สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ผลวิจัยสมองนักการเมือง "ตอแหล"จากรุ่นสู่รุ่นไม่รู้จบ มีกำไรเป็นตัวกระตุ้นการทำงาน

นักวิจัยศึกษาสมองนักการเมืองพบ "ตอแหล" จากรุ่นสู่รุ่นไม่รู้จบ จะทำงานเต็มที่เมื่อมีผลตอบแทนและกำไรงาม หากทำฟรีปฎิกิริยาตอบสนองจะน้อยมาก

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการโรคทางสมอง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ เปิดเผยเมื่อวันที่ 16 กันยายน ว่า จากการติดตามและศึกษาปรากฏการณ์ทางสมองที่มีผลต่อการแสดงออกในพฤติกรรมต่างๆ  ล่า สุดมีการทดลองที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ และเผยแพร่ในวารสาร Science ฉบับเดือนสิงหาคม 2551 ระบุถึงการเกิดปรากฏการณ์ "ตอแหล" (confabulation) ซึ่งเป็นกระบวนการเกิดจากความผิดปกติ ทางด้านความจำ ทั้งที่เกิดขึ้น โดยตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจจนเกิดความเคยชินจนเป็นนิสัย ประเด็นนี้ทำให้สนใจศึกษากระบวนการคิดและการทำงานในสมองของนักการเมืองไทย พบว่า มีรูปแบบกระบวนการคิดคล้ายๆ กันมาตลอดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน   คือ มีกระบวนการที่แยบยล แสดงให้เห็นถึงมันสมองอัจฉริยะ วางแผนเป็นเลิศ เช่น กระบวนการล้างสมองประชาชนให้มีความอยากได้อยากมี พึงพอใจที่จะได้ โดยไม่ต้องลงแรงมากและเกิดความผูกพันเป็นบุญเป็นคุณ การใช้ช่องโหว่ทางกฎหมายตีความเข้าข้างตนเอง กระบวนการนี้ทำโดยผ่านระบบสมอง Limbic แต่เมื่อปรุงแต่งโยงความอยากเข้ากับความพึงพอใจในสมองขั้นสูงขึ้นไปอีกและ ปรับปรุงให้ไม่สำนึกจำแนกความผิดชอบชั่วดี ทำให้นำมาซึ่งการโกงโดยไม่จำกัดวิธี   "เป็นที่น่าสังเกตว่า ความปรวนแปรของสมองที่พัฒนาในรูปแบบใหม่ แม้จะไม่ถูกต้องและไม่มีจริยธรรม แต่ปรากฏการณ์นี้มีการปฏิบัติซ้ำซาก จำเจ จากรุ่นสู่รุ่นจนเป็นเรื่องธรรมดา ในกลุ่มสังคมเดียวกันและทำให้เกิดข้อกำหนดใหม่จนกลายเป็นสิ่งถูกต้อง เกิดค่านิยมใหม่ วัฒนธรรมใหม่ในสังคมของความอยากได้ อยากมีไม่รู้จบ" ศ.นพ.ธีระวัฒน์กล่าว   ผู้สื่อข่าวถามว่า เหตุใดต้องศึกษาสมองนักการเมืองกับปรากกฏการณ์สมองตอแหล แทนที่จะศึกษาในกลุ่มอื่น เช่น นักโทษคดีอุกฉกรรจ์ หรือโจรผู้ร้าย ศ.นพ.ธีระวัฒน์กล่าวว่า ในกลุ่มนักโทษอุกฉกรรจ์ หรือโจรผู้ร้ายนั้น หากเปรียบเทียบรอยหยักทางสมองหรือความฉลาดอัจฉริยะแล้วมีน้อยกว่านักการ เมืองมาก   กลุ่มนี้จึงน่าสนใจเป็นพิเศษในการทำงานด้านวิชาการ เช่น การศึกษาในเรื่องการทำงานสนองตอบของสมองส่วนหน้าทางด้านใน (medial forebrain และ orbitofrontal cortex) และส่วนใจกลางสมองอีกตำแหน่ง พบว่าเมื่อได้รับเงินทอง หรือสิ่งตอบแทน สมองส่วนนี้จะทำงานเต็มที่ โดยที่จะส่งผลให้มีการกำกับว่า จะลงมือทำงานอย่างเต็มใจทุ่มเทเต็มกำลังก็ต่อเมื่อได้กำไรมากๆ เท่านั้น ขณะเดียวกันหากทำฟรี ปฏิกิริยาสมองส่วนนี้จะน้อยมาก

จาก มติชน ออนไลน์



หมอประเวศ ชี้แม่ท้องในสังคมวิตกกังวล ส่งผลสมองส่วนหน้าลูกไม่พัฒนา-มุ่งต่อสู้-ทำร้ายกัน

โดย คม ชัด ลึก วัน พุธ ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2551 00:25 น.
 
  หมอ ประเวศ ชี้ความยากจน-ความอยุติธรรมเป็นความรุนแรงเงียบ ทำคนตายมากกว่าสงครามหลายเท่า ระบุแม่ท้องอยู่ในสังคมวิตกกังวล-หวาดกลัว ส่งผลลูกที่เกิดสมองส่วนหน้าไม่พัฒนา เกิดพฤติกรรมมุ่งต่อสู้-ทำร้ายกัน

เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ที่โรงแรมปริ๊นซ์พาเลซ ศ.นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส ปาฐกถานำเรื่อง ความรุนแรงในเยาวชน : จากปัญหาสู่ทางออกของสังคมไทย ในการประชุมวิชาการเรื่อง ความรุนแรงในเยาวชน จากปัญหาสู่ทางออกของสังคมไทย จัดโดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) และมหาวิทยาลัยมหิดลว่า ศตวรรษนี้เป็นยุคสมัยของความรุนแรงทั้งชนิดโจ่งแจ้งและรุนแรงเงียบ โดยคนที่ตายจากสงครามโลก 2 ครั้งและสงครามต่างๆ ทั่วโลก 200 ล้านคน แต่คนที่ตายจากความยากจนและความอยุติธรรมมากกว่าหลายเท่า ฉะนั้นความยากจนและความอยุติธรรมเป็นความรุนแรงเงียบ

ศ.นพ.ประเวศกล่าวต่อว่า ความรุนแรงในเด็กเป็นจุดเปราะบางของสังคม ต้องสนใจเป็นพิเศษ โดยตัวเลขเด็กไทยตายจากความรุนแรง 6.2 คนต่อแสนประชากรต่อปี ถือว่าสูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่น ที่มีอัตราฆ่าตัวตาย 1.2 คนต่อแสนประชากรต่อปี

สภาพแวดล้อมและอารมณ์ของคน ส่งผลต่อโครงสร้างสมอง หากแม่ที่ตั้งครรภ์ อยู่ในความวิตกกังวล หวาดกลัว ลูกที่เกิดมาจะมีการพัฒนาสมองส่วนหลังมาก เกิดพฤติกรรมมุ่งเน้นการต่อสู้ การทำร้ายกัน แต่หากแม่มีจิตใจที่สงบ ลูกที่เกิดมาก็จะมีการพัฒนาสมองส่วนหน้า ลูกฉลาด มีเหตุมีผล ซึ่งสังคมไทยอยู่ในสังคมความรุนแรงและการต่อสู้กันมาตลอดกว่า 70 ปี เมื่อสังคมเต็มไปด้วยความกลัวและการต่อสู้ซึ่งกันและกัน สมองส่วนหน้าไม่พัฒนา จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่คนในปัจจุบันขาดเหตุผล มุ่งทำร้ายกันและกัน เกิดพฤติกรรมทำร้ายกัน โกหก ปลิ้นปล้อน ซึ่งเป็นลักษณะสมองของสัตว์เลื้อยคลานที่อยู่ในตัวเรา ไม่ใช่สมองของมนุษย์ที่รู้จักใช้เหตุผล ศ.นพ.ประเวศกล่าว

ราษฎรอาวุโสเสนอทางลดปัญหาความรุนแรงในสังคมว่า ต้องดำเนินการ 5 เรื่อง 1.การวิจัยให้รู้ข้อมูลความรุนแรง 2.การสื่อสารต่อสาธารณะ 3.ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่นจากฐานราก 4.ต้องปฏิรูปการศึกษาไม่ให้แยกส่วนจากชีวิต และ 5.การเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับเยาวชน ต้องตระหนักว่าเด็กเป็นสมบัติร่วมกันของสังคม ต้องช่วยกันดูแล

จากใจ...วัยซน ม็อบล้อมโรงเรียนของหนู

ขอบคุณน้าๆ ที่ไม่ตีกัน จากใจนักเรียนละแวกที่ชุมนุมกลุ่มพันธมิตร และภารกิจตำรวจพาเด็กข้ามผ่านความคิดขัดแย้งทางการเมือง

 



จาก คมชัดลึก


Confabulation

From Wikipedia, the free encyclopedia

Jump to: navigation, search
Look up confabulation in
Wiktionary, the free dictionary.

Confabulation, also known as false memory is the confusion of imagination with memory, and/or the confusion of true memories with false memories.[1] Confabulation can result from both organic and psychological causes.[2]

Contents

[hide]

[edit] Organic causes

Berlyne (1972) defined confabulation as “...a falsification of memory occurring in clear consciousness in association with an organically derived amnesia.” He distinguished between:

  • “momentary” (or “provoked”) confabulations — fleeting, and invariably provoked by questions probing the subject’s memory – sometimes consisting of “real” memories displaced in their temporal context.
  • “fantastic” (or “spontaneous”) confabulations — characterised by the spontaneous outpouring of irrelevant associations – sometimes bizarre ideas, which may be held with firm conviction.

Patients who have suffered brain damage or lesions, especially to the Prefrontal cortical regions, may have confabulation of memories as a symptom. Patients with Korsakoff's syndrome characteristically confabulate by guessing an answer or imagining an event and then mistaking their guess or imagination for an actual memory. In some cases, confabulation is a function of the brain's chemistry, a mapping of the activation of neurons to brain activity.[3][4] Confabulation can also occur as a result of damage to the Anterior communicating artery (ACoA), in the Circle of Willis.

Some military agents, such as BZ, and deliriant drugs such as those found in datura, noticeably scopolamine and atropine, may also cause confabulation.

[edit] Psychological causes

Bartlett’s[5] studies of remembering are arguably the first concerted attempt to look at memory illusions phenomena. In one experiment, he asked a group of students to read an Indian folktale and then recall that at various time intervals. As well as errors of omission, interestingly he found numerous errors of commission whereby participants had adapted or added to the story to make it more rational or consistent.

In the 1970s a number of researchers and theories started to emphasise what has been called the constructivist view of memory, maintaining that reasoning influences memory, in contrast to the prevailing view at the time which was that memory is essential for proper reasoning.[6] Theorists such as Bransford and Franks[7] noted the significance of personal beliefs and desires, or more technically scripts and schemas, in memory retrieval.

Constructivism has fallen out of fashion recently due to the contention that it is either false or un-testable.[8] Memory is presumably not always reconstructive as the considerable evidence of its veridical quality is testament. Constructivism cannot simply be rephrased as the thesis that memory is not always reproductive. As Reyna and Lloyd[8] point out, this amounts to the claim that memory is sometimes reproductive and sometimes reconstructive; which is unexplanatory and unfalsifiable as any result can be accommodated post hoc. Because of this a number of theories have now been advanced which instead focus on the mechanism by which an essentially accurate memory system can sometimes produce erroneous results. Notably, both source monitoring framework[9] and fuzzy-trace theory[6] purport to both indicate when false memories are likely to occur and give a more detailed explanatory account than either reproductive or constructivist views.

Source monitoring refers to the process by which we discriminate between internally and externally derived memory sources as well as differentiations within the external and external domains: differentiating between two external sources or between internal sources, for instance between what was said and what was thought. The theory postulates that these decisions are made based on the characteristics of memories compared to norms for memories for different sources, such as the proportions of perceptual, contextual, affective and semantic information featured in the encoding of the memory. Under the source monitoring framework false memory is seen as a failure to attribute information to the correct source. This happens when there is insufficient information available to discriminate between different sources (perhaps because of natural deterioration), or when the wrong criterion is used to discriminate. For example a doctor might mistakenly think a patient is on a specific medicine because they were discussing the medicine with a colleague shortly after seeing them.

Fuzzy trace theory is based on the assumption that memory is not stored in unitary form. Instead memories are encoded on a number of levels, from an exact ‘verbatim’ account, to ‘gist’ which represents the overall meaning of the event.[8] False memory effects are usually (but not always) explained as a reliance on gist traces in a situation when verbatim traces are needed. Because of this people may mistakenly recall a memory that only goes along with a vague gist of what happened, rather than the exact course of events. Essentially there are three reasons why people might do this. There is thought to be a general bias towards the use of gist traces in cognition due to their resource efficiency[6] and people will tend to use gist traces when it is thought that they will be adequate to satisfy the demands of the situation. Second, verbatim traces are said to be inherently less stable than gist and decay quicker.[6] Finally, during the course of forgetting memories fragment and gist and verbatim can become independent.[8]

 

จากวิกิ พีเดีย



สมองส่วนหน้า ( forebrain )  ประกอบด้วยส่วนสำคัญดังนี้

        เซรีบรัม ( cerebrum )  เป็นส่วนของสมองที่อยู่หน้าสุด และมีขนาดโตที่สุด  จะมีผิวด้านนอกเป็นเนื้อสีเทา ส่วนด้านในเป็น

เนื้อสีขาว  ที่บริเวณผิวด้านนอกมีรอยหยักเป็นร่องมากมาย ทำให้สมองส่วนนี้มีพื้นที่มากขึ้น จากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์พบว่า

คนมีรอยหยักบนสมองส่วนนี้มากที่สุด

       สมองส่วนเซรีบรัม  ทำหน้าที่เกี่ยวกับ

         1.  การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ( ความรู้ ) ความจำ ความรู้สึกนึกคิด เชาว์ปัญญา

         2.  เป็นศูนย์ควบคุมการทำงานต่างๆ และรับรู้ความรู้สึกต่างๆของร่างกาย  เช่น  ศูนย์ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ

ศูนย์ควบคุมการรับสัมผัสต่างๆ  ศูนย์ควบคุมการพูด การรับรู้ภาษา  ศูนย์กลางการมองเห็น การรับรส การได้ยิน และการดมกลิ่น

         ออลแฟกทอรีบัลบ์ ( olfactory bulb )  สมองส่วนนี้อยู่ทางด้านหน้าสุด  ทำหน้าที่เกี่ยวกับการดมกลิ่น  สมองส่วนนี้ในคน

พัฒนาน้อยกว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมอื่นๆ เช่น  สุนัข  หมู  ทำให้ความสามารถในการดมกลิ่นของคนน้อยกว่าสัตว์เหล่านั้น  แต่ใน

สัตว์ทีมีกระดูกสันหลังชั้นต่ำ  เช่น  กบ  ปลา  จะมีขนาดใหญ่ ทำหน้าที่คล้ายกันเกี่ยวกับการดมกลิ่นได้ดี

         ไฮโพทาลามัส ( hypothalamus )  เป็นส่วนที่อยู่ด้านล่างของสมองส่วนหน้าที่ยื่นมาติดต่อกับต่อมใต้สมอง ( pituitary

gland )  เซลล์ประสาทของสมองบริเวณนี้ส่วนมากทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนประสาทหลายชนิด ซึ่งควบคุมการสร้างฮอร์โมนจาก

ต่อมใต้สมอง

         ไฮโพทาลามัสทำหน้าที่สำคัญ คือ  เป็นศูนย์ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย  การนอนหลับ  การเต้นของหัวใจ  ความดันเลือด

ความหิว  ความอิ่ม  นอกจากนี้ยังมีหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมอารมณ์ และความรู้สึกต่างๆ เช่น  โศกเศร้า  ดีใจ  ความรู้สึกทางเพศ

         ทาลามัส ( thalamus )  เป็นส่วนที่อยู่เหนือไฮโพทาลามัส  ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมกระแสประสาทที่ผ่านเข้ามา  แล้วแยก

กระแสประสาทส่งไปยังสมองที่เกี่ยวข้องกับกระแสประสาทนั้นๆ

จากเวปไซต์ โรงเรียนพรหมานุสรณ์ จ.เพชรบุรี




ง) พระคัมภีร์กุรอานว่าด้วยสมองส่วนหน้าของมนุษย์:

พระผู้เป็นเจ้าทรงตรัสไว้ในพระคัมภีร์กุรอานถึงคนผู้หนึ่งในกลุ่มของผู้ไร้ความศรัทธาในศาสนาโดยสิ้นเชิง เข้ามาขัดขวางพระมูหะหมัด  ไม่ให้ทำละหมาดในวิหารกาบา (Kaaba):

 มิใช่เช่นนั้น ถ้าเขายังไม่หยุดยั้ง เราจะจิกเขาที่ขม่อมอย่างแน่นอน ขม่อมที่โกหกที่ประพฤติชั่ว (พระคัมภีร์กุลอาน, 96:15-16)

ทำไมพระคัมภีร์กุรอานจึงได้อธิบายบริเวณศรี ษะส่วนหน้าว่าเปรียบเสมือนส่วนที่เต็มไปด้วยบาปและความตลบตะแลง ทำไมพระคัมภีร์กุรอานจึงไม่กล่าวว่าบุคคลนั้นเต็มไปด้วยบาปและความตลบตะแลง มีความสัมพันธ์กันอย่างไรระหว่างบริเวณศรีษะส่วนหน้ากับบาปกรรมและความตลบ ตะแลง?

ถ้าเรามองเข้าไปในกระโหลกศีรษะส่วนหน้า เราจะพบบริเวณสมองส่วนหน้า (ดูรูปที่ 12)  วิชาว่าด้วยสรีระวิทยาบอกกับเราว่าบริเวณนี้มีหน้าที่อะไรบ้าง  ในหนังสือที่ชื่อว่า Essentials of Anatomy & Physiology ได้กล่าวถึงบริเวณนี้ไว้ว่า “แรงบันดาลใจและการคาดการณ์ล่วงหน้าในการวางแผนและการสั่งให้ร่างกายเคลื่อน ไหวนั้น เกิดจากกลีบสมองส่วนหน้า ซึ่งเป็นบริเวณที่อยู่ด้านหน้าสุด และเป็นบริเวณศูนย์รวมของเยื่อหุ้มสมอง...”1 “ใน ตำราเล่มนั้นยังกล่าวอีกว่า “เนื่องจากว่าบริเวณที่อยู่ด้านหน้าสุดนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างแรง บันดาลใจ จึงมีการคิดกันว่าบริเวณส่วนนี้เป็นศูนย์กลางที่ก่อให้เกิดความรุนแรง....”2

รูปที่ 12 (คลิกที่รูปภาพเพื่อขยายใหญ่)

รูปที่ 12:บริเวณสั่งการของเยื่อหุ้มสมองส่วนหน้าซีกซ้าย บริเวณด้านหน้าจะอยู่ตรงด้านหน้าเยื่อหุ้มสมองส่วนหน้า (Essentials of Anatomy & Physiology ของ Seeley และคณะ  หน้า 210) (คลิกที่รูปภาพเพื่อขยายใหญ่)

ดังนั้นบริเวณของสมองส่วนหน้านี้จึงมี หน้าที่วางแผน สร้างแรงจูงใจ และริเริ่มให้เกิดการกระทำดีหรือชั่ว อีกทั้งยังทำหน้าที่ในการโป้ปดมดเท็จและบอกเล่าความจริง ดังนั้น จึงจะเหมาะสมกว่าหากอธิบายว่าบริเวณศรีษะส่วนหน้านั้นเปรียบเสมือนส่วนที่ เต็มไปด้วยบาปและความตลบตะแลง เมื่อมีผู้ใดโกหกหรือกระทำสิ่งที่เป็นบาป อย่างที่พระคัมภีร์กุรอานได้กล่าวไว้ว่า “naseyah (บริเวณส่วนหน้าของศีรษะ) ที่เต็มไปด้วยความตลบตะแลงและบาปกรรม!”

นักวิทยาศาสตร์เพิ่งจะค้นพบการทำหน้าที่ต่างๆ ของบริเวณสมองส่วนหน้าเมื่อหกสิบปีที่ผ่านมานี่เอง โดยศาสตราจารย์ Keith L. Moore.3

จากเวปไซต์ Islam Guide

จิตวิวัฒน์ : ซักซ้อมในจินตนาการ จิตวิวัฒน์กับสมองส่วนหน้า
เขียนโดย วิศิษฐ์ วังวิญญู


ปัจจุบันนี้ งานวิจัยเรื่องสมองได้พัฒนาไปมาก เร็วๆ นี้ผมได้อ่านหนังสือเรื่อง Evolve Your Brain: The Science of Changing Your Mind ของ โจ ดิสเปนซ่า (Joe Dispenza) หนึ่งในนักวิทยาศาสตร์กระบวนทัศน์ใหม่ที่อยู่ในทีมผู้ผลิตภาพยนตร์เรื่อง What the Bleep do We Know!? ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่ทำให้เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างร่างกายกับจิตใจอย่าง เป็นวิทยาศาสตร์กระบวนทัศน์ใหม่ และในขณะนี้ พวกเราในเครือข่ายจิตวิวัฒน์กำลังแปลหนังสือชื่อเดียวกันนี้ ที่อธิบายเรื่องราวในภาพยนตร์อย่างละเอียดออกมา เพื่อเป็นเกียรติให้กับคนไทยผู้หนึ่งที่นำความรู้วิทยาศาสตร์กระบวนทัศน์ ใหม่เข้ามาในสังคมไทยอย่างต่อเนื่องยาวนาน เป็นเรื่องเป็นราว เป็นจริงเป็นจังที่สุดท่านหนึ่ง และยังเป็นหนึ่งในคณะผู้ก่อตั้งกลุ่มจิตวิวัฒน์ประเทศไทยด้วย คือ คุณหมอประสาน ต่างใจ หลายคนที่อยู่ในทีมแปลนี้ นับถือท่านเป็นพ่อทางจิตวิญญาณ และผมเองก็ถือว่าเป็นลูกเขยของท่าน เพราะคนใกล้ชิดของผมคือลูกสาวทางจิตวิญญาณคนหนึ่งของท่าน

เรื่องการซักซ้อมทางจินตนาการ (Mental Rehearsal) นี้ อยู่ในบทที่สิบเอ็ดและสิบสองของหนังสือ Evolve Your Brain เป็นเรื่องราวการทำงานของสมองส่วนหน้า ที่ถูกคลี่คลายความรู้ความเข้าใจมาตามลำดับ สมองส่วนหน้านี้เป็นวิวัฒนาการชั้นหลังสุดของสมองมนุษย์ แม้จะมีอยู่ในลิงด้วย แต่มีพัฒนาการสูงสุดในมนุษย์ ซึ่งมีดีเอ็นเอต่างจากลิงเพียงสองเปอร์เซนต์เท่านั้น

สมอง ส่วนหน้าจะเติบโตสมบูรณ์เมื่อเราอายุครบบวช คือ ๒๐ ปี โดยที่ตั้งของมันคือ ตาที่สาม ซึ่งเมื่อเปิดออก สติปัญญาของมนุษย์จึงจะสมบูรณ์ การคิดด้วยสมองส่วนหน้าจึงต่างจากการคิดด้วยสมองซีกซ้ายที่เรารู้จักกันดี และให้ความสำคัญมานาน นั่นคือการคิดในกระบวนการของเหตุผล หรือการคิดแบบเรขาคณิตของเพลโต้ อุดมคติของเพลโต้คงอยากจะให้โลกลงตัวดุจเดียวกับที่เทวดาทำเรขาคณิตกันเป็น งานอดิเรกบนสวรรค์ แต่ปัญญาปฏิบัติกำลังจะกลับมาพร้อมวิทยาศาสตร์กระบวนทัศน์ใหม่ และการค้นพบบทบาทที่ชัดเจนขึ้นของสมองส่วนหน้า (Frontal lobe) แนวปรัชญาแบบอริสโตเติล และวิทยาศาสตร์ของเกอเธ่ จะกลับมาเด่นเป็นสง่าอีกครั้งหนึ่ง อย่างแน่นอน

สมอง ส่วนหน้าเติบโตหลังสุด ช้าสุด เพราะได้เชื่อมโยงสมองส่วนต่างๆ ชั้นต่างๆ (สมองมีสามชั้น คือ สมองสัตว์เลื้อยคลาน สมองสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และสมองมนุษย์หรือลิงชั้นสูง) เข้าด้วยกัน ทำหน้าที่เป็นผู้กำกับการ เหมือนวาทยกรผู้กำกับวงออเครสต้าอย่างไรอย่างนั้น

โจ ดิสเปนซ่า และ โจเซฟ ชิลตัน เพียซ พูดไว้เหมือนกันว่า เวลาสมองส่วนหน้าทำงาน มันจะตัดขาดออกจาก การบัญชาการของสมองส่วนล่างๆ คือ อารมณ์ความรู้สึก และร่างกาย หรือสมองสัตว์เลื้อยคลาน สมองส่วนล่างทั้งสองนี้ ออกจะเป็นทรราช เมื่อเราปล่อยตัวปล่อยใจไปกับชีวิต และไม่ได้กุมบังเหียนชีวิตด้วยสมองส่วนหน้า ความเป็นทรราชของสมองชั้นกลางและชั้นล่างหรือชั้นในสุดนั้น น่าสนใจมาก และคงจะต้องเขียนเป็นอีกหนึ่งบทความต่างหากออกไป โจ ดิสเปนซ่า ได้ถอดรหัสการเสพติดทั้งหลายของมนุษย์ว่า เกิดขึ้นได้อย่างไร และในทางกลับกัน สมองส่วนหน้านี่เองจะเป็นตัวถอดสลักการเสพติดทั้งหลายในชีวิตมนุษย์ ให้หลุดออกมาจากการย้ำทำย้ำคิดได้ ด้วยกระบวนการที่เรียกว่า ‘การซักซ้อมในจินตนาการ'

เด วิด เดวิดสัน แห่งมหาวิทยาลัยวิสคอนซิล หนึ่งในนักวิทยาศาสตร์ที่ทำการศึกษาสมองกับเรื่องราวของอารมณ์ความรู้สึก อีกทั้งยังทำงานใกล้ชิดกับสมเด็จองค์ทะไลลามะ ได้ค้นพบว่า สมองส่วนหน้ากับอมิกดาลา ทำงานอย่างเป็นปฏิภาคกัน แปลความว่า เมื่อสมองส่วนหน้าทำงาน อมิกดาลาจะหยุดทำงาน และเมื่ออมิกดาลาทำงาน สมองส่วนหน้าก็จะหยุดทำงาน

อมิ กดาลาคือการทำงานของอารมณ์ลบที่ถูกบันทึกไว้อย่างเป็นอัตโนมัติ คือมันจะทำงานอย่างเป็นอัตโนมัติ โจเซฟ ชิลตัน เพียซ เขียนไว้ว่า เวลาเราเข้าสู่ความตื่นตระหนก ความกลัว หรืออาการปกป้องตนเอง เราจะถูกล็อคโดยสมองส่วนล่างคือ ความกลัวของสมองชั้นต้น อารมณ์ลบของอมิกดาลา และความฉลาดอย่างขี้โกงของสมองซีกซ้ายแบบแคบๆ (คือไม่มองให้รอบด้าน แต่จะคิดเห็นเฉพาะประโยชน์ส่วนตนเท่านั้น หรือ คือ I in Me ในทฤษฏีตัวยู ของ ออตโต ชาร์มเมอร์ - หนึ่งในคณะองค์กรแห่งการเรียนรู้ของ ปีเตอร์ เซงเก)

ในทางกลับกัน เมื่อสมองส่วนหน้าทำงาน อมิกดาลาก็จะหยุดการทำงานในวงจรลบๆ ที่เป็นอัตโนมัติของตัวเอง

เพื่อ เพิ่มเติมประโยชน์ในการปฏิบัติได้ให้แก่บทความนี้ที่จำกัดด้วยความสั้น เนื่องจากเป็นบทความในหนังสือพิมพ์ (เดี๋ยวนี้เวลาเขียนหนังสือ ผมจะเขียนเป็นเล่มไปเลย หรือไม่ก็เขียนเป็นบทความยาวๆ ไม่ค่อยได้เขียนเป็นบทความสั้นๆ อีกแล้ว) ผมอยากพูดถึง สี่ขั้นตอนของการซักซ้อมทางจินตนาการเพื่อก่อประสบการณ์ใหม่ พฤติกรรมใหม่ หรือการสร้างโลกใบใหม่ให้กับตัวเอง สี่ขั้นตอนนี้คือ

หนึ่ง Unconsciously unskilled คือ บรรดาวงจรอัตโนมัติทั้งหลายที่เรามีอยู่ สังเกตให้ดี เราจะพบว่า เราทำงานด้วยความเป็นอัตโนมัติ ระหว่างความคิด อารมณ์ความรู้สึก และร่างกายของเรา ทั้งหมดจะทำ คิด รู้สึกไปอย่างเป็นอัตโนมัติ ครึ่งหลับครึ่งตื่น เราไม่ได้ตื่นเต็มที่ ด้วยเหตุนี้ ในการปฏิบัติธรรมจึงพยายามทำให้เราตื่นขึ้นมาก่อน ขั้นตอนนี้ ผมสรุปเป็นภาษาไทยว่า "ไม่รู้ตัวว่า ไม่รู้"

ขั้น ตอนที่สอง Consciously unskilled ‘เราเริ่มรู้ตัวว่า เราไม่รู้' คือเริ่มเห็นข้อจำกัดของตัวเอง เมื่อเราเปลี่ยนผ่านจากความหลับใหลไปสู่ความตื่นรู้ เราจะเริ่มตระหนักและมองเห็นข้อจำกัดของตัวเอง

ขั้น ตอนที่สาม Consciously skilled เป็นขั้นตอนการฝึกฝน เป็นการซักซ้อมทางจินตนาการพร้อมๆ ไปกับการปฏิบัติจริงในสนามจริง ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตาม เช่น การฝึกเล่นสกี การเล่นเปียโน หรือเปลี่ยนวงสวิงกอล์ฟ หรือฝึกการตื่นรู้เพื่อออกจากพฤติกรรมบางอย่าง เพื่อสร้างพฤติกรรมใหม่ก็ตาม จะต้องตื่นรู้ในทุกขณะจิต เพื่อตระหนักและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ สร้างวงจรสมองอย่างใหม่ขึ้นมา เกอเธ่กล่าวว่า มันเป็นการสร้างอวัยวะแห่งการรับรู้ใหม่ขึ้นมาเพื่อจะเรียนรู้เรื่องใหม่ มิฉะนั้น เราไม่อาจจะเข้าใจเข้าถึงเรื่องใหม่ที่ว่านั้นได้

ขั้น ตอนที่สี่ Unconsciously skilled เมื่อฝึกฝนตามขั้นตอนที่สามไปเรื่อยๆ อย่างตั้งอกตั้งใจ และตื่นรู้ รู้ตัวตลอด จิตตื่นโพลง ทำซ้ำๆๆๆ จนกระทั่งมันค่อยๆ ประสาน ความคิด อารมณ์ และร่างกายเป็นหนึ่งเดียวกัน ร่างกายเริ่มจดจำได้อย่างเป็นอัตโนมัติ จนกระทั่งเราทำสิ่งนั้นได้โดยไม่ต้องคิด อย่างเช่น การปรับเปลี่ยนเกียร์รถแบบแมนนวลได้โดยที่เราไม่ต้องคิดเลย เป็นธรรมชาติ หรือเล่นสกีได้อย่างไม่ต้องคิดเลย มีจิตตื่นรู้อย่างไม่ต้องคิดเลย เหมือนกับที่ ไดเซตซ์ ไตตาโร สุซุกิ (Daisetz Teitaro Suzuki) ใช้คำว่า Unconsciously conscious หรือ Consciously unconscious ในขั้นตอนนี้ เราจะเริ่มปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวันได้ตลอดเวลา

แต่ เขียนมาถึงตอนนี้ ผมคิดว่าถ้าจะทำเรื่องนี้ให้กระจ่าง อาจจะต้องเขียนลงอีกสักสามสี่ตอนกระมัง? แต่อย่างไรเสีย ของดีๆ ก็น่าจะให้ได้ชิมลองกันเสียก่อนจะดีกว่าไม่ได้สัมผัสเสียเลย

วิศิษฐ์ วังวิญญู

Yourservant007@yahoo.com

แผนงานพัฒนาจิตเพื่อสุขภาพ มูลนิธิดสดศรี-สฤษดิ์วงศ์

สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ตีพิมพ์ใน มติชนรายวัน วันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๐


view