สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

คิดดี ทำดี ตามวิถีคนหัวรั้น แบบ มีชัย วีระไวทยะ

จากประชาชาติธุรกิจ



ไม่ มีใครเหมาะสมเท่านายมีชัย วีระไวทยะ ประธานสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชนและครูใหญ่โรงเรียนมัธยมลำปลายมาศ ที่มาทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการโครงการชุมชนพอเพียง หลังจากที่โครงการนี้มีข่าวฉาวโฉ่ด้วยข้อหาทุจริตแบบพอเพียง และถูกสังคมเปรียบเปรยเป็นโครงการแพงเพียบแทน

 

ก่อน หน้าที่จะมารับตำแหน่งนี้ นายมีชัยเคยให้สัมภาษณ์ น.ส.พ.มติชน ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการฝ่ายวิชาการและเครือข่ายองค์ความรู้ โครงการชุมชนพอเพียง โดยให้ความเห็นว่า โครงการชุมชนพอเพียง คงจะกลายเป็นโครงการที่ไม่รู้จักคำว่า′พอ′ซึ่งในส่วนตัว ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ว่าจะเปลี่ยนตัวใคร หรือไม่เปลี่ยนใคร เพราะไม่ว่าจะเป็นผู้อำนวยการ หรือรัฐมนตรีอีกสักกี่คน แต่ถ้าไม่ปรับปรุงโครงสร้างงานให้มีประสิทธิภาพ            ไม่สามารถทำให้ชุมชนเข้าใจเรื่องความเข้มแข็ง และการพัฒนาชุมชนแบบยั่งยืนได้ งานก็ไม่ประสบความสำเร็จอยู่ดี   

 

วันนี้เขาได้เข้ามาบริหารจัดการเต็มตัวและได้เสนอนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ว่าต้องเปลี่ยนรูปแบบโครงการใหม่ทั้งหมด โดยเน้นความยั่งยืนและโปร่งใส  เกือบครึ่งชีวิตที่′มีชัย วีระไวทยะ′ คลุกคลีกับชุมชนจนได้รับตำแหน่งทูตพิเศษองค์การสหประชาชาติ (UNAIDS Ambassador) และได้รับรางวัลมากมาย ในฐานะนักพัฒนาชุมชนและสังคม

 

ถ้าได้อ่านหนังสือ ′พลังของคนหัวรั้น′ ของสำนักพิมพ์มติชน ที่พูดถึงผู้ประกอบการเพื่อสังคม Social Entrepreneures ที่รวมพลังกันเพื่อเปลี่ยนสมดุลของโลก      เสียใหม่  ′ มีชัย วีระไวทยะ′ นับเป็นหนึ่งใน′คนหัวรั้น′ และอาจจะเรียกได้ว่าเป็นต้นแบบผู้ประกอบการเพื่อสังคมคนแรกๆ ของประเทศไทย เขาเชื่อว่าระบบของไทยที่ใช้อยู่ไม่สามารถแก้ความยากจนได้ เขาจึงเป็นคนหัวรั้นคนหนึ่งที่ต้องการเปลี่ยนสมดุลของสังคมใหม่ เพื่อให้คนกินดีอยู่ดีอย่างทั่วถ้วนหน้า 

 

ก่อน หน้านี้ ′ประชาชาติธุรกิจ′ เคยสัมภาษณ์ ′มีชัย′ หลายครั้ง ครั้งนี้เป็นการรวบรวมและนำมาเสนอใหม่ เพื่อสะท้อนวิธีคิดและมุมมองการพัฒนาชุมชนในวิถี  ′มีชัย วีระไวทยะ′ มากล่าวถึงอีกครั้งกับบทบาทใหม่ในฐานะประธานคณะกรรมการโครงการชุมชนพอเพียง

 

เขาเชื่อว่ามีเส้นทางเดียว ที่จะทำให้คนจนหลุดพ้นความยากจน นั่นคือเส้นทางธุรกิจ 

ด้วยความเชื่อที่ว่าคนจนเป็นนักธุรกิจ    อยู่แล้ว ไม่ว่าอาชีพนั้นจะเป็นอาชีพเก็บขยะ อาชีพขายของเก่า เพียงแต่เป็นนักธุรกิจที่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะขาดโอกาส

 

ดัง นั้น สิ่งที่เราควรจะทำให้กับผู้ที่ด้อยโอกาส รอคอยโอกาส ที่หลายคนไปเรียกแบบดูถูกว่า เขาคือคนจน เขาอาจจะยากจนเงินทอง แต่ร่ำรวยแรงงาน ขณะที่บางคนรวยมาก แต่ยากจนปัญญา ยากจนความดี ซึ่งในสังคมทุกคนมีความจนด้วยกันทั้งนั้น เราต้องเลิกเรียกคนไม่มีเงินว่าคนจน แต่ควรเรียกว่าผู้รอคอยโอกาส

 

การแก้ปัญหาความยากจนของประเทศไทย แนวทางหนึ่งที่สมาคมทำมาแล้วประสบความสำเร็จ คือ โครงการร่วมพัฒนาหมู่บ้านโดยภาคธุรกิจ (Village Development Partnership) โดย การให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา หนึ่งบริษัทเป็นพี่เลี้ยงหนึ่งหมู่บ้าน มาช่วยใน ด้านธุรกิจ อาทิ การตลาด การผลิตการบริหารจัดการ

 

จากที่ได้ดำเนินการมาส่วนใหญ่ ภาย ใน 6 ปี ความยากจนในหมู่บ้านหายไป หรือถ้าล่าช้าหน่อย อาจจะ 9 ปี สามารถแก้ปัญหาได้ ขณะที่บทบาทภาครัฐที่เข้ามาช่วย คือการให้บริการพื้นฐานด้านต่างๆ อาทิ แรงจูงใจให้บริษัทนำค่าใช้จ่ายไปลดหย่อนภาษีได้ การยกย่องให้เกียรติ เป็นต้น

 

"การพัฒนาสังคมเป็นหน้าที่ของทุกคน ผมอยากให้ลองคิดว่าเราไม่ใช่เจ้าของสังคม หรือเราไม่เจ็บปวดกับสิ่งที่เกิดขึ้น หรือ   อย่าง ปัญหาการเมืองที่เกิดขึ้น คนที่ไม่เคยสนใจการเมือง เพราะไม่ใช่เรื่องของเรา แต่พอเกิดขึ้นแล้ว ไม่เห็นหรือ ว่าทำให้ธุรกิจทรุดแค่ไหน เพราะฉะนั้นเป็นหน้าที่ของทุกคน อย่าคิดว่าเรียนจบมหาวิทยาลัยแล้วมีหน้าที่อย่างเดียวคือล้างมือด้วยไวน์ขาว ล้างเท้าด้วยไวน์แดง คนเราต้องมีความพยายามที่จะช่วยทำให้สังคมดีขึ้นบ้าง"

 

เครื่องมือที่ ′มีชัย′ ใช้วัดการกินดีอยู่ดีของคนในสังคมคือ growth domestic  satisfaction ไม่ใช่ growth domestic happiness คือดัชนีความพอใจที่ประชาชนเป็นผู้กำหนด ไม่ใช่รัฐบาล และไม่ใช่วัดเขาด้วยตัวเลขเงินทองซึ่งอยู่ในกระเป๋าคนรวย และเขาเชื่อว่าระบบสังคมสงเคราะห์ไม่ใช่โมเดลช่วยให้คนจนพ้นจากความยากจน

 

การ คิดนอกกรอบ ทำให้เขาสามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่แล้วให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตัวอย่างคือโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ โรงเรียนในระดับอนุบาลและประถมศึกษา ซึ่งสมาคมและผู้บริจาคอย่าง ′เจมส์ คลาร์ก′ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2545 โดยเป็นการปฏิวัติการเรียนการสอนที่เคยมีมาในระบบการศึกษาไทย และกลายเป็นต้นแบบโรงเรียนที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศ ที่มีมาตรฐานเทียบเคียงระดับนานาชาติ เป็นโรงเรียนเรียนฟรี ที่สามารถทำให้ ′เด็กจากท้องนา′ สามารถ ′เทียบชั้นระดับสากล′ ขณะนี้ได้ขยายเป็นโรงเรียนมัธยม ลำปลายมาศ เปิดเรียนเป็นครั้งแรก ในปีการศึกษา 2552 ซึ่งมีครูใหญ่ชื่อมีชัย วีระไวทยะ

 

"วันนี้ เราทำให้สังคมเปลี่ยนแปลงเพราะลูกไปเรียนหนังสือ แต่ต่อไปเราจะเปลี่ยนทัศนคติ เศรษฐกิจ และสังคมประชาธิปไตย และช่วยคนในชุมชนขจัดความยากจน โดยมีโรงเรียนเป็นศูนย์กลาง"

 

"ในระดับมัธยมศึกษา เราจะสอนเรื่องธุรกิจให้กับเด็ก สอนแบฟุต เอ็มบีเอ จะเป็นจุดศูนย์กลางการพัฒนาในหมู่บ้าน   และจะใช้พื้นที่ของโรงเรียนให้เป็นที่สอนผู้ใหญ่ในชุมชนที่ต้องการเรียนรู้ในการเพิ่มรายได้และสร้างอาชีพอย่างที่เขาต้องการ   จะรู้ และในที่สุดก็จะขยายเป็นโครงการพัฒนาในระดับหมู่บ้านและชุมชนต่อไป   เด็ก ที่เรียนที่โรงเรียนนี้ พ่อแม่ก็จะเลิกจนด้วย และผมว่าคงไม่มีโรงเรียนอื่นที่จะเป็นแบบนี้ เราจะไม่ได้เป็นแค่ต้นแบบของการศึกษาเท่านั้น แต่เราจะเป็นต้นแบบในการพัฒนาด้วย"

 

สิ่ง ที่จะทำต่อไป คือเราจะทำให้โรงเรียนเป็นมากกว่าโรงเรียน โรงเรียนไม่ใช่สถานที่เปิด 7 โมงเช้า ปิดตอน 4 โมงเย็นในวันจันทร์ถึงวันศุกร์ และเป็นที่เก็บฝุ่น ใน วันเสาร์ อาทิตย์ แต่เราสามารถใช้สิ่งที่โรงเรียนมีมาต่อยอดในการพัฒนาชุมชนได้ด้วย อาทิ การฝึกอบรมอาชีพ เรื่องแบบนี้ต้องคิดนอกกรอบ และเราจะไปหวังพึ่งรัฐอย่างเดียวไม่ได้

 

เนื่องจากรัฐไม่สามารถทำทุกอย่างให้ประชาชนได้ ก็ต้องมีคนอื่นเข้ามาช่วย อะไรที่คิดออกนอกรอบ แหวกแนว  รัฐ ไม่กล้าทำ เพราะไม่ใช่วิสัยของระบบราชการ เพราะฉะนั้น ปล่อยราชการทำคนเดียว ก็ทำไม่ได้ เพราะถ้าทำได้เขาคงทำไปตั้งแต่ก่อนหน้านี้ จึงไม่ยุติธรรม ที่บอกว่ารัฐต้องเป็นคนทำ ผมว่ารัฐต้องมีหน้าที่ตาม คนนำคือประชาชน สังคม และธุรกิจ

 

นอกจากนี้ยังมีแนวคิดเรื่องตลาดหลักทรัพย์สังคม ′social stock exchange′ เป็นแนวคิด เราเตรียมตั้งขึ้นเพื่อรองรับธุรกิจ เพื่อสังคมที่ทำเป็นธุรกิจ โดยมีเงื่อนไขว่า กำไรเอามาใช้ได้ 3 ทาง คือ 1.ตั้งสำรอง 2.ขยายธุรกิจ 3.ใช้กับงานสาธารณประโยชน์ อาทิ กำไรนำไปใช้เพื่อการศึกษาและการพัฒนาชนบท เป็นต้น การลงทุนในตลาดหุ้นนี้ เป็นการเอาเงินไปทำธุรกิจและเอากำไรจากธุรกิจไปใช้ประโยชน์ของสังคม เงินลงทุนจะเติบโตไปเรื่อยๆ อันนี้อยากให้คนทำบุญแบบใหม่ โปร่งใส และสร้างสรรค์ เป็น new      philanthropy ซึ่งเขาเชื่อว่า นี่เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้คนจนหายจนได้

 

นี่คือคือโมเดลฉบับย่อของ ′มีชัย วีระไวทยะ′ คนที่คิดดี ทำดี

view