จาก ประชาชาติธุรกิจ
1.อนุญาโตตุลาการต้องรับผิดในทางแพ่งหรือทางอาญาอย่างไรหรือไม่ ?
มาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 บัญญัติว่า อนุญาโตตุลาการไม่ต้องรับผิดทางแพ่งในการกระทำตามหน้าที่ในฐานะอนุญาโต ตุลาการ เว้นแต่จะกระทำการโดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ทำให้คู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียหาย ส่วนความรับผิดทางอาญา กฎหมายได้บัญญัติให้อนุญาโตตุลาการผู้ใดเรียกรับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ
เพื่อ กระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดในหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุก หรือปรับหรือทั้งจำทั้งปรับ กล่าวได้ว่าตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการฉบับปัจจุบัน อนุญาโตตุลาการได้รับความคุ้มกันจากการถูกฟ้องในคดีแพ่งและอาญาในระดับหนึ่ง
2.การคัดค้านคำชี้ขาดจะสามารถทำได้หรือไม่อย่างไร ?
การ คัดค้านคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการสามารถกระทำได้ โดยคู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจขอให้เพิกถอนคำชี้ ขาด โดยต้องยื่นคำร้องภายในเก้าสิบวันนับแต่วันได้รับสำเนาคำชี้ขาด หรือถ้าเป็นกรณีมีการขอให้คณะอนุญาโตตุลาการแก้ไข หรือตีความ คำชี้ขาด หรือชี้ขาดเพิ่มเติม ก็ให้นับแต่วันที่คณะอนุญาโตตุลาการได้แก้ไขหรือตีความคำชี้ขาดหรือทำคำชี้ ขาดเพิ่มเติมแล้วตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 40
3.ศาลใดมีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการ ?
พระ ราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 9 ได้กำหนดให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง เป็นศาลหลักที่มีอำนาจในการช่วยเหลือกระบวนการอนุญาโตตุลาการ
ทั้ง นี้เพื่อจะสร้างความเชี่ยวชาญเฉพาะทางให้เกิดขึ้นกับการบังคับใช้กฎหมาย อนุญาโตตุลาการและทำให้การตีความและใช้กฎหมายอนุญาโตตุลาการเป็นมาตรฐาน เดียวกัน
นอกจากนั้น ศาลที่มีเขตอำนาจตาม พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 ยังได้แก่ศาลที่มีการพิจารณา ชั้นอนุญาโตตุลาการอยู่ในเขตศาล หรือศาลที่คู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีภูมิลำเนา อยู่ในเขตศาล หรือศาลที่มีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาซึ่งได้เสนอต่ออนุญาโตตุลาการนั้น
ซึ่ง หากคณะอนุญาโตตุลาการดำเนินกระบวนการพิจารณาในหลายเขตพื้นที่ ศาลที่มีเขตอำนาจในพื้นที่เหล่านั้น ก็จะมีอำนาจตามพระราชบัญญัติดังกล่าวด้วย ซึ่งหมายความถึงศาลปกครองด้วย
4.คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศจะมีผลบังคับใช้ในประเทศไทยหรือไม่อย่างไร ?
พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการฯได้กำหนดให้การบังคับตามคำชี้ขาดทั้งภายในและ ต่างประเทศมีผลบังคับใช้อย่างเท่าเทียมกัน โดยมาตรา 41 บัญญัติว่า คำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการไม่ว่าจะได้ทำขึ้นในประเทศใด ให้ผูกพันคู่พิพาทและเมื่อได้มีการร้องขอต่อศาลที่มีเขตอำนาจ ย่อมบังคับได้ตามคำชี้ขาดนั้น
5.ศาลมีอำนาจสั่งปฏิเสธไม่บังคับตาม คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการได้หรือไม่ ?
พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 43 ศาลมีอำนาจทำ คำสั่งปฏิเสธคำร้องขอให้บังคับตามคำชี้ขาดได้ ถ้าปรากฏต่อศาลว่า
1.คู่ สัญญาอนุญาโตตุลาการฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้บกพร่องในเรื่องความสามารถตาม กฎหมายที่ใช้บังคับแก่คู่สัญญาฝ่ายนั้น เช่น สัญญาอนุญาโตตุลาการลงนามโดยผู้ไม่มีอำนาจ
2.สัญญาอนุญาโตตุลาการไม่ มีผลผูกพันตามกฎหมายแห่งประเทศคู่พิพาทได้ตกลงกันไว้ หรือตามกฎหมายแห่งประเทศที่ทำคำชี้ขาดนั้นในกรณีที่ไม่มีข้อตกลงดังกล่าว
3.ไม่ มีการแจ้งให้ผู้ซึ่งจะถูกบังคับทราบล่วงหน้าโดยชอบถึงการตั้งอนุญาโตตุลาการ หรือการพิจารณาขออนุญาโตตุลาการ หรือผู้ซึ่งจะถูกบังคับนั้นไม่สามารถเข้าต่อสู้คดีในชั้นอนุญาโตตุลาการได้ เพราะเหตุประการอื่น
4.คำชี้ขาดวินิจฉัยเกินขอบเขตแห่งข้อตกลงในการ เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ แต่ถ้าคำชี้ขาดที่วินิจฉัยเกินขอบเขตนั้นสามารถแยกออกได้จากคำชี้ขาดส่วนที่ วินิจฉัยในขอบเขตแล้ว ศาลอาจบังคับตามคำชี้ขาดส่วนที่วินิจฉัยอยู่ในขอบเขตแห่งข้อตกลงนั้น
5.องค์ ประกอบของคณะอนุญาโตตุลาการหรือผู้ชี้ขาด หรือวิธีพิจารณาขออนุญาโตตุลาการมิได้เป็นไปตามที่คู่พิพาทได้ตกลงกันไว้ หรือ มิได้เป็นไปตามกฎหมายของประเทศ ที่ทำคำชี้ขาดในกรณีที่มิได้ตกลงกันไว้ หรือ
6.คำชี้ขาดยังไม่มีผล ผูกพันเป็นยุติหรือได้ถูกเพิกถอนหรือระงับใช้เสียแล้วโดยเจ้าหน้าที่ผู้มี อำนาจ หรือภายใต้กฎหมายของประเทศที่ทำคำชี้ขาด เว้นแต่ในกรณีที่ยังอยู่ในระหว่างการขอให้ศาลที่มีเขตอำนาจทำการเพิกถอนหรือ ระงับใช้ซึ่งคำชี้ขาด
นอกจากนี้ มาตรา 44 ยังบัญญัติให้ศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดตามมาตรา 43 ได้ ถ้าปรากฏต่อศาลว่าคำชี้ขาดนั้นเกี่ยวกับข้อพิพาทที่ไม่สามารถจะระงับโดย ทางอนุญาโตตุลาการตามกฎหมายหรือถ้าการบังคับชี้ขาดนั้นจะเป็นการขัดต่อความ สงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน