สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

สัมภาษณ์พิเศษ ดร. สมภพ วิพากษ์ LDP พ่ายแพ้ Change วันที่ญี่ปุ่นมุ่งสู่ตะวันออก โอกาสประเทศไทย

จากประชาชาติธุรกิจ



ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ วิพากษ์ความพ่ายแพ้ แบบหมดรูปของ ทาโร อาโสะ และพรรคเสรีประชาธิปไตย จับทิศทางการเปลี่ยนแปลงใหญ่ภายใต้ผู้นำใหม่ ยูคิโอะ ฮาโตยามะ การมุ่งสู่ตะวันออก ถอดบทเรียนอียูโมเดล ผนึก จีน เกาหลี เอเชีย ผงาดเหนือโลกตะวันตก

ภายหลัง การเลือกตั้งทั่วไป ของประเทศญี่ปุ่น ในวันอาทิตย์  พรรคประชาธิปไตย (ดีพีเจ) ภายใต้การนำของนายยูคิโอะ ฮาโตยามะ มีชัยชนะเหนือพรรคเสรีประชาธิปไตย (แอลดีพี) ของนายกรัฐมนตรีทาโร อาโสะ  แบบราบคาบ
การเมืองญี่ปุ่น Change ครั้งสำคัญ   ภายใต้รัฐบาลใหม่ของนายยูคิโอะ ฮาโตยามะ  จะเปลี่ยนแปลงนโยบายญี่ปุ่นต่อโลก อย่างไร
ล่าสุด  " ประชาชาติออนไลน์" สัมภาษณ์พิเศษ ดร. สมภพ มานะรังสรรค์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญจีนและญี่ปุ่น
ดร.สมภพ วิเคราะห์ว่า ความพ่ายแพ้ของแอลดีพี มาจาก 2 สาเหตุสำคัญ ประการแรก เกิดจากการทรุดตัวอย่างรุนแรงของเศรษฐกิจญี่ปุ่น โดยเฉพาะจีดีพีต่ำที่สุดตั้งแต่มีพรรคแอลดีพี
จีดีพี ทรุดตัวไตรมาสละ 10 เปอร์เซ็นต์ อัตราว่างงานสูงที่สุด 5.2 เปอร์เซ็นต์ สูงมากนับจากหลังสงครามโลก  ดัชนีผู้บริโภคติดลบ 2.2 เปอร์เซ็นต์   และภาวะเงินฝืดกลับเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นอย่างรุนแรงก ระทบกับคนทุกภาคส่วนในสังคมอย่างรุนแรง  จากประชาชนที่เคยหนุนพรรคแอลดีพี ก็เปลี่ยนมาหนุนพรรคดีพีเจ
คนในชนบทที่เป็นเคยเป็นฐานเสียงให้กับพรรคแอลดีพีก็เปลี่ยนไปสนับสนุน พรรคดีพีเจ  จุดเปลี่ยนอย่างชัดเจนอีกเรื่องหนึ่งคือบุคลิกส่วนตัวของนายทาโร อาโสะทำให้สถานการณ์แย่ลงอย่างเห็นได้ชัด เป็นช่วงที่ยากลำบากที่สุดของแอลดีพี ภาพลักษณ์ของนายอาโสะ ขัดต่อความรู้สึกของคนญี่ปุ่น ยิ่งเมื่อเห็นนายอาโสะ ไปกินข้าวในโรงแรมหรู คนยิ่งไม่พอใจ จนกลายเป็นตัวแปรด้านลบต่อพรรคแอลดีพี
ในหลายปีที่ผ่านมาแอลดีพี เกิดวิกฤตภาวะผู้นำ นายกฯที่มาจากพรรคแอลดีพีอยู่ได้ไม่ถึงปี แม้แต่หัวหน้าพรรคคนต่อไปจนถึงบัดนี้ก็ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะเลือกใครมา เป็นผู้นำคนใหม่ เหตุนี้เองจึงทำให้คนมาเลือกตั้งสูงมากถึง 70 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นในรอบ 10 ปีที่คนญี่ปุ่นต้องการการเปลี่ยนแปลงการเมืองที่ชัดเจนขนาดนี้ อีกกระแสหนึ่งก็เป็นกระแส change แบบเดียวกับที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา จนเป็นที่มาของโอบาม่า ในช่วงเวลาก่อนหน้านี้มีละครเรื่องหนึ่งในเรื่องนายกฯใหม่หัวใจประชาชน เป็นตัวหนุนเรื่องพรรคใหม่ที่ประชาชนต้องการการเปลี่ยนแปลง
ในส่วนของรัฐบาลใหม่ พรรคดีพีเจ การเปลี่ยนแปลงภายใต้ผู้นำใหม่อาจไม่ง่ายนัก เพราะการเมืองญี่ปุ่นถูกกำหนดโดยข้าราชการประจำ โดยกระทรวงต่างประเทศจะเป็นผู้กำหนดนโยบายต่างประเทศของประเทศญี่ปุ่นมา อย่างยาวนาน
อย่างไรก็ตาม ในระหว่างการหาเสียงเลือกตั้ง นายยูคิโอะ  ฮาโตยามะ ได้ประกาศเรื่องสำคัญในช่วงหาเสียง 2-3 เรื่อง เรื่องแรกคือฐานทัพของสหรัฐในโอกินาวา ซึ่งปัจจุบันมีกองกำลังของสหรัฐอยู่กว่า 47,000 นาย ซึ่งกองกำลังสหรัฐถูกคนญี่ปุ่นวิพากษ์วิจารณ์เรื่องฐานทัพสหรัฐในโอกินายา 
เรื่องที่สอง เรื่องกองเรือญีปุ่นไปสนับสนุนเติมน้ำมัน ให้แก่เรือรบลาดตระเวนของสหรัฐในมหาสมุทรอินเดียที่ไปรบในอาฟกานิสถาน สิ่งเหล่านี้อาจจะมีทบทวน
ในด้านเศรษฐกิจ นายยูคิโอะ  ฮาโตยามะ ได้ชูนโยบายใหม่ 2-3 เรื่อง เรื่องแรกคือ
การใช้อียูโมเดล ที่ประสบความสำเร็จมาจากการรวมเป็นสหภาพยุโรป มาใช้เป็นการวมญี่ปุ่น จีน เกาหลี และเอเชียตะวันออก
ปัจจุบัน ต้องอย่าลืมว่า  ยอดค้าขายระหว่างจีนกับญี่ปุ่นสูงถึงปี 2.36 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ สูงเท่ากับจีดีพีของประเทศไทย มูลค่าการค้าระหว่างญี่ปุ่นกับจีนก็สูงกว่าอาเซียน เดิมในสมัยที่พรรคแอลดีพีเป็นผู้บริหารประเทศนโยบายของญี่ปุ่นต่อจีนไม่ค่อย ราบรื่นนัก เพราะในอาโสะ ค่อนข้างโปรตะวันตก และคอยวิพากษ์วิจารณ์จีน แต่ นโยบายของผู้นำใหม่ของพรรคดีพีเจ ค่อนข้างต่อต้านทุนนิยมเพราะมีกลุ่มนักคิดและนักกิจกรรม เข้าไปเป็นสมาชิกจำนวนมาก
ในหลายเขตเลือกตั้งรัฐมนตรีคนสำคัญของพรรค แอลดีพีได่พ่ายแพ้ต่อนักการเมืองหน้าใหม่ของพรรคดีพีเจอย่างย่อยยับ ไม่ว่าจะเป็นรัฐมนตรีคลัง หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ของพรรคแอดีพี ซึ่งเป็นการตอกย้ำว่าคนญี่ปุ่นต้องการการเปลี่ยนแปลง
ฉะนั้นจุดที่ต้องจับตามองสองเรื่องของรัฐบาลญี่ปุ่นก็คือ การหันมาสนับสนุนความร่วมมือในเอเชียและการใช้นโยบายการทูตในเวทีสหประชา ชาติ รวมถึงนโยบายที่จะเป็นตัวตั้งตัวตีในการรณรงค์การแก้ปัญหาโลกร้อน
ขณะที่ภายในประเทศนโยบายของพรรคใหม่จะค่อนข้างไปทางประชานิยม เช่น มีการแจกเงินให้ครอบครัวที่มีบุตรแล้ว 26,000 เยนต่อเดือน หรือประมาณกว่าแสนบาท ต่อปี ที่มากกว่านั้นนโยบายพรรคใหม่ให้ความสำคัญกับการให้สวัสดิการคนชรา เพราะเมื่อเทียบกับสวัสดิการผู้สูงอายุในยุโรปจะมีมาตรฐานที่สูงกว่าญี่ปุ่น มาก
อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจคือ การกระจายสวัสดิการไปสู่ภาคส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาคเกษตรกรรม หรือภาคอุตสาหกรรม การเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำให้กับผู้ใช้แรงงาน ยกระดับรายได้ให้กับภาคเกษตรจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเมื่อเปรียบ เทียบกับการใช้เงินงบประมาณของพรรคแอลดีพีในช่วงหลายปีที่ผ่านมาจะทุ่มเงิน ส่วนใหญ่ไปกับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานจนละเลยชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน
ในขณะที่พรรคใหม่กลับมามุ่งเน้นที่สวัสดิการความเป็นอยู่ของผู้คน ของชาวบ้านในแนวทางประชานิยม จุดที่น่าจับตาดูของคนทั้งโลก คือ นโยบายของรัฐบาลใหม่ที่จะเล่นไพ่จีนและไพ่อาเซียนมากขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีต่อประเทศไทย เพราะอย่างน้อยนโยบายของญี่ปุ่นจะใกล้ชิดกับประเทศทางเอเชียมากขึ้น

view