สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

รัฐอย่าลืมประเด็นรีสอร์ตรุกล้ำริมเขื่อน : คอลัมน์ส่องความคิด

จาก โพสต์ทูเดย์
รายงานโดย :แยกยศเส:


เหตุการณ์ การปล่อยน้ำในเขื่อนศรีนครินทร์เพื่อเร่งเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบเต็มสูบ ทดแทนการหยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติจากแหล่งพม่า จนทำให้เกิด น้ำท่วมบ้านเรือนประชาชนและเจ้าของกิจการรีสอร์ตบริเวณริมเขื่อนเมื่อ สัปดาห์ ที่ผ่านมานั้น

มีการตั้งข้อสังเกตความผิดพลาดที่เกิดขึ้นว่าใครควรจะรับผิดชอบ และเป็นความผิดเกิดจากสาเหตุใด แน่นอนจำเลยแรกที่ ต้องโดนสังคมลงโทษคงไม่พ้น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในฐานะที่มีหน้าที่โดยตรงในการผลิตไฟฟ้า และการบริหารเลือกใช้เชื้อเพลิงให้เหมาะสมกับสถานการณ์

แต่ประเด็นที่เป็นคำถามตามมาก็คือ เหตุใดต้องปล่อยน้ำในจำนวนมากตามที่มีการกล่าวอ้าง หรือเป็นเพราะความมั่นคงของเขื่อนมีปัญหา เขื่อนจะแตก จนต้อง เร่งระบายน้ำ ทั้งๆ ที่สามารถเลือกใช้น้ำมันดีเซลและน้ำมันเตาผลิตไฟฟ้าชดเชยก๊าซฯ ที่ขาดส่งได้

จากการชี้แจงของกฟผ.สรุปพอสังเขปได้ว่า เขื่อนมั่นคงดีไม่มีปัญหา และการปล่อยน้ำในวันเกิดเหตุเป็นเพียงจำนวนเล็กน้อยเมื่อเทียบกับความสามารถ ในการกักเก็บน้ำของเขื่อน

แล้วทำไมจึงปล่อยน้ำจากเขื่อนมากมายจนทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมที่อยู่อาศัยของประชาชนและกิจการรีสอร์ต

มีข้อมูลอย่างหนึ่งที่ทำให้ต้องมาสอบทานกับเรื่องราวที่เกิดขึ้น กฟผ.ยืนยันว่าปกติการปล่อยน้ำในเขื่อนในจำนวน 40 ล้านลบ.ม. เพื่อเปิดเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 5 เครื่อง สำหรับการผลิตไฟฟ้าไม่ใช่เรื่อง ผิดปกติ และที่ผ่านมาเมื่อปี 2548 ก็เคยปล่อยน้ำในปริมาณใกล้เคียงกันแต่กลับ ไม่มีปัญหาเรื่องน้ำท่วมบ้านเรือนประชาชน

แต่ปัจจุบันมีตัวแปรที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้เกิดปัญหา นั่นคือมีสิ่งปลูกสร้างล้ำลำน้ำจำนวนมาก โดยเฉพาะกิจการรีสอร์ต มีการตั้งแพท่องเที่ยวอยู่บริเวณริมเขื่อนจำนวนมาก ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าเมื่อเจอแรงน้ำแบบเต็มเหนี่ยวย่อมได้รับผลกระทบแน่นอน ว่ากันตามข้อเท็จจริงแล้ว รีสอร์ตริมเขื่อนเหล่านี้ปฏิบัติตามระเบียบอย่างถูกต้องหรือไม่ มีการรุกล้ำพื้นที่แค่ไหน เพราะว่ากันแล้วสิ่งปลูกสร้างจะต้องห่างจากริมเขื่อน 40 เมตร

ดังนั้น งานนี้รีสอร์ตจะมีความผิดแค่ไหน เรื่องนี้หน่วยงานจังหวัดคงต้องมีการตรวจสอบกันบนพื้นฐานของความถูกต้องและ เป็นธรรม ไม่ว่ารีสอร์ต หรือบ้านเรือนเหล่านี้จะเป็นของใคร เป็นคนใหญ่คนโตแค่ไหนก็ตาม

อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวสังเกตได้ว่าไม่มีใครพูดถึงมากนัก โดยเฉพาะรมว.พลังงาน ส่วนใหญ่พุ่งประเด็นไปที่ความผิดพลาดของกฟผ.และความกังวลใจในเรื่องความมั่น คงของเขื่อน ซึ่งแน่นอนเรื่องนี้ เราไม่ปฏิเสธ แต่ถ้าความผิดที่เกิดขึ้นมี จำเลยมากกว่าหนึ่งก็ควรจะเข้ามารับผิดพร้อมๆ กันด้วย

ล่าสุด รมว.พลังงานมีนโยบายสั่งรื้อแผนฉุกเฉินป้องกันไฟฟ้าดับ โดยให้เลือก ใช้น้ำมันดีเซลหรือน้ำมันเตาเป็นลำดับแรก ถ้าการจัดส่งก๊าซฯ มีปัญหา จากเดิมที่จะต้องเลือกใช้พลังน้ำในการผลิตไฟฟ้าก่อนเพราะเห็นว่ามีต้นทุนที่ ถูก โดยไม่สนใจว่าต้นทุนค่าไฟฟ้าจะสูงขึ้นแค่ไหน นั่นหมายความว่าภาครัฐกำลังผลักภาระค่าไฟไปให้ประชาชนทั่วประเทศ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาน้ำท่วมท้ายเขื่อนเท่านั้นเอง

view