หลักการทรงงานใน"พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" ให้ข้าราชการสำนักพึงน้อมรับใส่เกล้าฯเป็นแนวทางปฏิบัติ
" หลักการทรงงาน ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" นี้เป็นการประมวลจากคำบรรยายของ นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ในการสัมมนา เรื่อง องค์การที่มีคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล จัดโดยสำนักพระราชวัง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้าราชการสำนักพึงน้อมรับใส่เกล้าฯเป็นแนวทางปฏิบัติ
หมายเหตุ : "หลักการทรงงาน ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" นี้เป็นการประมวลจากคำบรรยายของ นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ในการสัมมนา เรื่อง องค์การที่มีคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล จัดโดยสำนักพระราชวัง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้าราชการสำนักพึงน้อมรับใส่เกล้าฯเป็นแนวทางปฏิบัติ "มติชน" เห็นว่าเนื้อหาของคำบรรยาย คนไทยโดยทั่วไปพึงน้อมรับใส่เกล้าฯเป็นแนวทางปฏิบัติด้วย จึงขอนำมาเสนอ
-----------------------
หลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
-----------------------
มนุษย์สามารถเข้าถึงที่สูงสุด 3 ประการคือ
1.ความดี
2.ความจริง
3.ความงาม
ในความจริงที่มีความดีและความงาม ในความดีที่มีความจริงและความงาม ในความงามที่มีความจริงและความดี
คุณธรรม คือ สิ่งกำกับจิตใจให้ปรากฏออกมาเป็นพฤติกรรมที่กำหนดได้ว่าเป็นความดี ความจริง และความงาม
คนมีคุณธรรม คือ คนที่มีเครื่องกำกับจิตใจให้การกระทำและคำพูดปรากฏออกมาเป็นความดี ความจริง และความงาม
คนไร้คุณธรรม คือ คนที่มีเครื่องกำกับจิตใจให้การกระทำและคำพูดปรากฏออกมาเป็นความเลว ความเท็จ และความอัปลักษณ์
หลักการทรงงาน ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
"60 ปี ครองราชย์ ประโยชน์สุข ประชาราษฎร์"
(สำนักงานคณะกรรมการพิเศษ เพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 2549)
1.ศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ
การ ที่จะพระราชทานโครงการใดโครงการหนึ่ง จะทรงศึกษาข้อมูล รายละเอียดอย่างเป็นระบบ ทั้งจากข้อมูลเบื้องต้น จากเอกสาร แผนที่ สอบถามจากเจ้าหน้าที่ นักวิชาการ และราษฎรในพื้นที่ให้ได้รายละเอียดที่ถูกต้องเพื่อจะพระราชทานความช่วยเหลือ ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วตามความต้องการของประชาชน
2.ระเบิดจากข้างใน
หมาย ความว่า ต้องสร้างความเข้มแข็งให้คนในชุมชนที่เราเข้าไปพัฒนาให้มีสภาพพร้อมที่จะรับ การพัฒนาเสียก่อน มิใช่การนำเอาความเจริญหรือบุคคลจากสังคมภายนอกเข้าไปหาชุมชนหมู่บ้านที่ยัง ไม่ทันได้มีโอกาสเตรียมตัวหรือตั้งตัว
3.แก้ปัญหาที่จุดเล็ก
ทรงมองปัญหาในภาพรวม (แมคโคร) ก่อนเสมอ แต่การแก้ปัญหาจะเริ่มจากจุดเล็กๆ (ไมโคร) คือ การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ที่คนมักจะมองข้าม
"...ถ้าปวดหัวคิดอะไรไม่ออก...ต้องแก้ไขการปวดหัวนี้ก่อน...เพื่อให้อยู่ในสภาพที่คิดได้..."
4.ทำตามลำดับขั้น
ทรง เริ่มต้นจากสิ่งที่จำเป็นที่สุดของประชาชนก่อน ได้แก่ สาธารณสุข ต่อไปจึงเป็นเรื่องสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน และสิ่งจำเป็นสำหรับประกอบอาชีพ การพัฒนาประเทศต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่ก่อนจึงค่อยสร้าง ค่อยเสริมความเจริญ และเศรษฐกิจขั้นสูงโดยลำดับต่อไป
5.ภูมิสังคม
การ พัฒนาใดๆ ต้องคำนึงถึง (1) ภูมิประเทศของบริเวณนั้น (ดิน, น้ำ, ป่า, เขา ฯลฯ) (2) สังคมวิทยา (นิสัยใจคอของผู้คน ตลอดจนวัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่น)
6.องค์รวม
ทรงมีวิธีคิดอย่างองค์รวม (holistic) หรือมองอย่างครบวงจร
ทรงมองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และแนวทางแก้ไขอย่างเชื่อมโยง
7.ไม่ติดตำรา
การพัฒนาตามแนวพระราชดำริ มีลักษณะของการพัฒนาที่อนุโลม และรอมชอมกับสภาพธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และสภาพของสังคมจิตวิทยาแห่งชุมชน
"ไม่ติดตำรา�"
ไม่ผูกมัดกับวิชาการและเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมกับสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่แท้จริงของคนไทย
8.ประหยัด เรียบง่าย ได้ประโยชน์สูงสุด
ทรง ใช้หลักในการแก้ไขปัญหาด้วยความเรียบง่ายและประหยัด ราษฎรสามารถทำได้เอง หาได้ในท้องถิ่น และประยุกต์ใช้สิ่งที่มีอยู่ในภูมิภาคนั้นๆ มาแก้ไขปัญหา โดยไม่ต้องลงทุนสูงหรือใช้เทคโนโลยีที่ไม่ยุ่งยากนัก
"ให้ปลูกป่า โดยไม่ต้องปลูกป่า โดยปล่อยให้ขึ้นเองตามธรรมชาติ จะได้ประหยัดงบประมาณ"
9.ทำให้ง่าย - simplicity
ทรง คิดค้น ดัดแปลง ปรับปรุง และแก้ไขงานการพัฒนาประเทศตามแนวพระราชดำริโดยง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ทรงโปรดที่จะทำสิ่งยากให้กลายเป็นง่าย ทำสิ่งที่สลับซับซ้อนให้เข้าใจง่าย
"ทำให้ง่าย"
10.การมีส่วนร่วม
ทรง เป็นนักประชาธิปไตย เปิดโอกาสให้สาธารณชน ประชาชน หรือเจ้าหน้าที่ทุกระดับได้มาร่วมกันแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่องที่ต้องคำนึงถึงความคิดเห็นของประชาชน หรือความต้องการของสาธารณชน
"... ต้องหัดทำใจให้กว้างขวาง หนักแน่น รู้จักรับฟังความคิดเห็นแม้กระทั่งความวิพากษ์วิจารณ์จากผู้อื่นอย่างฉลาด เพราะการรู้จักรับฟังอย่างฉลาดนั้นแท้จริง คือ การระดมสติปัญญาและประสบการณ์อันหลากหลาย มาอำนวยการปฏิบัติบริหารงานให้ประสบความสำเร็จที่สมบูรณ์นั่นเอง ..."
11.ประโยชน์ส่วนรวม
" ...ใครต่อใครก็มาบอกว่า ขอให้คิดถึงประโยชน์ส่วนรวม อาจมานึกในใจว่า ให้ๆ อยู่เรื่อยแล้ว ส่วนตัวจะได้อะไร ขอให้คิดว่า คนที่ให้เพื่อส่วนรวมนั้นมิได้ให้แต่ส่วนรวมอย่างเดียว เป็นการให้เพื่อตัวเองสามารถที่มีส่วนรวม ที่จะอาศัยได้..." (มข.2514) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงระลึกถึงประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญเสมอ
12.บริการที่จุดเดียว
ทรงให้ "ศูนย์ศึกษาการพัฒนา อันเนื่องมาจากพระราชดำริ" เป็นต้นแบบในการบริหารรวมที่จุดเดียว เพื่อประโยชน์ต่อประชาชนที่จะมาใช้บริการ จะประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย โดยมีหน่วยงานราชการต่างๆ มาร่วมดำเนินการและให้บริการประชาชน ณ ที่แห่งเดียว
"...เป็นสองด้าน ก็หมายถึงว่า ที่สำคัญปลายทางคือ ประชาชนจะได้รับประโยชน์และต้นทางของเจ้าหน้าที่จะให้ประโยชน์"
13.ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ
การ เข้าใจถึงธรรมชาติ และต้องการให้ประชาชนใกล้ชิดกับธรรมชาติ ทรงมองอย่างละเอียดถึงปัญหาของธรรมชาติ หากเราต้องการแก้ไขธรรมชาติจะต้องใช้ธรรมชาติเข้าช่วยเหลือ เช่น การแก้ไขปัญหาป่าเสื่อมโทรม โดยพระราชทานพระราชดำริ การปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก (ต้นไม้) ปล่อยให้ธรรมชาติช่วยในการฟื้นฟูธรรมชาติ
14.ใช้อธรรมปราบอธรรม
ทรง นำความจริงในเรื่องความเป็นไปแห่งธรรมชาติและกฎเกณฑ์ของธรรมชาติมาเป็นหลัก การ และแนวปฏิบัติที่สำคัญในการแก้ปัญหาและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสภาวะที่ไม่ปกติ เข้าสู่ระบบที่เป็นปกติ เช่น การนำน้ำดีขับไล่น้ำเสีย การใช้ผักตบชวาบำบัดน้ำเสีย โดยดูดซึมสิ่งสกปรกปนเปื้อนในน้ำ
15.ปลูกป่าในใจคน
"...เจ้าหน้าที่ป่าไม้ควรจะปลูกต้นไม้ลงในใจคนเสียก่อน แล้วคนเหล่านั้นก็จะพากันปลูกต้นไม้ลงบนแผ่นดิน และรักษาต้นไม้ด้วยตนเอง..."
การที่จะฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติให้กลับคืนมา จะต้องปลูกจิตสำนึกให้คนรักป่าเสียก่อน
16.ขาดทุนคือกำไร
"... ขาดทุนคือกำไร Our Ioss is our gain...การเสียคือการได้ ประเทศก็จะก้าวหน้า และการที่คนจะอยู่ดีมีสุขนั้นเป็นการนับที่เป็นมูลค่าเงินไม่ได้..."
หลักการคือ "การให้" และ "การเสียสละ" เป็นการกระทำอันมีผลเป็นกำไร คือ ความอยู่ดีมีสุขของราษฎร
"... ถ้าเราทำอะไรที่เราเสีย แต่ในที่สุดที่เราเสียนั้นเป็นการได้ทางอ้อม ตรงกับงานของรัฐบาลโดยตรง เงินของรัฐบาล หรืออีกนัยหนึ่ง คือเงินของประชาชน ถ้าอยากให้ประชาชนอยู่ดีกินดีก็ต้องลงทุน..."
17.การพึ่งตนเอง
การ พัฒนาตามแนวพระราชดำริ เพื่อแก้ไขปัญหาในเบื้องต้น ด้วยการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เพื่อให้เขาแข็งแรงพอที่จะดำรงชีวิตได้ต่อไป แล้วขั้นต่อไปก็คือ การพัฒนาให้เขาสามารถอยู่ในสังคมได้ตามสภาพแวดล้อม และสามารถ "พึ่งตนเองได้" ในที่สุด
18.พออยู่พอกิน
สำหรับ ประชาชนที่ตกอยู่ในวงจรแห่งความทุกข์เข็ญนั้น ได้พระราชทานความช่วยเหลือให้เขาสามารถอยู่ในนั้น "พออยู่พอกิน" เสียก่อนแล้วจึงค่อยขยับขยายให้มีขีดสมรรถนะ ที่ก้าวหน้าต่อไป
" ... ถ้าโครงการดี ในไม่ช้าประชาชนจะได้กำไร จะได้ผล ราษฎรจะอยู่ดีกินดีขึ้น จะได้ประโยชน์ต่อไป ..."
19.เศรษฐกิจพอเพียง
เป็น แนวทางการดำเนินชีวิต เพื่อสร้างความเข้มแข็งหรือภูมิคุ้มกันทุกด้าน ซึ่งจะสามารถทำให้อยู่ได้อย่างสมดุล ในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง
ปรัชญานี้ได้มีการประยุกต์ใช้ทั้งระดับบุคคล องค์กร ชุมชน และทุกภาคส่วนมาแล้วอย่างได้ผล
20.ความซื่อสัตย์ สุจริต จริงใจต่อกัน
" ...ผู้ที่มีความสุจริตและบริสุทธิ์ใจ แม้จะมีความรู้น้อยก็ย่อมทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมได้มากกว่าผู้ที่มีความรู้ มากแต่ไม่มีความสุจริต ไม่มีความบริสุทธิ์ใจ... " (18 มี.ค.2533)
21.ทำงานอย่างมีความสุข
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระเกษมสำราญและทรงมีความสุข ทุกคราที่จะช่วยเหลือประชาชน
" ...ทำงานกับฉัน ฉันไม่มีอะไรจะให้ นอกจากการมีความสุขร่วมกันในการทำประโยชน์ให้กับผู้อื่น ... "
22.ความเพียร : พระมหาชนก
พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงริเริ่มทำโครงการต่างๆ ในระยะแรกที่ไม่มีความพร้อมมากนัก และทรงใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ทั้งสิ้น แต่พระองค์ก็มิได้ท้อพระราชหฤทัย มุ่งมั่นพัฒนาบ้านเมืองให้บังเกิดความร่มเย็นเป็นสุข
23.รู้-รัก-สามัคคี
รู้ : การที่เราจะลงมือทำสิ่งใดนั้น จะต้องรู้เสียก่อน รู้ถึงปัจจัยทั้งหมด รู้ถึงปัญหา และรู้ถึงวิธีแก้ปัญหา
รัก : เมื่อเรารู้ครบด้วยกระบวนความแล้ว จะต้องเห็นคุณค่า เกิดศรัทธา เกิดความรักที่จะเข้าไปลงมือปฏิบัติแก้ปัญหานั้นๆ
สามัคคี : เมื่อถึงขั้นลงมือปฏิบัติต้องคำนึงเสมอว่าเราทำคนเดียวไม่ได้ ต้องร่วมมือร่วมใจกัน สามัคคีกันเป็นหมู่คณะ จึงจะเกิดพลังในการแก้ปัญหาให้ลุล่วงด้วยดี
ที่มา:มติชนออนไลน์ 13 ก.พ.2552