สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

พินัยกรรมของธุรกิจครอบครัว แก้ไขข้อพิพาทได้จริงหรือ? : คอลัมน์หน้าต่างบานแรก

จาก โพสต์ทูเดย์
รายงานโดย :กิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์
ประธานกรรมการ บริษัท เบเคอร์ แอนด์ แม็คเคนซี่:



เนื่อง จากผู้เขียนได้เขียนเรื่องพินัยกรรมเสร็จก่อนที่จะมีโอกาสปรับปรุงเรื่อง สัญญาระหว่างผู้ถือหุ้นของธุรกิจครอบครัว จึงขอนำมาให้ท่านผู้อ่านได้อ่านก่อนเรื่องสัญญาระหว่างผู้ถือหุ้น

ผู้เขียนได้เคยเขียนถึงว่า การทำพินัยกรรมของเจ้าของธุรกิจครอบครัว มีความสำคัญมากในการเตรียมการไว้ล่วงหน้าเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงข้อพิพาท ระหว่างทายาทของเจ้าของธุรกิจ หากวันใดวันหนึ่งเจ้าของธุรกิจต้องเสียชีวิตลง นักธุรกิจบางคนมีความเชื่อผิดๆ ทางการทำพินัยกรรมเป็นการแช่งตนเอง เจ้าของธุรกิจในอดีตจึงยังไม่ได้มีการพินัยกรรมกันไว้ เมื่อถึงแก่กรรมลงก็เลยเกิดการฟ้องร้องคดีในโรงในศาลของทายาท โดยต่างคนต่างอ้างสิทธิในทรัพย์มรดก หรือแม้แต่มีพินัยกรรมก็ยังมีการฟ้องร้องอ้างว่าพินัยกรรมปลอมก็มีมาก

ผู้อ่านคงได้เคยทราบถึงพินัยกรรม (เลือด) ของธุรกิจครอบครัวตระกูลหนึ่ง ที่โด่งดังในเมืองไทยมากที่เขียนพินัยกรรมแล้ว แก้พินัยกรรมหลายครั้งมาก จนมีทายาทผู้รับมรดกต้องหายสาบสูญไป โดยสามีอ้างสิทธิรับมรดกของภรรยา

ผู้เขียนเห็นว่าความจริงแล้วการทำพินัยกรรมเป็นเรื่องการเตรียมตัว และการวางแผนของธุรกิจครอบครัวที่ดี การถ่ายโอนธุรกิจครอบครัวอาจทำได้โดยการแบ่งทรัพย์สินหรือหุ้นให้ก่อนถึงแก่ กรรมก็ได้ แต่บางคนอาจมีความเชื่อว่าหากแบ่งทรัพย์สินไปแล้ว ลูกหลานอาจไม่เลี้ยงดู ก็เลยรอไว้ให้ถึงแก่กรรมก่อนก็ค่อยแบ่งตามพินัยกรรม

สำหรับเจ้าของธุรกิจครอบครัวที่มีแต่ภรรยาหรือลูก โดยสามีภรรยาไม่มีพ่อแม่อยู่เลย ก็อาจไม่ต้องมีพินัยกรรมก็ได้เพราะทรัพย์มรดกย่อมตกแก่ภรรยาหรือสามีและบุตร โดยเท่าเทียมกัน (เว้นแต่ส่วนที่เป็นสินสมรสของภรรยาหรือสามี)

อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนคิดว่าการทำพินัยกรรมเป็นเรื่องที่ควรทำเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาใน อนาคต และเป็นการจัดสรรความเป็นเจ้าของไว้และอาจทำให้ข้อพิพาทลดลงได้

พินัยกรรมมีทั้งหมด 8 แบบ

(1)       แบบเขียนเองทั้งฉบับ

(2)       แบบธรรมดา คือ ทำเป็นหนังสือ โดยจะเขียนหรือพิมพ์และต้องมีพยานอย่างน้อย 2 คน (เป็นที่นิยมมากกว่าแบบอื่น)

(3)       แบบเอกสารผ่านเมือง คือ ทำที่เขตหรืออำเภอโดยผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอท้องที่

(4)       แบบเอกสาร เขียนแล้วปิดผนึกแล้วให้ผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอเก็บ

(5)       แบบที่ทำด้วยวาจา เมื่อมีพฤติกรรมพิเศษ ไม่สามารถทำแบบอื่นได้

(6)       พินัยกรรมทำในต่างประเทศ

(7)       พินัยกรรมที่ทำระหว่างประเทศอยู่ในภาวะการรบหรือสงคราม

ส่วนใหญ่ที่ทำกันก็มักจะเป็นแบบที่ (1) หรือ (2) แบบที่ 2 ความจริงแล้วการทำพินัยกรรมทั้งสองแบบ ควรจัดทำตามคำแนะนำของทนายความหรือที่ปรึกษากฎหมายประจำครอบครัว

ข้อควรรู้ก่อนทำพินัยกรรมของเจ้าของธุรกิจ

ข้อควรรู้ต่อไปนี้เพื่อไว้ท่านจะได้สอบถามกับทนายความหรือที่ปรึกษากฎหมายเวลาสั่งให้มีการจัดทำพินัยกรรม

1.ควรจ้างทนายความหรือที่ปรึกษากฎหมายประจำครอบครัวเป็น ผู้เขียนพินัยกรรมและเก็บรักษาไว้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องได้โดยเฉพาะ ผู้ที่จะเป็นผู้จัดการมรดก

2.ควรบอกให้ทายาทรับรู้ว่าแบ่งทรัพย์มรดกอย่างไรในพินัยกรรม บางคนอาจไม่ชอบเพราะว่าอาจจะเกิดการแก่งแย่ง แต่ควรให้ความรู้ว่าเหตุใดจึงแบ่งมรดกเช่นว่านี้ เพื่อให้ทายาทยอมรับกับทุกฝ่ายได้

3.ผู้ทำพินัยกรรมจะยกทรัพย์ได้ให้เฉพาะทรัพย์สินของตนเองเท่านั้น (คำพิพากษาฎีกาที่ 1083/2540) ส่วนใหญ่ที่เกิดปัญหาคือ ทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาที่เป็นสินสมรส สามีหรือภรรยาจะยกทรัพย์สินที่เป็นสินสมรส (ที่ปกติจะต้องแบ่งเท่าๆ กัน) ให้บุคคลอื่นไม่ได้

ดังนั้น ก่อนจะยกทรัพย์สินให้จะต้องรู้ด้วยว่าทรัพย์สินที่ยกให้นั้นเป็นของใคร โดยสามีหรือภรรยาอาจยกทรัพย์ส่วนของตนให้แก่ทายาทหรือไม่ก็ได้ การเป็นพยานหรือให้ความยินยอมของภรรยาหรือสามี จะถือว่าเป็นการยินยอมยกทรัพย์มรดกส่วนของตนไม่ได้คู่สมรสต้องทำเป็น พินัยกรรมแยกต่างหาก ซึ่งส่วนใหญ่ต่างคนต่างยกส่วนของตนให้อีกฝ่ายหนึ่งหรือยกให้บุตรเลยก็มี

ดูตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาที่ 1764/2498 ระบุให้สามีภรรยาต่างทำพินัยกรรมยกให้แก่ตนเมื่อตายและมีข้อกำหนดว่า ถ้าอีกฝ่ายตายก่อนให้ยกให้นาย ก เมื่อสามีได้ทรัพย์มรดกมาตามพินัยกรรม สามีย่อมทำพินัยกรรมยกให้คนอื่นได้ ไม่ต้องยกให้นาย ก กำหนดให้ยกให้นาย ก ก็ไม่มีผลผูกพันเพราะขัดมาตรา 1707

4.การกำหนดเงื่อนไขในพินัยกรรมที่ให้ผู้มีสิทธิรับมรดกต้องดำเนิน การอย่างใดอย่างหนึ่งจึงจะมีสิทธิได้รับมรดกหรือถูกตัดสิทธิไม่ให้ได้รับ มรดกนั้น จะทำได้แค่ไหนเพียงใด

โดยทั่วไปกฎหมายมีเงื่อนไขได้ 2 กรณี คือ เงื่อนไขบังคับก่อน ที่เมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขพินัยกรรมก็จะมีผล ซึ่งถ้าเงื่อนไขสำเร็จก่อนผู้ทำพินัยกรรมตามข้อกำหนดนั้นย่อมไร้ผลเมื่อผู้ ทำพินัยกรรมตาม หากเป็นเงื่อนไขบังคับแล้ว ถ้าหากเงื่อนไขสำเร็จภายหลังผู้ทำพินัยกรรมตาย ข้อกำหนดนั้นย่อมมีผลตั้งแต่เวลาที่ผู้ทำพินัยกรรมตาย แต่ตกเป็นอันไร้ผลเมื่อเงื่อนไขสำเร็จ ถ้าเงื่อนไขสำเร็จก่อนผู้ทำพินัยกรรมตามข้อกำหนดพินัยกรรมนั้นไร้ผล

ด้วยความยุ่งยากเช่นว่านี้ การทำพินัยกรรมจึงไม่ควรกำหนดเงื่อนไขบังคับหลังเพราะจะยุ่งยาก หากเป็นแต่เงื่อนไขก่อนก็ย่อมทำให้ส่วนเงื่อนเวลาก็กำหนดได้ เช่น ให้สิทธิรับมรดกเมื่ออายุบรรลุนิติภาวะ แต่ควรระวังว่าหากผู้รับมรดกตายก่อน จึงควรเขียนไว้ในพินัยกรรมว่า มรดกดังกล่าวจะตกทอดไปยังบุคคลใด

ไว้ติดตามในฉบับหน้ากันต่อนะครับ...

view