สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ภาคการผลิตเอเชียกระเตื้อง จีน-อินเดียอุ้มภูมิภาค ดึงทั่วโลกฟื้น

จากประชาชาติธุรกิจ



กิจกรรม ในภาคการผลิตทั่วเอเชียเริ่มขยับแรงขึ้นในเดือนกันยายน อันเป็นผลมาจากความต้องการที่กระเตื้องขึ้น สอดรับกับการคาดการณ์แนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจ ใน ปี 2552 ล่าสุดของไอเอ็มเอฟ ซึ่งชี้ชัดว่าการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งของกลไกขับเคลื่อนคู่ใหม่ "จีน-อินเดีย" ได้ช่วยดึงเศรษฐกิจในภูมิภาคโดยรวมให้ฟื้นตัวตาม

เมื่อ วันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา สำนักข่าวรอยเตอร์ส ได้สรุปภาพรวมของกิจกรรมในภาคการผลิตของเอเชียช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมา พบว่า กิจกรรมโดยรวมได้เริ่ม ฟื้นตัวแข็งแกร่งขึ้น โดยพบว่าโรงงานในจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย และออสเตรเลีย เริ่มเพิ่มการผลิต หลังจากมีคำสั่งซื้อทั้งจากในและนอกประเทศเข้ามามากขึ้น ขณะที่บางบริษัทในเอเชีย อาทิ บริษัทโคมัตสุ ผู้ผลิตอุปกรณ์ก่อสร้างของญี่ปุ่น รายงานว่า มียอดขายในจีนเพิ่มขึ้นมาก อันเป็นผลมาจากการเติบโตของประเทศนี้

พัฒนาการเหล่านี้ สะท้อนให้เห็นจากการปรับตัวดีขึ้นของดัชนีจัดซื้อในหลายประเทศ เป็นต้นว่า ดัชนีจัดซื้อ (PMI) ของสมาพันธ์สมาคมโลจิสติกส์และจัดซื้อของจีน ซึ่งพบว่ากิจกรรมการผลิตในเดือนกันยายนเพิ่มขึ้นเป็น 54.0 จุด จากระดับ 54.0 จุดในเดือนสิงหาคม ถือเป็นระดับที่แข็งแกร่งที่สุดในรอบ 17 เดือน

ข้อมูล ใหม่ของจีนถือเป็นหลักฐานใหม่ที่ยืนยันว่าความต้องการในประเทศที่เพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่องในจีน ได้เริ่มชดเชยความอ่อนแอของภาคการส่งออก แม้นักวิเคราะห์บางรายยังวิตกกังวลว่าเศรษฐกิจยังคงพึ่งพามาตรการกระตุ้น เศรษฐกิจของรัฐบาล เป็นหลักในการผลักดันให้กิจกรรมต่าง ๆ ขับเคลื่อน เช่นเดียวกับดัชนีภาคการผลิตของออสเตรเลียน อินดัสตรี กรุ๊ป/ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส เพอร์ฟอร์แมนซ์ ได้เพิ่มขึ้น 0.3 จุด เป็น 52.0 จุด ส่วนอินเดีย ดัชนีจัดซื้อได้ขยับเพิ่มเป็น 55 จุดในเดือนกันยายน จากระดับ 53.2 จุดในเดือนสิงหาคม ขณะที่ในเกาหลีใต้ ดัชนีจัดซื้อ ภาคการผลิตของเอชเอสบีซี/มาร์กิต ได้ ปรับลงเล็กน้อย 52.7 จุด จากระดับ 53.6 จุด ในเดือนสิงหาคม

อย่างไรก็ตาม มีสัญญาณที่น่าเป็นห่วงเกิดขึ้นในญี่ปุ่น เมื่อผลสำรวจบรรยากาศการลงทุนของบริษัทญี่ปุ่น หรือ Tankan โดยธนาคารกลางญี่ปุ่น พบว่า ผู้ผลิตรายใหญ่ของประเทศมีแผนจะปรับลดการใช้จ่ายด้านการลงทุนลง 25.6% ในปีงบ การเงินปัจจุบัน สิ้นสุด ณ วันที่ 31 มีนาคม 2553 สูงกว่าแนวโน้มการปรับการลงทุน ในผลสำรวจเดือนมิถุนายน

การลงทุนภาค เอกชนถือเป็นกลไกการเติบโตที่สำคัญของเศรษฐกิจญี่ปุ่น แต่ปัจจุบันกลายเป็นหนึ่งในกลไกที่อ่อนแอที่สุด เนื่องจากบริษัทปรับลดค่าใช้จ่าย เพื่อไม่ให้กระทบต่อผลกำไร

ขณะ เดียวกัน รายงานแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจโลกภาคครึ่งปีหลัง ของไอเอ็มเอฟ ระบุว่า จีนและอินเดียจะเป็นกลไกนำเศรษฐกิจในเอเชียให้ขยายตัว หลังมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศสัมฤทธิผลในการผลักดันให้ความต้องการ บริโภคฟื้นตัวขึ้น โดยแรงกระตุ้นที่เกิดขึ้นในเอเชียช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้จะเป็น พื้นฐานของการฟื้นตัวทั่วไปในระดับ ปานกลางในปี 2553 เมื่อความต้องการบริโภคในประเทศพัฒนาแล้วแข็งแกร่งขึ้น

รายงานของไอ เอ็มเอฟคาดว่า จีนมี แนวโน้มจะเติบโตที่ 8.5% ในปีนี้ ลดจากระดับ 9% ของปีที่ผ่านมา ขณะที่อินเดียจะขยายตัว 5.4% ในปีนี้ ลดจากระดับ 7.3% ในปีที่ผ่านมา โดยได้แรงหนุนจากนโยบายกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ นอกจากนี้การฟื้นตัวของประเทศกำลังพัฒนาและตลาดเกิดใหม่อื่นๆ จะนำโดยการฟื้นตัวของจีนและอินเดีย จากผลของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการกลับมาของวัฏจักร การผลิตโลก

อย่าง ไรก็ตาม สำหรับกลุ่มอาเซียน แนวโน้มในอนาคตมีทั้งดีและไม่ดี โดยประเทศที่พึ่งพาการส่งออกมาก เช่น มาเลเซียและไทย กิจกรรมทางเศรษฐกิจ จะค่อยๆ ดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ และจะเติบโตอย่างแข็งแกร่งขึ้นในปีหน้า

ขณะที่ความเสี่ยงต่อแนวโน้ม การเติบโตรวมกำลังมีสมดุลมากขึ้น แต่ก็ยังมีอันตรายแฝงอยู่เช่นกัน นับถึงปัจจุบัน กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น ได้อานิสงส์จากปัจจัยหลายประการ ซึ่งอาจเกิดขึ้นชั่วคราวเท่านั้น เช่น การฟื้นตัวของตลาดหุ้น การปรับสินค้าคงคลัง นโยบายการเงินการคลังเพื่อกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งแรงผลักดันเหล่านี้อาจไม่สามารถทำให้เกิดการฟื้นตัวแบบพึ่งตนเองได้ หากกิจกรรมทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอื่นๆ ไม่แข็งแรงขึ้น

view