จาก โพสต์ทูเดย์
รายงานโดย :กิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ ประธานกรรมการ บริษัทเบเคอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่: |
ฉบับ ที่แล้วผมเขียนข้อควรรู้ก่อนทำพินัยกรรมของเจ้าของธุรกิจ เพื่อไว้ท่านจะได้สอบถามกับทนายความหรือที่ปรึกษากฎหมายเวลาสั่งให้มีการจัด ทำพินัยกรรม แต่นำเสนอไปได้แค่ 4 หัวข้อคือ
1.ควรจ้างทนายความหรือที่ปรึกษากฎหมายประจำครอบครัวเป็น ผู้เขียนพินัยกรรมและเก็บรักษาไว้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องได้ โดยเฉพาะผู้ที่จะเป็นผู้จัดการมรดก
2.ควรบอกให้ทายาทรับรู้ว่าแบ่งทรัพย์มรดกอย่างไรในพินัยกรรม บางคนอาจไม่ชอบ เพราะว่าอาจจะเกิดการแก่งแย่ง แต่ควรให้ความรู้ว่าเหตุใดจึงแบ่งมรดกเช่นว่านี้เพื่อให้ทายาทยอมรับกับทุก ฝ่ายได้
3.ผู้ทำพินัยกรรมจะยกทรัพย์ได้ให้เฉพาะทรัพยสินของตนเอง เท่านั้น (คำพิพากษาฎีกาที่ 1083/2540) ส่วนใหญ่ที่เกิดปัญหาคือ ทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาที่เป็นสินสมรส สามีหรือภรรยาจะยกทรัพย์สินที่เป็นสินสมรส (ที่ปกติจะต้องแบ่งเท่าๆ กัน) ให้บุคคลอื่นไม่ได้ ดังนั้น ก่อนจะยกทรัพย์สินให้ จะต้องรู้ด้วยว่าทรัพย์สินที่ยกให้นั้นเป็นของตนเอง
4.การกำหนดเงื่อนไขในพินัยกรรมที่ให้ผู้มีสิทธิรับมรดกต้องดำเนิน การอย่างใดอย่างหนึ่งจึงจะมีสิทธิได้รับมรดกหรือถูกตัดสิทธิไม่ให้ได้รับ มรดกนั้น จะทำได้แค่ไหนเพียงใด
วันนี้เรามาติดตามเรื่องข้อควรรู้ในการเขียนพินัยกรรมกันต่อนะครับ
5.เจ้ามรดกจะทำพินัยกรรมให้มูลนิธิหรือนิติบุคคลได้หรือไม่
กฎหมายอนุญาตให้ยกมรดกตกให้นิติบุคคลใดๆ ก็ได้ แต่ต้องดูว่าต้องเสียภาษีหรือไม่ หรือเจ้ามรดกอาจให้ทายาทหรือผู้จัดการมรดกจัดตั้งมูลนิธิได้ แต่กำหนดไม่ได้ก็ควรระบุในพินัยกรรมไว้ว่าจะตกทอดให้ใครอย่างไร แต่ถ้าไม่ระบุอาจร้องขอให้จัดการทรัพย์มรดกให้แก่นิติบุคคลที่มีวัตถุ ประสงค์ใกล้ชิดที่สุดกับความประสงค์ของผู้ทำพินัยกรรม
6.กฎหมายไทยไม่อนุญาตให้ตั้งทรัสต์ไม่ว่าจะโดยพินัยกรรมหรือ นิติกรรมในต่างประเทศ โดยทั่วไปการตั้งทรัสต์ในต่างประเทศก็เพื่อให้มีการดูแลทรัพย์สินตลอดไปโดย ไม่แบ่งทรัพย์มรดก
ในประเทศไทยอาจใช้วิธีการใช้การจัดการทรัพย์สินของบริษัทครอบครัว ที่ถือครองทรัพย์สินในการมาแบ่งปันผลประโยชน์ให้กับทายาทโดยไม่แบ่ง ทรัพย์สิน แต่ไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้เช่นเดียวกับทรัสต์ ดังนั้นบริษัทที่มีทรัพย์สินที่ถูกต้องตามกฎหมายที่ต่างประเทศก็อาจจะจัด ตั้งทรัสต์ในต่างประเทศได้
7.การทำพินัยกรรมจะต้องระบุไว้ว่าเป็นการยกทรัพย์มาให้เผื่อตาย เพราะฉะนั้นไม่ต้องกลัวว่าจะเป็นการยกให้ทายาท เพราะหากยังไม่ได้ตายก็ยังไม่ได้ยกให้ได้ต่างกับการให้
8.การทำพินัยกรรมจะยกเลิกเปลี่ยนแปลงพินัยกรรมได้ตลอดเวลาและ พินัยกรรมใหม่จะถือว่ายกเลิกพินัยกรรมเก่า หากมีการแก้ไข ควรให้ทนายความประจำครอบครัวหรือที่ไว้ใจเป็นผู้จัดทำพินัยกรรมแก้ไขและเก็บ ไว้ ถ้าเป็นไปได้ก็แจ้งให้ทายาทรับทราบถึงการเปลี่ยนแปลงพินัยกรรม
9.การทำพินัยกรรมมีข้อความห้ามมิให้ผู้รับทรัพย์มรดกโอนทรัพย์บาง ประเภท (ส่วนใหญ่เป็นอสังหาริมทรัพย์กำหนดชนิดเป็นพิเศษ) ได้ แต่ต้องระบุชื่อผู้ที่จะเป็นผู้รับทรัพย์เป็นสิทธิขาดเมื่อมีการละเมิดข้อ ห้ามไว้ แต่ต้องเป็นทรัพย์ที่มีทะเบียนแสดงกรรมสิทธิ์ (เช่น ที่ดิน/หุ้น) โดยต้องจดทะเบียนการห้ามโอนนั้นไว้ต่อหน้าเจ้าหน้าที่ (มาตรา 1700) โดยผู้จะจดทะเบียนคือ ผู้จัดการมรดกหรือผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรม
ถ้าผู้จัดการมรดกหรือผู้รับทรัพย์ไม่จดทะเบียน ผู้มีสิทธิจะรับโอนทรัพย์เมื่อมีการละเมิดข้อห้ามฟ้องให้จดทะเบียนได้ ข้อกำหนดห้ามโอนดังกล่าวต้องมีระยะเวลาคือ ไม่เกิน 30 ปี ถ้าเป็นนิติบุคคล ถ้าเป็นบุคคลธรรมดาก็กำหนดได้ไม่เกิน 30 ปี หรือตลอดชีวิตของผู้รับประโยชน์
10.การตั้งผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรม อาจตั้งผู้จัดการมรดกหลายคนหรือคนเดียวก็ได้ และควรมีค่าตอบแทนให้ผู้จัดการมรดกด้วย โดยเฉพาะหากเป็นบุคคลภายนอก
นอกจากการกำหนดให้ทายาทเป็นผู้จัดการมรดกทำตามกฎหมายแล้ว ควรกำหนดวิธีการจัดการศพของผู้ตายไว้ด้วย โดยอาจกำหนดให้ผู้จัดการมรดกจัดการตามพินัยกรรม