อ.สุเทพ พงษ์พิทักษ์
เดลินิวส์ออนไลน์
เดลินิวส์ออนไลน์
ในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 เพื่อชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำรอบระยะเวลาบัญชี ภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต้องแนบบัญชีงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุน ที่มีผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร
ประกอบด้วย ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) สามารถตรวจสอบและรับรองงบบัญชีของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้ทุก ประเภทกิจการ และผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA) มีสิทธิตรวจสอบและรับรองบัญชีได้เฉพาะห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็กที่มี ทุนชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อปี และมีสินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาทที่ผ่านมากรมสรรพากรตรวจพบความผิดปกติในการปฏิบัติงานตรวจสอบและรับ รองบัญชีของทั้ง CPA และ TA ว่า ไม่เป็นไปตามจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี อาทิ
1. ปลอมแปลงใบเสร็จรับเงินของกรม สรรพากร
2. ปลอมแปลงลายมือชื่อของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี
3. ลงลายมือชื่อรับรองงบการเงินโดยมิได้เป็นผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี
4. ลงลายมือชื่อรับรองงบการเงินโดยมิได้ปฏิบัติงาน
5. การกำหนดค่าธรรมเนียมหรือค่าตอบแทนโดยถือเอาตามยอดรายได้ของนิติบุคคล โดยไม่คำนึงถึงความยากง่ายในการปฏิบัติงาน
6. มีการรับรองงบการเงินมากเกินความสามารถซึ่งขณะนี้ทั้งสภาวิชาชีพและกรมสรรพากรกำหนดให้รับรองงบการเงินได้ไม่เกิน 300 รายต่อปี
7. มีการรับรองงบการเงินขณะที่ถูกลงโทษพักหรือถอนใบอนุญาต
กรมสรรพากรได้เคยเตือนให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้โปรดใช้ความ ระมัดระวังการเลือกผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีที่มีความรู้ความสามารถที่ดี และมีจรรยาบรรณของความเป็นผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีตามมาตรฐานการสอบบัญชี และการสอบบัญชีภาษีอากร เพียงพอและเหมาะสม
โดยทำความรู้จักและเลือกผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีของกิจการด้วยตนเอง ไม่ปล่อยให้ตัวแทนนายหน้าใด ๆ มาจูงใจให้ตัดสินใจเลือกผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีของกิจการที่ไม่มี คุณสมบัติเพียงพอ อันอาจทำให้ต้องมีภาระภาษีเพิ่มเติม
พร้อมทั้งเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และค่าปรับทางอาญา ตลอดจนต้องเสียเวลาและโอกาสที่ดีโดยไม่จำเป็น ก่อให้เกิดช่องโหว่ที่อาจทำให้เกิดการทุจริตหรือการผิดพลาดโดยตั้งใจและไม่ ตั้งใจ ซึ่งทำให้เสียความมีสง่าราศีของกิจการ