สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ศักยภาพอุตฯก่อสร้างไทย กับการบริหารโลจิสติกส์และซัพพลายเชน

จาก ประชาชาติธุรกิจ



ต้อง ยอมรับว่าภาวะเศรษฐกิจในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ทั้งภาวะการเมืองที่ไม่เอื้อต่อการลงทุน ราคาน้ำมันและวิกฤตเศรษฐกิจโลกส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมก่อสร้างไทยเป็นอย่าง มาก เนื่องจากอุตสาหกรรมนี้ต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนค่อนข้างมาก และต้องพึ่งพาโครงการจากภาครัฐเป็นหลัก เมื่อเร็วๆ นี้กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่และมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จึงได้จัดสัมมนาเรื่อง "ศักยภาพอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยกับการประยุกต์ใช้โลจิสติกส์และซัพพลายเชน" ขึ้น ณ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย โดยมีวิทยากรร่วม ดังนี้

นายอิสระ ว่องกุศลกิจ รองประธานหอการค้าไทย และกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มบริษัทน้ำตาลมิตรผลกล่าวว่า การรับมือขององค์กรธุรกิจกับสภาวะเศรษฐกิจขณะนี้จะต้องปรับโครงสร้างให้ ยืดหยุ่น บุคลากรมีความสำคัญมาก พนักงานขับรถก็เป็นคนส่งสินค้าได้ ส่วนมากคือลดต้นทุนด้านบัญชี โครงการก่อสร้างมีอุปกรณ์มากมายใช้เต็มที่หรือยัง การบริหารจัดการควรทำได้หลายอย่าง

การลดความสูญเสีย 2-3 ปีที่ผ่านมามีความสูญเสียมากในการรอสินค้า สินค้ามาไม่ครบเป็นต้นทุนที่สูญเสียไป เดี๋ยวนี้วัสดุก่อสร้างทำสำเร็จรูปมาในการออกแบบเพื่อลดความสูญเสีย ควรใช้วัสดุสำเร็จรูป ปัจจุบันมีโรงงานหล่อเสาเข็มตามหัวเมืองจำนวนมาก ต้นทุนจึงต่ำลง เป็นคลัสเตอร์ผลิตวัสดุสำเร็จรูปมากขึ้น

การบริหาร จัดการลดต้นทุน บัญชีต้องแม่น การจัดซื้อจำนวนมากทำอย่างไร ควรออกแบบก่อนดีไซน์ ถ้าดีไซน์ก่อนออกแบบบางทีใช้วัสดุราคาแพงมโหฬารเกินไป เหมือนบ้านผม ต้องต่อรอง หากเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างควรแนะนำผู้ออกแบบว่าตรงไหนลดได้บ้าง การไม่ให้อินทีเรียร์เข้ามาแต่แรกทำให้ต้องมาทุบมารื้ออีก ฉะนั้นถ้าจะสร้างควรพิถีพิถันเรื่องเหล่านี้



ทาง เครือทำวัสดุก่อสร้างปาร์ติเกิล บอร์ดที่หาดใหญ่ ที่จริงอยากส่งมากรุงเทพฯเพราะโรงงานเฟอร์นิเจอร์อยู่กรุงเทพฯ แต่ส่งออกต่างประเทศถึง 80% เช่น ไปเกาหลี โดยใช้ท่าเรือ ปีนังแทนสงขลา พอเศรษฐกิจโลก ไม่ดีจึงขายในประเทศมากขึ้นเป็น 50% โดยใช้รถบรรทุกของเครือที่ส่งสินค้า น้ำตาลจากส่วนกลางลงภาคใต้ขนปาร์ติเกิลบอร์ดขึ้นมา

อิตาเลียนไทยลดต้นทุนด้วย "Precast"

นาย ธวัชชัย สุทธิประภา กรรมการรองประธานบริหารอาวุโส บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ภาวะเศรษฐกิจขาลงก่อสร้างกระทบมาก ไตรมาส 4 ปีนี้หวังว่าจะดีขึ้นจากโครงการเมกะโปรเจ็กต์ รถไฟฟ้า 10 สายจากทั้งหมด 12 สาย ภายในปีนี้จะเริ่มโครงการได้อย่างเก่งประมาณ 3 สาย

งาน ก่อสร้างเมกะโปรเจ็กต์คีย์สำคัญมีตั้งแต่ระบบซัพพลายเชน การออกแบบก่อสร้าง เพราะใช้วัสดุมากและใช้วัสดุจากต่างประเทศเกิน 50% เทียบกับงานอาคาร ถนน สะพานจะใช้วัสดุในประเทศถึง 70%

การขนส่งระบบรางจะแก้ปัญหาต้นทุนขน ส่งได้มากแต่รางของไทยเป็น meter gauge ความกว้างน้อยเมื่อเทียบกับ standard gauge ความกว้างของราง 1.543 เมตร และค่าใช้ก็ถูกลงเพราะเป็นอุปกรณ์มาตรฐานที่ทำกันทั่วโลก ของไทยเริ่มมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แต่ไม่ทราบว่าตอนหลังใครยกเลิกเปลี่ยนความกว้างของรางลดลงเหลือ 1 เมตร เมื่อก่อนรถไฟไทยยังวิ่งได้ 70-80 กิโลเมตร/ชั่วโมง ตอนนี้เหลือ 30-40 กิโลเมตร/ชั่วโมง เพราะสภาพรางแย่ รัฐต้องเร่งรัดเรื่องราง ทำรางคู่ ของไทยเรื่องระบบขนส่งมวลชน ระบบราง ค่อนข้างช้าในการแก้ไข



สำหรับ กลุ่มอิตาเลียนไทยทำ precast massproduct ที่สระบุรีได้ปีละ 1 หมื่นยูนิต ยูนิตละ 33 ตารางเมตร ขนส่งด้วย รถบรรทุก 100 กว่าคันมาถึงกรุงเทพฯ 5 ทุ่ม ไม่ต้องขนหิน ทราย ปูนมาทำที่โครงการก่อสร้าง ถือว่าเป็นการนำโลจิสติกส์มาลดต้นทุนตรงนี้ อีกประการหนึ่งที่สำคัญคือ คุณภาพ การผลิตที่โครงการก่อสร้างเจอทั้งความร้อน เสียงดัง ฝุ่น การผลิตให้ได้คุณภาพในโรงงานย่อมดีกว่า มีระบบคิวซีตรวจสอบ อีกทั้งกระทบต่อการจราจรน้อยลง ดังนั้นวิชาชีพช่างกับการบริหารจัดการโลจิสติกส์จึงมีประโยชน์

สภาวะ เศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจมีการปิดโรงงานไปกว่าครึ่ง ที่จริงเกิดขึ้นมาตั้งแต่การปฏิวัติเมื่อปี 2549 เพราะคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) เข้มงวดในการตรวจสอบ ผู้รับเหมาจึงได้รับผลกระทบ ไม่ได้รับเงินจากงานก่อสร้างนาน 2-3 ปี

กลุ่มอิตาเลียนไทยได้ออกไป บุกเบิกงานก่อสร้างในต่างประเทศด้วยการไปซื้อกิจการ บริษัทก่อสร้างของอินเดียที่ทำธุรกิจมานาน มีงานในมือประมาณ 3-4 หมื่นล้านบาท บริษัทรับงานก่อสร้างในอินเดียมีทั้งรถไฟลอยฟ้า รถไฟใต้ดิน เขื่อน การบริหารจัดการเหมือนไทย แต่การเบิกเงินล่วงหน้า เช่น 10 ล้านบาท จากทั้งหมด 100 ล้านบาท ของไทยไม่เสียดอกเบี้ยที่อินเดียต้องจ่ายดอกเบี้ยด้วย โครงการของไจก้าหากจะเบิกเงินล่วงหน้าเพิ่มอีกอาจต้องเสียดอกเบี้ยเท่า ธนาคารหรือมากกว่าเล็กน้อย เรื่องค่าปรับ ในไทยต้องจ่าย 0.1% ของงานทั้งหมด ที่อินเดียจ่ายเพียง 0.5% ของงานที่เหลือ การจ่ายเงินของไทยเร็วสุด คือ การประปานครหลวง 45 วัน นอกนั้น 90 วัน ของอินเดียตั้งเบิกวันนี้อีก 1 สัปดาห์จ่าย 80%

ต้องทำ SWOT ก่อนบุกต่างประเทศ

สำหรับ ประเด็นที่ว่าการออกไปรับงานต่างประเทศจะสู้คนอื่นได้หรือไม่ เท่าที่ตนดูในอินเดียบริษัทจากหลายประเทศมีพนักงานออกแบบ คำนวณวงเงินการก่อสร้างและวิศวกรชาวไทยค่อนข้างมาก ฉะนั้นต้องดูว่าตนเองมีจุดแข็งอย่างไร จุดอ่อนอย่างไร ปัจจัยภายนอกมีความเสี่ยงอะไรบ้าง ทำ SWOT วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรคให้ดี สุดท้ายอยากฝากเรื่องการลดความ สูญเสีย เหล็กเสียเท่าใด ปูนเสียเท่าใด พื้นที่ไหน อย่าให้เกิน 10% เรื่องนี้ต้องใช้ความคิดความพยายามทำทุกวัน ยืนรวมกลุ่มกัน 10 คน จะมีคนทำงานไม่เกิน 5 คน ต้องย้อนไปดูว่าการฝึกคนทำกันอย่างไร เป็นหัวหน้าสั่งงานชัดเจนและมีขั้นตอนไหม เสร็จจากนี้ควรทำอะไรต่อ

ขณะ ที่ นางพจมาน ภาษวัธน์ ประธานโครงการพัฒนาขีดความสามารถด้านโลจิสติกส์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ต้นทุนวัสดุก่อสร้างและแรงงานไทยเท่าที่ศึกษายังไม่มีการเก็บข้อมูลการสูญ เปล่าของเวลาและต้นทุนที่เสียไป แต่ที่อังกฤษบริษัทสแตนโฮป ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ของอังกฤษสำรวจและเปิดเผยเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2008 พบว่า 68% วัสดุก่อสร้างมาไม่ตรงเวลา ของเสียมี 20% สั่งวัสดุเกินใช้ 15% และ 90 นาที/วัน วัสดุสั่งแล้วมาส่งไม่ตรงเวลา ทำให้คนงานรอของ

ฉะนั้น อุตสาหกรรมนี้ต้องเริ่มตั้งแต่การวางแผนออกแบบ ดีไซน์ วางแผนย่อย อุตสาหกรรมอื่นด้านโลจิสติกส์พัฒนาไปมากแล้ว ควรมีการระดมสมองเมื่อได้งานแล้ว หากผิดพลาดควรมีแผนรองรับ ความยืดหยุ่นของคนหน้างาน ไฟดับ วัสดุไม่มาจะเอาคนงานไปทำอะไร

view