สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

บริษัทมะกัน คิดใหม่ ทำใหม่ (1) ยกเครื่องสู่ธุรกิจที่มีความรับผิดชอบ

จากประชาชาติธุรกิจ



แม้ ว่าสหรัฐจะได้รับบทเรียน ครั้งใหญ่จากการล่มสลายของ "เลห์แมน บราเธอร์ส" วิกฤตซับไพรมและการฉ้อโกงแชร์ลูกโซ่ครั้งประวัติศาสตร์ของ "เบอร์นาร์ด เมดอฟฟ์" จนนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่

แต่กระนั้น ชาวอเมริกันก็ไม่ได้ทิ้งแนวคิดการใช้ชีวิตอย่างมีความรับผิดชอบ ดังจะเห็นได้จากการแห่ขายรถรุ่นเก่าที่กินน้ำมัน หันไปซื้อรถรุ่นใหม่ที่ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การอุดหนุนร้านกาแฟที่ทำการค้าอย่างเป็นธรรม และลงทุนในกองทุนที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น

"ไทม์" รายงานว่า ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนได้ทำให้ผู้คนเริ่ม ตาสว่างและเปลี่ยนจากการให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ส่วนตัว มาให้น้ำหนักกับการตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อส่วนรวม ซึ่งเป็นระบบเศรษฐกิจที่ดี

โดยเฉพาะอเมริกาซึ่งเป็นต้นตำรับของนวัต กรรมเพื่อสังคมหลายอย่าง ทั้งเว็บไซต์ สารานุกรมเสรี "วิกิพีเดีย" และเครือข่ายสังคมออนไลน์ "เฟซบุ๊ก" รวมถึงนวัตกรรมเชิงพาณิชย์อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ หลอดไฟ ทีวี ซึ่งทั้งผู้บริโภคและภาคธุรกิจเริ่มปรับวิธีคิดในเรื่องนี้ เพราะชาวอเมริกันเริ่มคิดถึงความหมายของการเป็นพลเมือง ที่ดี ซึ่งไม่ใช่แค่การออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง หากแต่ยังรวมถึงการซื้อสินค้าอย่างมีความรับผิดชอบด้วย

จากการสำรวจ ของไทม์พบว่า ชาวอเมริกันกว่า 6 ใน 10 คน ซื้อสินค้าออร์แกนิกนับจากเดือนมกราคมเป็นต้นมา และอีกจำนวนมากเลือกซื้อหลอดไฟที่ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

ผล การสำรวจของชาวอเมริกันวัยผู้ใหญ่ 1,003 คน พบว่า 82% ระบุว่าพวกเขาสนับสนุนธุรกิจในท้องถิ่นหรือพื้นที่ใกล้เคียง และเกือบ 40% บอกว่าในปีนี้พวกเขาเลือกซื้อสินค้าเพราะชื่นชอบในคุณค่าที่มีต่อสังคมของ สินค้าเหล่านั้น ซึ่งนี่เป็นหลักฐานที่ตอกย้ำถึงการปรับเปลี่ยนกรอบความคิดของผู้บริโภค ชาวอเมริกัน รวมถึงภาคธุรกิจและภาครัฐที่หันมาเอาใจใส่สังคมมากขึ้น

นี่ เป็นแนวคิดใหม่ในสหรัฐ ซึ่งคุ้นเคยกับทฤษฎีของนักเศรษฐศาสตร์ชื่อดัง "มิลตัน ฟรีดแมน" ที่เคยกล่าวไว้ในปี 2513 ว่า ความรับผิดชอบเพียงอย่างเดียวของบริษัท คือการเพิ่มกำไรให้กับผู้ถือหุ้น แต่นับจาก ปี 2538 เป็นต้นมา จำนวนกองทุนรวมที่ลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม (SRI) ซึ่งไม่ลงทุนในธุรกิจบุหรี่ น้ำมัน หรือบริษัทที่ใช้แรงงานเด็กเพิ่มขึ้นจาก 55 แห่ง เป็น 260 แห่ง และขณะนี้กองทุนประเภทนี้บริหารเงินราว 11% ของเงินลงทุนทั้งหมดในตลาดเงินของสหรัฐ ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 2.7 ล้านล้านดอลลาร์

ภาคธุรกิจของสหรัฐเริ่มค้นพบว่า ความรับผิดชอบต่อสังคมกลายเป็นสิ่งดึงดูดเงินลงทุนได้ไม่แพ้ความภักดีของผู้ บริโภค หลายบริษัทจึงเข้าร่วมในวัฏจักรความดี โดยเฉพาะเมื่อกระแสโลกร้อนกลายเป็นโฟกัสใหม่ บริษัทจึงแข่งกัน "สีเขียว" ซึ่งส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม ขณะที่บริษัท หัวก้าวหน้าพูดกันถึง triple bottom line ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องกำไร (profit) โลก (planet) และคน (people) โดยเน้นไปที่การทำธุรกิจควบคู่ไปกับการพัฒนา สิ่งแวดล้อมและบรรยากาศในการทำงาน

ยิ่งมาในยุคของ ประธานาธิบดีบารัก โอบามา ก็เอาจริงกับสินค้าและอุตสาหกรรมสีเขียว และเดินหน้าขาย ไอเดียธุรกิจที่สามารถทำกำไรและยึดหลักการเพื่อสังคมควบคู่กันไป

ทว่า ก่อนหน้าชัยชนะของโอบามาก็เริ่มเห็นเทรนด์ของธุรกิจที่รับผิดชอบสังคมเกิด ขึ้นแล้ว เริ่มจากที่ผู้บริโภคเริ่มใหบทลงโทษแก่บริษัทที่ไม่ใส่ใจเรื่องจริยธรรมทาง ธุรกิจ อย่างเช่นในยุค 1990 บริษัทชื่อดังอย่าง ไนกี้ และ วอล-มาร์ต ก็ถูกต่อว่าต่อขานเกี่ยวกับพฤติกรรมเลือกปฏิบัติและใช้แรงงานอย่างไม่เป็น ธรรม

ขณะที่เร็ว ๆ นี้ผู้คนก็เริ่มกังวลเกี่ยวกับขยะโลหะที่ใช้ผลิตคอมพิวเตอร์ ทำให้บริษัทต้องเริ่มตระหนักถึงเรื่องนี้ก่อนที่ ผู้บริโภคจะบอยคอตสินค้าของตัวเอง

บางบริษัทให้ความสำคัญกับการรับ มือแบบเนิ่น ๆ อย่างในปี 2535 "แก๊ป" แบรนด์เสื้อผ้าวัยรุ่นได้พัฒนาคู่มือสั่งซื้อ วัตถุดิบสำหรับซัพพลายเออร์ และเริ่มใช้แนวปฏิบัติที่ดีกับบริษัทเหล่านี้ในปี 2539 และนับจากปี 2547 แก๊ปก็เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับโรงงานที่ผลิตสินค้าให้ รวมถึงโรงงานที่บริษัทยุติการทำธุรกิจ

ในปีที่แล้ว "เอชพี" เป็นผู้ผลิตคอมพิวเตอร์รายแรกที่นำเรื่องความโปร่งใสมาใช้กับห่วงโซ่การผลิต ของตัวเอง ขณะที่ "ทิมเบอร์แลนด์" เลือกที่จะพรินต์ข้อมูล รายละเอียดในการผลิตรองเท้าไว้บนฉลากเพื่อบอกถึงวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ รวมถึงพลังงานที่ใช้ในการผลิต

view