(9ธ.ค.) นางสาวไจตนย์ ศรีวังพล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท วิไลเซ็นเตอร์ แอนด์ซันส์ จำกัด ผู้ร่วมดำเนินงานสถานีวิทยุพิทักษ์สันติราษฎร์ สวพ.FM 91 Traffic Pro คลื่นเพื่อข่าวสาร ความปลอดภัยและจราจร กองตำรวจสื่อสาร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม - 30 พฤศจิกายน 2551 มีเจ้าของรถยนต์นั่งส่วนบุคคล รถยนต์กระบะ (ปิกอัพ) และรถยนต์ตู้ โทรศัพท์เข้ามายังหมายเลข 1644 “โทรฟรี” 0-2562-0033-4 และ 0-2941-0847-50 ของทางสถานีฯ เพื่อขอความร่วมมือประกาศ ประชาสัมพันธ์สังเกต ยานพาหนะรถยนต์ซึ่งถูกกลุ่มคนร้ายโจรกรรมไปจากสถานที่จอดรถทั้งในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และต่างจังหวัด จำนวนทั้งสิ้น 627 คัน โดยแยกเป็นรถยนต์กระบะ (ปิกอัพ) จำนวน 411 คัน รถยนต์นั่งส่วนบุคคล จำนวน 200 คัน และรถยนต์ตู้ จำนวน 16 คัน
จากข้อมูล สถิติ และสถานที่ซึ่งเป็นจุดจอดรถที่เจ้าของยานพาหนะ แจ้งผ่านทางรายการ สวพ. FM 91 พบว่า
กลุ่มคนร้ายโจรกรรมรถยนต์ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร หรือกองบัญชาการตำรวจนครบาล เป็นอันดับ 1 จำนวนทั้งสิ้น 402 คัน หรือร้อยละ 64.11 แยกเป็นรถยนต์กระบะ (ปิกอัพ) จำนวน 250 คัน รถยนต์นั่งส่วนบุคคล 144 คัน และรถยนต์ตู้ 8 คัน
ขณะที่อันดับ 2 อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบ กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 จำนวน ทั้งสิ้น 181 คัน แยกเป็นพื้นที่จังหวัดนนทบุรี จำนวน 69 คัน รถกระบะ (ปิกอัพ) 43 คัน รถยนต์นั่งส่วนบุคคล 23 คัน และรถยนต์ตู้ 3 คัน ส่วนจังหวัดปทุมธานี มีจำนวน 60 คัน เป็นรถกระบะ (ปิกอัพ) 44 คัน รถยนต์นั่งส่วนบุคคล 13 คัน และรถยนต์ตู้ 3 คัน
ในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ มีจำนวน 42 คัน เป็นรถยนต์กระบะ (ปิกอัพ) 32 คัน รถยนต์นั่งส่วนบุคคล 10 คัน ส่วนที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีรถยนต์ถูกโจรกรรมไปจำนวน 6 คัน เป็นรถยนต์กระบะ (ปิกอัพ) จำนวน 4 คัน รถยนต์นั่งส่วนบุคคล 2 คัน ที่จังหวัดสระบุรี มีรถยนต์กระบะ (ปิกอัพ) และรถยนต์นั่งส่วนบุคคล รวม 2 คัน ขณะที่จังหวัดอ่างทอง และจังหวัดลพบุรี คนร้ายโจรกรรมรถยนต์กระบะ (ปิกอัพ) รวม 2 คัน
สำหรับอันดับ 3 เป็นพื้นที่รับผิดชอบ กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 7 มียานพาหนะรถยนต์หายจำนวนทั้งสิ้น 31 คัน แยกเป็นรถยนต์กระบะ (ปิกอัพ) 25 คัน รถยนต์นั่งส่วนบุคคล 5 คัน และรถยนต์ตู้ 1 คัน ซึ่งสถานที่จอดรถแล้วถูกกลุ่มคนร้ายโจรกรรมไปนั้น อยู่ในพื้นที่จังหวัดนครปฐม 16 คัน เป็นรถยนต์กระบะ (ปิกอัพ) 15 คัน รถยนต์นั่งส่วนบุคคล 1 คัน พื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร รถยนต์กระบะ (ปิกอัพ) หายจำนวน 10 คัน รถยนต์นั่งส่วนบุคคล 3 คัน และรถยนต์ตู้ 1 คัน และที่จังหวัดราชบุรี มีรถยนต์นั่งส่วนบุคคล หายจำนวน 1 คัน
อันดับ 4 เป็นพื้นที่รับผิดชอบกองบัญชาการตำรวจภูธร ภาค 2 มีรถยนต์กระบะ (ปิกอัพ) หายจากพื้นที่จังหวัดชลบุรี จำนวน 5 คัน รถยนต์นั่งส่วนบุคคล 1 คัน และรถยนต์ตู้ 1 คัน ในพื้นที่จังหวัดระยอง และจังหวัดฉะเชิงเทรา มีรถยนต์กระบะ (ปิกอัพ) หายรวม 2 คัน
ส่วนอันดับ 5 ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบกองบัญชาการตำรวจภูธร ภาค 6 มีรถยนต์กระบะ (ปิกอัพ) หาย 2 คัน และอันดับ 6 อยู่ในพื้นที่กองบัญชาการตำรวจภูธร ภาค 3 ได้แก่ จังหวัดสุรินทร์ จากข้อมูล สถิติ พบว่ามียานพาหนะรถยนต์ถูกกลุ่มคนร้ายโจรกรรมไป เท่ากับ พื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของ กองบัญชาการตำรวจภูธร ภาค 8 เป็นรถยนต์กระบะ (ปิกอัพ) และรถยนต์นั่งส่วนบุคคล รวม 2 คัน
นางสาวไจตนย์ กล่าวและว่า ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม - 30 พฤศจิกายน 2551 ที่ผ่านมา ยานพาหนะรถยนต์กระบะ (ปิกอัพ) ซึ่งถูกกลุ่มคนร้ายโจรกรรมไปจากสถานที่จอดรถ จำนวน 411 คัน หรือร้อยละ 65.55 ของจำนวนรถยนต์ที่หายทั้งหมด พบว่า อันดับ 1 เป็นรถยนต์กระบะ (ปิกอัพ) ยี่ห้อ อีซูซุ จำนวน 168 คัน หรือร้อย 40.88 ของกลุ่มรถยนต์กระบะ ส่วนอันดับ 2 เป็นรถยนต์กระบะ (ปิกอัพ) ยี่ห้อ โตโยต้า จำนวน 115 คัน หรือร้อยละ 27.99 ขณะที่อันดับ 3 เป็นรถยนต์กระบะ (ปิกอัพ) ยี่ห้อ นิสสัน และมิตซูบิชิ ซึ่งมีตัวเลขแจ้งหาย 55 คัน เท่ากัน ส่วนอันดับ 4 เป็นรถยนต์กระบะ (ปิกอัพ) ยี่ห้อ ฟอร์ด และมาสด้า จำนวน 7 คัน เท่ากัน อันดับ 5 เป็นรถยนต์กระบะ (ปิกอัพ) ยี่ห้อ เชฟโรเลต จำนวน 3 คัน และอันดับ 6 เป็นรถยนต์กระบะ (ปิกอัพ) ยี่ห้อ ซูซุกิ จำนวน 1 คัน
สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ซึ่งมีการแจ้งหายผ่านทางสถานีวิทยุ สวพ.FM 91 จำนวนทั้งสิ้น 200 คัน หรือร้อยละ 31.90 นั้น อันดับ 1 เป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ยี่ห้อ โตโยต้า จำนวน 86 คัน หรือร้อยละ 43 ของรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ส่วนอันดับ 2 ได้แก่ รถยนต์นั่งส่วนบุคคล ฮอนด้า จำนวน 63 คัน อันดับ 3อันดับ 4 รถยนต์นั่งส่วนบุคคล ยี่ห้อ มิตซูบิชิ จำนวน 15 คัน อันดับ 5 คือ รถยนต์นั่งส่วนบุคคล ยี่ห้อ อีซูซุ จำนวน 5 คัน อันดับ 6 ได้แก่รถยนต์นั่งส่วนบุคคล ยี่ห้อ มาสด้า จำนวน 4 คัน อันดับ 7 เป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคล เบนซ์ จำนวน 3 คัน อันดับ 8 รถยนต์นั่งส่วนบุคคล บี เอ็ม ดับเบิลยู และ ซาร์ป จำนวน 2 คัน เท่ากัน และอันดับ 9 ได้แก่ รถยนต์นั่งส่วนบุคคล ยี่ห้อ ฮุนได เชฟโรเลต และ วอลโว่ ซึ่งมีการแจ้งหาย จำนวน 1 คัน เท่ากัน ขณะที่รถยนต์ตู้ ซึ่งถูกกลุ่มคนร้ายโจรกรรมไปจำนวน 16 คัน หรือร้อยละ 2.55 นั้น อันดับ 1 เป็นรถยนต์ตู้ ยี่ห้อ โตโยต้า จำนวน 13 คัน ส่วนรถยนต์ตู้ ยี่ห้อ อีซูซุ เบนซ์ และนิสสัน พบว่ามีการแจ้งหาย จำนวน 1 คันเท่ากัน เป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ยี่ห้อ นิสสัน จำนวน 17 คัน
กรณีสถานที่จอดรถแล้วถูกกลุ่มคนร้ายโจรกรรมยานพาหนะไปนั้น จากข้อมูล สถิติ ที่ได้รับแจ้งจากเจ้าของยานพาหนะรถยนต์ ปรากฏว่า สถานที่ “จอดรถหาย หรือจอดแล้วหาย” อันดับ 1 คือ สถานที่จอดรถประจำ พบว่ามีรถยนต์ จำนวนถึง 439 คัน หรือคิดเป็นร้อยละ 70.02 ถูกกลุ่มคนร้ายลงมือก่อเหตุโจรกรรมมากที่สุด โดยสถานที่จอดรถประจำแบ่งเป็นประเภทที่จอดรถ ริมถนน หน้าบ้านพักอาศัย เป็นสถานที่เสี่ยง อันดับ 1 มียานพาหนะรถยนต์หาย ไปจำนวนถึง 338 คัน หรือร้อยละ 53.91 อันดับ 2 เป็นลานจอดรถ อาคารที่พักอาศัย ประเภท หอพัก อพาร์ตเม้นต์ คอนโด และแมนชั่น มียานพาหนะรถยนต์หาย จำนวนทั้งสิ้น 72 คัน หรือร้อยละ 11.48 ส่วนอันดับ 3 เป็นสถานที่จอดรถ ประจำ ประเภท การเคหะ ซึ่งมีรถยนต์หาย ไปจำนวน 29 คัน หรือร้อยละ 4.63
แม้ข้อมูล สถิติ ตัวเลขรถยนต์ที่หายในช่วง 7 เดือน ที่ผ่านมา สถานที่เสี่ยงต่อการถูกโจรกรรมรถยนต์จะเป็นที่จอดรถประจำก็ตาม แต่สถานที่จอดรถ ชั่วคราว ผู้ที่เป็นเจ้าของรถยนต์ทุกคนไม่ควรประมาท โดยเฉพาะสถานที่จอดรถ ชั่วคราว ที่จัดเป็นพื้นที่เสี่ยง “จอดรถหาย หรือจอดแล้วหาย” อันดับ 1 ได้แก่ ลานจอดรถ ตลาด พบว่ามีรถยนต์ถูกคนร้ายโจรกรรมไปจำนวนถึง 41 คัน หรือร้อยละ 6.54 อันดับ 2 ได้แก่ ลานจอดรถห้างสรรพสินค้า มีรถยนต์หาย จำนวน 24 คัน หรือร้อยละ 3.83 ส่วนอันดับ 3 ได้แก่ ลานจอดรถ สถานบันเทิง ร้านอาหาร อันดับ 4 เป็นลานจอดรถศาสตร์สนสถาน วัด หรือศาลหลักเมือง
อันดับ 5 ได้แก่ สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง หรือปั้มน้ำมัน อันดับ 6 ได้แก่ สถานที่พักผ่อน ท่องเที่ยว สวนหย่อม และสวนสาธารณะ นอกจากนี้ ยังพบว่า มียานพาหนะรถยนต์จำนวน 30 คัน หายไปจากสถานที่จอดรถบริเวณหน้าบริษัท หรือสถานที่ทำงาน ขณะที่สถานพยาบาล โรงพยาบาล หรือสถานที่ราชการ มีรถยนต์หาย จำนวน 10 คัน และยังพบว่ามีสถานที่เสี่ยง ที่หลายคนไม่นึกว่าคนร้าย จะกล้าลงมือโจรกรรมรถยนต์ไป ได้แก่ ศูนย์บริการ อู่ซ่อมรถยนต์ สถาบันการศึกษา สมาคม ริมถนนซึ่งผู้ขับขี่จอดรถนอนหลับพักสายตา หรือแม้กระทั่ง ลานจอดรถใต้ทางด่วนฯ สถานีขนส่ง สถานีรถไฟ รวมถึงโรงแรม
นางสาวไจตนย์ กล่าวต่อว่า รถยนต์กระบะ (ปิกอัพ) รถยนต์นั่งส่วนบุคคล และรถยนต์ตู้ ที่ถูกกลุ่มคนร้ายโจรกรรมไปจากสถานที่จอดรถประจำ และสถานที่จอดรถ ชั่วคราว ในช่วง 7 เดือน ซึ่งทางสถานีวิทยุพิทักษ์สันติราษฎร์ สวพ.FM 91 ได้ทำการจัดเก็บข้อมูล สถิติ พบว่า มีสถานที่เสี่ยงสามารถจัดอันดับ ให้เป็นสถานที่ “จอดรถหาย หรือจอดแล้วหาย” ได้ 70 แห่ง เพราะมียานพาหนะหายไปจากสถานที่ดังกล่าวอย่างน้อยสถานที่ละ 2 คัน รวมจำนวนรถยนต์ที่ถูกโจรกรรมไป 185 คัน หรือคิดเป็นร้อยละ 29.51
อันดับ 1 ได้แก่ การเคหะ ร่มเกล้า, เคหะ คลองจั่น, ลานจอดรถตลาดสนามหลวง 2, คอนโดเมืองทองธานี และห้างสรรพสินค้า เซียร์ รังสิต มียานพาหนะรถยนต์ถูกกลุ่มโจรกรรมไปแล้วสถานที่ละ 6 คัน ในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา
ขณะที่อันดับ 2 เป็นสถานที่จอดรถ ซึ่งมีรถยนต์หายไปแล้ว สถานที่ละ 4 คัน ได้แก่ ตลาดกรมชลประทาน ถนนติวานนท์, หมู่บ้าน รินทร์ทอง คลอง 2 ลำลูกกา, ซอยลาดพร้าว 112 ถนนลาดพร้าว, และซอยกำนันแม้น หรือเอกชัย 36 ถนนเอกชัย
ส่วนอันดับ 3 เป็นสถานที่จอดรถ ที่มีรถยนต์ถูกโจรกรรมไปแล้ว สถานที่ละ 3 คัน ประกอบด้วย ตลาดไท ถนนพหลโยธิน, ซอยมังกร-ขันดี ถนนเทพารักษ์, หมู่บ้านเสนานิเวศน์ ถนนเสนานิคม, ซอยจุฬาเกษม หรืองามวงศ์วาน 18 ถนนงามวงศ์วาน, ซอยท่าข้าม ถนนพระราม 2, ซอยท่าอิฐ ถนนรัตนธิเบศน์, ซอยลาดพร้าว 101, ซอยแฮปปี้แลนด์ ถนนลาดพร้าว, ถนนกรุงเทพ-กรีฑา, ซอยสุขุมวิท 71 หรือปรีดีพนมยงค์, ลานจอดรถ ตลาดมีนบุรี, ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง จังหวัดสมุทรสาคร, หมู่บ้านประชานิเวศน์ 3 ถนนสามัคคี, ซอยวัดด่านสำโรง ถนนศรีนครินทร์, ซอยเรวดี ถนนติวานนท์, ซอยเอกชัย 76 ถนนเอกชัย, และถนนสุขาภิบาล 1 (ฝั่งธนบุรี)
และอันดับ 4 เป็นสถานที่ ซึ่งมีรถยนต์กระบะ (ปิกอัพ) รถยนต์นั่งส่วนบุคคล และรถยนต์ตู้ หายไปแล้วสถานที่ละ 2 คัน ได้แก่ ลานจอดรถใต้ทางด่วนฯ ซอยพหลโยธิน 1, ซอยพหลโยธิน 48, ซอยพหลโยธิน 52, ซอยพหลโยธิน 56, ลานจอดรถมหาวิทยาลัย รังสิต, ลานจอดรถ กอล์ฟ แมนชั่น ข้างมหาวิทยาลัย รังสิต, ห้างสรรพสินค้า ฟิวเจอร์ ปาร์ค รังสิต ถนนพหลโยธิน, หมู่บ้าน ณัฐดา ซอยรังสิต-นครนายก 62, ห้างสรรพสินค้า แฟชั่น ไอร์แลนด์, ซอยคู้บอน, ถนอมมิตร ปาร์ค คอนโด วัชรพล ถนนรามอินทรา, เคหะ ปากเกร็ด นนทบุรี,
ซอยติวานนท์ 13 ถนนติวานนท์, หมู่บ้านรัตนธิเบศน์, บางใหญ่ ซิตี้ ถนนตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี, สมาคมชาวปักย์ใต้, หมู่บ้าน สุขสันต์ 6 ถนนกาญจนาภิเษก, เคหะ ทุ่งสองห้อง ถนนแจ้งวัฒนะ, ซอยชินเขต หรืองามวงศ์วาน 47, ซอยประชาราษฎร์ 1 ถนนประชาราษฎร์, ซอยลาดพร้าว 43, ซอยลาดพร้าว 71, ซอยลาดพร้าว 109 ถนนลาดพร้าว, ซอยรามคำแหง 24, ซอยรามคำแหง 58, ซอยรามคำแหง 188 ถนนรามคำแหง, เคหะ ดินแดง, ซอยอ่อนนุช 17 ถนนอ่อนนุช, ซอยสุภาพงษ์ ถนนศรีนครินทร์, ซอยที่ดินไทย ถนนเทพารักษ์, ลานจอดรถวัดพลับพลาไชย ถนนหลวง, ทางเข้า สน.บุปผาราม ถนนอิสรภาพ, ซอยจรัญสนิทวงศ์ 57 ถนนจรัญสนิทวงศ์, ซอยเอกชัย 34, ซอยบางบอน 5 ถนนเอกชัย, ซอยเพชรเกษม 88, ซอยเพชรเกษม 114, ฟาร์มจระเข้ สามพราน, ลานจอดรถ วัดไร่ขิง ถนนเพชรเกษม, ซอยประชาอุทิศ 27 (ฝั่งธนบุรี), ซอยสะแกงาม ถนนพระราม 2, ตลาดมหาชัย สมุทรสาคร, ห้างสรรพสินค้า เทสโก้ โลตัส สาขา ศาลายา จังหวัดนครปฐม
สถานที่เสี่ยง “จอดรถหาย หรือจอดแล้วหาย” ที่อยู่ในกลุ่มสถานที่จอดรถประจำ ของอาคารที่พักอาศัยประเภท หอพัก อพาร์ตเม้นต์ คอนโด และแมนชั่น ซึ่งเจ้าของยานพาหนะรถยนต์พึงระวัง อันดับ 1 ได้แก่ ลานจอดรถ คอนโด เมืองทองธานี อันดับ 2 คือลานจอดรถ หอพัก อพาร์ตเม้นต์ คอนโด และแมนชั่น ภายในซอยลาดพร้าว 112 และอันดับ 3 คือ ซอยลาดพร้าว 43 ถนนลาดพร้าว, ถนนลาดปลาเค้า, ถนนศรีนครินทร์, ถนอมมิตร ปาร์ค คอนโด, ถนนประชาสงเคราะห์, ซอยจุฬาเกษม หรืองามวงศ์วาน 18, บางใหญ่ ซิตี้ ถนนตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี, แมนชั่น หอพัก ข้างมหาวิทยาลัย กรุงเทพ ศูนย์รังสิต, ริมถนนสุขุมวิท จังหวัดสมุทรปราการ, ถนนเทพารักษ์, และถนนเพชรเกษม ขณะเดียวกัน ลานจอดรถที่พักอาศัย ประเภท การเคหะ อันดับ 1ส่วนอันดับ 2 คือ การเคหะ บางพลี เมืองใหม่ และอันดับ 3 ได้แก่ การเคหะ ดินแดง ทุ่งสองห้อง และ ปากเกร็ด นนทบุรี ได้แก่ การเคหะ ร่มเกล้า และการเคหะ คลองจั่น
ส่วนสถานที่จอดรถชั่วคราว ประเภท ลานจอดรถของตลาด ที่พึงระวัง เพราะเป็นสถานที่เสี่ยง อันดับ 1 ได้แก่ ตลาดสนามหลวง 2 ถนนพุทธมณฑล สาย 2 อันดับ 2 คือ ตลาดกรมชลประทาน ถนนติวานนท์ อันดับ 3 ประกอบด้วย ตลาดมีนบุรี และตลาดไท และอันดับ 4 คือ ตลาดมหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร สำหรับลานจอดรถของ ห้างสรรพสินค้า ที่ถูกจัดให้อยู่ในสถานที่เสี่ยง อันดับ 1 ได้แก่ ลานจอดรถ ห้างสรรพสินค้า เซียร์ รังสิต ถนนพหลโยธิน ส่วนอันดับ 2 คือ ลานจอดรถ ห้างสรรพสินค้า แฟชั่น ไอร์แลนด์ ถนนรามอินทรา, ห้างสรรพสินค้า ฟิวเจอร์ ปาร์ค รังสิต ถนนพหลโยธิน และห้างสรรพสินค้า เทสโก้ โลตัส สาขา ศาลายา จังหวัดนครปฐม และสถานที่จอดรถซึ่งเป็นลานจอดรถของวัด และศาลหลักเมือง ที่ควรระมัดระวังอย่างยิ่ง อันดับ 1 ได้แก่ ลานจอดรถ ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง จังหวัดสมุทรสาคร อันดับ 2 คือลานจอดรถ วัดไร่ขิง และลานจอดรถวัดพลับพลาไชย
“ผู้ขับขี่รถยนต์ หรือเจ้าของยานพาหนะรถยนต์ทุกคันต่างระมัดระวัง และไม่ประมาทในเรื่องของการป้องกันการโจรกรรมรถยนต์จากกลุ่มมิจฉาชีพ ข้อมูล และสถิติที่ปรากฏ พบว่ายานพาหนะรถยนต์ถูกกลุ่มคนร้ายโจรกรรมไปจากสถานที่จอดรถ ซึ่งทุกคนต่างมองว่าเป็นสถานที่จอดรถที่ปลอดภัยที่สุด แต่กลับมีสถิติยานพาหนะรถยนต์ถูกคนร้ายโจรกรรมไปกว่าเดือนละ 80 คัน” นางสาวไจตนย์ กล่าว