จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
ผลสำรวจสวนดุสิตโพล เกี่ยวกับแนวทางแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ชี้คนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มการเมืองใดก็ตาม
ตามที่หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย พร้อมด้วย ส.ส.ในพรรค มีมติเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมทางการเมืองของประชาชนต่อสภาผู้แทน ราษฎร เพื่อหวังจะแก้ไขสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อ ประชาธิปไตย(พธม.) และแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)
โดยร่างกฎหมายดังกล่าวให้นิรโทษกรรมผู้ ที่กระทำความผิดทั้งผู้ชุมนุม และเจ้าหน้าที่ โดยไม่เกี่ยวข้องกับนักการเมือง หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในคดียุบพรรคแต่อย่างใด ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง และการเสนอ พรบ.นิรโทษกรรมในครั้งนี้มีนัยแอบแฝงทางการเมืองหรือไม่
เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนที่สนใจติดตามข่าวดังกล่าว“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ร่วมกับ “รายการก่อนตัดสินใจ” จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,152 คน ระหว่างวันที่ 25-27 สิงหาคม 2552 สรุปผลได้ดังนี้
1. จากข้อสรุปของคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไข รัฐธรรมนูญ ที่กำหนดให้มี 6 ยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหา ประชาชนคิดว่าเรื่องแรกที่ควรทำ คือ
อันดับ 1 ให้ทุกฝ่ายลดวิวาทะ ลดอคติ และการตอบโต้ลง 56.67%
อันดับ 2 ตั้งสมัชชาสมานฉันท์เพื่อระดมความเห็นของประชาชน 4 ภาคโดยรัฐสภาเป็นเจ้าภาพ 12.50%
อันดับ 3 รัฐบาลและฝ่ายค้านลดเงื่อนไขความขัดแย้งเดิม ไม่สร้างเงื่อนไขความขัดแย้งใหม่ 11.67%
อันดับ 4 ให้สื่อมวลชนทุกแขนงเข้าเป็นเครือข่ายสร้างพื้นที่สมานฉันท์ 8.33%
อันดับ 5 ให้รัฐสภาเป็นเจ้าภาพจัดกระบวนการเจรจาระหว่างผู้ขัดแย้งทั้งเปิดเผยและประสานอย่างไม่เป็นทางการ 5.83%
อันดับ 6 แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับสมานฉันท์ ทั้งระยะสั้นและระยะยาว 5.00%
2. รัฐธรรมนูญ เรื่องใด? ที่ประชาชนคิดว่าสมควรแก้ไขอย่างเร่งด่วนมากที่สุด
อันดับ 1 มาตรา 237 เรื่องการยุบพรรคการเมืองและการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งและกรรมการบริหารพรรค 38.06%
อันดับ 2 มาตรา 266 เรื่องข้อห้ามไม่ให้ สส.และ สว. เข้าไปปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการประจำ 26.55%
อันดับ 3 มาตรา 93-98 เรื่องที่มาของ สส.ให้กลับไปเหมือนรัฐธรรมนูญปี 2540 12.39%
อันดับ 4 มาตรา 190 เรื่องการทำสนธิสัญญากับต่างประเทศ ต้องผ่านการเห็นชอบจากรัฐสภา 11.50%
อันดับ 5 มาตรา 265 เรื่องข้อห้ามการดำรงตำแหน่งทางการเมืองของ สส. เช่น สามารถเป็นเลขารมต.ได้ 7.96%
อันดับ 6 มาตรา 112-121 เรื่องที่มาของ สว.ให้กลับไปเหมือนรัฐธรรมนูญปี 2540 3.54%
3. ความคิดเห็นต่อการเสนอร่าง พรบ.นิรโทษกรรมทางแพ่งและอาญาให้กับผู้ชุมนุมทางการเมือง กลุ่มพันธมิตรฯ ระหว่างวันที่ 25 พ.ค. – 3 ธ.ค. 2551 และกลุ่มเสื้อแดง ระหว่างวันที่ 26 มี.ค.-14 เม.ย. 2552
อันดับ 1 ไม่เห็นด้วย 73.73%
เพราะเหตุการณ์ที่ เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศและสร้างความเดือดร้อนให้กับ ประชาชนทั่วไปอย่างมาก ,สถานที่สำคัญหลายแห่งได้รับความเสียหายและต้องปิดทำการ ,ควรยอมรับในสิ่งที่ก่อไว้ ฯลฯ
อันดับ 2 เห็นด้วย 26.27%
เพราะเป็นการแสดงออกทาง การเมือง ,เป็นคนไทยควรให้อภัยซึ่งกันและกัน ,ให้โอกาสคนเหล่านี้เพื่อสังคมไทยจะได้สงบสุข ,ไม่ต้องการเห็นความแตกแยก ฯลฯ
4. ความคิดเห็นต่อการนิรโทษกรรมความผิดทางแพ่ง อาญา วินัย ของเจ้าหน้าที่ของรัฐทั้งผู้ออกคำสั่งและรับคำสั่ง ไปปฏิบัติในเหตุการณ์ทั้ง 2 ช่วงเวลา
อันดับ 1 ไม่เห็นด้วย 51.69%
เพราะ ทำให้สังคมมองว่ากฎหมายไทยไม่ศักดิ์สิทธิ์ ,ผิดก็ควรว่าไปตามผิด ,เป็นถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐแต่กลับปฏิบัติหน้าที่บกพร่องและปฏิบัติตนไม่ เหมาะสม ฯลฯ
อันดับ 2 เห็นด้วย 48.31%
เพราะ จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นต้องอาศัยการตัดสินใจที่รวดเร็วซึ่งอาจเกิดความผิด พลาดขึ้นได้ , อยากให้ทุกคนลืมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและเร่งสร้างความสมานฉันท์จะดีกว่า ฯลฯ
5. ความคิดเห็นต่อการนิรโทษกรรมให้กับนักการเมืองที่กระทำผิดทางการเมืองในคดียุบพรรคทั้งบ้านเลขที่ 111และบ้านเลขที่ 109
อันดับ 1 ไม่เห็นด้วย 62.07%
เพราะ ทำให้นักการเมืองเหล่านี้ได้ใจและอาจมีพฤติกรรมในลักษณะนี้อีก , เป็นแบบอย่างที่ไม่ดีของนักการเมือง ,ทำให้การเมืองไทยตกต่ำ ฯลฯ
อันดับ 2 เห็นด้วย 37.93%
เพราะ สิ่งไหนที่จะทำให้เกิดความสงบและสร้างความสามัคคีทางการเมืองได้ก็ควรจะทำ ,ให้โอกาสนักการเมืองที่กระทำผิดได้กลับตัวกลับใจ ฯลฯ
6. ความคิดเห็นต่อการนิรโทษกรรมทางการเมืองในคดีที่เกี่ยวข้องกับการหมิ่นสถาบัน
อันดับ 1 ไม่เห็นด้วย 65.52%
เพราะ ผู้ที่กระทำความผิดก็ควรยอมรับในสิ่งที่ทำลงไป ไม่ควรปกป้องหรือให้ความช่วยเหลือ โดยเฉพาะการหมิ่นสถาบันเบื้องสูงที่คนไทยทุกคนเคารพเชิดชู ฯลฯ
อันดับ 2 เห็นด้วย 34.48%
เพราะ อาจเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ,เชื่อว่าคนไทยทุกคนมีความจงรักภักดีต่อสถาบันเบื้องสูง ,อยากให้เรื่องนี้ยุติโดยเร็วจะได้ไม่ทำให้สถาบันมัวหมอง ฯลฯ