สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ไม่กล้าจับจ่าย ปัญหาจุกอก นักการตลาด ผวา...ลากยาวข้ามปี

วิเคราะห์
จากประชาชาติธุรกิจ






แม้ ภาครัฐบาลจะออกมาให้ความเชื่อมั่นว่าสัญญาณเศรษฐกิจของประเทศกำลังฟื้นตัว แต่ก็ยังดูเหมือนว่าภาคธุรกิจก็ยังไม่คาดหวังนัก เพราะความความผันผวนทางการเมืองดูจะเป็นปัจจัยที่พร้อมจะส่งผลกระทบต่อ ภาพรวมได้ตลอดเวลา ทำให้ภาคเอกชนหลายๆ ส่วนยังกล้าๆ กลัวๆ ที่จะเดินหน้าทำการตลาดและโฆษณาอย่างเต็มที่นัก ขณะที่ ผู้บริโภคส่วนใหญ่ก็ยังอยู่ในภาวะชะลอการจับจ่ายอยู่เช่นเดิม

ภาวะ ดังกล่าวสอดคล้องกับผลวิจัยทางการตลาดที่ทยอยออกมาในช่วงนี้ ซึ่งชี้ชัดตรงกันวาการดึงเงินออกจากกระเป๋า รวมถึงการสร้างความรู้สึกอยากจับจ่ายให้เกิดขึ้นในหมู่ผู้บริโภคยังเป็น อุปสรรคสำคัญของเหล่าผู้ประกอบการทั้งหลาย

ผลวิจัยชี้ว่าความท้าทายนี้จะยืดเยื้อข้ามไปถึงปีหน้าอย่างแน่นอน

ชี้คนไทยชะลอการซื้อยาว

"คริ ส โทมัส" ประธานกรรมการและประธานกรรมการบริหาร "บีบีดีโอ เอเชีย" เอเยนซี่โฆษณารายใหญ่ชี้ว่า แม้ว่าประเทศไทยจะมีข่าวดีมาเป็นระยะๆ ตั้งแต่ตัวเลข GDP ที่ปรับขึ้น สถาบันการเงินต่างๆ ที่คาดการณ์ว่าภาพรวมของเศรษฐกิจน่าจะเริ่มปรับตัวดีขึ้น แต่ในภาพความเป็นจริงสถานการณ์โดยรวมกลับไม่ได้เป็นไปตามที่หลายฝ่ายคาด การณ์เท่าไหร่ โดยเฉพาะปัญหาด้านการเมืองที่เป็นเสมือนตัวถ่วงทางเศรษฐกิจอยู่ในเวลานี้

ซึ่ง ในมุมมองของเขาเชื่อว่าประเทศไทยยังคงต้องอยู่กับเศรษฐกิจแบบนี้ไปอีก อย่างน้อย 1 ปี และผู้บริโภคเองก็ต้อง ปรับตัวให้อยู่กับสถานการณ์เช่นนี้ไปให้ได้

จากผลวิจัย ThaiView 12 ของสมาคมวิจัยการตลาดแห่งประเทศไทย พบว่าความเชื่อมั่นของคนกรุงเทพฯที่มีต่อสภาวะเศรษฐกิจในช่วง 12 เดือนจากนี้ไปยังอยู่ในระดับแค่ 19% ลดลงจากช่วงเดือนมีนาคม ที่ผ่านมาที่มีความมั่นใจถึง 31% โดยสัดส่วนคนที่บอกว่า ไม่ค่อยมั่นใจสูงถึงกว่า 60% ขณะที่คนบอกว่า มั่นใจมากมีแค่ 2-3% เท่านั้น ส่งผลให้ช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่ต้องชะลอการซื้อสินค้าที่ต้องการไปก่อน



พฤติกรรมการซื้อพลิก

จาก แนวโน้มที่เกิดขึ้นนี้ทำให้คนกรุงเทพฯส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบและต้องปรับ เปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคในหลากหลายรูปแบบ ประกอบด้วยจับจ่ายซื้อสินค้าเท่าที่จำเป็น ลดการรับประทานอาหารนอกบ้าน ซื้อสินค้าในปริมาณที่มากขึ้นเพื่อให้ได้ราคาที่ถูกลง ใช้เวลาอยู่บ้านมากขึ้น ทำงานเพื่อหารายได้พิเศษมากขึ้น ลดค่าใช้จ่ายด้านบันเทิง เช่น ดูหนัง เที่ยวผับ ฯลฯ

สอดรับกับผลการ ศึกษากาเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีผลมาจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ "Trading Up Trading Down" ทั้งภูมิภาคเอเชียของบริษัท บีบีดีโอ จำกัด ที่ระบุว่า ตลอดระยะเวลา 9 เดือนที่ผ่านมาคนไทยอยู่ในภาวะวิตกกังวลกับเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน และรู้สึกไม่มั่นใจในฐานะการงานและการเงิน

อีกทั้งต้องเผชิญกับราคา ที่สูงขึ้นของกลุ่มสินค้าที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวัน อาทิ อาหารและเครื่องดื่ม สินค้าอุปโภค และน้ำมัน ฯลฯ ขณะที่รายได้เท่าเดิม

ทั้ง นี้เนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้ทำให้ผู้บริโภคคนไทยมากกว่า 50% รู้สึกแย่ เพราะผลกระทบถึงตัวเขาโดยตรงกว่าเมื่อครั้งปี 2540 และค่อนข้างกังวลเรื่องการใช้จ่าย เช่นเดียวกับผลการวิจัย "Eye on Asia" ที่ "เกรย์กรุ๊ป" จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมผู้บริโภคชาวเอเชียที่พบว่าผู้บริโภค มีแนวโน้ม เก็บออมเงินและระมัดระวังการใช้จ่ายเพื่อความมั่นคงของฐานะทางการเงินใน อนาคต



ที่สำคัญพบว่า 25% ของชาวเอเชียเชื่อว่าสถานการณ์ทางการเงินจะเลวร้ายลงไปอีกก่อนที่จะกระเตื้องขึ้น

มุ่งหา "ความคุ้มค่า"

"สงกรานต์ เศรษฐสมภพ" ประธานกรรมการบริหาร บริษัท บีบีดีโอ กรุงเทพ จำกัด บอกว่า ผู้บริโภคคนไทยมีพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไปค่อนข้างมาก กล่าวคือผู้บริโภคจะใช้เวลาตัดสินใจนานขึ้นในการซื้อของแต่ละชิ้น โดยจะพิจารณาจนกว่าจะได้ข้อเสนอที่ดีที่สุด คุ้มค่ามากที่สุด

นอกจากนี้ยังลดความถี่ในการใช้บัตรเครดิต เพราะไม่มั่นใจความสามารถในการชำระหนี้และดอกเบี้ยที่สูง

ด้าน "ซารุ ฮาริช" ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนการสื่อสารประจำภูมิภาคของเกรย์กรุ๊ปบอกว่า จากการเก็บข้อมูลพบว่า 80% ของชาวเอเชียที่กำลังเก็บเงินเพื่ออนาคต 50% ของชาวเอเชียเข้มงวดกับมาตรการประหยัดและการจับจ่ายใช้สอย โดยมองหาข้อเสนอที่ดีที่จะช่วยให้เขาประหยัดเงินได้

เงินมีน้อย...แต่ยังติดไฮโซฯ

ขณะ ที่ "แอนดี้ วิลสัน" ประธานฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ "บีบีดีโอ เอเชีย" มองว่า ความคุ้มค่าของผู้บริโภคคนไทยนั้นไม่ได้หมายความว่าจะซื้อแต่สินค้าราคาถูก เท่านั้น สินค้าที่มีราคาแพงถ้าพิจารณาแล้วว่า"คุ้มค่า" ผู้บริโภคก็ยินดีที่จะจ่ายเช่นกัน

แนวโน้มดังกล่าวสอดคล้องกับผล การวิจัย "Eye on Asia" ที่ "เกรย์กรุ๊ป" ระบุชัดเจนว่า แม้ผู้บริโภคในเอเชียจะมีพฤติกรรมการซื้อด้วยความระมัดระวังและรอบคอบขึ้น แต่ก็ยังมีผู้บริโภคบางกลุ่มที่สนุกสนานกับแบรนด์ที่สร้างความแปลกใหม่ และต้องการแบรนด์ที่ทันสมัย เป็นที่ยอมรับและเป็นที่รู้จัก และติดตามแบรนด์ชั้นนำ โดยเฉพาะผู้บริโภคคนไทยที่ส่วนใหญ่ยังต้องการรักษาภาพลักษณ์ด้วยการใช้สิน ค้าแบรนด์เนม ไฮโซฯ

"ค่าเฉลี่ยของคนเอเชียที่ต้องการอิมเมจ อยู่ในระดับ 74 แต่กลุ่มผู้บริโภคคนไทยล้ำหน้าประเทศอื่นอยู่ที่ 92 จากที่พรีเมี่ยมอยู่แล้วยิ่งต้องพรีเมี่ยมขึ้นอีกแต่ก็ยังระมัด ระวังการซื้อด้วยการลดปริมาณการซื้อลง"

แนะนักการตลาดมองเชิงลึก

จาก แนวโน้มที่เกิดขึ้นนี้ ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนการสื่อสารประจำภูมิภาค ของเกรย์ กรุ๊ปบอกว่า น่าจะเป็นโจทย์สำคัญที่ทำให้นักการตลาดและเจ้าของสินค้าจำเป็นต้องมองทั้งใน แนวลึกและแนวกว้างมากขึ้น ต้องทำงานภายใต้ฐานข้อมูลที่แม่นยำ และต้องสามารถคาดการณ์ได้ว่าในแต่ละช่วงเวลาผู้บริโภคในแต่ละประเทศ แต่ละกลุ่มต้องการอะไร มีทัศนคติทั้งในเรื่องของการจับจ่ายใช้สอยและมีไลฟ์สไตล์อย่างไร จากนั้นจึงผลิตสินค้าและวางเมสเซจในการสื่อสารให้เขาเห็น เกิดความมั่นใจและรู้สึกดีในตัวสินค้า เพราะผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังมีเงินในกระเป๋าเพียงแต่ยังรู้สึกไม่มั่นใจ และยงเน�นการออมเงินสำหรับอนาคต

view