คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่เป็นการชั่วคราวในประเทศไทยอาจได้ รับสิทธิที่จะประกอบอาชีพทางธุรกิจหรือรับจ้างทำงานได้ตามข้อกำหนดและหลัก เกณฑ์ต่างๆ ที่กฎหมายไทยบัญญัติไว้ ในปัจจุบันมีกฎหมายหลักที่เกี่ยวข้องกับการทำงานและการประกอบธุรกิจของคน ต่างด้าวอยู่ 2 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2521 และ พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ท่านผู้อ่านอาจจะพอคาดเดาวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันของกฎหมายทั้ง 2 ฉบับจากชื่อของกฎหมายได้ โดยความหมายของ “คนต่างด้าว” ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 นอกจากจะครอบคลุม “บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย” เช่นเดียวกับความหมายของ “คนต่างด้าว” ตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2521 แล้ว ยังครอบคลุมถึงนิติบุคคลซึ่งไม่ได้ จดทะเบียนในประเทศไทย และนิติบุคคลซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทยที่มีลักษณะบางประการดังที่จะได้กล่าว ถึงในรายละเอียดต่อไป
พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2521 ถูกบัญญัติขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดกฎเกณฑ์สำหรับคนต่างด้าวที่ต้อง การจะทำงานในลักษณะใช้กำลังกายหรือความรู้เพื่อให้ได้รับค่าจ้างหรือ ประโยชน์อื่นเป็นการตอบแทน โดยคนต่างด้าวจะทำงานได้เมื่อได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมการจัดหางานหรือเจ้า พนักงานซึ่งอธิบดีมอบหมายเท่านั้น โดยคนต่างด้าวที่มีสิทธิขออนุญาตทำงานได้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
1) คนต่างด้าวทั่วไป (ตามมาตรา 7) ได้แก่ คนต่างด้าวที่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร หรือได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว (Non-Immigrant Visa) เช่น เข้ามาทำธุรกิจหรือสื่อมวลชน
2) คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการ ส่งเสริมการลงทุน หรือตามกฎหมายอื่นที่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับคนต่างด้าวในลักษณะเดียวกัน (ตามมาตรา 10)
3) คนต่างด้าวกลุ่มพิเศษ (ตามมาตรา 12) ได้แก่ คนต่างด้าวที่ถูกเนรเทศ หรือที่อยู่ในระหว่างการรอเนรเทศ คนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมาย และอยู่ในระหว่างรอการส่งกลับออกนอกราชอาณาจักร คนต่างด้าวที่เกิดในราชอาณาจักรแต่ไม่ได้รับสัญชาติไทย หรือถูกสัญชาติ
สำหรับอาชีพหรือวิชาชีพที่คนต่างด้าวที่ไม่สามารถกระทำได้ในไทยนั้น ท่านผู้อ่านอาจเคยเห็นตำรวจที่ตามไล่จับคนต่างชาติที่เดินเร่ขายอาหาร เช่น ถั่ว หรือโรตี หรือท่านผู้อ่านอาจสังเกตว่า ไม่เคยพบเห็นคนต่างชาติขับรถแท๊กซี่ เหตุผลก็เพราะว่า งานเร่ขายสินค้า และงานขับขี่ยานยนต์ เป็นอาชีพที่ต้องห้ามตามบัญชีท้าย พระราชกฤษฎีกากำหนดงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ พ.ศ. 2522 อาชีพและวิชาชีพอื่นที่ห้ามคนต่างด้าวทำ เช่น งานแกะสลักไม้ งานเจียระไน หรือขัดเพชรหรือพลอย งานตัดผม งานดัดผม หรืองานเสริมสวย เป็นต้น
ตามสถิติจำนวนแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานอยู่ในประเทศไทย ณ เดือนธันวาคม 2549 มีจำนวนแรงงานต่างด้าวทั้งหมด 154,220 คน มีแรงงานชาวญี่ปุ่นทั้งหมด 22,976 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นข้าราชการหรือผู้จัดการ สำหรับแรงงานที่มาจากประเทศเพื่อนบ้านของเรา ได้แก่ พม่า ลาว และ กัมพูชา โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 8,664 คน 1,355 คน และ 300 คน ตามลำดับ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานที่ทำอาชีพขั้นพื้นฐานต่างๆ (รายละเอียดตามตาราง)
สำหรับคนต่างด้าวที่ต้องการเข้ามาประกอบธุรกิจในไทยนั้น ต้องเป็นไปตามกฎระเบียบและข้อบังคับของพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคน ต่างด้าว พ.ศ. 2542 ซึ่งมีหน่วยงานหลักที่ดูแลให้เป็นไปตามกฎหมายนี้ คือ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ และ จากที่กล่าวข้างต้นความหมายของ “คนต่างด้าว” ตามกฎหมายนี้ นอกจากจะครอบคลุม “บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย” แล้วยังครอบคลุม ถึงนิติบุคคลซึ่งไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย และนิติบุคคลซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทยที่มีหลักการพิจารณาความเป็นคน ต่างด้าวจากสัดส่วนการถือหุ้นต่อการลงทุนตั้งแต่กึ่งหนึ่งขึ้นไป
สำหรับการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวที่ไม่สามารถกระทำได้ในไทย หรือธุรกิจที่ต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีโดยการอนุมัติของคณะรัฐมนตรี หรือธุรกิจที่ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการ ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม ตามบัญชีท้าย ดังนี้
1) บัญชีที่ 1 ธุรกิจที่ไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวประกอบกิจการด้วยเหตุผลพิเศษ เช่น การทำกิจการหนังสือพิมพ์หรือทำกิจการสถานีวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุ โทรทัศน์ การทำนา ทำไร่ หรือทำสวน การทำป่าไม้และการแปรรูปไม้จากป่าธรรมชาติ และ การค้าที่ดิน
2) บัญชีที่ 2 ธุรกิจที่คนต่างด้าวสามารถทำได้เมื่อได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวง พาณิชย์โดยการอนุมัติของคณะรัฐมนตรี ซึ่งประกอบไปด้วย 3 หมวดใหญ่ ได้แก่
(1) หมวดธุรกิจที่เกี่ยวกับความปลอดภัยหรือความมั่นคงของประเทศ เช่น การผลิต การจำหน่าย และการซ่อมบำรุงอาวุธปืน หรืออาวุธยุทโธปกรณ์ เป็นต้น
(2) หมวดธุรกิจที่มีผลกระทบต่อศิลปวัฒธรรม จารีประเพณี และหัตถกรรมพื้นบ้าน เช่น การค้าของเก่า หรือศิลปวัตถุ การผลิตเครื่องไม้แกะสลัก การเลี้ยงไหม การผลิตเครื่องทอง เครื่องเงิน เครื่องถม การผลิตถ้วยชามหรือเครื่องปั้นดินเผาที่เป็นศิลปวัฒนธรรมไทย เป็นต้น และ
(3) หมวดธุรกิจที่มีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม เช่น การผลิตน้ำตาลจากอ้อย การทำนาเกลือ การทำเหมือง การแปรรูปไม้เพื่อทำเครื่องเรือนและเครื่องใช้สอย เป็นต้น
3) บัญชีที่ 3 ธุรกิจที่คนต่างด้าวสามารถทำได้เมื่อได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจ การค้าโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ซึ่งเป็นธุรกิจที่คนไทยยังไม่มีความพร้อมที่จะ แข่งขันในการประกอบกิจการกับคนต่างด้าว เช่น การสีข้าว และการผลิตแป้งจากข้าวหรือพืชไร่ การทำป่าไม้จากป่าปลูก การผลิตปูนขาว การทำกิจการบริการทางบัญชี การทำกิจการบริการทางกฎหมาย การทำกิจการบริการทางสถาปัตยกรรม การทำกิจการบริการทางวิศวกรรม เป็นต้น
เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2550 ที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติฯ ซึ่งเป็นที่กล่าวถึงอย่างกว้างขวาง2 การแก้ไขมีสาระสำคัญ คือ
1) การเพิ่มเติมนิยาม “คนต่างด้าว” โดยเพิ่มการพิจารณาสิทธิการออกเสียง (voting rights) ของคนต่างด้าวด้วย ซึ่งในปัจจุบันอนุญาตให้คนต่างด้าวที่มีสัดส่วนการถือหุ้นน้อยสามารถมีสิทธิ ออกเสียงข้างมาก โดยผ่านการถือหุ้นบุริมสิทธิ การแก้ไขปรับปรุงกฎหมายจะมีผลให้นิติบุคคลใดที่แม้จะมีคนต่างด้าวถือหุ้นต่อ การลงทุนน้อยกว่าร้อยละ 50 แต่คนต่างด้าวมีสิทธิออกเสียงตั้งแต่กึ่งหนึ่งขึ้นไป ก็จะถือว่านิติบุคคลนั้นเป็นคนต่างด้าว
2) การเพิ่มบทกำหนดโทษในเรื่องโทษปรับให้สูงขึ้นและกำหนดระยะเวลาผ่อนปรนให้ผู้กระทำผิดปรับตัว และ
3) การปรับปรุงบัญชีที่ 3 โดยกำหนดให้ธุรกิจค้าส่งและค้าปลีกทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ต้องขออนุญาตทุก ราย และยกเลิกการควบคุมธุรกิจที่มีกฎหมายเฉพาะหรือหน่วยงานอื่นดูแลอยู่แล้ว เช่น ธุรกิจซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าเฉพาะที่ไม่มีการส่งมอบสินค้า ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจเงินทุน และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
จากเวปไซต์สรรพากรสาสน์
สมัครสมาชิกสรรพากรสาสน์ได้ที่ http://www.sanpakornsarn.com/