สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ตามไปดู ให้รู้เท่าทัน..สารพัดสถานการณ์ไวรัส:ไข้หวัดเม็กซิโก

ประชาชาติธุรกิจ
ตามไปดู ให้รู้เท่าทัน....สารพัดสถานการณ์ไวรัส : ไข้หวัดเม็กซิโก สายพันธุ์ A/H1N1 หวัดมรณะ


รู้ เขารู้เรา รู้วิธีรับมือไข้หวัดเม็กซิโก ก่อนลามคร่าชีวิต ซึ่งไวรัสในเม็กซิโกนั้นเป็นตัวอย่างให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของเชื้อโรค ชนิดต่างๆที่ต่างปรับตัวเพื่อเอาชนะตัวยาต่างๆที่มนุษย์สร้างขึ้น

โครงการพัฒนาการจัดการภัยพิบัติภาคประชาชน  และ โครงการเฝ้าระวังภัยเทคโนโลยี (IT WATCH)ภายใต้มูลนิธิกระจกเงา ระบุถึงสถานการณ์วไรัสไข้หวัดว่า จากข่าวที่ดังไปทั่วโลกที่เกิดขึ้น ณ ตอนนี้กับไข้หวัดมรณะ ที่เกิดในในภูมิภาค ลาตินอเมริกาซึ่งได้คร่าชีวิตผู้คนในประเทศเม็กซิโก ไปถึง159 คน และอีก 2 คนในอเมริกา (ข้อมูล ณ วันที่ 29เมษายน 52)ซึ่งพบผู้ติดเชื้อชนิดนี้อีกหลายพันคนในเม็กซิโก


  ล่าสุดองค์การอนามัยโลก ได้เพิ่มระดับความรุนแรงของโรคไข้หวัดชนิดนี้เป็นระดับ 4 จาก 6 ระดับซึ่งสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ ทำให้เกรงกันว่าจะย้อนรอยเหมือนไข้หวัดสเปนซึ่งคร่าชีวิตมนุษย์ไปหลายสิบ ล้านคน หรือไข้หวัดนกซึ่งได้แพร่กระจายไปทั่วโลก ที่เกิดขึ้นมาแล้วก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักเจ้าเชื้อไวรัสชนิดนี้กันก่อน 


ไวรัสเป็นศัพท์จากภาษา ลาตินแปลว่า พิษในตำราชีววิทยาเก่าของไทยคำว่าไวรัสอาจเรียกว่า วิสาอันเป็นการทับศัพท์ในยุคแรกจากภาษาสันสกฤตที่แปลว่าพิษ เช่นเดียวกัน ปัจจุบันคำว่า ไวรัสหมายถึงจุลินทรีย์ที่สามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อได้ทั้งในมนุษย์, สัตว์, พืช และ สิ่งมีชีวิตอื่นๆที่เป็นสิ่งมีชีวิตมีเซลล์ทำให้เกิดโรคที่ส่งผลกระทบกว้าง ขวางจึงมีความสำคัญที่จะต้องศึกษาทั้งในทางการแพทย์และทางเศรษฐกิจไวรัสเป็น ปรสิตอยู่ในร่างของสิ่งมีชีวิตอื่นไม่สามารถเติบโตหรือแพร่พันธุ์นอกเซลล์ อื่นได้ไวรัสอาจถือได้ว่าเป็นจุลินทรีย์ที่มีลักษณะของการเป็นสิ่งมีชีวิต เพียงประการเดียวคือสามารถแพร่พันธุ์ได้อย่างไรก็ตามไวรัสไม่ใช่จุลินทรีย์ ที่มีขนาดเล็กที่สุดยังมีจุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กกว่าไวรัสคือ ไวรอยด์(viroid) และ พริออน (prion)ไวรัสชนิดแรกที่ค้นพบคือไวรัสใบยาสูบด่างซึ่งค้นพบโดยมาร์ตินัส ไบเยอรินิค ใน ค.ศ. 1899
เชื้อไวรัสถือเป็นสิ่ง มีชีวิตที่มีขนาดเล็กมากซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้จากการดูผ่านกล้องจุลทรรศน์ ธรรมดาแม้ว่าจะมีกำลังขยายถึง100 เท่าก็ตามเชื้อไวรัสต้องดูด้วยกล้องจุลทรรศอิเลคตรอนซึ่งมีกำลังขยายตั้งแต่ 5,000 เท่าขึ้นไปจึงจะทำให้มองเห็นได้ เชื้อไวรัสสามารถที่จะแบ่งตัวขยายจำนวนได้ในเซลล์ของร่างกายคนเราโดยเซลล์ ที่มีเชื้อไวรัสอยู่ อาจถูกทำลายไปหรืออาจถูกรุกรานทำให้เซลล์นั้นทำงานได้ไม่เหมือนปกติก่อให้ เกิดอาการของโรคต่างๆ ได้อาการและโรคบางชนิดที่มีสาเหตุจากเชื้อไวรัส เช่นไข้หวัดใหญ่ อาการไอหรือไข้ในเด็กเป็นต้นนอกจากนี้โรคฮิตในปัจจุบันก็คือโรคเอดส์ก็มี สาเหตุมาจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งเช่นกัน

โรคที่เกิดจากเชื้อ ไวรัสจะไม่มียารักษาโดยเฉพาะเป็นส่วนใหญ่ดังนั้นโรคบางโรคที่ทำให้เกิดอาการ ไม่ร้ายแรงก็อาจหายไปได้เอง เพียงแต่รักษาตามอาการที่มีอยู่มีการพักผ่อนที่เพียงพอแต่โรคบางอย่างที่ทำ ให้เกิดอาการร้ายแรง เช่นโรคเอดส์ ก็ยาวที่จะทำให้หายไปได้เพราะยังไม่มียาที่จะไปฆ่าเชื้อไวรัสเหล่านั้นได้ (ข้อมูลจากhttp://www.bangkokhealth.com ) 


ไวรัสไข้หวัดใหญ่ A, B และ C
1. ไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด Aก่อให้เกิดการติดเชื้อในมนุษย์และสัตว์หลายชนิด เช่นม้า สุกร นก ไก่ เป็นต้นโรคไข้หวัดใหญ่ที่พบในมนุษย์มีสาเหตุเกิดจาก type Aประมาณร้อยละ 80นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุของการระบาดใหญ่ทั่วโลกด้วยที่สำคัญ ไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด Aมีการเปลี่ยนแปลงแอนติเจนของฮีแมกกลูตินินและนิวรามินิเดสไปจากเดิมมากจน กระทั่งเกิดเป็นสายพันธุ์ใหม่ขึ้นอยู่เรื่อยๆ

2. ไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด Bเป็นสาเหตุของโรคไข้หวัดใหญ่ที่พบรองลงมาจาก type Aก่อการติดเชื้อเฉพาะในมนุษย์เท่านั้นมักพบในเด็กมากกว่าในผู้ใหญ่ ไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด Bมีการเปลี่ยนแปลงแอนติเจนของฮีแมกกลูตินินเช่นกันแต่ไม่เปลี่ยนแปลงไปจาก เดิมมากพอที่จะจัดเป็นสายพันธุ์ใหม่

3. ไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด Cพบว่ามีรายงานการติดเชื้อในมนุษย์และสุกรแต่ไม่ค่อยมีความสำคัญมนุษย์ติด เชื้อโดยไม่แสดงอาการหรือแสดงอาการอย่างอ่อนคุณสมบัติของไวรัสชนิดนี้ค่อน ข้างแตกต่างไปจาก typeA และ B


แอนติเจนของไวรัสไข้หวัดใหญ่
1. ฮีแมกกลูตินิน (hemagglutinin, H)ทำหน้าที่ในการจับกับโปรตีนตัวรับบนผิวเซลล์ทำให้ไวรัสสามารถเข้าสู่เซลล์ ได้โปรตีนตัวรับพบได้ในเมือกที่ปกคลุมทางเดินหายใจและพบบนผิวเม็ดเลือดแดง ด้วยฮีแมกกลูตินินมีคุณสมบัติในการทำให้เม็ดเลือดแดงของมนุษย์หมู่เลือดโอ และสัตว์บางชนิดเช่น ไก่ และหนูตะเภา เกิดปฏิกิริยาเกาะกลุ่มซึ่งคุณสมบัตินี้นำมาใช้ตรวจหาไวรัสได้ฮีแมกกลูตินิ นของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ type Aแบ่งออกเป็น 15 subtypes คือ H1, H2, H3... H15 ทั้ง15 subtypes พบได้ในนกแต่เชื้อที่พบในมนุษย์ในปัจจุบันมีอยู่ 3 subtypesคือ H1, H2, และ H3 ส่วน subtypes อื่นๆมีการติดเชื้อในสัตว์ต่างๆ กัน เช่น สุกร ม้า แมวน้ำและปลาวาฬ ส่วนเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด B และ Cยังไม่มีการแบ่งฮีแมกกลูตินินออกเป็น subtype

2. นิวรามินิเดส (neuraminidase, N)เป็นเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ย่อยไกลโคโปรตีนซึ่งเป็นตัวรับบนผิวเซลล์ทำให้ ไวรัสหลุดเป็นอิสระจากเซลล์เนื่องจากโมเลกุลของไกลโคโปรตีนนี้พบได้ในเมือก ที่ปกคลุมทางเดินหายใจด้วยทำให้ไวรัสถูกดักจับติดกับเมือกได้เมื่อเมือกจับ ไวรัสไว้ไวรัสจะใช้เอนไซม์นี้ย่อยทำให้เมือกใสขึ้นไวรัสจึงหลุดออกไปบุกรุก เซลล์เยื่อบุทางเดินหายใจที่อยู่ลึกลงไปในปัจจุบันนี้ นิวรามินิเดสของเชื้อไข้หวัดใหญ่ typeA แบ่งออกเป็น 9 subtypes ด้วยกัน คือจาก N1, N2,N3... N9 โดยเชื้อที่พบในมนุษย์เป็น N1 และ N2ส่วนเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด B และ Cยังไม่มีการแบ่งนิวรามินิเดสออกเป็นsubtype 


ลักษณะของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่   1. มีรูปร่างหลายแบบ เช่น กลมหรือเป็นสายยาว ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 100นาโนเมตรแต่พวกที่เป็นสายยาวอาจมีความยาวหลายไมโครเมตร 2. สายพันธุกรรมเป็น RNA สายเดี่ยวมีpolarity เป็นลบ และแยกเป็นชิ้น โดย types A และ Bมี 8 ชิ้น ส่วน type C มี 7 ชิ้น 3. ชั้นนอกของไวรัสเป็นเปลือกหุ้มซึ่งเป็นส่วนประกอบของไขมัน และไกลโคโปรตีนบนเปลือกหุ้ม มี spikes สองชนิดคือฮีแมกกลูตินินซึ่งมีรูปร่างเป็นแท่ง และนิวรามินิเดสซึ่งมีรูปร่างเหมือนดอกเห็ด spikes 2 ชนิดรวมกันมีจำนวนประมาณ 500 ก้าน จำนวนของ H : Nมีอัตราส่วนประมาณ 4-5: 1 4. ไวรัสไข้หวัดใหญ่มี transcriptionและ genome replication เกิดขึ้นในนิวเคลียสซึ่งแตกต่างจาก RNA viruses ทั่วไปที่มีการเพิ่มจำนวนในไซโตพลาสซึมเท่านั้น 5. ถูกทำลายได้ง่ายด้วยความร้อนไม่ทนต่อความแห้งถูกทำลายได้ง่ายโดยน้ำยาฆ่า เชื้อซึ่งเป็นสารเคมีชนิดต่างๆที่ใช้กันแอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน 6. เชื้อไวรัสสามารถคงอยู่ได้นานในสิ่งขับถ่ายและสิ่งคัดหลั่ง เช่น อุจจาระ น้ำมูก น้ำตา น้ำลายและเสมหะ 7. สามารถเปลี่ยนแปลงแอนติเจนได้ง่ายโดยการเปลี่ยนแปลงแอนติเจนเพียงเล็กน้อย หรือมีการเปลี่ยนยีนในกรณีที่เซลล์มีการติดเชื้อ 2subtypes ที่แตกต่างกัน กลายเป็น subtype ใหม่ซึ่งทำให้เกิดไวรัสสายพันธุ์ใหม่ขึ้นมาได้และเป็นสาเหตุที่ก่อระบาด วิทยาใหญ่ทั่วโลกบ่อยกว่าไวรัสอื่น


  การเปลี่ยนแปลงแอนติเจน   1. เนื่องจากไวรัสมีจีโนมเป็น RNAและเป็นท่อน และมีการติดเชื้อในสัตว์หลายชนิด เช่นสัตว์ปีก ม้า และสุกร เป็นต้นจึงทำให้จีโนมของไวรัสไข้หวัดใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงพันธุรรมได้ค่อน ข้างบ่อยการเปลี่ยนแปลงจีโนมทำให้แอนติเจนซึ่งเป็นผลผลิตของยีนเปลี่ยนแปลง ไปด้วย   2. antigenic shiftพบเฉพาะในไวรัสไข้หวัดใหญ่ type A เท่านั้นเกิดขึ้นจากขบวนการ gene reassortment คือการที่ไวรัสไข้หวัดใหญ่ 2 ฃนิด ซึ่งเป็น type Aเหมือนกับมีการติดเชื้อในเซลล์เดียวกัน ในขั้นตอนself assembly เพื่อประกอบขึ้นเป็นอนุภาคอาจมีการนำชิ้นจีโนมบางชิ้นของไวรัสชนิดนึ่งใส่ เข้าไปในอนุภาคของไวรัสอีกชนิดหนึ่งจึงได้อนุภาคของไวรัสชนิดใหม่ซึ่งมี แอนติเจนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม มีการเปลียน subtype ของH และหรือ N ก็ได้และเนื่องจากประชาชนไม่มีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสชนิดใหม่เชื้อจึงทำ ให้เกิดการระบาดใหญ่ขึ้น   3. การระบาดใหญ่ทั่วโลกของไวรัสไข้หวัดใหญ่ผ่านมาแล้วหลายครั้งเกิดขึ้นเนื่อง จากเชื้อมี antigenic shift ดังกล่าวไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่พบใน species ต่างๆในปัจจุบันเชื่อว่ามีวิวัฒนาการมาจากไวรัสไข้หวัดใหญ่ของนกน้ำ   4. antigenic driftเป็นการเปลี่ยนแปลงแอนติเจนเพียงเล็กน้อยพบได้ในไวรัสไข้หวัดใหญ่ทุก typeแต่ไม่มากพอที่จะเป็น H และ N subtypes ใหม่การเปลี่ยนแปลงชนิด antigenic driftอาจทำให้เกิดการระบาดได้ในวงไม่กว้างนัก   5. กลไกในการเกิด antigenic driftเชื่อว่าเกิดจากขบวนการ point mutation ภายในจีโนมเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่มีเอนไซม์ RNA polymeraseซึ่งไม่มี proof reading activity ความผิดพลาดในการreplicate จีโนมพบได้ในอัตรา 1/10*4 bases ในแต่ละreplication cycleจากอัตราส่วนนี้จะพบว่ามีไวรัสชนิดใหม่เกิดขึ้นมากมายเพียงแต่ บางอนุภาคเท่านั้นที่จะเพิ่มจำนวนได้ต่อไป 


วงจรการติดต่อข้ามชนิดสัตว์ 1. ตามปกติเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ในสัตว์ปีกจะพบH1-H15 และ N1-9 ซึ่ง H และ N สามารถจับคู่ผสมกันแต่ชนิดที่ก่อให้เกิดโรคค่อนข้างจะจำกัดอยู่ในกลุ่มของH5 และ H7 2. เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ในสุกรพบอยู่ในกลุ่มของH1N1, H1N2 และ H3N2 3. เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ในมนุษย์ส่วนใหญ่พบว่าอยู่ในกลุ่มH1N1, H2N2 และ H3N2 4. เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่มีการติดต่อแลกเปลี่ยนข้ามไปมาระหว่างสัตว์ชนิดต่างๆ ได้ โดยปรากฎสมมติฐานการติดต่อจากนกน้ำชนิดต่างๆมายังเป็นหรือไก่ผ่านสุกรที่ เป็นตัวกลางผสมผสานไวรัสก่อนที่มาติดต่อถึงมนุษย์ 5. โดยปกติในเซลล์ของมนุษย์จะไม่ปรากฏโมเลกุลตัวรับไวรัสที่มาจากสัตว์ปีกส่วน ในสุกรจะมีตัวรับไวรัสทั้งมนุษย์ และสัตว์ปีกตามธรรมชาติของไวรัสไข้หวัดใหญ่นี้ซึ่งมีองค์ประกอบของสารพันธุ กรรมซึ่งเป็น8 ชิ้นส่วนแต่ละชิ้นส่วนเป็นรหัสควบคุมการสร้างโครงสร้างต่างๆของไวรัส รวมทั้ง H และ N ซึ่งมีความหลากหลาย 6. สุกรจึงมีโอกาสรับเชื้อไวรัสจาก 2แหล่งคือจากสัตว์ปีกและมนุษย์ซึ่งจะเพิ่มจำนวนอยู่ในเซลล์เดียวกันซึ่งเปิด โอกาสให้มีการจับคู่ชิ้นส่งวนของ RNAเกิดเป็นไวรัสย่อยชนิดใหม่ซึ่งกระบวนการดังกล่าวอาจทำให้เกิดการเปลี่ยน แปลงแอนติเจนของไวรัสปรากฏเป็นคู่หมายเลขใหม่ของH และ Nหากทำให้เกิดการติดเชื้อขึ้นในมนุษย์จะเป็นไวรัสใหม่ซึ่งมนุษย์ไม่เคย สัมผัสและไม่เคยมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อใหม่นั้นอาจทำให้เกิดโรครุนแรงและหาก สามารถติดต่อจากมนุษย์หนึ่งไปสู่อีกมนุษย์หนึ่งได้ก็อาจทำให้เกิดการระบาด ได้ในพื้นที่กว้างออกไป


(ข้อมูลจากBangkokhealth.com)   การขยายพันธุ์ของไวรัส ไวรัสตามธรรมชาติจำเป็นจะ ต้องเข้าไปเจริญและทวีแพร่พันธุ์ในเซลล์ของสิ่งที่มีชีวิตเท่านั้นไวรัสจะ สามารถเจริญและทวีแพร่พันธุ์ในเซลล์ของสิ่งที่มีชีวิตเท่านั้นไวรัสจะสามารถ เจริญและทวีแพร่พันธุ์ในเซลล์ชนิดใดนั้นแล้วแต่ชนิดไวรัสในการเจริญทวีแพร่ พันธุ์ของไวรัสมีขั้นตอนดังนี้ 1.ไวรัสจะต้องเข้าไปภายในเซลล์ของสิ่งที่มีชีวิต 2.ไวรัสจะต้องสร้างกรดนิวคลีอิคขึ้นใหม่ในเซลล์ของสิ่งที่มีชีวิตนั้นได้(replicating nucleic acid) 3. ไวรัสจะต้องสร้างโปรตีนหุ้ม (coatprotein)ห่อหุ้มกระนิวคลีอิคเพื่อให้เกิดไวรัสที่สมบูรณ์


  ไข้หวัดหมูหรือไข้หวัดเม็กซิโกคืออะไร? ไข้ หวัดหมู หรือไข้หวัดเม็กซิโกชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า A/H1N1 ซึ่งเป็นเชื้อไข้หวัดหมูพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางพันธุ กรรมหรือ “Antigenetic Shift” ซึ่งเชื้อไวรัสไข้หวัดนกไข้หวัดหมู และไข้หวัดใหญ่อาจเข้าไปอยู่ในตัวหมูที่เป็นพาหะนำโรคต่อมาเซลล์ในตัวหมูถูก ไวรัสตั้งแต่ 2ชนิดขึ้นไปโจมตีทำให้หน่วยพันธุกรรมไวรัสดังกล่าวผสมปนเปกันระหว่างการแบ่ง ตัวกลายเป็นเชื้อพันธุ์ใหม่ขึ้นมาตามปกติเชื้อไข้หวัดหมูจะติดคนที่สัมผัส หมูโดยตรงเท่านั้นเช่น ผู้ที่ทำงานในโรงฆ่าหมูแต่เชื่อว่าอาจแพร่จากคนสู่คนผ่านการไอ การจามหรือรับเชื้อจากวัสดุที่มีเชื้อโรคเกาะอยู่บนพื้นผิวแต่การบริโภค ผลิตภัณฑ์จากหมูไม่มีอันตรายแต่อย่างใดฟังดูน่ากลัวไม่ใช่น้อย ไวรัส ไข้หวัดหมูสายพันธุ์ใหม่มีลักษณะพันธุกรรม หรือยีนแตกต่างจากไวรัสไข้หวัดหมูในอดีตเพราะมีองค์ประกอบของเชื้อไข้หวัด ใหญ่ 3สายพันธุ์รวมอยู่ด้วยกัน ประกอบด้วย1.เชื้อไข้หวัดนกที่พบในทวีปอเมริกาเหนือ2.เชื้อไข้หวัดใหญ่ใน มนุษย์ และ3.เชื้อไข้หวัดหมูที่พบบ่อยในทวีปยุโรปและเอเชีย


  อาการที่บ่งบอกว่าติดเชื้อไวรัสชนิดนี้   ผู้ติดเชื้อจะมีอาการคล้าย กับผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่เช่น ไข้ขึ้นสูง ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจคลื่นไส้อาเจียน ท้องร่วง และปวดศีรษะรุนแรงซึ่งสามารถทำให้ผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงนั้นถึงแก่ชิวิตได้ เลยทีเดียว สถานการณ์ในประเทศต่างๆ   เม็กซิโก   -ทางการเม็กซิโกต้องสั่งปิด โรงเรียน ห้องสมุดโรงภาพยนตร์และสถานที่สาธารณะที่เป็นแหล่งรวมตัวของฝูงชนในกรุง เม็กซิโกซิตี้เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตซึ่งตัว เลขที่ยืนยันได้อยู่ที่68 คน และมีผู้ติดเชื้อกว่า 1,000 คนในขณะที่องค์การอนามัยโลกระบุว่า ได้ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานสาธารณสุขของเม็กซิโกแล้วและกำลังหวั่นเกรง ว่าไวรัสที่พบล่าสุดจะเป็นสายพันธุ์ใหม่ที่สามารถติดต่อจากคนสู่คนรวมทั้ง กำลังพิจารณาว่าจะต้องออกประกาศเตือนการเดินทางไปเม็กซิโกหรือไม่   -ยอดผู้เสียชีวิตจากไข้หวัด หมู่ที่กำลังแพร่ระบาดในประเทศเพิ่มสูงขึ้นเป็น81 คน และมีผู้ป่วยเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล 1,324คนรัฐบาลเม็กซิโกออกคำสั่งพิเศษเมื่อวานนี้ให้อำนาจกระทรวงสาธารณสุข สามารถแยกกักตัวผู้ป่วยตลอดจนตรวจค้นบ้านเรือนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้า ประเทศพร้อมทั้งกระเป๋าสัมภาระเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของไข้หวัดหมูขณะที่ มีรายงานว่าเจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้ไปประจำที่สนามบินในกรุงเม็กซิโกซิตี้ เพื่อแจกแบบสอบถามให้ผู้โดยสารเครื่องบินระบุว่ามีอาการไข้หวัดหรือไม่ตลอด จนมีการแจกหน้ากากอนามัยและเอกสารแผ่นพับให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้หวัดหมู แก่ประชาชนตามสถานีรถโดยสารและรถไฟฟ้าใต้ดินนอกจากนี้ยังสั่งปิดโรงเรียน ทั่วเมืองหลวงและอีกหลายรัฐจนถึงวันที่ 6 พฤษภาคม   -ขณะเดียวกันรัฐมนตรีสาธารณ สุขเม็กซิโกได้ปฏิเสธกระแสคาดการณ์ของสื่อในประเทศที่รายงานว่าประธานาธิบดี บารัคโอบามาของสหรัฐอาจได้สัมผัสกับเชื้อโรคไข้หวัดหมูในช่วงที่เยือนกรุง เม็กซิโกซิตี้เมื่อ10 วันที่แล้วหลังโรคดังกล่าวเริ่มระบาดในพื้นที่ดังกล่าวขณะเดียวกันทำเนียบ ขาวของสหรัฐยืนยันแล้วว่าโอบามาไม่ได้ป่วยด้วยอาการของไข้หวัดหมู -ประธานาธิบดีเฟลิเป้ คัลเดรอน เตือนว่าประเทศกำลังเผชิญกับการระบาดของไวรัสชนิดใหม่แต่พยายามคลายความหวาด กลัวของประชาชนโดยยืนยันว่าไข้หวัดหมูชนิดนี้รักษาให้หายได้และทางการมียา รักษาโรคในปริมาณมากเพียงพอ  


สหรัฐอเมริกา   - สหรัฐฯรายงานว่าผู้ติดเชื้อไข้หวัดหมู 8คนที่รัฐแคลิฟอร์เนียกับรัฐเท็กซัส หายดีแล้วแต่เมื่อวันเสาร์ได้รายงานผู้ป่วยคนที่ 9ในรัฐแคลิฟอร์เนียซึ่งหายดีแล้วเช่นกันและพบสามีภรรยาคู่หนึ่งในรัฐแคนซัส ที่ป่วยหลังสามีกลับมาจากเม็กซิโกแต่อาการป่วยไม่รุนแรง ในวันเดียวกันมีรายงานนักเรียนกว่า 100คนในย่านควีนส์ของรัฐนิวยอร์ค กับญาติบางคนมีอาการป่วยคล้ายไข้หวัดแต่ไม่รุนแรงขึ้นขั้นต้องเข้าพยาบาลมี การยืนยันแล้วว่าเด็กคนเป็นไข้หวัดใหญ่ชนิด เอซึ่งอาจเกิดจากไข้หวัดหมูแต่กำลังมีการตรวจสอบเพิ่มเติมอยู่(ล่าสุดข้อมูล วันที่ 29 เมษายน 52มีผู้เสียชีวิตแล้ว 2 คน)   - ศูนย์ควบคุม และป้องกันโรคสหรัฐ หรือซีดีซี คาดว่าจะพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นแต่ยังไม่ใช่เรื่องที่น่าวิตกไปทั่วประเทศใน ตอนนี้เพราะยังไม่เกิดภาวะที่เรียกว่าโรคระบาดแม้จะยอมรับว่าเชื้อไวรัสที่ พบล่าสุดเป็นสายพันธุ์ที่ไม่เคยพบมาก่อนโดยผสมกันระหว่างไวรัสสายพันธุ์ที่ พบในหมูนก กับในคน


แคนาดา - เจ้าหน้าที่สาธารณสุขแคนาดาให้แพทย์ช่วยเฝ้าระวังอาการเจ็บป่วยเกี่ยวกับ ระบบทางเดินหายใจของผู้ที่เดินทางมาจากเม็กซิโกศูนย์ควบคุมโรครัฐบริติช โคลัมเบียของแคนาดา แถลงว่าอาการของผู้ป่วยหนักในเม็กซิโก ได้แก่ ไข้สูงปวดศีรษะ ปวดตา หายใจไม่สะดวกและร่างกายเหนื่อยล้ามากโดยอาการป่วยจะพัฒนาอย่างรวดเร็วและมี อาการหายใจลำบากอย่างรุนแรงภายในเวลา 5 วัน


ฝรั่งเศส - รัฐบาลฝรั่งเศสประกาศว่าน่าจะพบภายในไม่กี่วันนี้เพราะมีการสัญจรทางอากาศ ทั่วโลกจึงได้สั่งปิดโรงเรียนฝรั่งเศสในกรุงเม็กซิโกซิตี้แล้วและให้คำแนะนำ แก่พลเมืองของตนในเม็กซิโกเพื่อป้องกันไว้ก่อนตลอดจนการเดินทางระหว่าง ประเทศโดยประสานงานกับองค์การอนามัยโลกและศูนย์ป้องกันควบคุมโรคแห่งชาติ สหรัฐอเมริกาอย่างใกล้ชิดด้วย  


อังกฤษ   - ที่สหราชอาณาจักร รัฐบาลได้จัดทำสิ่งพิมพ์เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับโรคนี้ ให้กับประชาชน  


เตรียมรับสถานการณ์ในประเทศไทย   1.การประชุมร่วมกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมพร้อมรับสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สาย พันธุ์ใหม่หรือไข้หวัดหมูซึ่งจะออกเป็นประกาศกระทรวงแจ้งให้ประชาชนและหน่วย งานขององค์กรสาธารณสุขทราบถึงสถานการณ์ของโรคเป็นระยะทั้งนี้จากการประสาน งานกับองค์การอนามัยโลกทราบว่าแต่ละประเทศตื่นตัวและจัดหามาตรการดูแล ประชาชนด้านสาธารณสุขอย่างเข้มงวดพร้อมติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดหากพบการ ระบาดมากขึ้นองค์การอนามัยโลกอาจประกาศเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขอย่างไร ก็ตามโรคดังกล่าวไม่ได้เกิดจากการกินเนื้อหมูซึ่งกรมปศุสัตว์ได้ติดตาม เรื่องนี้และยังไม่พบเชื้อดังกล่าวในหมูแต่อย่างใด   2.จนถึงขณะนี้ประเทศไทยยัง ไม่เคยพบเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ดังกล่าวและจากการเฝ้าระวังโรคของสำนัก ระบาดวิทยาตั้งแต่ต้นปี 2552 -ปัจจุบันพบผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ จำนวน 3,159 รายไม่มีผู้เสียชีวิตซึ่งไม่แตกต่างกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2551สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรคกำลังติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดเพื่อเร่งรัดการเฝ้าระวัง โรครวมทั้งเตรียมความพร้อมรับมือทั้งด้านการตรวจวินิจฉัย การดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยการเตรียมเครื่องมือและ เวชภัณฑ์


  การป้องกัน 1. การป้องกันทั่วไปควรหลีกเลี่ยงการไปในที่ชุมชนหรือสถานที่แออัดรักษาสุขภาพ ให้แข็งแรง ล้างมือบ่อยๆกรมควบคุมโรคได้เปิดศูนย์ call acenterให้ประชาชนสอบถามสถานการณ์ของโรคได้ที่หมายเลข0-2590-3333 2. เชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่มีการแพร่ติดต่อเช่นเดียวกับโรคไข้หวัดใหญ่ใน คนโดยทั่วไปเชื้อที่อยู่ในเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วยแพร่ไปยังผู้อื่นโดยการไอหรือจามรดกันในระยะใกล้ชิดหรือติด จากมือ และสิ่งของที่มีเชื้อปนเปื้อนอยู่และเชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางจมูก และตา เช่นการแคะจมูก การขยี้ตาไม่ติดต่อจากการรับประทานเนื้อหมูผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายไข้หวัด ใหญ่ คือ มีไข้สูงปวดเมื่อยตามร่างกาย ไอ มีน้ำมูก หากป่วยและมีอาการดังกล่าว ควรสวมหน้ากากอนามัยและหลีกเลี่ยงการไปในที่ชุมชน หรือสถานที่แออัดประชาชนทั่วไปควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงโดยรับประทานอาหาร ที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผัก ผลไม้ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ งดสูบบุหรี่ งดดื่มเหล้าล้างมือบ่อยๆ 


คำแนะนำกระทรวงสาธารณสุข  เรื่อง โรคไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในเม็กซิโก  ฉบับที่ 1   เนื่องจากในขณะนี้ได้เกิดการ ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่(สายพันธุ์ เอช1เอ็น1) แพร่ติดต่อระหว่างคนสู่คนมีผู้ป่วยอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ผู้ป่วยปอดบวมและผู้เสียชีวิตกระจายไปมากในหลายเมืองของประเทศเม็กซิโกและ จากข้อมูลองค์การอนามัยโลก ณ วันที่ 27 เมษายน2552มีผู้ป่วยที่มีผลยืนยันทางห้องปฏิบัติการในเม็กซิโก28 ราย ในสหรัฐอเมริกา 40 รายแต่ผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรงและไม่มีผู้เสียชีวิตโดยพบผู้ป่วยใน 5 มลรัฐ ได้แก่ แคลิฟอร์เนีย 7 รายเทกซัส 2 ราย นิวยอร์ก 28 ราย แคนซัส 2 รายและโอไฮโอ 1 ราย นอกจากนั้นยังพบผู้ป่วยติดเชื้อหลังกลับจากเม็กซิโก ในแคนาดาสเปน และสกอตแลนด์   เนื่องจากปัจจุบันโรคติด เชื้อต่างๆสามารถแพร่ระบาดระหว่างประเทศได้อย่างรวดเร็วดังนั้นเพื่อสกัด กั้นการแพร่ระบาดของเชื้อนี้เข้ามาในประเทศกระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมมือกับ ทุกภาคส่วนดำเนินมาตรการต่างๆโดยเฉพาะการอย่างยิ่งการเพิ่มระดับความเข้มข้น ของการเฝ้าระวังผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่และปอดอักเสบร่วมกับการตรวจยืนยันเชื้อ ทางห้องปฏิบัติการการรักษาพยาบาลผู้ป่วย การสำรองยาต้านไวรัสเวชภัณฑ์ต่างๆ และอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อและการให้บริการด้านสาธารณสุขแก่ผู้เดินทางที่ สนามบินนานาชาติโดยแจกบัตรเตือนเรื่องสุขภาพและวัดไข้ด้วยเครื่องตรวจวัด อุณหภูมิสำหรับการป้องกันโรคนี้กระทรวงสาธารณสุขขอแนะนำให้ประชาชนปฏิบัติตน ดังนี้   1.หากไม่จำเป็นควรเลื่อนหรือชะลอการเดินทางไปยังประเทศที่เป็นพื้นที่เกิดการระบาดจนกว่าสถานการณ์จะยุติลง 2.หากจำเป็นต้องเดินทางไป พื้นที่เกิดการระบาดให้หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ที่มีอาการไอหลีกเลี่ยง สถานที่แออัดหมั่นล้างมือด้วยน้ำและสบู่บ่อยๆหรือเช็ดมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ พร้อมทั้งปฏิบัติตามข้อแนะนำของทางการในพื้นที่นั้นๆอย่างเคร่งครัด 3.ผู้ที่เดินทางกลับมาจาก พื้นที่เกิดการระบาดถ้ามีอาการของไข้หวัดใหญ่ เช่น มีไข้ ไอ เจ็บคอปวดเมื่อยเนื้อตัวมาก ฯลฯ ภายใน 7วันหลังจากเดินทางกลับ ควรสวมหน้ากากอนามัยหรือใช้กระดาษทิชชูหรือผ้าเช็ดหน้าปิดปากจมูกทุกครั้ง ที่ไอจามและรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาและคำแนะนำในการปฏิบัติตนอย่าง เข้มงวด 4.รักษาสุขภาพให้แข็งแรง โดย 4.1รับประทานอาหารที่มี ประโยชน์ โดยเฉพาะผักและผลไม้ดื่มน้ำสะอาด และนอนหลับพักผ่อนให้พอเพียงออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอหลีกเลี่ยงการสูบ บุหรี่และสุรา 4.2หมั่นล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการไอ จาม 4.3หากพบว่ามีผู้ป่วยที่มี อาการคล้ายโรคไข้หวัดใหญ่ภายในบ้านหรือสถานที่ทำงานเดียวกันต้องรีบแจ้ง สำนักงานสาธารณสุขหรืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อเข้าดำเนินการ ป้องกันการแพร่ระบาดทันที   หากมีข้อสงสัย สามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์ปฏิบัติการกรมควบคุมโรค หมายเลข 0-2590-3333และติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุข www.moph.go.th


ไวรัสในเม็กซิโกนั้นเป็นตัวอย่างให้ เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของเชื้อโรคชนิดต่างๆที่ต่างปรับตัวเพื่อเอาชนะตัวยา ต่างๆที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเพื่อทำลายแต่กลไกของธรรมชาติก็มีวิวัฒนาการเพื่อ การอยู่รอดของเผ่าพันธุ์เพื่อให้คงอยู่รอดในสภาวะต่างๆที่เปลี่ยนแปลงไป การที่มีการเสียชีวิตของคนที่เม็กซิโกนั้นก็เป็นเหมือนสัญญานเตือนให้เรา ระวังไว้ว่าการที่จะจัดการเชื้อโรคต่างๆๆนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลยและเราก็ ไม่ควรละเลยกับข่าวสารต่างๆที่ออกมาเพื่อเป็นการเตรียมรับมือกับสถานกาณณ์ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้

......

 

ที่มา : มติชนออนไลน์ 30 เมษายน 2552


"ไข้หวัดใหญ่เม็กซิโก"รุนแรงแค่ไหน ฟังทัศนะของนักวิทยาศาสตร์เอเชีย

ASTVผู้จัดการออนไลน์
เอเจนซี- องค์การอนามัยโลกระบุว่า โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เม็กซิโกกำลังจะกลายเป็น โรคระบาดแพร่หลายกว้างขวาง (pandemic) แล้ว หลังจากที่พบว่าไวรัสสายพันธุ์นี้แพร่กระจายในมนุษย์ได้อย่างรวดเร็วมาก
       
       ครั้งนี้นับเป็นครั้งที่สามในรอบ 10 ปี ที่ผู้เชี่ยวชาญระบุว่ามีการระบาดของโรคซึ่งมีศักยภาพถึงขั้นกลายเป็น โรคระบาดแพร่หลายกว้างขวาง โดยก่อนหน้านี้คือกรณีของ โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (ซาร์ส์) ในปี 2003 และไข้หวัดนกสายพันธุ์ "เอช5เอ็น1" ซึ่งพบผู้ติดเชื้อรายแรกในฮ่องกงเมื่อปี 1997 จากนั้นก็มีการแพร่ระบาดสู่มนุษย์อยู่เป็นพักๆ
       
       นักวิทยาศาสตร์ชั้นนำในเอเชียซึ่งผ่านประสบการณ์การรับมือกับซาร์ส์ และไข้หวัดนกมาแล้ว ให้ความเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ไว้ดังต่อไปนี้
       
       **กวนยี นักจุลชีววิทยาแห่งมหาวิทยาลัยฮ่องกง**
       
       "เห็นได้ชัดว่าไวรัสนี้กำลังกลายโรคระบาดแพร่กระจายประจำถิ่น (endemic) ในบางประเทศแล้ว เชื้อไวรัสนี้มีฤทธิ์อ่อนมาก แต่นี่เป็นแค่รูปแบบหนึ่งเท่านั้น เมื่อปี 1918 ไข้หวัดใหญ่สเปน กลายเป็นโรคระบาดแพร่หลายกว้างขวาง ในระลอกแรกของการระบาดเชื้อก็มีฤทธิ์อ่อนเช่นกัน แต่พอถึงฤดูใบไม้ร่วง และโรคเข้าสู่ระลอกที่ 2 ก็มีคนเสียชีวิตมากมาย ดังนั้นไวรัสนี้จะเหวี่ยงไปข้างไหน เรายังไม่สามารถรู้ได้
       ในขณะนี้ มีโอกาสที่มันจะเป็นเชื้อที่มีฤทธิ์อ่อน แต่เราไม่สามารถบอกปัดไปเลยว่ามันจะไม่เปลี่ยนแปลงกลายเป็นเชื้อที่สำแดง ฤทธิ์รุนแรง และกระทั่งเมื่อมันเปลี่ยนไปมีฤทธิ์อ่อนลงไป มันก็ยังสามารถทำให้คนตายได้อยู่ดี ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของผู้ติดเชื้อ
       
       แล้วใครกันที่จะกล้าพูดว่าเชื้อนี้จะไม่กลับไปรวมเข้ากับ (เชื้อไข้หวัดนก) เอช5เอ็น1 ในกรณีของโรคระบาดแพร่หลายกว้างขวางนั้น อัตราการติดเชื้อจะอยู่ในระดับสูงกว่าไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล และโอกาสที่ไวรัสนี้จะพบและผสมกับ เอช5เอ็น1 ก็ยิ่งสูงขึ้นเป็นไหนๆ ถ้าเชื้อนี้เข้าไปในอียิปต์, อินโดนีเซีย อันเป็นท้องถิ่นที่เอช5เอ็น1แพร่ระบาดอยู่ มันก็สามารถเปลี่ยนไปกลายเป็นเอช5เอ็น1ที่ทรงพลังมากๆ ซึ่งสามารถติดต่อระหว่างคนกับคนได้อย่างยิ่ง คราวนี้แหละเราจะต้องลำบากกันมากๆ มันจะกลายเป็นโศกนาฏกรรม
       
       สำหรับในตอนนี้ เราจำเป็นต้องจำกัดการติดต่อ และรักษาคนป่วย แยกพวกคนป่วยออกมา และทำการกักกันโรคต่อคนป่วยเหล่านี้ เรามีความสามารถเพิ่มขึ้นมากในการรับมือกับเชื้อนี้ ภายหลังเผชิญกับโรคซาร์ส และเชื้อเอช5เอ็น1มาหลายยกแล้ว นี่เป็นเรื่องทีเห็นชัดเจน และเราก็มียาต่อต้านไวรัสที่ใช้ได้ผลอีกด้วย
       
       **โลวิงหลก ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดต่อในฮ่องกง**
       
       
" การระบาดระลอกแรกนี้สามารถที่จะควบคุมจำกัดวงเอาไว้โดยอาศัยภูมิอากาศ เมื่อฤดูร้นอมาถึง ฤดูระบาดของไข้หวัดใหญ่ก็จะยุติลงในเขตอเมริกาเหนือ ดังนั้นผลกระทบในช่วงแรกจึงจะอยู่ในระดับไม่มากนัก
       
       แต่เมื่อถึงฤดูหนาวในปีนี้ เดือนพฤศจิกายนและธันวาคม อาจเป็นไปได้ว่าจะเกิดการระบาดลอกใหญ่จริงๆ และถึงตอนนั้นก็อาจมีการล้มตาย ฤดูกาลคือปัจจัยสำคัญในเรื่องนี้
       
       มีความเป็นไปได้มากกว่าที่จะเกิดแรงกระทบอย่างรุนแรง(ในเวลานี้) ในภูมิภาคซีกโลกใต้ เพราะที่นั่นกำลังเข้าสู่ฤดูหนาวในตอนนี้ นิวซีแลนด์และออสเตรเลียอาจพบกลุ่มของผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น พวกเขาจะตกเป็นเหยื่อของการระบาดระลอกแรกมากกว่า การกำหนดว่าจะเน้นไปที่มาตรการอะไรจึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุดในเวลานี้ ผู้ติดเชื้อกำลังเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว มีผู้ติดเชื้อที่เป็นการติดต่อจากคนอื่นอีกต่อหนึ่ง (secondary infection) ขึ้นแล้วในนิวยอร์ก ... เรื่องนี้ก็สามารถเกิดขึ้นได้ในประเทศอื่นๆ ด้วย"
       
       **มาซาโต ทาชิโร จากสถาบันโรคติดต่อแห่งชาติของญี่ปุ่น และสมาชิกในคณะกรรมการฉุกเฉินขององค์การอนามัยโลก** เขาให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ นิกเคอิ หนังสือพิมพ์ธุรกิจภาษาญี่ปุ่น เอาไว้ดังนี้
       
       "ไวรัสนี้ยังมีฤทธิ์ค่อนข้างอ่อนและมีความรุนแรงพอๆ กับไวรัสไข้หวัดใหญ่ทั่วไปที่ติดต่อกันด้วยการสัมผัสระหว่างคนกับคน ผมไม่คิดว่ามันจะกลายเป็นเชื้อที่มีฤทธิ์รุนแรง แต่ผมคิดว่ามันเป็นไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ที่แตกต่างจากไวรัส 'เอช1เอ็น1'ทั่วไป ผู้ป่วยที่เคยติดไวรัส 'เอช1เอ็น1' ของไข้หวัดใหญ่ทั่วไป จะไม่มีภูมิคุ้มกันไวรัสตัวใหม่นี้ ดังนั้นมันจึงจะมีความว่องไวในการแพร่กระจาย
       
       ผลกระทบเชิงสังคมของปัญหาด้านสาธารณสุขจากไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ นี้ เห็นได้ชัดเจนว่ายังน้อยกว่าไข้หวัดใหญ่นกเอช5เอ็น1 ซึ่งมีฤทธิ์รุนแรงมากกว่า จึงไม่จำเป็นต้องใช้มาตรการอย่างเดียวกัน แทนที่จะรับเอาคำนิยามอย่างเข้มวดของความรุนแรงในแต่ละระดับที่ประกาศกันออก มา ควรที่จะใช้คำนิยามที่ยืดหยุ่นจะดีกว่า
       อันตรายต่อสุขภาพจากไข้หวัดนก และอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยไข้หวัดนกนั้นสูงกว่าไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ นี้มาก ผมเป็นห่วงอย่างยิ่งว่าเราจะใช้ยาต้านไวรัสจนหมดสต๊อก และไร้อาวุธที่จำเป็นจะต้องมีในการต่อสู้กับไข้หวัดนก อันตรายใหญ่หลวงที่สุดสำหรับมนุษยชาติในตอนนี้ยังคงเป็นไข้หวัดนกสายพันธุ์ เอช5เอ็น1

 

ภาพกราฟฟิกแสดงระดับเตรียมการป้องกันภัยจากโรคระบาดขององค์การอนามัยโลก


ถอดบทเรียน"ไข้หวัดมรณะ" จากไข้หวัดสเปน ซาร์ หวัดใหญ่เม็กซิโก เตือนธุรกิจตั้งการ์ดก่อนสาย !!

ประชาชาติธุรกิจ
ศึกษา บทเรียน′ไข้หวัดมรณะ′จากไข้หวัดใหญ่สเปน ซาร์ จนถึงไข้หวัดใหญ่เม็กซิโก นอกจากมีคนตายจำนวนมากแล้ว ความกลัวของผู้คนส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจอย่างหนักทั้งฉุดจีดีพีลด กำลังซื้อหด ขณะที่ผลสำรวจระบุมีธุรกิจแค่15%ที่เตรียมแผนรับมือกรณีเลวร้ายสุด


ปฏิเสธไม่ได้ว่า "ไข้หวัดใหญ่เม็กซิโก" ได้สร้างความหวั่นวิตกให้แก่ผู้คนทั่วโลก แม้ว่าสถานการณ์ยังไม่ได้ถึงขั้นแพร่ระบาดในวงกว้างเหมือนกับไข้หวัดมรณะ ครั้งก่อนๆ
 
แต่จำนวนผู้เสียชีวิตกว่า 159 รายในเม็กซิโกซึ่งอาจเกิดจากหวัดมรณะชนิดนี้ รวมถึงจำนวนผู้ติดเชื้อในอีกหลายประเทศ และการที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ยกระดับการเตือนภัยความรุนแรงจากระดับ 3 เป็นระดับ 4 ที่เป็นระดับการติดต่อของไวรัสจากคนสู่คน และอาจทำให้เกิดการระบาดในชุมชน ก็สร้างความไม่สบายใจนัก เพราะจะยิ่งซ้ำเติมเศรษฐกิจโลกที่กำลังเผชิญกับมรสุมครั้งใหญ่ และอาจส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
 
ทั้งนี้ก่อนหน้านี้ธนาคาร โลกประเมินว่า หากเกิดการระบาดของโรคจะสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจประมาณ 3 ล้านล้านดอลลาร์ และส่งผลให้จีดีพีโลกหดตัวลง 4.8% ขณะที่ประมาณการจีดีพีโลกในปัจจุบันก็อยู่ในระดับต่ำอยู่แล้วจากผลพวงของ วิกฤตเศรษฐกิจ
 
"วอลล์สตรีต เจอร์นัล" นำเสนอบทความของ "คอลัม เมอร์ฟี" ซึ่งเคยเขียนบทความเรื่อง "แผนปฏิบัติการไข้หวัด : หนทางอยู่รอดของธุรกิจ" ในปี 2549 โดยครั้งนี้ "เมอร์ฟี" ระบุว่า จำเป็นต้องนำบทเรียนจากการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่ในครั้งก่อนๆ มาปรับใช้เพื่อสู้กับไข้หวัดใหญ่เม็กซิโก ซึ่งหากเกิดการระบาดขึ้นจะส่งผลต่อต้นทุนทางเศรษฐกิจและชีวิตมนุษย์อย่างมาก
 
โดยการระบาดของไข้หวัดใหญ่ครั้งรุนแรง 3 ครั้งในรอบศตวรรษ ได้แก่ ไข้หวัดใหญ่สเปน (Spanish flu) ในปี 2461-2462 คร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกไป 40-60 ล้านคน ไข้หวัดใหญ่เอเชีย (Asian flu) ในปี 2500-2501 คร่าชีวิตผู้คนราว 2 ล้าน และไข้หวัดใหญ่ฮ่องกง (Hong Kong flu) ในปี 2511-2512 คร่าชีวิตผู้คนไป 1 ล้านคน
 
การสูญเสียชีวิตผู้คนจำนวนมาก เช่นนี้ย่อมจะกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเมื่อปี 2548 สำนักงบประมาณของสหรัฐได้จัดทำรายงานประเมินความเสียหายจากการแพร่ระบาดของ ไข้หวัดใหญ่ ว่าจะส่งผลต่อเศรษฐกิจสหรัฐคิดเป็น 5% ของจีดีพี โดยราว 3% เป็นผลจากด้านอุปทาน อาทิ แรงงานและโลจิสติกส์ เพราะราว 3 ใน 10 ของชาวอเมริกันจะไม่สามารถไปทำงานได้หากเกิดการแพร่ระบาดขึ้น ขณะที่อีก 2% อยู่ในส่วนของจีดีพีซึ่งมาจากปัจจัยด้านอุปสงค์ เช่น การใช้จ่ายที่ลดลงทั้งในส่วนของผู้บริโภค บริษัท และรัฐบาล
 
" เมอร์ฟี" ตั้งข้อสังเกตว่า จากการระบาดในครั้งก่อนๆ พบว่าความกลัวของคนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจมากกว่าอาการของโรคเสียอีก ยกตัวอย่างกรณีโรคซาร์สที่ระบาดในฮ่องกงเมื่อปี 2546 ที่มีชาวฮ่องกงเสียชีวิตราว 300 คน แต่จีดีพีลดลง 2% และยอดค้าปลีกลดลง 6.1% ดังนั้นรัฐบาลและบริษัทต้องเข้าใจเกี่ยวกับการขยายวงของโรคและการตอบสนองทาง จิตวิทยาตามธรรมชาติของคน เพื่อจะรับมือกับการแพร่ระบาดได้ดีขึ้น และอาจบรรเทาผลกระทบที่จะเกิดขึ้น
 
วิธีการหนึ่งคือปรับปรุงการสื่อ สารระหว่างสาธารณะและพนักงาน ซึ่ง "มอร์แกน สแตนเลย์" ลดความวิตกของพนักงาน โดยใช้อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางสื่อสารกับพนักงานทั่วโลก รวมถึงให้ข้อมูลทางการแพทย์ที่สำคัญๆ แก่พนักงาน ส่วน "ซิสโก้ ซิสเต็มส์" ใช้ข้อความเสียง (voice mail) สื่อสารกับพนักงาน
 
ภาคธุรกิจสามารถ สื่อสารกับพนักงาน ซัพพลายเออร์ และลูกค้าในยามที่เกิดการระบาด ซึ่งอาจรวมถึงการให้พนักงานบางคนทำงานจากบ้าน การอบรมพนักงานให้สามารถดูแลเพื่อนร่วมงานที่ป่วย หรือการแจกหน้ากาก ซึ่งหากทำได้ก็จะช่วยลดความกลัวและผลกระทบให้น้อยลง
 
ขณะที่ "ดร.ลาร์รี มอนด์ไชน์" ระบุในเว็บ china.org.cn ว่า ผลสำรวจของแฮร์ริสที่สอบถามผู้บริหารอาวุโสของ 52 บริษัทที่ติดอันดับในทำเนียบฟอร์จูน 1,000 พบว่ามีเพียง 15% ที่ได้เตรียมแผนไว้สำหรับกรณีที่เลวร้ายที่สุด ทั้งที่นี่จะเป็นเครื่องมือปกป้องธุรกิจในยามคับขัน เพราะไม่มีใครรู้ว่าไข้หวัดใหญ่เม็กซิโกจะมีบทสรุปอย่างไร
 
ด้าน "บิสซิเนส เจอร์นัล" ระบุว่า หน่วยงานด้านสาธารณสุขของสหรัฐได้เสนอแนะสิ่งที่ภาคธุรกิจควรจะทำ เพื่อเตรียมรับมือกับการแพร่ระบาดของไข้หวัดหมูไว้แต่เนิ่นๆ เพราะภาคธุรกิจมีบทบาทสำคัญในการปกป้องสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงาน รวมทั้งจะช่วยลดผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมด้วย
 
โดยลิสต์รายการ ที่บริษัทควรทำ ได้แก่ การกำหนดตัวทีมงานและบทบาทความรับผิดชอบในการจัดเตรียมแผนและตอบสนองแผนใน ยามวิกฤต การกำหนดตัวพนักงานที่เป็นแกนหลัก รวมถึงวัตถุดิบ ซัพพลายเออร์ สินค้าและบริการของผู้รับช่วงงาน และระบบโลจิสติกส์ที่จะทำให้ธุรกิจดำเนินต่อไป การฝึกอบรมและจัดเตรียมทีมงาน การพัฒนาและเตรียมแผนสำหรับกรณีต่างๆ ในระหว่างที่เกิดการแพร่ระบาด ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่ความต้องการสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นหรือลดลง การกำหนดแผนทางการเงินในกรณีต่างๆ การกำหนดแผนรับมือทางธุรกิจหากเกิดผลกระทบในแง่การเดินทางทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ เช่น การกักกัน และการปิดพรมแดน การอัพเดตข้อมูลอยู่ตลอด และการจัดทำแผนสื่อสารและทบทวนเป็นระยะๆ ซึ่งรวมถึงการกำหนดตัวบุคคลหลักๆ ที่จะติดต่อด้วย และการทดสอบแผนและปรับปรุงให้เข้ากับสถานการณ์

view