สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เปิดวิจัยร้อนซื้อขาย เก้าอี้ทองคำ กระทรวงเกรดA-มีทั้งประมูล-ดาวน์-ซื้อขาด-พ่อค้าวางมัดจำ

จากประชาชาติธุรกิจ
ข่าว อื้อฉาวในการซื้อขายตำแหน่งผู้ว่าฯ ในกระทรวงหมาดไทย หรือ"นายพล"ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า การซื้อขาย"เก้าอี้ทองคำ"ในระบบราชการมีจริงหรือไม่ หาคำตอบได้จากผลงานวิจัย"ร้อน"ชิ้นนี้

ข่าวอื้อฉาวเกี่ยวกับนักการเมืองใหญ่ที่ไม่มีในตำแหน่งในรัฐบาล แต่มีอิทธิพลเหนือกระทรวงมหาดไทยเรียกข้าราชการระดับรองผู้ว่าราชการจังหวัด และรองอธิบดีประมาณ 20 คนเข้าไปพบเป็นรายตัวและแจ้งให้ทราบว่า ถ้าต้องการตำแหน่งผู้ว่าฯต้องหาเงินสนับสนุนพรรครายละ 10-15 ล้านบาทและช่วยเหลือผู้สมัคร ส.ส.ของพรรคในการเลือกตั้ง ถ้ามีการยุบสภา สร้างความเดือดดาลให้แก่นายชวรัตน์ ชาญวีรกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นอย่างมาก อ้างว่า  เป็นการปล่อยข่าวทำลายความน่าเชื่อถือของพรรคภูมิใจไทย และสั่งหาตัว"ต้นตอ"ในการปล่อยข่าว

อย่างไรก็ตามมีกระแสข่าวว่า นอกจากเรียกเงินจากผู้ที่มีโอกาสได้รับแต่งตั้งจากระดับรองผู้ว่าฯและรองอธิบดีเป็นผู้ว่าฯแล้ว ยังมีการเรียกเงินจากผู้ว่ฯที่ดำรงตำแหน่งอยู่แล้ว โดยต่อรองว่า ถ้าต้องการอยู่ในจังหวัดใหญ่ๆต่อไปก็ต้องหาเงินสนับสนุนำพรรคเช่นกัน

นอกจากข่าวซื้อชายเก้าอี้ในกระทรวงมหาดไทยแล้ว ยังมีการตั้งอนุกรรมการข้าราชการตำรวจชุดพิเศษขึ้นมาสอบข้อเท็จจริงเรื่อง การซื้อขายเก้าอี้ในสำนักงานตำรวจแห่งชาติด้วย ซึ่งในเบื้องต้นอนุกรรมการฯสรุปผลการสอบสวนว่า มีพิรุธในการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจหลายตำแหน่ง

เพื่อให้เห็นภาพรวมการซื้อขายตำแหน่งในระบบราชการ "มติชนออนไลน์" ขอนำสรุปรายงานการการวิจัยเรื่อง"การคอร์รัปชั่นในการซื้อขายตำแหน่งในระบบราชการ" โดย ผศ. ดร.ชินนะงษ์ บำรุงทรัพย์ และคณะที่เสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)ในปี 2546 มานำเสนอ

********************************

การ วิจัยนี้เป็นการสำรวจความคิดเห็นของข้าราชการเกี่ยวกับการคอร์รัปชั่นในการ ซื้อขายตำแหน่งในระบบราชการ ข้าราชการที่ให้ข้อมูลอาจจะเป็นข้าราชการที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการซื้อ ขายตำแหน่งด้วยตนเองหรืออาจจะเป็นข้าราชการที่เคยได้ยิน ได้พบเห็น หรือเชื่อว่ามีการซื้อขายตำแหน่ง

การวิเคราะห์ข้อมูลจึงวิเคราะห์ตามข้อมูลความคิดเห็นที่รวบรวมได้ทั้ง ข้อมูลเชิงปริมาณ และข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากคำถามปลายเปิดในแบบสอบถามและการสัมภาษณ์เจาะ ลึกจากการศึกษาข้าราชการที่สังกัดกระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงคมนาคม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการคลัง และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยการสำรวจความคิดเห็น ของข้าราชการตั้งแต่ระดับ 7 ขึ้นไป ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยใช้แบบสอบถามจำนวนทั้งสิ้น 2,668 ราย และโดยการสัมภาษณ์เจาะลึก จำนวน 60 ราย สรุปผลได้ ดังนี้

จากผลการสำรวจความคิดเห็นของข้าราชการเกี่ยวกับปัจจัยที่เอื้ออำนวยหรือ มูลเหตุ/แรงจูงใจ ที่ทำให้มีการคอร์รัปชั่นในการซื้อขายตำแหน่งในภาพรวมพบว่า ข้าราชการที่เป็นกลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยในระดับปานกลางว่า มีปัจจัยที่เอื้ออำนวยหรือมูลเหตุ/แรงจูงใจ ที่ทำให้มีการคอร์รัปชั่นในการซื้อขายตำแหน่งในหน่วยงาน

แต่เมื่อพิจารณาความคิดเห็นของข้าราชการที่เป็นกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามหน่วยงานพบว่า  ข้าราชการสังกัดสำนักงานตำรวจชาติเห็นด้วยค่อนข้างมากว่า มีปัจจัยที่เอื้ออำนวยหรือมูลเหตุ/แรงจูงใจ ที่ทำให้มีการคอร์รัปชั่นในการซื้อขายตำแหน่งในหน่วยงาน

ในขณะที่ข้าราชการสังกัดหน่วยงานอื่นๆ ต่างเห็นด้วยในระดับปานกลางว่า มีปัจจัยที่เอื้ออำนวยหรือมูลเหต/แรงจูงใจที่ทำให้มีการคอร์รัปชั่นในการซื้อขายตำแหน่งในหน่วยงาน

จากผลการสำรวจทัศนคติจของข้าราชการที่เกี่ยวกับการคอร์รัปชั่นในการซื้อ ขายตำแหน่งในภาพรวมพบว่า ข้าราชการที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติที่ไม่ดีหรือไม่เห็นด้วยต่อการ คอร์รัปชั่นในการซื้อขายตำแหน่ง

แต่เมื่อพิจารณาทัศนคติของข้าราชการที่เป็นกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามหน่วย งาน พบว่า ข้าราชการในเกือบทุกสังกัดมีทัศนคติที่ไม่ดี หรือไม่เห็นด้วยต่อการคอร์รัปชั่นในการซื้อขายตำแหน่ง   ยกเว้นกลุ่มตัวอย่างข้าราชการสังกัดสำนักงานตำรวจ แห่งชาติที่มีทัศนคติต่อการคอร์รัปชั่นในการซื้อขายตำแหน่งที่แตกต่างจากข้า ราชการหน่วยงานอื่น กล่าวถึงมีทัศนคติว่า การคอร์รัปชั่นในบางประเด็นเป็นเรื่องปกติธรรมดา

จากผลการสำรวจความคิดเห็นของข้าราชการเกี่ยวกับการคอร์รัปชั่นในการซื้อ ขายตำแหน่งในหน่วยงานราชการในภาพรวม พบว่า ข้าราชการที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีความคิดว่า มีการคอร์รัปชั่นในการซื้อขายตำแหน่งในหน่วยงานในระดับค่อนข้างน้อย

แต่เมื่อพิจารณาในแต่ละข้อคำถามพบว่า ข้าราชการส่วนใหญ่เคยได้ยิน/เชื่อ/แน่ใจว่ามีบางคนในหน่วยงานได้รับหรือไม่ได้รับการแต่งตั้ง/โยกย้าย/เลื่อนตำแหน่งอย่างไม่เป็นธรรม หรือใช้ระบบเล่นพรรคเล่นพวก ในระดับปานกลางถึงค่อนข้างมาก

จากการศึกษาสาเหตุและแรงจูงใจที่ทำให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชั่นในการซื้อขายตำแหน่งในระบบราชการ พบว่า

1) ค่านิยมทางสังคม

2) โครงสร้างองค์กร

3) ผลประโยชน์ที่ได้รับทั้งทางตรงและทางอ้อมจากตำแหน่งหน้าที่

4) ความซื่อสัตว์สุจริตของบุคคล

5) ความบกพร่องในระบบการแต่งตั้ง/โยกย้าย/เลื่อนตำแหน่ง

6) การแทรกแซงของนักการเมือง และ

7) สภาวะแวดล้อมทางด้านเศรษฐกิจ และสังคม มีผลที่ทำให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชั่นในการซื้อขายตำแหน่งในระบบราชการ

ในการศึกษาเกี่ยวกับวิธีการคอร์รัปชั่นในการซื้อขายตำแหน่งในระบบราชการ พบว่า มีวิธีการที่หลากหลายแตกต่างกัน ดังนี้

- ข้าราชการที่ต้องการได้รับการเลื่อนตำแหน่ง/แต่งตั้ง/โยกย้าย อาจจะติดต่อกับคนใกล้ชิด คนสนิท ของผู้มีอำนาจซึ่งมีทั้งข้าราชการและนักการเมือง

- คนใกล้ชิด คนสนิทของผู้มีอำนาจเป็นผู้ติดต่อกับข้าราชการที่อยู่ในข่ายจะได้รับการเลื่อนตำแหน่ง/แต่งตั้ง/โยกย้าย

- ข้าราชการที่หวังจะได้รับการเลื่อนตำแหน่ง/แต่งตั้ง/โยกย้าย พยายามทำตัวใกล้ชิดรับใช้ผู้มีอำนาจเพื่อผลประโยชน์ดังกล่าว

สำหรับผลประโยชน์ตอบแทนของการซื้อขายตำแหน่ง อาจจะอยู่ในรูปของตัวเงิน ในบางตำแหน่งจะมีการระบุตัวเลขที่ชัดเจน หรืออาจจะเป็นในรูปผลประโยชน์อื่นๆ ดังนี้

- ข้าราชการที่ได้รับการเลื่อนตำแหน่ง/แต่งตั้ง/โยกย้าย อาจจะใช้อำนาจหน้าที่ในตำแหน่งของตนเอื้ออำนวยความสะดวกหรือผลประโยชน์แก่ ผู้มีอำนาจในภายหลัง อาจจะช่วยเหลือเกี่ยวกับการเลือกตั้งถ้าผู้มีอำนาจเป็นนักการเมือง

- การให้ของขวัญ ของกำนับที่มีมูลค่าสูง ในวาระต่างๆ เช่น วันขึ้นปีใหม่ วันเกิด เป็นต้น

- การใช้ความสนิทสนม คุ้นเคย เข้าไปรับใช้เป็นการส่วนตัว

ในส่วนของเงินที่จะใช้ในการซื้อขายตำแหน่ง ในบางกรณีเป็นเงินของผู้ที่ต้องการซื้อตำแหน่งเอง
แต่สำหรับกรณีที่ตำแหน่งนั้นๆ เป็นตำแหน่งในระดับสูง และถ้าหน่วยงานนั้นๆ เป็นหน่วยงานที่มีโครงการในการจัดซื้อ จัดจ้าง จำนวนมาก และในวงเงินสูง ข้า ราชการที่พยายามจะเข้าสู่ตำแหน่งนั้นๆ จะติดต่อกับพ่อค้า นักธุรกิจที่ประสงค์จะได้ทำงานในโครงการดังกล่าว เพื่อขอให้รวบรวมเงินเพื่อที่จะจ่ายให้แก่ผู้มีอำนาจเป็นการซื้อตำแหน่ง โดยมีข้อตกลงว่า ถ้าได้รับการแต่งตั้งในตำแหน่งดังกล่าวก็จะเอื้ออำนวยให้แก่พ่อค้า นักธุรกิจนั้นๆ ได้รับงานของหน่วยงาน
สำหรับผลกระทบของการคอร์รัปชั่นในการซื้อขายตำแหน่งในระบบราชการนั้นอาจสรุปได้เป็น 2 ระดับ คือ 

1) ผลกระทบต่อข้าราชการในหน่วยงาน ทำให้ข้าราชการหมดขวัญและกำลังใจในการทำงาน โดยเฉพาะข้าราชการที่มีความตั้งใจในการทำงาน หมดศรัทธาและขาดการยอมรับในตัวผู้บังคับบัญชา ทำให้ข้าราชการชั้นผู้น้อยเกิดพฤติกรรมเลียนแบบในการซื้อขายตำแหน่ง และทำให้ข้าราชการที่มีความรู้ความสามารถขาดโอกาศที่จะเจริญก้าวหน้า
และ

2) ผลกระทบต่อระบบราชการโดยรวมเนื่องจากเมื่อมีการคอร์รัปชั่นในการซื้อขายตำแหน่ง แต่งตั้ง โยกย้าย เลื่อนตำแหน่ง ทำให้ไม่ได้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถเข้าสู่ตำแหน่ง ซึ่งส่งผลเสียหายต่อระบบราชการ

ในรายการการวิจัยดังกล่าว ยังได้สำรวจวิธีการคอร์รัปชั่นในการซื้อขายตำแหน่งในระบบราชการแบ่งแยกเป็นกระทรวง ดังต่อไปนี้
กระทรวงมหาดไทย

1. การซื้อขายตำแหน่งมักกระทำผ่านคนใกล้ชิด คนสนิท หรือคนที่ไว้วางใจสังเกตเห็นได้จากการที่อธิบดี มักจะแต่งตั้งบุคคลที่ตนเองไว้วางใจมาเป็นผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่ ผู้อำนวยการกองคลัง และเลขานุการกรม ทำให้การดำเนินนโยบายต่างๆ เป็นไปได้โดยง่าย

2. ข้าราชการระดับสูงมักจะมีการซื้อขายตำแหน่งโดยใช้อิทธิพลของนักการเมือง และนักการเมืองเหล่านี้มักต้องการผลประโยชน์ตอบแทนเป็นเงินทุน หรือพรรคพวกเพื่อผลประโยชน์ในการเลือกตั้งครั้งต่อไป

3. การให้ของขวัญเนื่องในโอกาสต่างๆ เช่น วันเกิด วันปีใหม่ วันแต่งงานบุตร แต่อาจมีการแนบสิ่งของมีค่า เช่น เงินสด หรือทองคำ

4. วิธีการซื้อขายตำแหน่งมีหลายวิธีตั้งแต่ซื้อขาด ซื้อแบบผ่อนส่งโดยมีเงินดาวน์ (ส่งส่วยกันตลอดชีวิต) ซึ่งคิดว่าไม่มีทางที่จะแก้ไขได้ เพราะผู้มีอำนาจของเมืองไทยประเภทที่ยอมแก้ระบบให้ดีแล้วตัวเองและพวกพ้อง สูญเสียประโยชน์และโอกาสคงหาได้ยาก

5.อาศัยความสนิทสนมคุ้นเคยเป็นส่วนตัวกับผู้มีอำนาจ อาศัยความสนิทสนมหรือเป็นญาติกับคนสนิท หรือผู้ติดตามผู้มีอำนาจ อาศัยภรรยาของตนเองเพื่อติดต่อกับภรรยาของผู้มีอำนาจ

6. การยอมรับใช้ในฤดูกาลหาเสียงเลือกตั้ง เช่น การหาคะแนนเสียงให้กับผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง

7. อาศัยฝีมือในการปฏิบัติหน้าที่จนได้รับความไว้วางใจจากผู้บังคับบัญชาการ ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งที่ได้รับมอบหมายในงานที่ได้รับมอบโดยไม่ขัดแย้งผู้ บังคับบัญชา หรือขัดแย้งบ้างในบางกรณีที่ขัดกับกฎหมาย ระเบียบปฏิบัติ ความดีความชอบขึ้นอยู่กับความสามารถในการปฏิบัติงานถูกใจผู้บังคับบัญชา หรือความดีความชอบจะได้แก่บุคคลที่ใกล้ชิดและสละเวลาส่วนตัวมาก เช่น ตำแหน่งเลขานุการ หรือผู้ใช้เวลาว่างไปเยี่ยมผู้บังคับบัญชา

8. การซื้อขายตำแหน่งเป็นการสมยอมกันระหว่าง 2 ฝ่าย ส่วนมากจะเป็นนักการเมืองเข้ามาดำเนินการ

กระทรวงศึกษาธิการ

1. ปัจจุบันมีการซื้อขายตำแหน่งต่างๆ กันอย่างแพร่หลายในระบบราชการไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งตำแหน่งสูงระดับผู้บริหาร จะเกาะติดเหนียวแน่นกับนักการเมือง (ส่วนมากเข้ามาเพื่อกอบโกยผลประโยชน์จากประเทศชาติ) ซึ่งแก้ไขได้ยากมาก

2. การใช้ระบบใบฝาก/ใบสั่งจากผู้มีอิทธิพล นักการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

3. การใช้นายหน้าในการติดต่อซื้อขายตำแหน่งแทนที่จะมีการติดต่อกันโดยตรง

4. การซื้อขายตำแหน่งอาจจะกระทำในรูปของการทำผลประโยชน์ให้ การให้ของขวัญ

5. การดูแลรับรองผู้ใหญ่ระดับสูง  ซึ่งต้องใช้เงินจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของการไปตรวจงาน ตรวจเยี่ยม หรือไปเที่ยวเตร่หาความสุขของผู้ใหญ่ เช่น ไปตีกอล์ฟ คนที่หาเงิน (ซึ่งก็คือรีดไถจากพ่อค้า ประชาชน) ได้เก่ง ก็มีสิทธิใกล้ชิดเจ้านาย กลายเป็นมือขวาเจ้านายไม่ต้องทำงานก็ได้ดี ถึงเวลาก็ได้เลื่อนขั้นเป็นกรณีพิเศษ เงินเดือนสูง ก้าวหน้าเร็ว ขณะเดียวกันคนที่ไม่สามารถรีดไถมารับรองผู้ใหญ่ก็ไม่ก้าวหน้า ระบบไปตรวจงานของผู้ใหญ่ไม่มีประโยชน์กับทางราชการ นอกจากประโยชน์กับตัวผู้ใหญ่เอง ได้กิน ได้เที่ยว ได้พักผ่อน ได้ของฝากแพงๆ ดีๆ

6. สามารถหาทุกสิ่งทุกอย่างให้ผู้บังคับบัญชาได้ตามที่ผู้บังคับบัญชาต้องการ แม้จะต้องเสียทรัพย์สินต่างๆ เป็นจำนวนมาก

7. คอยประจบเอาใจผู้บังคับบัญชาเป็นพิเศษ

8. เป็นผู้ที่ใกล้ชิดและคอยรับใช้ผู้ใหญ่ ทำให้มีโอกาสก้าวหน้ากว่าที่ทำงานแต่ในหน้าที่

9. สามารถทำทุกอย่างให้ผู้บังคับบัญชาได้โดยไม่มีข้ออ้าง

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

1. นักการเมืองใช้อำนาจในการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการมากเกินไป นักการเมืองทุกระดับจะมีอิทธิพลเหนือข้าราชการประจำ ผู้ที่ต้องการตำแหน่งจะเข้าหานักการเมืองเพื่อใช้อำนาจบีบผู้บังคับบัญชา

2. การซื้อขายตำแหน่ง จ่ายเป็นเงิน จ่ายเป็นทรัพย์สิน สร้าง/ซื้อบ้าน ซื้อรถยนต์ ซื้อของมีค่า เพชรแหวนเงินทอง เป็นของกำนัล

3. บุคคลที่มีพรรคพวกมักจะวิ่งเต้น เพื่อให้ได้ตำแหน่งและความก้าวหน้าในชีวิตราชการ เนื่องจากมีข้อเปรียบเทียบว่าบุคคลที่ไม่ได้วิ่งเต้น โอกาสก้าวหน้ามีน้อย จะอาศัยความรู้ ความสามารถโดยเฉพาะอย่างเดียวไม่ได้ จะต้องมีผู้บังคับบัญชาคอยสนับสนุนให้ความช่วยเหลือ ซึ่งอาจจะมีการตอบแทนเป็นเงินบ้างหรือคอยรับใช้ใกล้ชิด หรือหมั่นให้ของกำนัลแก่ผู้บังคับบัญชา

4. การวิ่งเต้นต้องผ่านหลายด่าน ยิ่งตำแหน่งที่มีช่องทางหาผลประโยชน์จะวิ่งกันหนักและจ่ายหนักด้วยเช่นกัน เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานการเจ้าหน้าที่ และเลขานุการส่วนตัวของผู้ใหญ่จะทำหน้าที่เป็นกันชนให้ มีเทคนิควิธีการรับผลประโยชน์ที่แยบยลยากแก่การจับผิดได้

5. การแต่งตั้ง โยกย้ายบางตำแหน่งนอกเหนือจากการใช้วิธีเล่นพรรคเล่นพวก ระบบญาติพี่น้อง ต้องการตอบสนองต่อผู้มีอำนาจแล้วยังมีการใช้เงิน รับผลประโยชน์ต่างๆ จากผู้ที่มีอำนาจ เช่น มีการโอนเงินให้ผู้ที่มีอำนาจเป็นงวดๆ หรือผู้ที่มีอำนาจให้ผู้ที่ใกล้ชิดไปดูแลผลประโยชน์ของตน

6. ผู้บริหารระดับสูงในส่วนกลางมักจะดูแลสนับสนุนบุคคลที่คอยเลี้ยงดูต้อนรับ บริการเวลาไปตรวจราชการต่างจังหวัด เป็นกระบวนการได้มาของตำแหน่ง

7. ทุจริตในการสอบคัดเลือก เช่น ทราบข้อสอบก่อน มีการกำหนดรายชื่อผู้ที่สอบได้ไว้ก่อน

กระทรวงคมนาคม

1. การซื้อขายตำแหน่งทางตรง (เป็นตัวเงิน) โดยจ่ายเป็นค่านายหน้าหรือค่าดำเนินการวิ่งเต้น เจรจา ต่อรอง ส่วนใหญ่เป็นตำแหน่งใหญ่ๆ และเกี่ยวข้องกับการเมือง

2. การซื้อขายตำแหน่งทางอ้อม (เป็นผลประโยชน์ต่างตอบแทน) มีมากในระดับหัวหน้าส่วนราชการระดับกลางถึงสูง เกิดขึ้นระหว่างผู้วิ่งเต้นต้องการตำแหน่งกับเจ้านายระดับสูงกลุ่มพ่อค้าผล ประโยชน์

3. การเข้าหาผู้บริหารระดับสูง หรือนักการเมืองเพื่อขอการสนับสนุน และอาจมีการมอบของกำนับเป็นสิ่งตอบแทน หรือการสัญญาว่าจะกระทำการใดๆ อันเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ให้การสนับสนุน

4. การซื้อขายตำแหน่งมักจะมีผู้แทนของผู้ที่มีอำนาจรับหน้าที่เป็นผู้ติดต่อและ ประสานงานเพื่อเรียกรับเงินจากผู้ซื้อตำแหน่ง และกลุ่มนักการเมืองหรือธุรกิจการเมือง ซึ่งอาจจะไม่เป็นตัวเงินแต่เป็นประโยชน์ตอบแทนอื่นๆ เช่น เมื่อ วิ่งเต้นได้ตำแหน่งก็จะดูแลเจ้านายเป็นอย่างดีในลักษณะอุปถัมภ์ค้ำจุน คอยให้ความสะดวกทุกเรื่องหรือช่วยวิ่งเต้นในเรื่องการของบประมาณ

กระทรวงสาธารณสุข

1. การซื้อขายตำแหน่งจะมีคนกลางหรือหน้าม้าเป็นผู้ติดต่อ โดยแต่ละตำแหน่งจะกำหนดราคาไว้มักจะได้ยินจะเป็นในวงการข้าราชการตำรวจ และในวงการอื่นๆ บางครั้งตำแหน่งนั้นถูกหลายคนหมายปองก็จะมีการแข่งราคากัน (โดยผ่านคนกลาง) ผู้ใดให้ราคาสูงกว่าก็จะได้ตำแหน่งนั้น

2. นักการเมืองมีส่วนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเพื่อเอื้อประโยชน์กัน

กระทรวงการคลัง

1. มีการแต่งตั้งไว้ก่อนที่จะมีการสอบ ซึ่งอาจจะเป็นไปตามคำขอ การฝากของผู้ที่มีตำแหน่งสูงกว่า เช่น รัฐมนตรี นักการเมือง หรือผู้ที่มีอิทธิพล

2. คณะกรรมการที่ออกข้อสอบบางท่านได้มีการเปิดเผยข้อสอบให้แก่บุคคลที่จะสอบทราบก่อน

3. แก้คำตอบของข้อสอบจากผิดให้เป็นถูกในขั้นตอนการป้อนคำตอบใส่คอมพิวเตอร์

4. การวิ่งเต้นผ่านนักการเมือง

5. สร้างความสนิทสนมคุ้นเคยกับผู้มีอำนาจในการแต่งตั้งโยกย้าย หรือบุคคลที่ใกล้ชิดกับผู้มีอำนาจ โดย การเสนอเงินให้โดยถูกต้องตามกฎหมาย (เช่น ในรูปเงินสินบนรางวัล) หรือหากให้ได้รับตำแหน่งสูงขึ้นจะตอบแทนโดยการดูแลค่าใช้จ่ายส่วนตัวของผู้ มีอำนาจและครอบครัวใน ทุกๆ เรื่อง หรือการขอให้โยกย้ายไปอยู่ในที่ที่ดีมีเงินทองที่สนับสนุนทั้งทางตรงและทางอ้อมได้

6. ผู้ใกล้ชิดหรือผู้ใต้บังคับบัญชาที่ไว้เนื้อเชื่อใจเป็นผู้ดำเนินการจัดหาติดต่อรวบรวมโดย มีกลุ่มพ่อค้า นักธุรกิจ เป็นผู้สนับสนุนออกทุนให้ ผลประโยชน์ที่ผู้สนับสนุนได้รับ เช่น สัมปทานนำสินค้าเข้าโดยเสียภาษีเพียงบางส่วน ส่วนที่เหลือจะแบ่งกันไปตามสัดส่วน

7. บางครั้งเงินก็ไม่ใช่ปัจจัยที่ใช้ในการแต่งตั้งโยกย้ายยังมีวิธีการอื่นๆ เช่น ให้ของฝากที่มีราคาแพง พาไปตีกอล์ฟเมืองนอก เป็นต้น

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

1. การซื้อขายตำแหน่งผู้ที่มีบทบาทมากที่สุด คือ นักการ เมืองระดับชาติ เมื่อเข้าไปในรัฐบาลก็จะปูพื้นฐานทางการเมืองโดยวิธีแต่งตั้งคนของตนเองรอง รับฐานเสียงไว้ผลประโยชน์ที่นักการเมืองรับจากข้าราชการประจำไม่ได้รับคราว เดียวในวันที่รับตำแหน่งแต่จะรับในรูปแบบให้บริการอื่นๆ

2. ปัจจุบันข้าราชการตำแหน่งจะวิ่งเข้าหานักการเมืองเพื่อหวังประโยชน์ในการ แต่งตั้งและมักจะได้ผลเพราะผู้บังคับบัญชาระดับสูงบางนายก็มาจากนักการเมือง สนับสนุนหรือเกรงอำนาจนักการเมืองซึ่งอาจจะถูกโยกย้าย หากไม่ปฏิบัติตามความประสงค์ของนักการเมือง

3. นักการเมืองใช้อำนาจที่ตนมีอยู่สนั่งการผู้บังคับบัญชาให้แต่งตั้งบุคคลที่ ตนต้องการสนับสนุน หากไม่ปฏิบัติตามก็จะถูกกลั่นแกล้งกล่าวหาในรูปแบบต่างๆ จึงเป็นธรรมเนียมที่ให้ข้าราชการต้องปฏิบัติอย่างนั้น เพื่อความอยู่รอดของตนเอง

4. ผู้ที่มีอำนาจในการแต่งตั้งโยกย้าย เลื่อนตำแหน่ง ใช้อำนาจหน้าที่อย่างไม่โปร่งใส ไม่เป็นธรรม มักใช้ช่องโหว่ของกฎหมายเพื่อสร้างกฎให้ปฏิบัติเพื่อให้สอดคล้องกับอำนาจและ ป้องกันการตรวจสอบ

5. การติดต่อซื้อขายตำแหน่งเริ่มจากติดต่อกับผู้รู้จักกับเจ้านายก่อน เพื่อให้ประสานงานให้ หากตกลงหรือรับเงื่อนไขได้ ก็จะดำเนินการต่อไปจนได้รับแต่งตั้ง/โยกย้าย

6. การซื้อขายตำแหน่งปัจจุบันมักจะเป็นกลุ่มพ่อค้าที่เข้าไปคลุกคลีเพื่อหวังผลประโยชน์ทางธุรกิจของตนให้พ้นจากการจับกุม โดยช่วยเหลือเรื่องเงินมาตลอด เมื่อตำรวจให้ความช่วยเหลือกลุ่มพ่อค้าเหล่านี้ก็จะให้ความช่วยเหลือโดยวิ่งเต้นผู้บังคับบัญชาระดับสูงให้

7. เมื่อประมาณ 10 ปี ที่ผ่านมาจะมอบสินบนหรือน้ำใจให้ไปทั้งหมด เมื่อได้รับการแต่งตั้งซึ่งเป็นการตอบแทนเด็ดขาดไม่มีข้อผูกพันต่อกัน หลังจากนั้นจึงมีการเปลี่ยนไปเป็นให้เงินก้อนแต่จำนวนไม่มาก เมื่อได้ตำแหน่งแล้วจึงผ่อนเป็นรายเดือน จำนวนเงินจะมากหรือน้อยแล้วแต่ตำแหน่ง คล้ายกับซื้อรถยนต์ที่ดาวน์แล้วมาผ่อนต่อ วิธีนี้ทั้งผู้ให้และผู้รับจะชอบเพราะผู้ให้ก็ได้รับความคุ้มครองให้ดำรง ตำแหน่งอยู่เพื่อจะได้มีเงินมาผ่อนต่อไป ผู้รับก็ได้ประโยชน์ตรงไม่ได้มีความรู้สึกว่าได้รับเงินค่าวิ่งเต้นโยกย้าย

8. ในช่วงที่จะมีการแต่งตั้ง โยกย้าย หรือเลื่อนตำแหน่ง ผู้ที่มีสิทธิทั้งหลายมักใช้วิธีไปคลุกคลีทำความสนิทสนมคุ้นเคย รับใช้ผู้ที่คิดว่าสามารถให้ความช่วยเหลือหรอืแต่งตั้งให้ตนเองหรอืพรรคพวก ได้ โดยเฉพาะนักการเมืองหรือข้าราชการระดับสูง และเมื่อมีคำสั่งบุคคลเหล่านี้ ก็มักจะมีรายชื่อได้รับการแต่งตั้ง

9. เป็นการสมยอมทั้งฝ่ายมีอำนาจแต่งตั้ง และฝ่ายอยากได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น

 

view