคนต่างด้าว 

           2) การเพิ่มบทกำหนดโทษในเรื่องโทษปรับให้สูงขึ้นและกำหนดระยะเวลาผ่อนปรนให้ผู้กระทำผิดปรับตัว และ 

           3) การปรับปรุงบัญชีที่ 3 โดยกำหนดให้ธุรกิจค้าส่งและค้าปลีกทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ต้องขออนุญาตทุก ราย และยกเลิกการควบคุมธุรกิจที่มีกฎหมายเฉพาะหรือหน่วยงานอื่นดูแลอยู่แล้ว เช่น ธุรกิจซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าเฉพาะที่ไม่มีการส่งมอบสินค้า ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจเงินทุน และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์

จากเวปไซต์สรรพากรสาสน์
สมัครสมาชิกสรรพากรสาสน์ได้ที่ http://www.sanpakornsarn.com/

view