สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

แฉวิจัยร้อน เบื้องหลัง ปั่นหุ้น พฤติกรรม สื่อ ร่วมกระบวนการ

จาก ประชาชาติธุรกิจ



แฉวิจัยร้อนดีเอสไอ เบื้องหลัง"ปั่นหุ้น" พบพฤติกรรม"นักข่าว" ร่วมกระบวนการ " ผู้บริหารบริษัทแจกหุ้นให้กับผู้สื่อข่าว" เสนอให้ "สื่อ" เปิดเผยพอร์ตลงทุน

 
   ผู้สื่อข่าว ประชาชาติธุรกิจ รายงานว่า  งานวิจัย  เรื่อง การปั่นหุ้น โดยวิธีการบอกกล่าวหรือแพร่ข่าว ที่ศึกษาโดยสำนักคดีการเงินการธนาคาร กรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม ซึ่งศึกษาจากการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้เชี่ยวชาญพิเศษหลายฝ่าย  และข้อมูลบางส่วนได้มาจากการจัดสัมมนาระดมความคิดเห็นหน่วยงานต่างๆ รวมถึงการวิจัยจากเอกสารเชิงลึก   ได้มีประเด็นที่เชื่อมโยงมาถึงการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนในการแพร่ข่าวอันมี ลักษณะการปั่นหุ้นในหลายประเด็นที่น่าสนใจ และท้าทายจริยธรรมของสื่อมวลชนในยุคโลกาภิวัตน์  
    งานวิจัย ระบุว่า  ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบอกกล่าวหรือแพร่ข่าว ได้แก่ บริษัทจดทะเบียน บริษัทหลักทรัพย์ สื่อสารมวลชนไม่ว่าจะเป็นสื่อหนังสือพิมพ์ วารสารสื่ออินเทอร์เน็ต ผู้มีส่วนได้เสียโดยมากจะเป็นผู้ถือหุ้นหรือนักลงทุนที่เข้ามาซื้อขายหุ้นใน ตลาดหลักทรัพย์ หรืออาจจะเป็นบุคคลอื่นที่รู้ข้อมูล เช่น ผู้สอบบัญชี ที่ปรึกษากฎหมาย ที่ปรึกษาทางด้านการเงิน ที่ปรึกษาด้านการปรับปรุงองค์กร เป็นต้น
    ทั้งนี้  ลักษณะของข่าว ที่มีการแพร่ออกไปแล้วทำให้มีผลกระทบต่อราคาหุ้นแบ่งเป็น "ข่าวดี" ผู้ปั่นหุ้นหรือผู้ปล่อยข่าวมีวัตถุประสงค์ให้ราคาหุ้นขยับตัวสูงขึ้น เพื่อระบายหุ้นของตัวเองออก ผู้ที่รู้ขาวดีก่อนก็จะทำการซื้อหุ้นเพื่อขายทำกำไร
   เช่น ข่าวการเพิ่มทุน ข่าวการจ่ายเงินปันผล ข่าวการขยายฐานประกอบกิจการ "ข่าวร้าย" เป็นข่าวที่มีผลเสียแก่หลักทรัพยื แต่ก็เกิดประโยชน์แก่ผู้ได้ข่าวก่อนผู้อื่นโดยการเทหุ้นขายก่อนผู้อื่น เป็นการฉกฉวยโอกาสลดความเสี่ยงของตนเอง หรือปล่อยข่วโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ราคาหุ้นตกเพื่อตนเองจะได้เข้ามาช้อน ซื้อหุ้นในราคาต่ำ เช่น ข่าวความแตกแยกของฝ่ายบริหาร ข่าวการทุจริต หรือเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบการทุจริต ข่าวการดำเนินธุรกิจผิดพลาด ผลประกอบการขาดทุน ฐานะการเงินของหลักทรัพย์อยู่ในสภาพไม่มั่นคง ข่าวความไม่มั่นคงทางการเมือง ข่าวปฏิวัติรัฐประหาร หรือข่าวสงคราม เป็นต้น
     ทีมวิจัย เชื่อว่า   การบอกกล่าวหรือแพร่ข่าวทางอ้อม เป็นลักษณะการบอกกล่าวหรือแพร่ข้อเท็จจริง ข่าวเท็จ หรือข่าวที่คลาดเคลื่อน ให้กระจายในวงกว้างที่ซับซ้อน โดยแหล่งข่าวตามที่กฎหมายกำหนดอันได้แก่บริษัทหลักทรัพย์ ผู้รับผิดชอบในการดำเนินกิจการของบริษัทหลักทรัพย์และบริษัทที่ออกหลัก ทรัพย์ ผู้มีส่วนได้เสียในหลักทรัพย์นั้นๆ ไม่ได้เป็นผู้บอกกล่าวหรือแพร่ข่าวด้วยตนเองเนื่องจากรู้ว่ากฎหมายห้ามไว้ แต่จะใช้วิธีการให้บุคคลอื่นเป็นผู้แพร่ข้อเท็จจริงหรือให้ข่าวแทน เช่น การจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อปรับปรุงองค์กร บริษัทที่ปึกษาเพื่อประชาสัมพันธ์ ภาพลักษณ์ของบริษัท แล้วให้บริษัทที่ปรึกษาเหล่านี้เป็นผู้ให้ข่าวในทางที่ดี บางครั้งอาจจะมีการตบแต่งงบการเงินเพื่อให้ผลการดำเนินงานของบริษัทมีผลกำไร (window dressing) โดยผู้บริหารของบริษัทเป็นผู้สั่งการและมีผู้ทำบัญชีของบริษัทหรืออาจจะมี ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตร่วมมือสนับสนุนด้วย
     "  สื่อสารมวลชน มีบทบาทสำคัญต่อการเผยแพร่ข่าวหรือสารสนเทศ รวมทั้งข่าวลือต่างๆ บทบาทของสื่อจึงอาจเป็นผู้ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการแพร่ข่าวหรืออาจจะมี ส่วนร่วมรู้เห็นด้วย จากการสัมมนาทำให้ทราบว่าบทบาทการทำงานของสื่อจะต้องรวดเร็วเพื่อให้ขาวทัน ต่อเหตุการณ์จึงไม่ได้ตรวจสอบความชัดเจนของข่าว การมีผลประโยชน์ทับซ้อน เช่น การซื้อรายการโทรทัศน์เพื่อออกข่าวของบริษัท หรือความคุ้นเคยส่วนตัวของผู้บริหารกับสื่อ หรือผู้บริหารเคยซื้อรายการโฆษณากับสื่อ บางครั้งผู้บริหารบริษัทอาจจะมีการแจกหุ้นให้กับผู้สื่อข่าวเพื่อหวังผลใน ด้านการประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ของบริษัท เป็นต้น จึงมีประเด็นให้วิเคราะห์ว่าจะทำอย่างไรให้สื่อเสนอข่าวด้วยถูกต้อง รวดเร็ว ตรงกับความเป็นจริงและสื่อควรจะมีบทบาทสำคัญที่จะทำให้นักลงทุนได้รับข้อมูล ข่าวสารที่ถูกต้องได้เท่าเทียมกันอีกช่องทางหนึ่งพร้อมๆ กับระบบของตลาดหลักทรัพย์โดยไม่ต้องผ่านระบบตลาดหลักทรัพย์เพียงอย่าง เดียว"  งานวิจัย ระบุไว้อย่างชัดเจน
     งานวิจัยเสนอว่า  การเสนอข่าวของสื่อสารมวลชน มีผลต่อการตัดสินใจของนักลงทุน ดังนั้นการเผยแพร่สารสนเทศของสื่อสารมวลชนต้องถูกต้องชัดเจน ควรสร้างสำนึก และเสริมสร้างจรรยาบรรณในการเสนอข่าวสารของสื่อมวลชนให้มากขึ้น สื่อสารมวลชนต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนในการเสนอข่าวที่เกี่ยวข้องกับ บริษัทจดทะเบียน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยควรเปิดเผยการถือครองหลักทรัพย์ของสื่อมวลชน ผู้บริหาร ผู้สื่อข่าวด้านเศรษฐกิจหรือบุคคลอื่นกับการนำเสนอข่าวด้านเศรษฐกิจ

view