ประชาชาติธุรกิจ
กรุงเทพฯ 16 มีนาคม 2552 --จากผลของการสำรวจออนไลน์ใน 52 ประเทศทั่วโลกชิ้นล่าสุดของนีลเส็นเกี่ยวกับการรับประทานวิตามินหรือ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม พบว่าผู้บริโภคชาวไทยสนใจการรับประทานวิตามินและอาหารเสริมมากที่สุดในโลก และครึ่งหนึ่งของผู้ที่ทานเปิดเผยว่าตนทานประจำทุกวัน
การสำรวจถูกจัดทำขึ้นทางออนไลน์ในปลายเดือนกันยายน 2551 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสำรวจที่นีลเส็นจัดทำขึ้นเป็นประจำ ปีละสองครั้งเพื่อติดตามเทรนด์ของผู้บริโภคทั่วโลก ในประเทศไทย ผลการสำรวจมาจากการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างชายและหญิงที่ใช้อินเตอร์เน็ต จำนวน 500 คน อายุ 15 ปี ขึ้นไป
นีลเส็นเผยผลการสำรวจของ 52 ประเทศทั่วโลกเกี่ยวกับระดับการรับประทานวิตามินหรือผลิตภัณฑ์อาหารเสริม รวมถึงความถี่ เหตุผลที่ทาน และเหตุผลที่ไม่ทาน ประเทศที่พบคนทานวิตามินและหรือผลิตภัณฑ์อาหารเสริมมากที่สุดในโลกคือ ประ เทศไทยและฟิลิปปินส์ (66%) อันดับรองลงมาคือ ลิธัวเนีย (59%) ไต้หวัน และสหรัฐ (56% ) ตามลำดับ( ตารางที่ 1) และหากเปรียบเทียบจากผลการสำรวจในแต่ละทวีป ผลการวิจัยพบความนิยมในการทานอย่างแพร่หลายในประเทศแถบอเมริกาเหนือและ เอเชีย มากกว่าประเทศในแถบยุโรปและละติน อเมริกา
ถึงแม้ว่าจะพบผู้บริโภคชาวไทยจำนวนมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก ที่สนใจการทานวิตามินหรือผลิตภัณฑ์อาหารเสริม แต่เมื่อถามถึงความถี่ในการทาน พบว่ามีผู้บริโภคเพียงสามสิบสามเปอร์เซ็นต์ ที่ตอบว่าทาน "ทุกวันเป็นประจำ" ในขณะที่อีกสิบหกเปอร์เซ็นต์ ตอบว่าตน " ทานประมาณ 2-6 ครั้ง ต่ออาทิตย์ " และ " น้อยกว่าหนึ่งครั้งต่อเดือน" ส่วนอีก สิบสามเปอร์เซ็นต์ กล่าวว่าตน "ทานประมาณหนึ่งครั้งต่ออาทิตย์ "และ " 2-3 ครั้งต่อเดือน " ( ตารางที่2)
หากเปรียบเทียบในกลุ่มประเทศเอเชีย แปซิฟิค ผู้บริโภคที่ทานวิตามิน หรือผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเป็นประจำทุกวันได้แก่ผู้บริโภคในประเทศออสเตรเลีย (73%) นิวซีแลนด์ และสิงคโปร์ (67%) ตามลำดับ
และหากเปรียบเทียบจาก 52 ประเทศทั่วโลก เดนมาร์ก จัดอยู่ในลำดับแรกของโลกมีกล่าวว่า ตนทานวิตามินหรือผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเป็นประจำทุกวัน ด้วยสัดส่วนที่มากถึง แปดสิบเอ็ดเปอร์เซ็นต์ ลำดับรองลงมาอย่างใกล้เคียงกันมากคือ นอร์เวย์ (80%) และสหรัฐอเมริกา (79%)
คุณสุรีรัตน์ วงษ์ตระหง่าน ผู้อำนวยการบริหาร ฝ่ายวิจัยข้อมูลผู้บริโภค กล่าวว่า " พฤติกรรมการทานวิตามินหรือผลิตภัณฑ์อาหารเสริม จะแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค หากเปรียบเทียบในกลุ่มผู้ทานวิตามิน หรือผลิตภัณฑ์อาหารเสริมนั้น ก็จะเห็นอย่างชัดเจนว่าประเทศในกลุ่มที่มีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจเช่น ประเทศในแถบยุโรปตะวันตก และอเมริกาเหนือ จะมีความถี่ในทานที่สูงกว่า ประเทศในกลุ่มเอเชีย และประเทศในแถบตะวันออกกลาง "
เหตุผลหลักในการทานวิตามิน หรือผลิตภัณฑ์อาหารเสริม
เหตุผลแรกที่ผู้บริโภคทั่วโลกคาดหวังจากการทานวิตามินหรือผลิตภัณฑ์อาหาร เสริม คือ "เพื่อช่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกัน โรค " โดยพบผู้บริโภคกว่าหกสิบเปอร์เซ็นต์ทั่วโลกเลือกเหตุผลนี้เป็นเหตุผลหลักใน การรับประทาน และจากห้าสิบสอง ประเทศที่ทำการสำรวจ นีลเส็นพบสามสิบเก้าประเทศเลือกเหตุผลนี้เป็นเหตุผลแรกเช่นกัน ซึ่งประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศดังกล่าวที่เชื่อว่าการทานวิตามิน หรือผลิตภัณฑ์อาหารเสริมจะช่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกันโรคให้เพิ่มขึ้นได้ (52%) ส่วนเหตุผลที่สองคือ "เพื่อช่วยเสริมความไม่สมบูรณ์ของการรับประทานอาหาร" (50%) และ "เพื่อให้แน่ใจ ว่าการ รับประทานของพวกเขามีความสมดุล" (43%) ตามลำดับ
ส่วนปัจจัยอื่นๆที่มีส่วนกระตุ้นให้ผู้บริโภคทานวิตามินหรือผลิตภัณฑ์ อาหารเสริม อาทิ "คำแนะนำของแพทย์ หรือ เภสัชกรตามร้านขายยาและร้านขายอาหารเพื่อสุขภาพ "เป็นผู้แนะนำนั้น ค่อนข้างจะมีบทบาทน้อยมากต่อผู้บริโภคเนื่องจากมีผู้บริโภคเพียงสี่ เปอร์เซ็นต์ที่ทานวิตามิน และอาหารเสริมเนื่องจากร้านขายยา หรือร้านขายอาหารเพื่อสุขภาพเป็นผู้แนะนำ และเพียงเก้าเปอร์เซ็นต์ที่ทานเพราะแพทย์แนะนำ ( ตารางที่ 3 )
ผลการวิจัยพบสิ่งที่น่าสนใจอีกหนึ่งประการก็คือ เหตุผลหลักของผู้บริโภคในสหรัฐอเมริกา (62 %) ที่เลือกทานวิตามิน หรือผลิตภัณฑ์อาหารเสริมก็คือ "เพื่อให้แน่ใจว่าการรับประทานของเรามีความสมดุล" จากเหตุผลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นลักษณะการบริโภคในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศที่มีการส่งเสริมทางการตลาดอย่างหนัก เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์กกลุ่มนี้ โดยชาวอเมริกันนิยมทานวิตามิน และอาหารเสริมเพื่อชดเชยนิสัยการบริโภคอาหารที่ไม่ดีของพวกเขา ส่วนอีกอีกประเทศที่มีผู้บริโภคเลือกเหตุผลข้อนี้เป็นข้อแรกมากถึงหกสิบ เปอร์เซ็นต์คือ ประเทศญี่ปุ่น
เหตุผลหลักที่ไม่สนใจทานวิตามิน หรือผลิตภัณฑ์อาหารเสริม
นีลเส็นยังถามต่อถึงเหตุผลของการไม่ทานวิตามิน หรือผลิตภัณฑ์อาหารเสริม โดยพบว่ากว่าครึ่งของผู้บริโภคชาวไทย (56%) "ไม่เห็นความจำเป็นในการรับประทาน" ส่วนอีกเกือบครึ่ง ( 49%) เชื่อว่า " การรับประทานของพวกเขามีความสมดุลเพียงพอแล้ว" และ " สินค้ามีราคาแพงเกินไป" ( ตารางที่ 4 )
ตารางที่ 1
ตารางที่ 2
ตารางที่ 3
ตารางที่ 4