จากประชาชาติธุรกิจ
คอลัมน์ ถามมา-ตอบไป สไตล์คอนซัลต์
โดย อภิวุฒิ พิมลแสงสุริยา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ออคิด สลิงชอท จำกัด www.orchidslingshot.com apiwut@riverorchid.com
เมื่อ ครั้งที่แล้ว เราได้คุยกันเกี่ยวกับแนวโน้มการเรียนรู้ใหม่ที่กำลังจะมาเยือนเมืองไทยภาย ในเวลาไม่กี่ปี ข้างหน้า คือแนวทางการเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการนอกห้องเรียน หรือ Informal & Non Classroom-based Learning พร้อมกันนั้นเราได้มีการพูดคุยถึงบทวิจัยจาก ASTD เกี่ยวกับการเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการ (ข้อมูลจาก Informal Learning-ASTD Research Report-2009) ที่กำลังเกิดขึ้นภายในองค์กรและผลกระทบ ในเชิงบวกของการเรียนรู้ลักษณะนี้
เรื่อง ที่จะกล่าวต่อไปเป็นคำถามที่อยู่ในบทวิจัยเกี่ยวกับงบประมาณที่องค์กรต่าง ๆ กระจาย (Allocate) ให้ใช้สำหรับการเรียนรู้ในลักษณะนี้ สิ่งที่น่าตกใจคืองบประมาณที่จะใช้สำหรับการพัฒนาคนแบบไม่เป็นทางการเป็น อะไรที่ให้กันน้อยมาก ๆ โดย 35.8% ตอบว่าไม่มีงบประมาณสำหรับการพัฒนาเช่นนี้เลย ในขณะที่ 42.2% มีให้แค่ 1-10% ของงบประมาณการพัฒนาคนที่มีอยู่เท่านั้น (ดูผลสรุปในภาพที่ 1)
ผล วิจัยของแนวโน้มการเรียนอย่าง ไม่เป็นทางการที่มีมากขึ้น และความเชื่อที่ว่าการเรียนรู้แบบไม่เป็นทางการมีอิทธิพลอย่างมากต่อ ประสิทธิภาพการเรียนรู้และการทำงานของพนักงาน เมื่อเทียบกับ งบประมาณที่มีให้อย่างอัตคัดนี้ เป็นอะไรที่สวนทางกันอย่างมาก ดังนั้น จึงเป็นภาพสะท้อนได้เป็นอย่างดีว่า การเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงในเรื่องของการพัฒนา บุคลากรกำลังจะเกิดขึ้นในเวลาอันใกล้นี้
ส่วน คำถามถัดมา ถามว่าแล้วองค์กรของคุณในปัจจุบันมีเครื่องมือหรือกระบวน การอะไรที่ช่วยในการเรียนรู้แบบไม่เป็นทางการบ้าง ในขณะที่อ่านคำตอบต่อไปนี้ ผมอยากให้คุณผู้อ่านลองคิดตามไปดูว่า องค์กรของคุณมีเครื่องมือหรือกระบวนการเหล่านี้หรือไม่ (ตัวเลขเปอร์เซ็นต์ที่อยู่ในวงเล็บด้านหลัง เป็นเปอร์เซ็นต์ขององค์กร ที่ตอบว่ามีหรือใช้เครื่องมือหรือกระบวนการนั้น ๆ อยู่ภายในองค์กร)
-อีเมล์ หรือ บล็อก (Blog) เพื่อแบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกัน (68%)
-อนุญาตให้พนักงานสามารถหาข้อมูลที่มีประโยชน์ได้ทางอินเทอร์เน็ต (65%)
-การจับกลุ่มที่มีความสนใจคล้ายกันเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ (42%)
-สถานที่หรือห้องที่พนักงานสามารถเข้าไปค้นคว้าหาข้อมูลได้ด้วยตนเองในเวลาที่พนักงานต้องการ (32%)
-สามารถส่งข้อความถึงกันได้ในทันที เช่น SMS หรือ MSN เป็นต้น (32%)
-สังคม online หรือ social networking (31%)
-การโค้ชระหว่างเพื่อนร่วมงานกันเอง หรือ peer coaching (30%)
-ช่วงอาหารกลางวันกับการเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการ เช่น การพูดคุยหรือแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างทานอาหาร (29%)
-การประชุมอย่างเป็นทางที่มีวาระการประชุมหนึ่งที่เปิดกว้างให้พนักงานแสดงความคิดเห็นหรือเรียนรู้ร่วมกันได้ (28%)
-การผลัดกันนำการประชุมในรูปแบบที่ตนเองต้องการ (28%)
-พื้นที่ เปิดเพื่อให้พนักงานได้พบกันและแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้อย่างอิสระและ ไม่เป็นทางการ เช่น บาร์น้ำดื่ม หรือล็อบบี้ส่วนกลาง เป็นต้น (27%)
-สนับสนุนการสร้างสังคมอย่างไม่เป็นทางการในหมู่พนักงานด้วยกันเอง เช่น ชมรมต่าง ๆ (20%)
-การ สร้างกระดานพูดคุยอาจจะเป็นแบบ online หรือ offline ก็ได้เพื่อให้ พนักงานสามารถหาหัวข้อมาคุยและตอบโต้กันเองได้ เช่น web board (12%)
-สร้าง สังคมของกลุ่มคนที่เคยทำงาน ในองค์กร เช่น พนักงานที่เกษียณอายุไปแล้ว กลับมาพูดคุยและแลกเปลี่ยนความรู้กับพนักงานปัจจุบัน เป็นต้น (7%)
ข้อมูล ข้างต้นอาจจะพอเป็นแนวทางให้องค์กรต่าง ๆ สร้างการเรียนอย่างไม่เป็นทางการได้ในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ดีบทสรุปของงานวิจัยนี้มีคำแนะนำเกี่ยวกับการเรียนรู้อย่างไม่เป็น ทางการดังนี้
1.ใช้การเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการเป็นหนทางในการส่งเสริมและผลักดันให้นำสิ่งที่ได้เรียนรู้อย่างเป็นทางการมาใช้
2.เริ่มสร้างวัฒนธรรมขององค์กรที่สนับสนุนการเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการ
3.แบ่งงบประมาณเพื่อการเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการ
4.ส่งเสริมให้เกิดการเล่าประสบการณ์หรือสิ่งที่ได้เรียนรู้มาผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ ที่หลากหลาย
5.ใช้เทคโนโลยีทั้งขั้นสูง (high tech) และขั้นต่ำ (low tech) เป็นเครื่องมือเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
6.ส่งเสริมการโค้ชระหว่างเพื่อนร่วมงานกันเอง และผลักดันให้เกิดการอาสาในการเป็นพี่เลี้ยง (mentor) ระหว่างพนักงานด้วยกันให้มากขึ้น
7.กำหนดวิธีการและแนวทางในการวัดผลที่ได้รับจากการเรียนรู้
8.ลอง นำการเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการไปปรับใช้กับกระบวนการบางอย่างที่องค์กรมี อยู่แล้ว เช่น การสัมมนาพนักงานใหม่ การสื่อสารค่านิยมองค์กร การสอน พนักงานเกี่ยวกับแนวทางการทำงานบางอย่าง การแชร์ประสบการณ์ สิ่งที่ได้เรียนรู้ และแนวทางการทำงานที่ดี การพัฒนาทักษะทางธุรกิจโดยทั่วไป และการพัฒนาทักษะการสื่อสารของหัวหน้างาน เป็นต้น
ผมคาดการณ์ว่าในไม่ช้า รูปแบบการเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการจะเข้ามาสู่เมืองไทยอย่างแน่นอน เพราะในเวลาอันใกล้นี้ คน Gen Y จะเข้ามาแทนที่คนรุ่นอย่าง เรา ๆ และรุ่นที่เก๋ากว่า อย่าลืมว่าคนรุ่นนี้เติบโตมาพร้อมกับ Internet, iPod, Facebook, Twitter, Hi5, Secondlife.com พวกเขาเชื่อว่าทุกอย่างหาได้ใน Internet" ซึ่งรวมถึงสิ่งที่พวกเขาอยากเรียนรู้ด้วย
ดังนั้น การเรียนรู้ในห้องเรียน อาจกลายเป็นวิธีโบราณในสายตาเขาก็ได้ และถ้าถึงวันนั้น Training Center หรือที่เรียกกันอย่างหรูหราว่าศูนย์การเรียนรู้ที่ องค์กรใหญ่ ๆ สร้างขึ้นด้วยทุนศัพท์มากมาย...จะได้ใช้หรือ ?