สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เปิดราคาประเมินที่ดินใหม่ทั่วปท. ศูนย์ราชการฯ-เซ็นทรัล ดันที่ดอนเมือง-หลักสี่พุ่ง1แสน/ตรว.

ประชาชาติธุรกิจ
สปท.ปรับราคาประเมินที่ดินใหม่ มีผลบังคับใช้ 1 มกราคม 52 เผย 9 เขตใน กทม.ปรับขึ้นเฉลี่ย 35% สูงสุดเขตลาดพร้าว 65.77% ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ ห้างเซ็นทรัล รถไฟฟ้าสีชมพู ดันที่ดินดอนเมือง หลักสี่พุ่งกระฉูด ราคา 1-1.25 แสนบาท/ตรว. ด้านประเวศ สวนหลวงได้อานิสงส์สนามบินสุวรรณภูมิ ส่วนต่างจังหวัดปรับขึ้นรวดเดียว 52 จังหวัด 120 อำเภอ สูงสุดอำเภอวังจันทน์ จ.ระยอง 57.23% เขตเทศบาลชุมแสง

นายแคล้ว ทองสม ผู้อำนวยการสำนักประเมินราคาทรัพย์สิน (สปท.) กรมธนารักษ์ เปิดเผยว่า วันที่ 1 มกราคม 2552 นี้ จะประกาศใช้ราคาประเมินที่ดินใหม่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร(กทม.) 9 เขต และต่างจังหวัดอีก 52 จังหวัด รวม 120 อำเภอ ซึ่งเป็นการปรับปรุงราคาประเมินระหว่างรอบปี หลังประกาศใช้ราคาประเมินที่ดินรอบบัญชี 2551-2554 เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2551 ที่ผ่านมา โดยราคารอบนี้สะท้อนราคาที่เป็นจริงมากขึ้นกว่าเดิม

ในส่วนของพื้นที่กรุงเทพฯทั้ง 9 เขต เทียบกับปี 2551 เปลี่ยนแปลงเฉลี่ย 35.01% มีสาขาดอนเมืองพื้นที่เขตดอนเมืองและเขตหลักสี่ เปลี่ยนแปลง 29.27% ได้รับอิทธิพลจากโครงการศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล รถไฟฟ้าสายสีชมพู ถนนนาวงที่ตัดใหม่ รถไฟชานเมืองสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต ที่ดันให้ราคาที่ดินแพงขึ้น แพงสุดคือถนนแจ้งวัฒนะ เดิม 85,000-100,000 บาท/ตรว. เป็น 100,000-125,000 บาท/ตรว. เปลี่ยนแปลง 17.86-25% ถนนงามวงศ์วาน เดิม 100,000 บาท/ตรว. เป็น120,000 บาท/ตรว. เปลี่ยนแปลง 20% ถนนวิภาวดีรังสิต เดิม 85,000-100,000 บาท/ตรว. เป็น 100,000 บาท/ตรว.เปลี่ยนแปลง 17.65% ถนนพหลโยธิน เดิม 60,000 บาท/ตรว. เป็น 70,000 บาท/ตรว. เปลี่ยนแปลง 16.67%

ถนนสรงประภา เดิม 26,000-51,000 บาท/ตรว.เป็น 30,000-55,000 บาท/ตรว. เปลี่ยนแปลง 15.38-7.84% ถนนกำแพงเพชร 6หรือโลคัลโรด เดิม 30,000 บาท/ตรว. เป็น 45,000 บาท/ตรว. เปลี่ยนแปลง 50% ถนนเชิดวุฒากาศ เดิม 30,000 บาท/ตรว.เป็น 45,000 บาท/ตรว. เปลี่ยนแปลง 50% ถนนเลียบคลองประปา เดิม 10,000-38,000 บาท/ตรว. เป็น17,000-38,000 บาท/ตรว. เปลี่ยนแปลง 70-14.29% ถนนช่างอากาศอุทิศ เดิม 21,000-26,000 บาท/ตรว. เป็น 24,000-33,000 บาท/ตรว.เปลี่ยนแปลง 26.92%

สาขาประเวศพื้นที่เขตประเวศและเขตสวนหลวง เปลี่ยนแปลง 13.58% ถือว่ายังไม่มาก แต่ยังมีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องจากสนามบินสุวรรณภูมิ การเปิดใช้ถนนวงแหวนด้านใต้ แพงสุดคือถนนศรีนครินทร์ เดิม 1000,000-130,000 บาท/ตรว. เป็น 140,000 บาท/ตรว. เปลี่ยนแปลง 40-7.69% ถนนพัฒนาการ เดิม 50,000-130,000 บาท/ตรว. เป็น 85,000-140,000 บาท/ตรว.เปลี่ยนแปลง 70-7.69% ถนนอ่อนนุช เดิม 40,000-85,000 บาท/ตรว. เป็น 45,000-100,000 บาท/ตรว. เปลี่ยนแปลง 12.50% ถนนพระราม9 ตัดใหม่ ทรงตัว 80,000 บาท/ตรว.

ถนนสุขุมวิท103(อุดมสุข) ทรงตัว 80,000 บาท/ตรว.ถนนเฉลิมพระเกียรติ์ร.9 เดิม 20,000-50,000 บาท/ตรว. เป็น 20,000-60,000 บาท/ตรว. เปลี่ยนแปลง 20% ถนนรามคำแหง2 เดิม 20,000-40,000 บาท/ตรว. เป็น 25,000-40,000 บาท/ตรว.เปลี่ยนแปลง 25% ถนนสุขาภิบาล2 เดิม 20,000 บาท/ตรว.เป็น 25,000 บาท/ตรว. เปลี่ยนแปลง 25% ถนนกาญจนาภิเษก เดิม 15,000 บาท/ตรว.เป็น 15,000-17,000 บาท/ตรว. เปลี่ยนแปลง 13.33%

สาขาบึงกุ่มพื้นที่เขตบึงกุ่ม คันนายาว และสะพานสูง เปลี่ยนแปลง32.50% เพราะมีรถไฟฟ้าสีชมพูผ่าน มีทางด่วนสายใหม่รามอินทรา-วงแหวนรอนนอกที่กำลังจะเปิดใช้ ถนนตัดใหม่รัชดา-รามอินทรา ถนนนวมินทร์-วงแหวนรอบนอก พื้นที่แพงสุดถนนรามอินทรา เดิม 50,000-55,000 บาท/ตรว.เป็น 65,000-95,000 บาท/ตรว.เปลี่ยนแปลง 30-72.73% ถนนนวมินทร์(ถนนสุขาภิบาล1) เดิม 51,000-55,000 บาท/ตรว.เป็น 85,000 บาท/ตรว. เปลี่ยนแปลง 66.67-54.55% ถนนประดิษฐ์มนูญธรรม เดิม 60,000 บาท/ตรว.เป็น 70,000 บาท/ตรว. เปลี่ยนแปลง 16.67% ถนนรามคำแหง(ถนนสุขาภิบาล3) เดิม 40,000-47,000 บาท/ตรว.เป็น 60,000-70,000 บาท/ตรว. เปลี่ยนแปลง 50-48.94% ถนนเสรีไทย(ถนนสุขาภิบาล2) เดิม 34,000-47,000 บาท/ตรว.เป็น 50,000-66,500 บาท/ตรว. เปลี่ยนแปลง 47.06-41.49%

ถนนประเสริฐมนูกิจ(เกษตร-นวมินทร์) เดิม 30,000 บาท/ตรว.เป็น 50,000 บาท/ตรว. เปลี่ยนแปลง 66.67% ถนนนวลจันทร์ เดิม 25,000 บาท/ตรว.เป็น 45,000 บาท/ตรว. เปลี่ยนแปลง 80% ถนนคู้บอน เดิม 25,000-30,000 บาท/ตรว. เป็น 40,000-45,000 บาท/ตรว. เปลี่ยนแปลง 60-50% ถนนโพธิ์แก้ว เดิม 30,000-35,000 บาท/ตรว.เป็น 34,000-42,000 บาท/ตรว.เปลี่ยนแปลง 13.33-20% ถนนราษฎร์พัฒนา 15,000-17,000 บาท/ตรว. เป็น 26,000-40,000 บาท/ตรว. เปลี่ยนแปลง 73.33-135.29% ถนนรัชดา-รามอินทรา 40,000 บาท/ตรว. ถนนเกษตรนวมินทร์-วงแหวนตะวันออก 35,000 บาท/ตรว.ถนนกรุงเทพ-กรีฑา 12,000-30,000 บาท/ตรว.เป็น 15,000-30,000 บาท/ตรว.เปลี่ยนแปลง 25%

พื้นที่ลาดพร้าว เปลี่ยนแปลง65.77% เพราะมีโครงการหมู่บ้านจัดสรรราคาแพงเกิดขึ้นมาก จึงทำให้ราคาที่ดินแพงตามไปด้วยและมีถนนตัดใหม่ที่เป็นทางลัดเช่น ถนนรัชดา-รามอินทรา เป็นต้น ราคาแพงสุดคือถนนประดิษฐ์มนูธรรม 60,000 บาท/ตรว.เป็น 70,000-80,000 บาท/ตรว. เปลี่ยนแปลง 16.67-33.33% ถนนเสนานิคม1 30,000-50,000 บาท/ตรว.เป็น 50,000-71,500 บาท/ตรว. เปลี่ยนแปลง 66.67-43% ถนนประเสริฐมนูกิจ 30,000 บาท/ตรว.เป็น 65,500 บาท/ตรว. เปลี่ยนแปลง 121.67% ถนนลาดพร้าว-วังหิน 47,000 บาท/ตรว.เป็น 64,500 บาท/ตรว.เปลี่ยนแปลง 37.23% ถนนโชคชัย4 ราคา 47,000 บาท/ตรว.เป็น 64,500 บาท/ตรว.เปลี่ยนแปลง 37.23%

ถนนลาดปลาเค้า 43,000 บาท/ตรว.เป็น 62,500 บาท/ตรว. เปลี่ยนแปลง45.35% ถนนนาคนิวาส 30,000 บาท/ตรว. เป็น 50,000-62,000 บาท/ตรว. เปลี่ยนแปลง 66.67-106.67% ถนนสตรีวิทยา2 ราคา22,000 บาท/ตรว.เป็น 45,000-57,000 บาท/ตรว. เปลี่ยนแปลง 104.55-159.09% ถนนสังคมสงเคราะห์ 26,000-34,000 บาท/ตรว.เป็น 38,000-50,000 บาท/ตรว. เปลี่ยนแปลง 46.15-47.06% ถนนสุคนธสวัสดิ์ 25,000-30,000 บาท/ตรว.เป็น 50,000-70,000 บาท/ตรว.เปลี่ยนแปลง 100-133.33% ถนนมัยลาภ 25,000บาท/ตรว.เป็น 35,000 บาท/ตรว.เปลี่ยนแปลง 40%

พื้นที่จตุจักร เปลี่ยนแปลง 33.67% เพราะมีรถไฟฟ้าใต้ดิน หัวลำโพง-บางซื่อและได้รับอิทธิพลจากศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ รถไฟฟ้าสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต แพงสุดคือถนนพหลโยธิน 120,000-170,000 บาท/ตรว.เป็น 120,000-200,000 บาท/ตรว. เปลี่ยนแปลง 17.65% ถนนวิภาวดีรังสิต 130,000-150,000 บาท/ตรว.เป็น 150,000-200,000 บาท/ตรว. เปลี่ยนแปลง 15.38-33.33% ถนนรัชดาภิเษก 80,000-130,000 บาท/ตรว.เป็น 145,000-150,000 บาท/ตรว.เปลี่ยนแปลง 81.25-15.38% ถนนลาดพร้าว 120,000-130,000บาท/ตรว.เป็น 180,000 บาท/ตรว. เปลี่ยนแปลง 50-38.76%

ถนนงามวงศ์วาน 120,000-170,000 บาท/ตรว.เป็น 140,000-180,000 บาท/ตรว.เปลี่ยนแปลง 16.67-5.88% ถนนเทศบาลนฤมาลสงเคราะห์ 100,000 บาท/ตรว.เป็น 160,000 บาท/ตรว. เปลี่ยนแปลง 60% ถนนเสนานิคม1 จาก 70,000-80,000 บาท/ตรว.เป็น 80,000-100,000 บาท/ตรว. เปลี่ยนแปลง 14.29-25% ถนนประเสริฐมนูกิจ 70,000 บาท/ตรว.เป็น 90,000 บาท/ตรว. เปลี่ยนแปลง 28.57%

สำหรับพื้นที่ต่างจังหวัดทั้ง 52 จังหวัด ราคาประเมินเปลี่ยนแปลงเฉลี่ย 12.825% ซึ่งไม่มาก เนื่องจากปีที่แล้วมีการปรับราคาค่อนข้างสูง เช่น จังหวัดสุราษฎร์ธานี ละในรอบปีที่จะประกาศนี้เป็นการประเมินอย่างละเอียดแค่นั้นเอง และมีบางพื้นที่ที่ชะลอตัวก็มี เช่น จังหวัดสงขลา ผลพวงมาจากปัญหาชายแดนภาคใต้

ส่วนจังหวัดที่เปลี่ยนแปลงสูงสุด คือ อ.วังจันทร์ จ.ระยอง 57.23% เพราะรอบที่แล้วไม่มีการปรับและราคาเดิมต่ำอยู่แล้ว โดยสูงสุดอยู่ที่เขตเทศบาลชุมแสง ระยะห่างจากริมถนน 40 เมตร ติดถนนโรงเรียนวังจันทน์ และถนนวัดชุมแสง จาก 375 บาท/ตรว.เป็น 1,250 บาท/ตรว. เปลี่ยนแปลง 233% ติดสหกรณ์หนองหอย จาก 250 บาท/ตรว.เป็น 750 บาท/ตรว. นอกเขตเทศบาล มากสุด 650% เป็นที่ดินในโครงการอุทยานกอล์ฟวังจันทน์ จาก 200 บาท/ตรว.เป็น 1,500 บาท/ตรว. ติดสายชุมชนป้ายอใน-บ้านตาเหย้า 200 บาท/ตรว.เป็น 750 บาท/ตรว.เพิ่ม 275%

สำหรับจังหวัดที่มีการปรับราคาประเมินใหม่ คือ ระยอง เปลี่ยนแปลง 57.23% นครศรีธรรมราช 47.90% อุดรธานี 43.06% ชลบุรี 41.30% ร้อยเอ็ด 40.36% ราชบุรี 26.76% อุบลราชธานี 23.39% ลำปาง 22.96% ระนอง 21.23% นครพนม 19.26% มหาสารคาม 18.74% สุโขทัย 16.10%ยโสธร 15.52% กาฬสินธุ์ 14.67% สุพรรณบุรี 14.71% หนองคาย 14.25% ตาก 12.52% กำแพงเพชร 12% สมุทรสาคร 11.98% ลำพูน 11.14% ตรัง 10.40% ขอนแก่น 9.27%

พิจิตร 9.23% ชัยภูมิ 9.03% บุรีรัมย์ 8.88% นครราชสีมา 8.87% หนองบัวลำภู 8.36% สระแก้ว 8% ศรีสะเกษ 7.78% เพชรบูรณ์ 7.77% น่าน 7.72% นครสวรรค์ 7.30% สกลนคร 6.95% เพชรบุรี  6.36% กาญจนบุรี 6.19% อุทัยธานี 5.79% พิษณุโลก 5.73% สระบุรี 5.71% เชียงใหม่ 5.42% ชัยนาท 5.38% พังงา 5.36% สมุทรสงคราม 5.04% อุตรดิตถ์ 4.45% อำนาจเจริญ 4.29% ฉะเชิงเทรา 3.85% เชียงราย 3.60% ลพบุรี 3.47% ปทุมธานี 2.44% สุราษฎร์ธานี 2.34% สงขลา 1.43% สิงห์บุรี 0.78% ปราจีนบุรี 0.78%

เมื่อแยกเป็นรายภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 16 จังหวัด  39 อำเภอ เปลี่ยนแปลง 14.58% ภาคกลาง 16 จังหวัด 33 อำเภอ เปลี่ยนแปลง 12.53% ภาคเหนือ 14 จังหวัด 28 อำเภอ เปลียนแปลง 9.41% ภาคใต้ 6 จังหวัด 20 อำเภอ เปลี่ยนแปลง 14.78%


ประเมินที่ดินใหม่ "ลาดพร้าว" พุ่งพรวด 65.77%

ประชาชาติธุรกิจ
กรมธนารักษ์ ประกาศปรับปรุงราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินใหม่ใน 9 เขตของกรุงเทพฯ และใน 120 อำเภอของ 52 จังหวัด โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.52 เป็นต้นไป โดยราคาในเขตกรุงเทพฯ ปรับตัวสูงขึ้นเฉลี่ย 35% ซึ่งในเขตลาดพร้าวปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุด 65.77% ขณะที่ในส่วนภูมิภาคปรับตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 12.8% ซึ่ง อ.วังจันทน์ จ.ระยอง ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุด 57.23% ทั้งนี้ กรมธนารักษ์จะปรับปรุงราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินทุกปี โดยพิจารณาจากความแตกต่างของราคาประเมินกับราคาซื้อขายในตลาด ซึ่งในส่วนภูมิภาคนั้นมีนโยบายที่จะประเมินเป็นรายบล็อคโดยนำระวางแผนที่ UTM มาใช้แทนแผนที่ภูมิประเทศ เพื่อให้ราคาประเมินใกล้เคียงกับราคาตลาด นายแคล้ว ทองสม ผู้อำนวยการ สำนักประเมินราคาทรัพย์สิน กรมธนารักษ์ เปิดเผยว่า กรมฯประกาศราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน รอบปี 51-54 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อ 1 ม.ค.51 ที่ผ่านมา แต่เนื่องจากกรมมี่นโยบายที่จะจัดทำราคาประเมินที่ดินให้สะท้อนราคาตลาด จึงได้มีการปรับปรุงราคาประเมินที่ดินระหว่างรอบ โดยรอบแรกได้ปรับปรุงราคาประเมินที่ดินในเขต กทม. 9 เขต ประกอบด้วย เขตดอนเมือง หลักสี่ ประเวศ สวนหลวง บึ่งกุ่ม สะพานสูง คันนายาว ลาดพร้าว และจตุจักร และ อีก52  จังหวัด 120 อำเภอในภูมิภาคต่างๆ "ราคาประเมินที่ดินที่ประกาศจะมีผลใช้ 4 ปี แต่หากพบว่าพื้นที่ใดราคาที่ดินมีการเปลี่ยนแปลงมาก กรมฯก็จะประเมินที่ดินระหว่างรอบได้ใหม่ เป็นการประเมินก่อนเวลา เช่นที่ กทม. มี 50 กว่าเขต เฉลี่ยจะทยอยประเมินปีละ 10  เขต ซึ่งที่เราไม่สามารถประเมินใหม่ได้พร้อมกันหมด เนื่องจากมีข้อจำกัดเรื่องคน ทำให้ประเมินไม่ได้พร้อมกัน" นายแคล้ว กล่าว นายแคล้ว กล่าวอีกว่า การประเมินราคาที่ดินระหว่างรอบนี้ จะมีผลทำให้ราคาซื้อขายที่ดินในตลาดกับราคาประเมิน มีความใกล้เคียงกันมากขึ้น แต่ข้อเท็จจริง ราคาซื้อขายที่ดิน จะยังสูงกว่าราคาประเมินอย่างแน่นอน และการประเมินราคาที่ดินครั้งนี้ จะมีผลทำให้รัฐบาล มีรายได้จากการจัดเก็บภาษีที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายที่ดินได้เพิ่มขึ้น บ้าง แต่อาจไม่มากนัก เนื่องจากรัฐบาลได้มีการประกาศลดหย่อนภาษีที่เกี่ยวข้องกับภาคอสังหาริม ทรัพย์เพื่อช่วยลดภาระให้ประชาชน ทั้งนี้ ในการประกาศราคาประเมินที่ดินรอบ 4 ปี เฉลี่ยราคาที่ดินทั่วประเทศเพิ่มขึ้น 27% โดยที่ดินในกทม.เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 17%  ราคาสูงสุด อยู่ที่ สีลม  ราคาประเมินที่ 650,000 [km/ตร.วา เพิ่มขึ้น 30% ยังไม่เปลี่ยนแปลง เนื่องจากถนนสีลม ยังไม่ถึงกำหนดที่จะประเมินราคาระหว่างรอบใหม่ แต่คาดว่าราคาต้องสูงขึ้นแน่นอน เนื่องจากสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป  สำหรับราคาที่ดินในภูมิภาคที่ประเมินใหม่ครั้งนี้ พบว่าราคาที่ดินปรับขึ้นสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ที่ อ.วังจันทร์ จ.ระยอง เฉลี่ยราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 51.23%, อ.เชียรใหญ่ อ.หัวไทร อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.นครศรีธรรมราช ราคาเพิ่มขึ้น 47.9% , อ.เมือง จ.อุดรธานี เพิ่มขึ้น 43.06% , อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี เพิ่มขึ้น 41.30%  และ จ.ร้อยเอ็ด เพิ่มขึ้น 40.36%

ธนารักษ์ปรับราคาที่ดินกทม.9เขตพุ่ง35%

กรมธนารักษ์เผยราคาประเมินที่ดิน 9 เขต ในกทม.พุ่งเฉลี่ย 35% โดยเขตลาดพร้าวสูงสุด 65.77% เหตุมีถนนตัดผ่านเพิ่มและมีโครงการรถไฟฟ้าผ่านหลายเส้นทาง

กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : นายแคล้ว ทองสม ผู้อำนวยการสำนักประเมินราคาทรัพย์สิน กรมธนารักษ์ เปิดเผยว่า หลังจากที่กรมธนารักษ์ได้ประกาศใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินรอบปี 2551-2554 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 ไปแล้ว แต่เพื่อให้ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินสะท้อนราคาตลาดมากยิ่งขึ้น จึงได้ปรับปรุงราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินใหม่ โดยได้ทยอยดำเนินการประเมิน เริ่มจากรายแปลงในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 9 เขต และรายบล็อกละเอียดในภูมิภาค 52 จังหวัด จำนวน 150 อำเภอ โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552

ทั้ง นี้ ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินในเขตกรุงเทพมหานครเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 35% โดยเขตลาดพร้าวเพิ่มสูงสุด 65.77% รองลงมาเป็นเขตเขตจตุจักร 33.67% เขตบึงกุ่ม เขตสะพานสูง เขตคันนายาว 32.50% เขตดอนเมือง เขตหลักสี่ 29.27% และ เขตประเวศ เขตสวนหลวง 13.85%

“สำหรับราคาประเมินที่ดินแถวลาดพร้าว ที่สูงขึ้นมาก เพราะในช่วงที่ผ่านมา มีถนนตัดในพื้นที่ดังกล่าวจำนวนมาก ขณะเดียวกัน ยังมีโครงการรถไฟฟ้าที่จะผ่านในย่านนี้ด้วย”เขากล่าว

ส่วนภูมิภาคราคาเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 12.8% เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 12.8% โดยเพิ่มขึ้นสูงสุดจังหวัดระยอง ในอำเภอวังจันทร์ 57.23% รองลงมาคือ จังหวัดนครศรีธรรมราช ในอำเภอเชียรใหญ่ อำเภอหัวไทร และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ 47.90% จังหวัดอุดรธานี อำเภอเมือง 43.06% จังหวัดชลบุรี อำเภอศรีราชา 41.30% ทั้งนี้ เมื่อเทียบเป็นรายภาคแล้ว ปรากฏว่า ภาคใต้ราคาปรับเพิ่มสูงสุด 14.78% รองลงมาคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 14.58% ภาคกลาง 12.53% และภาคเหนือ 9.41%และเมื่อ

“เหตุที่ราคาที่ดินในอำเภอวังจันทร์ สูงขึ้นมาก เพราะการประเมินครั้งก่อนเรามีข้อมูลน้อย แต่คราวนี้เรามีข้อมูลครบถ้วนมากขึ้น ซึ่งในพื้นที่นี้มีการลงทุนในรีสอร์ทกันมาก”เขากล่าว

เขากล่าวว่า ปัจจัยที่นำมาคำนวณราคาประเมินที่ดินใหม่ คือ ราคาซื้อขายปัจจุบัน ทำเล การใช้ประโยชน์ที่ดิน สภาพแวดล้อม สาธารณูปโภคและสาธารณูปการ และ ข้อจำกัดทางกฎหมาย ทั้งนี้ สำหรับเขตพื้นที่ที่เรานำมาประเมินราคาใหม่รอบนี้ ได้คัดเลือกจาก ความแตกต่างของราคาประเมินที่ดินกับราคาซื้อขาย ซึ่งจะวิเคราะห์ว่า พื้นที่ใดมีความแตกต่างกันมากเราก็จะเริ่มดำเนินการก่อน

“ระยะต่อไป เราเตรียมประเมินราคาที่ดินใหม่ในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 10 เขต และอีก 50 จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งจะคลอบคลุมพื้นที่ 3.7 ล้านแปลง ในกว่า 100 อำเภอ”เขากล่าวและว่า สาเหตุที่เราต้องทยอยประเมินราคาที่ดิน เนื่องจาก ขาดบุคลากรในการดำเนินการ สำหรับงบประมาณที่ใช้อยู่ที่ประมาณ 15 ล้านบาท ส่วนผู้ที่สนใจทราบราคาประเมินที่ดินใหม่อย่างละเอียด สามารถดูได้ที่ สำนักประเมินราคาทรัพย์สิน กรมธนารักษ์ กรมที่ดิน สำนักงานธนารักษ์พื้นที่ และ เว็ปไซต์กรมธนารักษ์และกรมที่ดิน

view