สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ถอด 4 บทเรียนแห่งความสำเร็จ แบล็กร็อก กองทุนล้านล้านดอลลาร์

จากประชาชาติธุรกิจ



ด้วย มูลค่าสินทรัพย์ 3 ล้านล้านดอลลาร์ ที่อยู่ภายใต้การบริหารของ "แบล็กร็อก" (BlackRock) ทำให้บริษัทแห่งนี้เป็นผู้บริหารสินทรัพย์รายใหญ่สุดของโลก และติดอันดับ 50 ในทำเนียบ 100 บริษัทที่เติบโตรวดเร็วที่สุดในโลกของ "ฟอร์จูน"

แบล็กร็อก ถือเป็นบริษัทบริการการเงินที่มีผลงานดีที่สุดแห่งหนึ่ง โดยนับจากเปิดตัวในตลาดหุ้นนิวยอร์ก เมื่อปี 2542 ราคาหุ้นของแบล็กร็อกกระโดดขึ้น 14 เท่า จาก 14 ดอลลาร์ อยู่ที่ 198 ดอลลาร์ และมีมูลค่าตลาดกว่า 25 พันล้านดอลลาร์

ปัจจุบันแบล็กร็อก เป็นผู้บริหารสินทรัพย์ขนาดใหญ่ที่สุดและเติบโตเร็วที่สุดในโลก และเมื่อแบล็กร็อกบรรลุดีลซื้อหุ้นใน "บาร์เคลย์ส โกลบอล อินเวสเตอร์" (BGI) มูลค่า 13.5 พันล้านดอลลาร์ในปลายปีนี้ แบล็กร็อกก็จะมีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารเพิ่มขึ้นเป็น 3.1 ล้านล้านดอลลาร์ มากกว่าคู่แข่ง สเตต สตรีต และ ฟิเดลลิตี้ 2 เท่า

แบ ล็กร็อกยังคิดค้นนวัตกรรมในการบริหารสินทรัพย์ มีศูนย์รวมที่นำเสนอผลิตภัณฑ์หลากหลายสำหรับทั้งนักลงทุนสถาบันและรายย่อย เพื่อบริหารเงินให้เกิดดอกออกผล จึงไม่น่าแปลกใจที่บริษัทชั้นนำอย่าง ซิสโก้ (Cisco) เฟดเอ็กซ์ (FedEx) ให้แบล็กร็อกบริหารเงินออมหลังเกษียณให้

แต่ แบล็กร็อกจะยังบริหารผลตอบแทนที่ดีไปได้อีกนานแค่ไหน ท่ามกลางการเผชิญกับฝันร้าย ซึ่งผู้บริหารของแบล็กร็อกได้เฉลย 4 บทเรียนแห่งความสำเร็จที่ทำให้ฟันฝ่าปัญหามาได้ ตั้งแต่การล่มสลายของ "ลอง-เทอม แคปิตอล แมเนจเมนต์" ใน ปี 2541 จนถึงยุคฟองสบู่อินเทอร์เน็ตแตกในปี 2543 และวิกฤตสินเชื่อในปี 2551

บท เรียนแรก คือ ทำให้ธุรกิจขนาดใหญ่รู้สึกเหมือนบริษัทขนาดเล็ก แม้ 2 ผู้บริหารจะมีสไตล์ต่างกัน ซีอีโอ "ลาร์รี ฟิงค์" และประธาน "ร็อบ คาพิโต" โดยฟิงค์เป็นพวกบ้างานและตรงๆ ขณะที่คาพิโตเป็นคนเงียบๆ และพิถีพิถัน จึงดูแลการปฏิบัติงานตั้งแต่ฝ่ายบุคคลจนถึงบัญชี แต่ทั้งคู่ รวมถึง ผู้บริหารคนอื่นต่างเอาใจใส่พนักงาน

ครั้งหนึ่งคาพิโตไปเยี่ยม พนักงานที่เพิ่งผ่าตัด เพราะต้องการให้รางวัลทีมงานในลอนดอนที่บริหารได้ตามเป้า 50 พันล้านดอลลาร์ นี่ทำให้คนเหล่านี้ร่วมงานกับองค์กรเป็นเวลานาน โดยบริษัทมีอัตราการเข้าออกของพนักงานเพียง 11% ซึ่งเป็นตัวเลขที่หาได้ยากมากในวอลล์สตรีต

บทเรียนที่ 2 เมื่อการลงทุนซับซ้อน จงทำการบ้านให้มาก ทั้งนี้ กลยุทธ์ของ แบล็กร็อกแตกต่าง โดยจะไม่ลงทุนโดยใช้การประเมินอัตราดอกเบี้ยเป็นหลัก แต่จะโฟกัสที่ปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลต่อมูลค่าของตราสารหนี้ อาทิ เงินที่ชำระล่วงหน้า และอัตราเสี่ยงการผิดนัดชำระ แบล็กร็อกจึงมีเครื่องมือที่ดีที่จะวิเคราะห์หลักทรัพย์ค้ำประกันที่ซับซ้อน ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความปั่นป่วนมาตั้งแต่ปีที่แล้ว

แต่แม้จะ มีเครื่องมือที่ดี ก็ไม่ใช่จะได้ผลเสมอไป เพราะแบล็กร็อกก็ติดบ่วงซับไพรมเช่นกัน เพราะตัดสินใจพลาดเกี่ยวกับตลาดหลักทรัพย์ฯที่มีสินทรัพย์ค้ำประกันที่มี มูลค่าลดลงอย่างมากตั้งแต่ปลายปี 2550

"ร็อบ โกลด์สไตน์" ผู้บริหารแบล็กร็อก โซลูชั่นส์ กล่าวว่า บทเรียนของแบล็กร็อกในปี 2551 คือ ความเสี่ยงในตลาดสามารถทำร้ายคุณได้ แต่กับดักสภาพคล่องจะฆ่าคุณ ดังนั้นบริษัทจึงต้องเตรียมการเพื่อรับมือกับทั้งตลาดขาลงและสภาพคล่องสูง

บท เรียนที่ 3 ซื้อเพื่อโต ไม่ใช่เพื่อเล็กลง แบล็กร็อกจะไม่เข้าซื้อกิจการโดยตั้งเป้าเพื่อลดต้นทุน ทั้งการปรับลดจำนวนพนักงานและผนวกสินค้าที่มีความคล้ายคลึงกัน โดยฟิงค์ระบุว่า เราเห็นหลายๆ ดีลควบรวม ที่การเฉือนเนื้อตัวเองไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้น เราจึงมองหาบริษัทที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทเพิ่มขึ้นและขยายไปยังตลาด ใหม่ๆ

และ บทเรียนสุดท้าย คือ รู้จุดหมายที่จะเดินไป ซึ่งฟิงค์รู้ว่าวิธีการลงทุนกำลังเปลี่ยนไป เมื่อก่อนกองทุนบำเหน็จบำนาญและกองทุนพัฒนาพยายามสร้างความหลากหลายโดยมุ่ง ไปที่สินทรัพย์ทางเลือก เช่น ไพรเวต อีควิตี้ ซึ่งมีสภาพคล่องต่ำในยามสินเชื่อตึงตัว ทำให้นักลงทุนต้องขายสินทรัพย์ที่ดีและมีสภาพคล่องในราคาถูก

แต่ จากนี้นักลงทุนจะเปลี่ยนไปใช้กลยุทธ์ที่เรียกว่า barbell โดยจะทุ่มไปกับตราสารหนี้ขั้นพื้นฐานที่มีดอกเบี้ยคงที่ (plain-vanilla bonds) และกองทุนรวม ซึ่งมีความเสี่ยงต่ำ และบริหารอนุรักษนิยม

view