จาก โพสต์ทูเดย์
รายงานโดย :สำนักส่งเสริมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์กรมที่ดิน:
พระราชบัญญัติอาคารชุด (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 4 ก.ค. 2551 ได้แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ต่างๆ จากพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 ค่อนข้างมาก โดยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ซึ่งมีการร้องเรียนจากผู้เกี่ยวข้องผ่านกรมที่ดิน ได้มีปัญหาที่เกิดขึ้นจากการบริหารจัดการของผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด ปัญหาที่เกิดจากผู้ประกอบการ และปัญหาที่เกิดจากผู้ซื้อห้องชุด
กรม ที่ดินได้รวบรวมปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติอาคารชุด (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ในรูปแบบถาม-ตอบ ดังนี้คำถามที่เกี่ยวกับนิติบุคคลอาคารชุด
-นิติบุคคลอาคารชุดตามกฎหมายมีวัตถุประสงค์อย่างไร
ตามพระราชบัญญัติอาคารชุดกำหนดให้นิติบุคคลอาคารชุดมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการและดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลาง เช่น
1.ที่ดินที่ตั้งอาคารชุด ได้แก่ ที่ดินที่ปลูกสร้างอาคารชุดนั้น รวมถึงบริเวณติดต่อกันด้วย เช่น ที่ดินที่มีสนามหญ้า หรือมีที่ปลูกต้นไม้อยู่ในบริเวณเดียวกัน ก็ถือว่าเป็นที่ดินที่ตั้งอาคารชุดนั่นเอง
2.ที่ดินที่มีไว้เพื่อใช้หรือเพื่อประโยชน์ร่วมกัน เช่น ที่ดินที่เป็นลานจอดรถร่วมกัน หรือที่ดินที่จัดไว้เป็นสวนไม้ดอกเพื่อความสวยงามของอาคารชุดนั้น
3.โครงสร้างและสิ่งก่อสร้างเพื่อความมั่นคง และเพื่อป้องกันความเสียหายต่อตัวอาคารชุด ได้แก่ เสา เสาเข็ม หลังคา ดาดฟ้า ฝาผนังด้านนอกโดยรอบ เป็นต้น
4.อาคารหรือส่วนของอาคาร และเครื่องอุปกรณ์ที่มีไว้เพื่อใช้หรือเพื่อประโยชน์ร่วมกัน เช่น อาคารที่เป็นโรงเก็บรถร่วมกัน ระเบียงราวลูกกรง บันได ทางเดินระหว่างห้องชุด เป็นต้น
5.เครื่องมือและเครื่องใช้ที่มีไว้เพื่อใช้หรือเพื่อประโยชน์ร่วมกัน เช่น เครื่องตัดหญ้า เครื่องสูบน้ำ เครื่องดูดฝุ่น
6.สถานที่ที่มีไว้เพื่อบริการส่วนรวมแก่อาคารชุด เช่น สระว่ายน้ำ สนามกีฬา สนามเด็กเล่น เป็นต้น
7.ทรัพย์สินอื่นที่มีไว้เพื่อใช้หรือเพื่อประโยชน์ร่วมกัน เช่น ลิฟต์ ถังขยะ เป็นต้น
หมายเหตุ ที่ดินตามข้อ 1 ต้องมีหลักฐานเป็นโฉนดที่ดิน หรือตราจองที่ตราว่าได้ทำประโยชน์แล้วเท่านั้น จะเป็นหลักฐาน น.ส.ก. หรือ น.ส.3ข ไม่ได้
-นิติบุคคลอาคารชุดมีอำนาจหน้าที่อย่างไร
ตามพระราชบัญญัติอาคารชุดกำหนดให้นิติบุคคลมีอำนาจกระทำการใดๆ เพื่อประโยชน์ตามวัตถุประสงค์คือ เพื่อจัดการและดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลางดังนี้ ตามมติของเจ้าของร่วมภายใต้ข้อบังคับและกฎหมายกำหนด ข้อบังคับสามารถขอตรวจสอบได้ที่สำนักงานที่ดินจังหวัดสาขาที่อาคารชุดตั้ง อยู่
-ตามพระราชบัญญัติอาคารชุดได้กำหนดโทษสำหรับนิติบุคคลอาคารชุดไว้หรือไม่ กรณีใดบ้าง
ตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติอาคารชุด (ฉบับที่ 4) ได้กำหนดโทษนิติบุคคลอาคารชุดไว้ 3 กรณี คือ
1.ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 38/1 ให้นิติบุคคลอาคารชุดจัดทำงบดุลอย่างน้อยทุกรอบ 12 เดือน โดยให้ถือว่าเป็นรอบปีในทางบัญชีของนิติบุคคลอาคารชุดนั้น งบดุลตามวรรคหนึ่งต้องมีรายการแสดงจำนวนสินทรัพย์และหนี้สินของนิติบุคคล อาคารชุดกับทั้งบัญชีรายรับ-จ่าย และต้องจัดให้มีผู้สอบบัญชีตรวจสอบ แล้วนำเสนอเพื่ออนุมัติในที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมภายใน 120 วัน นับตั้งแต่วันสิ้นปีทางบัญชี
2.ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 38/2
มาตรา 38/2 ให้นิติบุคคลอาคารชุดจัดทำรายงานประจำปี แสดงผลการดำเนินงานเสนอต่อที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมพร้อมกับการเสนองบดุล และให้ส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้แก่เจ้าของร่วมก่อนวันนัดประชุมใหญ่ล่วง หน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน
3.ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 38/3
มาตรา 38/3 ให้นิติบุคคลอาคารชุดเก็บรักษารายงานประจำปีแสดงผลการดำเนินงานและงบดุล พร้อมทั้งข้อบังคับไว้ที่สำนัก งานของนิติบุคคลอาคารชุด เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าของร่วมตรวจดูได้
รายงานประจำปีแสดงผลการดำเนินงานและงบดุลตามวรรคหนึ่ง ให้นิติบุคคลอาคารชุดเก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่า 10 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วม
ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท
คำถามเกี่ยวกับการประชุม-ตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2551 (ฉบับที่ 4) กำหนดให้ใครบ้างมีอำนาจในการเรียกประชุมใหญ่เจ้าของร่วม
เดิม ตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 การเรียกประชุมใหญ่และวิธีการประชุมใหญ่ของเจ้าของร่วมให้เป็นไปตามข้อบังคับของนิติบุคคล
ปัจจุบัน ตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2551 ได้บัญญัติเกี่ยวกับการเรียกประชุมใหญ่ และวิธีการประชุมใหญ่ของเจ้าของร่วมไว้ในตัวกฎหมาย ดังนั้นการประชุมจึงต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด มิฉะนั้นแล้วจะมีผลทำให้มติที่ประชุมไม่มีผลบังคับการประชุมใหญ่สามัญ
1.ผู้จัดการ กรณีเป็นการประชุมใหญ่สามัญครั้งแรกภายใน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ได้จดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุด เพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาให้ความเห็นชอบข้อบังคับ และผู้จัดการที่จดทะเบียนตามที่ได้ยื่นขอจดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุดไว้แล้ว
2.คณะกรรมการ กรณีเป็นการประชุมใหญ่สามัญปีละ 1 ครั้ง ภายใน 120 วัน นับตั้งแต่วันสิ้นปีทางบัญชีของนิติบุคคลอาคารชุด เพื่อพิจารณาอนุมัติงบดุล พิจารณารายงานประจำปี แต่งตั้งผู้สอบบัญชีและพิจารณาเรื่องอื่นๆ
การประชุมใหญ่วิสามัญในกรณีมีเหตุจำเป็น
1.ผู้จัดการ
2.คณะกรรมการโดยมติเกินกว่ากึ่งหนึ่งของที่ประชุมคณะกรรมการ
3.เจ้าของร่วมไม่น้อยกว่า 40% ของคะแนนเสียงเจ้าของร่วมทั้งหมดลงลายมือชื่อทำหนังสือร้องขอให้เปิดประชุม ต่อคณะกรรมการในกรณีนี้ ให้คณะกรรมการจัดให้มีการประชุมภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันรับคำร้องขอ ถ้าคณะกรรมการมิได้จัดให้มีการประชุมภายในกำหนดเวลาดังกล่าว เจ้าของร่วมตามจำนวนข้างต้นมีสิทธิจัดให้มีการประชุมวิสามัญเองได้ โดยให้แต่งตั้งตัวแทนคนหนึ่งเพื่อออกหนังสือเรียกประชุม
-กรณีการเรียกประชุมใหญ่ตามพระราชบัญญัติอาคารชุด (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ได้กำหนดวิธีการเรียกประชุมไว้อย่างไร
การเรียกประชุมใหญ่ต้องทำเป็นหนังสือนัดประชุม ระบุสถานที่ วัน เวลา ระเบียบวาระการประชุม และเรื่องที่จะเสนอต่อที่ประชุม และจัดส่งให้เจ้าของร่วมไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนวันประชุม
เรื่องสำคัญๆ ที่มีผลกระทบต่อประโยชน์ได้เสียของบุคคลอื่นไม่สามารถเสนอให้ที่ประชุมเจ้า ของร่วมเพื่อพิจารณาลงมติในวาระอื่นๆ หรือวาระเร่งด่วน (ที่กำหนดขึ้นในที่ประชุม) เพราะถือว่าไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย คือ ไม่ได้แจ้งให้เจ้าของร่วมทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนวันประชุม
คำถามเกี่ยวกับองค์ประชุมและมติที่ประชุม
-คะแนนเสียงนับจากอะไร
การลงคะแนนเสียงให้เจ้าของร่วมแต่ละรายมีคะแนนเสียงเท่ากับอัตราส่วนที่ตนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลาง
กรณีที่เจ้าของร่วมถือกรรมสิทธิ์ห้องชุดร่วมกัน 2 คน การลงคะแนนเสียงในการประชุมใหญ่เจ้าของร่วมคนใดคนหนึ่งทำได้ โดยไม่ต้องได้รับมอบฉันทะ การนับคะแนนเสียงนับเต็มตามอัตราส่วนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลาง
-การประชุมใหญ่มีองค์ประชุมอย่างไร
การประชุมใหญ่ต้องมีผู้มาประชุม ซึ่งมีคะแนนเสียงลงคะแนนร่วมกันไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของจำนวนเสียงลงคะแนนทั้งหมด
ในกรณีที่เจ้าของร่วมมาประชุมไม่ถึง 1 ใน 4 ของจำนวนคะแนนเสียงทั้งหมด ให้เรียกประชุมใหญ่ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันเรียกประชุมครั้งก่อน และการประชุมใหญ่ครั้งหลังนี้ไม่บังคับว่าจะต้องครบองค์ประชุม
สิ่งที่ต้องพึงระวังคือ ต้องมีหนังสือนัดเจ้าของร่วมเพื่อเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนวันประชุมด้วย
-กฎหมายได้กำหนดเกี่ยวกับเรื่องมติของที่ประชุมไว้เป็นการเฉพาะในกรณีใดบ้าง อย่างไรตามมาตรา 48 มติเกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้ต้องได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนคะแนนเสียงของเจ้าของร่วมทั้งหมด
1.การซื้ออสังหาริมทรัพย์ หรือรับการให้อสังหาริมทรัพย์ที่มีค่าภาระติดพันเป็นทรัพย์ส่วนกลาง
2.การจำหน่ายทรัพย์ส่วนกลางที่เป็นอสังหาริมทรัพย์
3.การอนุญาต ให้เจ้าของร่วมทำการก่อสร้าง ตกแต่ง ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือต่อเติมห้องชุดของตนเองที่มีผลกระทบต่อทรัพย์ส่วนกลางหรือลักษณะภายนอก ของอาคารชุดโดยค่าใช้จ่ายของผู้นั้นเอง-กรณีที่เจ้าของร่วมคนเดียวมีคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนคะแนน เสียงทั้งหมดจะทำให้มีปัญหาในการลงมติหรือไม่
ไม่มีปัญหา เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้เจ้าของร่วมคนเดียวที่มีคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของ คะแนนเสียงทั้งหมดให้ลดจำนวนคะแนนเสียงของผู้นั้นลงมาเหลือเท่ากับจำนวน คะแนนเสียงของบรรดาเจ้าของร่วมอื่นๆ ร่วมกัน
-เงินที่เจ้าของร่วมค้างชำระตามมาตรา 18 อยู่ก่อน พระราชบัญญัติอาคารชุด (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มีผลบังคับใช้ จะนำมารวมเป็นยอดค้างชำระตามมาตรา 18/1 วรรคสอง เพื่อตัดสิทธิไม่ให้ออกเสียงในที่ประชุมใหญ่ได้หรือไม่
ไม่ได้ จำนวนเงินที่ค้างชำระตามมาตรา 18 ซึ่งมีผลบังคับตามมาตรา 18/1 วรรคสอง ต้องเป็นเงินตามมาตรา 18 ที่ค้างชำระนับตั้งแต่พระราชบัญญัติอาคารชุด (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มีผลบังคับแล้วเท่านั้น
-เจ้าของร่วมที่ถูกตัดสิทธิไม่ให้มีสิทธิออกเสียงในการประชุมใหญ่ตามมาตรา 18/1 วรรคสอง นับเป็นองค์ประชุมได้หรือไม่
นับเป็นองค์ประชุมได้ เนื่องจากองค์ประชุมนับตามคะแนนเสียงของผู้มาประชุม และคะแนนเสียงนับตามอัตราส่วนของเจ้าของร่วมที่มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วน กลาง เจ้าของร่วมดังกล่าวถูกตัดสิทธิไม่ให้มีสิทธิออกเสียง แต่กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลางยังมีอยู่
-การตัดสิทธิไม่ให้เจ้าของร่วมที่ ค้างชำระเงินตามมาตรา 18 ตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป มีสิทธิออกเสียงตามมาตรา 18/1 วรรคสอง ต้องกำหนดไว้ในข้อบังคับหรือไม่
ไม่ต้อง เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดตัดสิทธิไม่ให้เจ้าของร่วมที่ค้างชำระเงินตามมาตรา 18/1 วรรคสอง m
(อ่านต่อฉบับวันอังคารหน้า)