สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

CSR กับการบริหารความสัมพันธ์ กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

จากประชาชาติธุรกิจ
คอลัมน์ CSR Talk

โดย พร้อมบุญ พานิชภักดิ์ เลขาธิการมูลนิธิรักษ์ไทย





นิยาม ของ CSR หรือความรับ ผิดชอบของธุรกิจต่อสังคมได้ถูกนิยามในหลายรูปแบบ นิยามว่าเป็นการช่วยเหลือสังคมบ้าง แสดงการสร้างความยึดมั่นต่อความรับผิดชอบต่อสังคม (ด้านกฎหมาย สิ่งแวดล้อม สังคม ฯลฯ) รวมทั้งนิยามด้านยุทธวิธีการตลาดและการประชาสัมพันธ์ จะนิยามแบบไหนก็ตามประเด็นร่วมของ CSR คือการขยายมุมมองของธุรกิจในการสร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วน เสียกับการดำเนินการของธุรกิจนั้น ๆ หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า stakeholders

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมากที่สุด คือ ผู้ลงทุน ผู้เป็นเจ้าของทุน และทีมนายจ้าง ว่าจะเป็นเจ้าของทุนเองหรือเป็นผู้ที่ดำเนินการในนามของเจ้าของทุน ลักษณะเหล่านี้จะเห็นในยุคของการพัฒนาทางอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะในต่างประเทศ ในประเทศ ต่อมาการตลาดได้กลายเป็นเรื่องใหญ่ โดยเฉพาะสินค้าประเภทบริการ และประเภทของใช้ของคนทั่วไป ดังนั้นการพิจารณาผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียได้รวมถึงผู้บริโภค เพราะลูกค้าสามารถกำหนดว่าจะซื้อหรือไม่ซื้อ พอใจหรือไม่พอใจกับสินค้า ผลิตภัณฑ์ บริการ ควบคู่กับการให้ความสำคัญต่อลูกค้า หลักบริหารบุคลากร โดยสมัยใหม่ได้เน้นความสำคัญของคนทำงาน ความพึงพอใจในการทำงาน ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพในการผลิตและการขาย

เป็นเวลานานที่ผู้มี ส่วนได้ส่วนเสียของธุรกิจหนึ่งตีกรอบว่าคือนายทุน ฝ่ายจัดการ พนักงาน และลูกค้า (รวมทั้งลูกค้าในอนาคต) การตีความผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้ขยายวงอีกรอบเมื่อเห็นว่าการดำเนินงานของ อุตสาหกรรมธุรกิจยังเกิดผลต่อสิ่งแวดล้อม เกิดผลด้านภาษี เกิดผลด้านกฎหมายที่ส่งผลต่อมหาชน ณ จุดนี้การขยายวงของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้กลายเป็นคนจำนวนมากที่อยู่ใน ชุมชน ในประเทศหนึ่งหรือในโลก

เช่นเดียวกันในการพัฒนา ได้มีการตีความว่าการที่พลเมืองของประเทศหนึ่ง ๆ จะได้เข้าร่วมกระบวนการพัฒนา ไม่ว่าด้านการศึกษา สุขภาพ อาชีพ ที่อยู่อาศัย ใช่ว่าจะมองว่ารัฐบาลใจดีมีโครงการให้ แต่พลิกเป็นรัฐบาลมี "หน้าที่" ในการจัดงานพัฒนาที่เหมาะสมให้กับพลเมือง

ในความหมาย เดียวกัน บริษัท ธุรกิจ อุตสาหกรรม มีหน้าที่และความรับผิดชอบที่จะเกื้อกูลต่อพลเมืองในประเทศและในโลกผู้ ประกอบการ รวมทั้งฝ่ายจัดการ ต้องระวังถึงผลเสียในหลาย ๆ ด้านอันเกิดจากการประกอบการ และผู้ประกอบการรายย่อยที่ผลิตชิ้นส่วน หรือมีการจัดหาวัตถุดิบในการผลิต จึงเป็นการตีวงขอบเขตให้รวมถึง supply chain หรือผู้ขายรายย่อย

ดังนั้น ในการวิเคราะห์แผนงานและผลดำเนินงาน CSR ของบริษัท การวิเคราะห์ stakeholder ต้องทำเป็นหลายระดับ ส่วนความรับผิดชอบก็เช่นเดียวกัน จะปรากฏไว้ในหลายรูปแบบ เช่น กฎหมาย กฎหมายนานาชาติ ข้อตกลงร่วมระหว่างประเทศ (เช่น สิทธิมนุษยชน สิทธิเด็ก) รวมทั้งมาตรฐานการปฏิบัติที่ดี good practice มาตรฐานอุตสหากรรม หรือหลักจริธรรมในการดำเนินการธุรกิจ

CSR จึงเป็นการมองภาพรวมของ ความรับผิดชอบเหล่านั้น และเคารพต่อหลักปฏิบัติที่ดีที่เป็นระเบียบหรือกฎหมาย ในเรื่องนี้ผมได้ดูเว็บไซต์ของบริษัท Ricoh http://www.ricoh.com/ และเห็นการนำเสนอแผนงานแนวคิด CSR ที่น่าสนใจ และใช้คำพูด แบ่งกลุ่มกิจกรรม CSR ที่ฟังดูเข้าที คือ respect for people เคารพต่อบุคคลอื่น integrity in corporate activities ความถูกต้องของกิจกรรมที่ธุรกิจดำเนินการ harmony with the environment กลมกลืนกับธรรมชาติ harmony with the society กลมกลืนกับสังคม ต้องขอบคุณบริษัท Ricoh ที่เสนอแนวคิดได้ชัดเจน และขออภัยถ้าผมแปลเป็นไทยยังไม่สื่อความหมายดีนัก

ดังนั้น ความรับผิดชอบต่อสังคมมีมิติที่หยั่งลึก ไม่ควรถูกมองว่าเป็นเพียงงานช่วยเหลือสังคมหรือโฆษณาประชาสัมพันธ์ในประเด็น ทางสังคม แต่ควรมองในมิติความรับผิดชอบจริง ๆ

view