สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เปิดผลวิจัยล่าสุด... กับ 5 ปัญหาสุดคลาสสิก เคลื่อน CSR องค์กร

จากประชาชาติธุรกิจ



แม้ ผลงานวิจัยของ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.) กระทรวงวัฒนธรรม ในเรื่องการศึกษาแนวทาง รูปแบบการสนับสนุนงานด้านวัฒนธรรมขององค์กรธุรกิจภาคเอกชนในประเทศไทย จะเป็นไปเพื่อขยายขอบข่ายการดำเนินงานด้านวัฒนธรรมวิถีชีวิตกับองค์กรธุรกิจ โดยบูรณาการแนวคิดด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (CSR) ให้เข้ากับกิจกรรมด้านวัฒนธรรม

หากแต่การนำเสนอผลงานวิจัยล่าสุด เมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมานั้นมีนัยสำคัญที่น่าสนใจ โดยเฉพาะในเรื่องของสถานการณ์ CSR ในไทย รวมถึงข้อค้นพบทางด้านปัญหาและอุปสรรคในการขับเคลื่อน CSR ขององค์กร จากการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ในเชิงลึกกับกว่า 30 องค์กร ซึ่งเป็นทั้งบริษัทขนาดใหญ่และขนาดกลางที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ บริษัทจดทะเบียน รวมไปถึงธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในต่างจังหวัด

"วี ระชัย วีระฉันทะชาติ" หัวหน้าโครงการวิจัยแนวทาง รูปแบบการสนับสนุน งานด้านวัฒนธรรมขององค์กรธุรกิจเอกชนในประเทศไทย กล่าวว่า จากการศึกษา ครั้งนี้พบว่าจากจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจะเห็นภาพของการพัฒนา การด้าน CSR ในแง่ที่ดี โดยเฉพาะรูปแบบในการทำกิจกรรม CSR ซึ่งในงานวิจัยชิ้นนี้แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือการแสดงความรับผิดชอบในระดับองค์กร สังคมใกล้ และสังคมไกล

ซึ่งจะ เห็นได้ว่าบริษัทส่วนใหญ่โดยเฉพาะบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯมีการ ดำเนินกิจกรรม CSR ที่ครอบคลุมผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียทั้ง 3 ระดับ ซึ่งเป็นไปตามแนวทางที่ตลาดหลักทรัพย์ฯส่งเสริมมาอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันยังพบว่ากว่า 50% ของบริษัทที่อยู่นอกตลาดในปัจจุบันก็มีนโยบายและการดำเนินงานด้าน CSR อยู่ในทั้ง 3 ระดับเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะองค์กรที่มีลักษณะของการก่อตั้งมายาวนานและมี CSR เป็นวัฒนธรรมขององค์กร ซึ่งที่ผ่านมามีแนวคิดของการตอบแทนสังคมอยู่แล้ว แต่หลังจากที่มีแนวคิด CSR ก็เพิ่มงานในส่วนของการทำงานที่เน้นการทำงานร่วมกับองค์กรพันธมิตรมากยิ่ง ขึ้น

ส่วนองค์กรขนาดเล็กและองค์กรธุรกิจในระดับภูมิภาคจะเห็นว่า จุดเน้นของการทำงาน CSR จะอยู่ที่ภายในองค์กรและสังคมใกล้เป็นหลัก โดยส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นการสร้างสำนึกความรับผิดชอบร่วมและความเป็นเจ้าของ องค์กรและใช้ CSR เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาคนสู่สังคม

สำหรับปัญหาและ อุปสรรคในการขับเคลื่อน CSR ขององค์กรส่วนใหญ่ที่ค้นพบแบ่งเป็น 5 เรื่อง ได้แก่ 1.ความเข้าใจ CSR ยังอยู่ในพื้นที่ที่แคบ โดยมองเป็นเพียงงานสังคมสงเคราะห์ 2.ผู้บริหารไม่แน่ใจว่า CSR เป็นต้นทุนที่เพิ่มมากขึ้น และไม่มั่นใจว่าหากลงทุนงานด้าน CSR ไปแล้วจะได้ผลตอบรับกลับมาสู่ธุรกิจหรือไม่ 3.งบประมาณในการสนับสนุนไม่เพียงพอ ซึ่งในเรื่องนี้มีความคิดเห็นเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่มีปัญหาจากการได้รับงบประมาณที่ลดลงจากภาวะเศรษฐกิจ ขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งที่มอง CSR เป็นวัฒนธรรมองค์กร และเป็นปรัชญาองค์กร จะเป็นกลุ่มที่ไม่มีปัญหาในเรื่องของการจัดสรรงบประมาณในช่วงเวลาเช่นนี้มาก นัก 4.ปัญหาการเข้าถึงชุมชนและการตอบสนองชุมชนที่ไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร ทำให้หลายองค์กรพยายามหาทางออกโดยการสร้างกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมโดย ให้ชุมชนมาเป็นคนร่วมคิด ร่วมทำ และพบว่ามีถึง 80% ที่มีการติดตามไปดูพื้นที่จริง 5.ความไม่พร้อมขององค์กรสาธารณกุศล ซึ่งถือเป็นปัญหาที่สำคัญมากในการสร้างความร่วมมือในการช่วยเหลือสังคมและ องค์กรธุรกิจซึ่งทำให้บ่อยครั้งการทำงานร่วมกันเป็นไปได้ยาก

แม้ กลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยชิ้นนี้จะไม่มากนัก แต่อย่างน้อยก็เพียงพอที่จะสะท้อนให้เห็นสัญญาณบางประการทั้งในแง่บวกและแง่ ลบของสถานการณ์ CSR ในไทยที่น่าสนใจยิ่ง !

view