สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

จรรยาบรรณของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี

อ.สุเทพ พงษ์พิทักษ์
เดลินิวส์ออนไลน์

ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้กำหนดความหมายของ “จรรยาบรรณ” ว่าหมายถึง ประมวล ความประพฤติ ที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้
 
จรรยาบรรณจึงเป็นหลักความประพฤติเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้มีคุณธรรมและ จริยธรรมของบุคคลในแต่ละกลุ่มวิชาชีพ ซึ่งเรียกว่า จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ (Professional code of ethics) เมื่อประพฤติแล้วจะช่วยรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงทั้งของวิชาชีพ และฐานะของสมาชิก ทำให้ได้รับความเชื่อถือจากสังคมและความไว้วางใจจากผู้มีส่วนได้เสีย
 
ในทางภาษีอากรอธิบดีกรมสรรพากร (นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล-ในขณะนั้น) ได้ กำหนดกรอบจรรยาบรรณของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี ไว้ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 123/2545
 
อันประกอบด้วย จรรยาบรรณต่อตนเอง จรรยาบรรณต่อผู้เสียภาษี จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมอาชีพ จรรยาบรรณทั่วไป
 
จรรยาบรรณต่อตนเอง เป็นหลักในการปฏิบัติงานตรวจสอบและรับรองบัญชี ซึ่งจำแนกเป็น ความเป็นอิสระ ความเที่ยงธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงาน โดยต้องปฏิบัติงานอย่างเต็มที่เต็มความสามารถ ปราศจากความลำเอียงที่จะส่งผลให้มีการละเว้นการเสียภาษีหรือเสียภาษีน้อย กว่าความเป็นจริง 
 
จรรยาบรรณต่อผู้เสียภาษี อาทิ ไม่เปิดเผยความลับกิจการของผู้เสียภาษีหรือผู้อื่นที่เกี่ยวข้องโดยนำออก แจ้งแก่ผู้ใด หรือให้ทราบโดยวิธีใด อันเป็นเหตุให้กิจการนั้นได้รับความเสียหาย เว้นแต่การกระทำนั้นเป็นการกระทำตามหน้าที่ทางวิชาชีพหรือตามกฎหมาย หรือไม่ละทิ้งการปฏิบัติงานตรวจสอบและรับรองบัญชีที่รับไว้แล้วโดยไม่มีเหตุ อันสมควร
 
จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมอาชีพ อาทิ ไม่แย่งงานจากผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีอื่น
 
จรรยาบรรณทั่วไป อาทิ ไม่กระทำการใด ๆ อันอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ แห่งวิชาชีพ ไม่โฆษณาด้วยประการใด ๆ ที่แสดงให้เห็นว่าจะช่วยเหลือให้เสียภาษีน้อยกว่าความเป็นจริง ไม่ให้หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์ใด ๆ เพื่อเป็นการจูงใจให้บุคคลอื่นแนะนำหรือจัดหางานตรวจสอบ และรับรองบัญชีมาให้ตนทำ ไม่เรียกหรือรับทรัพย์สิน  หรือประโยชน์จากการแนะนำหรือการจัดหางาน ของตน
view