อ.สุเทพ พงษ์พิทักษ์
ด้วยเหตุผลที่ว่า ในประเทศไทยมีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตไม่เพียงพอที่จะให้บริการแก่ห้างหุ้นส่วน ขนาดเล็ก ซึ่งได้แก่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล (ขนาดเล็ก) ที่มีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีปีใดไม่ถึง 30 ล้านบาท และมีทรัพย์สินรวมในรอบระยะเวลาบัญชีปีใดไม่ถึง 30 ล้านบาท นั้น เป็นกิจการที่งบการเงินยังไม่มีนัยสำคัญหรือมีจำนวนเงินที่มากเพียงพอแก่การ ที่ต้องตรวจสอบและให้ความเห็นหรือรับรองว่า บัญชีได้จัดทำตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป กรมสรรพากรจึงอดรนทนไม่ได้ที่จะต้องจัดให้มีการตรวจสอบและรับรองบัญชีตาม ประมวลรัษฎากร อาศัยอำนาจตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากร โดย อนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จึงได้ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี เรื่อง กำหนด ระเบียบเกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี ลงวันที่ 12 มี.ค. 44 กำหนดให้ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็กดังกล่าว ต้องมีการตรวจสอบและรับรองบัญชีเพื่อประโยชน์แห่งการเสียภาษีอากรตามประมวล รัษฎากร สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่สิ้นสุดในหรือหลังวันที่ 31 ธ.ค. 45 เป็นต้นไป ซึ่งกระทำโดย ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี เป็นผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ โดยให้ใช้บังคับทั่วราชอาณาจักร
1. “ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต” (Certi fied Public Accountant: CPA) ตามกฎหมายเกี่ยวกับการสอบบัญชี เป็นผู้ได้รับอนุญาตจากอธิบดีให้เป็นผู้ตรวจสอบและรับรอง บัญชี สำหรับบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามประกาศประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี ลงวันที่ 19 มิ.ย. 23
2. “ผู้สอบบัญชีภาษีอากร” (Tax Auditor: TA) ที่ขอขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตจากอธิบดีกรมสรรพากร ให้เป็นผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีเฉพาะห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่จัดตั้งขึ้น ตามกฎหมายไทย ซึ่งได้รับยกเว้นไม่ต้องจัดให้งบการเงินได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็น โดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตามกฎกระทรวงออกตามความในพ.ร.บ.การบัญชี พ.ศ. 2543
อย่างไรก็ตาม หากในรอบระยะเวลาบัญชีปีใดห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวมีทุนจดทะเบียนชำระ แล้วเกินกว่า 5 ล้านบาท และหรือมีรายได้ถึง 30 ล้านบาท และหรือมีทรัพย์สินรวมถึง 30 ล้านบาท ต้องใช้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบและให้ความเห็นในงบดุลด้งเข่น บริษัทหรือห้าหุ้นส่วนนิติบุคคลทั่วไป
จากเดลินิวส์ออนไลน์