ไขปริศนา!สัญญาซื้อขายที่ดินรัชดาฯโมฆะหรือไม่ กับเงิน 772 ล้านตกเป็นของหลวง?หลังศาลฎีกาคุก"แม้ว"2ปี
ถ้า ศาลวินิจฉัยว่า สัญญาดังกล่าวเป็นโมฆะเพราะ มีสาเหตุมาจากเป็นสัญญาต้องห้ามตามกฎหมายอย่างชัดแจ้งและขัดต่อความสงบเรียบ ร้อย ทางกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯไม่ต้องคืนเงินหรือคุณหญิงพจมานไม่อาจเรียกร้อง เงินคืนได้
หลังจากที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 21ตุลาคม 2551 ให้จำคุก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีต นายกรัฐมนตรีเป็นเวลา 2 ปี ฐานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐซึ่งตนมีอำนาจ กำกับ ดูแล ควบคุม ตรวจสอบหรือดำเนินคดีอันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 100(1) และมาตรา 122 ในคดีซื้อขายที่ดิน ถนนรัชดาภิเษก มูลค่า 772 ล้านบาท จากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน มีคำ ถามว่า สัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯกับคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา พ.ต.ท.ทักษิณซึ่งศาลฎีกาฯพิพากษายกฟ้องนั้น จะมีผลอย่างไร เป็นโมฆะกรรมหรือไม่ ก่อนที่จะตอบคำถามดังกล่าว ต้องพลิกดูข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงจากคำพิพากษาที่เกี่ยวข้องทั้งหมดก่อน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 100(1) บัญญัติว่า "ห้าม มิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดดำเนินกิจการ..เป็นคู่สัญญาหรือมีส่วนได้ส่วน เสียในสัญญาที่ทำกับหน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่รัฐผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่ เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีอำนาจกำกับ ดูแล ควบคุม ตรวจสอบ หรือดำเนินคดี" ขณะที่ มาตรา 100 วรรคท้ายบัญญัติว่า "ให้ นำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้กับคู่สมรสของเจ้าหน้าที่รัฐโดยให้ถือว่า การดำเนินกิจการของคู่สมรสดังกล่าว เป็นการดำเนินกิจการของเจ้าหน้าที่ของรัฐ" หมายความว่า ถ้าเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดหรือคู่สมรสกระทำฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าว ถือเป็นการกระทำต้องห้ามตามกฎหมายอย่างชัดแจ้งและเป็นการขัดต่อความสงบเรียบ ร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน คุณหญิงพจมาน(ซึ่งเป็นคู่ สมรส พ.ต.ท.ทักษิณซึ่งศาลเห็นว่า เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญฯ ) เป็นผู้ทำสัญญาซื้อขายที่ดินกับกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯซึ่งศาลพิพากษาว่า เป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญฯดังกล่าวเนื่องจาก พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญฯให้ถือว่า การดำเนินกิจการของคู่สมรสดังกล่าว เป็นการดำเนินกิจการของเจ้าหน้าที่ของรัฐ นอกจากนี้คำพิพากษา ยังระบุว่า จำเลย ที่ 1 (พ.ต.ท.ทักษิณ)ให้บัตรประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรีลงนามยินยอมให้จำเลยที่ 2 (คุณหญิงพจมาน)ทำสัญญาซื้อขายที่ดินย่อมถือได้ว่า เป็นการเข้าทำสัญญาด้วยตัว(พ.ต.ท.ทักษิณ)เอง ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 100 (1) วรรคสาม ดัง นั้น การทำสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างคุณหญิงพจมาน(พ.ต.ท.ทักษิณ)กับกองทุนเพื่อ การฟื้นฟูฯ จึงน่าจะต้องห้ามตามกฎหมายอย่างชัดแจ้งและขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรม อันดีของประชาชน
ผลก็ก็คือ สัญญาดังกล่าวน่าจะตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 ที่บัญญัติว่า " การใดมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย......หรือเป็นการขัด ต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้นเป็นโมฆะ"(เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 6211/2549,ฎีกา3072/2536) ประเด็นก็คือ การที่สัญญาซื้อขายที่ดินตกเป็นโมฆะ เป็นเรื่องทางแพ่ง จึงเป็นเรื่องที่คู่สัญญากับคุณหญิงพจมานคือ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯซึ่งเป็นนิติบุคคล มีนางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นประธานคณะกรรมการ จักต้องเป็นผู้ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายคือแจ้งเรื่องให้คุณหญิงพจมาน ทราบ เพื่อให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงที่เป็นปัญหาคืนให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟู ฯ ถ้าคุณหญิงพจมานไม่ยินยอม ทางกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯก็ต้องยื่นฟ้องต่อศาลแพ่งให้วินิจฉัยชี้ขาดโดยอาศัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 ที่บัญญัติว่า "โมฆะกรรมนั้นไม่อาจให้สัตยาบันแก่กันได้ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคนหนึ่งคนใดจะยกความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นกล่าวอ้างก็ได้" ปัญหาต่อไปคือ เมื่อสัญญาซื้อขายที่ดินเป็นโมฆะแล้ว ถ้ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯได้ที่ดินคืนว ทางกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯต้องคืนเงิน 772 ล้านบาทให้แก่คุณหญิงพจมานหรือไม่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 วรรคสอง บัญญัติว่า "ถ้าจะต้องคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรม ให้นำบทบัญญัติว่า ด้วยลาภมิควรได้แห่งประมวลกฎหมายนี้มาใช้บังคับ" หมายความว่า ถ้าสัญญาตกเป็นโมฆะตามปกติ เช่น การไม่ทำสัญญาตามแบบ หรือเข้าใจผิดในสาระสำคัญของสัญญา ทั้งสองฝ่ายต้องคืนสู่สภาพเดิมคือ มีการคืนที่ดินและเงินที่จ่ายเป็นค่าที่ดิน(ดูประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406) อย่างไรก็ตาม กรณีดังกล่าว ถ้าศาลวินิจฉัยว่า สัญญาดังกล่าวเป็นโมฆะเพราะ มีสาเหตุมาจากเป็นสัญญาต้องห้ามตามกฎหมายอย่าง ชัดแจ้งและขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนตามประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 แล้ว ทางกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯไม่ต้องคืนเงินหรือคุณหญิงพจมานไม่อาจเรียกร้องเงินคืนได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 411 ที่บัญญัติว่า " บุคคลใดได้กระทำเพื่อการชำระหนี้ เป็นการอันฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี ท่านว่า บุคคลนั้นหาอาจจะเรียกร้องคืนทรัพย์ได้ไม่" ถ้าทางกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ มองว่า เมื่อทางกองทุนฯไม่ได้เสียหายจากการซื้อขายที่ดินกรณีดังกล่าว จึงไม่ดำเนินการใดๆให้สัญญาซื้อขายที่ดินเป็นโมฆะ ก็ให้ระวังไว้ว่า จะมีผู้ดำนินคดีกับคณะกรรมการกองทุนฯฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือปฏิบัติ หน้าที่โดยมิชอบเนื่องจากคำพิพากษาของศาลฎีกาฯตอนหนึ่งระบุว่า " "ต่อมากองทุนฯนำที่ดิน ออกประมูลทางอินเตอร์เน็ตตั้งราคาขั้นต่ำ 870 ล้านบาท กำหนดวางมัดจำ 10 ล้านบาท เมื่อถึงเวลาไม่มีการเสนอราคาจึงเลิกประมูล แล้วเปิดประมูลใหม่โดยไม่กำหนดราคาขั้นต่ำ และเพิ่มวางมัดจำเป็น 100 ล้านบาท อันเป็นการกีดกันทำให้มีผู้เข้าประมูลน้อยลง "จำเลยที่ 2 เข้าร่วมประมูลด้วย แม้ว่าจะมีอีก 2 บริษัท คือบริษัทแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ และบริษัท โนเบิล ดีเวลลอปเมนต์ ร่วมเสนอ แต่รู้ว่า ต้องแข่งขันกับภริยานายกฯ จึงไม่กล้าสู้ราคา แม้กองทุนฯจะเห็นว่าราคาที่จำเลยที่ 2 เสนอ 772 ล้านบาทเป็นราคาสูงสุด แต่ก็ยังต่ำกว่าราคาขั้นต่ำในการประมูลครั้งแรกซึ่งอาจจะขายได้ราคาที่สูง และเหมาะสมกว่า อีกทั้งขณะนั้นจำเลยที่ 1 เป็นนายกฯมีอำนาจบารมีเหนือรัฐมนตรีและมีอำนาจทางการเมืองสูงอีกทั้งฐานะการ เงินมั่งคั่ง ตามหลักธรรมาภิบาลนายกรัฐมนตรี ภริยา หรือบุตรไม่สมควรเข้าไปประมูลซื้อเพราะการซื้อได้ราคาต่ำก็เป็นผลทำให้กอง ทุนฯมีรายได้น้อยลง" คำพิพากษาระบุชัดว่า การกระทำของพ.ต.ท.ทักษิณ(คุณหญิงพจมาน)และกองทุนเพื่อการฟื้นฟูเป็นผลืทำให้กองทุนฯมีรายได้น้อยลงหรือเสียผลประโยชน์ที่ควรได้นั่นเอง จากคำพิพากษาดังกล่าว จึงไม่มีเหตุผลใดๆที่ทางกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯจะไม่ดำเนินการให้สัญญาซื้อ ขายที่ดินดังกล่าวเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาคตรา 150 ผลพลอยได้ที่ตามมาคือ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯไม่ต้องคืนเงิน 772 ล้านบาทให้แก่คุณหญิงพจมานด้วย
-------------------------------- สรุปสำระสำคัญของคำพิพากษาฎีกาที่ 6211/2549 ระหว่างนายพูนศักดิ์ วรรณพงษ์กับนายวัชร บุญชูเศรษฐ เมื่อประมาณ ปี 2539 องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย(ทศท.-ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นบริษัท ทศท.คอร์ปอเรชั่น จำกัด)ต้องการจัดซื้อที่ดินขนาดใหญ่แปลงหนึ่งเพื่อสร้างอาคารศูนย์คลังพัสดุ จึงเปิดให้เอกชนยื่นซองเสนอราคาซึ่งในที่สุดก็ตกลงซื้อที่ดินบริเวณ อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี เนื้อที่ประมาณ 266 ไร่ มูลค่ากว่า 400 ล้านบาทจากเอกชนรายหนึ่ง โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2539 จำเลยได้ทำหนังสือมอบหมายให้โจทก์เป็นผู้ติดต่อประสานงานในการเสนอขายที่ดิน ที่จำเลยเป็นผู้รวบรวมจากผู้อื่น รวม 4 โฉนดให้แก่ ทศท.ซึ่งจำเลยตกลงที่จะจ่ายเงิน 5 ล้านบาทให้แก่โจทก์ ต่อมาวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2539 จำเลยได้บันทึกมอบให้แก่โจทก์อีก 1 ฉบับ เสนอค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมให้แก่โจทก์ จากเดิม 5 ล้านบาท เป็น 8 ล้านบาท
หลังจากนั้นโจทก์ได้ติดต่อ ประสานงานจนสามารถขายที่ดินทั้ง 4 แปลงให้แก่ ทศท.และโอนกรรมสิทธิ์กันเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2539 จำเลยกลับมิได้จัดการชำระเงิน 8 ล้านบาทตามที่ตกลงกันไว้ จึงมีหนังสือทวงถาม จำเลยจึงได้ชำระ 5 ล้านบาท แต่ยังคงค้างชำระอีก 3 ล้านบาท จำเลยให้การว่า จำเลยเป็นผู้รับมอบอำนาจจากนางจิรดา เลิศสิน ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินให้ยื่นซองเสนอขายที่ดินดังกล่าว ขณะที่อยู่ในระหว่างพิจารณา ของคณะกรรมการจัดซื้อที่ดินของ ทศท. โจทก์และนายศักดิ์ชัย กิ่งทอง ได้ติดต่อกับจำเลยกล่าวอ้างว่า สามารถใช้อิทธิพลติดต่อประสานงาน และมอบเงินให้แก่คณะกรรมการจัดซื้อที่ดินและผู้ใหญ่ใน ทศท. เพื่อให้คณะกรรมการองค์การ ทศท.อนุมัติซื้อที่ดินได้ โดยโจทก์เรียกร้องเงินค่าประสานงานวิ่งเต้น 5 ล้านบาท จำเลยและเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวหลงเชื่อ จึงทำหนังสือไว้เป็นหลักฐานแก่โจทก์ ต่อมาโจทก์ขอเพิ่มเงินอีก 3 ล้านบาท แต่จำเลยต้องขออนุมัติจากเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินก่อน โจทก์จึงให้จำเลยเขียนนามบัตรเพิ่มเงิน 3 ล้านบาทให้แก่โจทก์ไว้ก่อน หากเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินไม่อนุมัติ โจทก์จะยกเลิกการเพิ่มเงินและคืนนามบัตรดังกล่าวให้ แต่โจทก์กลับนำนามบัตรมาเป็น หลักฐานในการฟ้องคดีนี้ อันเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต นอกจากนี้โจทก์ยังได้ใช้อุบายหลอกลวงจำเลยให้หลงเชื่อ และจ่ายเงินจำนวน 5 ล้านบาทแก่โจทก์โดยสำคัญผิด ข้อ ตกลงที่ให้โจทก์ดำเนินการติดต่อประสานงานและมอบเงินให้แก่คณะกรรมการจัดซื้อ ที่ดิน และผู้ใหญ่ใน ทศท.นั้น เป็นสัญญาต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชน ศาลฎีกา(องค์คณะประกอบด้วย นายวิชา มหาคุณ นายพูนศักดิ์ จงกลนี และนายปัญญา สุทธิบดี) เห็นว่า กรณีนี้หาใช่การทำข้อตกลงในทางธุรกิจตามปกติธรรมดาไม่ เพราะเป็นการมอบให้โจทก์เป็นผู้ประสานงานในการเสนอขายที่ดินให้แก่ ทศท.อันเป็นองค์กรแห่งรัฐ ซึ่งในการจัดซื้อที่ดินนั้นต้องปฏิบัติไปตามแนวทางที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.จัดตั้ง ทศท.พ.ศ.2497 และข้อบังคับที่จะต้องเสนอราคาเข้าแข่งขันกันต่อคณะกรรมการฯ ด้วยเหตุนี้การที่จำเลยซึ่ง เป็นผู้อำนวยการ อ.ต.ก.อยู่ในฐานะผู้บริหารรัฐวิสาหกิจที่มีโอกาสเหนือกว่าเอกชนรายอื่นในการ เสนอขายที่ดินให้แก่รัฐวิสาหกิจด้วยกัน ได้ตกลงให้โจทก์เป็นผู้ประสานงานในการเสนอขายที่ดินดังกล่าวให้แก่ ทศท. จึงมีความหมายยิ่งกว่าการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเชิงธุรกิจ ดังจะเห็นได้จากคำเบิกความ ของโจทก์ซึ่งเป็น ส.ว.อยู่ในขณะนั้นว่า โจทก์รู้จักเป็นส่วนตัวกับ พล.อ.ศิรินทร์ ธูปกล่ำ ประธานกรรมการ ทศท. เพราะ พล.อ.ศิรินทร์เป็น ส.ว.ซึ่งอยู่ในคณะกรรมาธิการการบริหารและยุติธรรมของวุฒิสภาด้วยกันกับโจทก์ ยิ่งกว่านั้น พล.อ.ศิรินทร์ยังเบิกความเป็นพยานโจทก์ยอมรับว่า ได้เลือกโจทก์เป็นที่ปรึกษาเพื่อให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย อันเป็นการแต่งตั้งในฐานะเป็นเลขานุการของประธานกรรมการ ทศท. "สาย สัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับประธาน ทศท.จึงผูกพันลึกซึ้งกว่าการรู้จักกันโดยปกติธรรมดาทั่วไป ด้วยเหตุนี้การที่จำเลยตกลงให้โจทก์เป็นผู้ประสานงานในการเสนอขายที่ดินให้ แก่ ทศท.จึงอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างเอกชนกับรัฐกล่าวคือ "ทำให้โจทก์ใช้ความสนิทสนม และสถานะทางการงานที่ใกล้ชิดกับผู้บริหารสูงสุดของ ทศท.เอื้อประโยชน์ให้แก่จำเลย โดยคำนึงถึงค่าจ้างที่ได้รับจากจำเลยเป็นส่วนตัว ซึ่งปรากฏจากคำเบิกความของ พล.อ.ศิรินทร์ พยานโจทก์ที่ว่า โจทก์นัดให้จำเลยได้พบกับ พล.อ.ศิรินทร์ที่ห้องอาหารของโรงแรมดุสิตธานี "นอกจากนี้เมื่อ พล.อ.ศิรินทร์ทราบว่า จำเลยไม่จ่ายเงินให้โจทก์อีก 3 ล้านบาท ก็ได้เรียกโจทก์และจำเลยไปพบผู้อำนวยการวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรเพื่อให้ ไกล่เกลี่ยในเรื่องนี้" แม้โจทก์มีจิตใจบริสุทธิ์และต้องการช่วยเหลือจำเลยให้ได้รับความเป็นธรรมดังที่โจทก์โต้แย้งก็ตาม แต่พฤติกรรมดังกล่าวอาจทำให้เอกชนรายอื่น ตกเป็นผู้เสียเปรียบจำเลยเนื่องจากมิได้จ้างโจทก์ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของประธาน ทศท.คอยประสานงานและช่วยเหลือให้เกิดความเป็นธรรมดังเช่นการเสนอราคาของจำเลย ทั้งยังกระทบถึงผลประโยชน์ ของรัฐที่อาจต้องใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดินจากการซื้อที่ดินในราคาที่ขาด การแข่งขัน ตามความเป็นธรรมและความเหมาะสมแห่งสภาพที่ดินนั้น
ถือได้ว่า เป็นข้อตกลงที่ร่วมกันเอาเปรียบต่อองค์กรของรัฐส่อไปในทางแทรกแซงการบริหารราชการในองค์กรของรัฐ
จึงมีวัตถุประสงค์เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา150
...............
ที่มา:มติชนออนไลน์