สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

Systemic Thinking คำตอบของวันนี้ เพื่อการพัฒนาอนาคต

คิด+มอง+ทำ แบบองค์รวม Systemic Thinking ในมุมมองของ "บรูซ แมคเคนซี"

จากประชาชาติธุรกิจ



ใน งานสัมมนาเทศกาลคืนกำไร ครั้งที่ 4 ที่หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจและ บริษัท เอพีเอ็ม กรุ๊ป จำกัด ร่วมกันจัดขึ้นในหัวข้อคิดมองทำกับแนวทางใหม่ เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจและภาครัฐ

นอกจากจะมี "อริญญา เถลิงศรี" กรรมการผู้จัดการ เอพีเอ็มกรุ๊ป และ "อิสระ ยงปิยะกุล" ที่ปรึกษา และวิทยากรอาวุโสเอพีเอ็มกรุ๊ปมาร่วมพูดคุย แปล พร้อมกับแลกเปลี่ยนมุมมองและให้ข้อมูลในเชิงลึกเกี่ยวกับเรื่องคิด+มอง+ทำ แบบองค์รวม

หากภายในงานยังได้รับเกียรติจาก "บรูซ แมคเคนซี" ผู้อำนวยการสถาบันวิจัย Systemic Development Institute (SDI) จากประเทศออสเตรเลีย ทั้งยังเป็นที่ปรึกษาประธานาธิบดีบารัก โอบามา แห่ง ประเทศสหรัฐอเมริกา

ยิ่งเฉพาะในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานการ วางแผน การกำหนดนโยบาย และกระบวนการบริหารของรัฐบาลที่สลับซับซ้อน ทั้งภายในและภายนอกสหรัฐอเมริกา โดยผ่านวิธีคิดแบบองค์รวม (systemic thinking) เพื่อให้การแก้ปัญหานั้นสามารถครอบคลุมทุกหน่วยงานของภาครัฐ และก่อให้เกิดความยั่งยืนของรัฐบาล

ที่สำคัญ ในช่วงผ่านมา "บรูซ แมคเคนซี" ได้พิสูจน์ให้ทีมที่ปรึกษาประธานาธิบดีบารัก โอบามา สมัยที่ยัง หาเสียงเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ต่อเรื่องวิธีคิดแบบองค์รวม (systemic thinking) ในการแก้ปัญหาเรื่องการขาดแคลนน้ำให้กับมลรัฐแคลิฟอร์เนียจนเป็นที่ประจักษ์ ชัดว่า วิธีคิดแบบองค์รวม หรือ systemic thinking นั้นน่าจะเป็นหนทางใหม่ หรือวิธีคิดใหม่อันน่าจะนำไปสู่หนทางการแก้ปัญหาที่สลับซับซ้อนได้

ผล เช่นนี้เอง จึงทำให้วิธีคิดแบบองค์รวม หรือ systemic thinking รวมถึงชื่อของ "บรูซ แมคเคนซี" จึงกลายเป็นที่สนใจขึ้นมา และไม่เฉพาะกับประธานาธิบดีบารัก โอบามาเท่านั้น หากในแวดวงวิชาการ แวดวงนักธุรกิจ รวมถึงองค์กรภาครัฐและเอกชนในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลกก็ต่างให้ความสนใจต่อเรื่องนี้

ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทยเอง !

ฉะนั้น ในคำถามและคำตอบที่เกิดขึ้นนับจากนี้จึงต่างเป็นคำถามและคำตอบที่ไม่เพียงทำ ให้หลายคนประจักษ์ชัด หากยังทำให้หลายคนที่ฝ่ามรสุมพายุกิสนาจนมาอยู่ร่วมกัน ณ อาคารข่าวสด กว่า 300 คน ของเช้าวันที่ 1 ตุลาคม 2552 พลอยประจักษ์ชัดด้วยว่า วิธีคิดแบบองค์รวม หรือ systemic thinking นั้นน่าสนใจจริง ๆ

ไม่เชื่อ จงติดตามโดยพลัน !

โดย เบื้องต้น "อิสระ" ขอให้ "บรูซ แมคเคนซี" ช่วยเล่าให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาเข้าใจก่อนว่า systemic thinking คืออะไร ? และมีหลักการอะไรบ้าง ?

บรูซ แมคเคนซี - จึงตอบว่า systemic thinking เป็นวิธีคิด เพื่อไปจัดการกับเรื่องที่สลับซับซ้อน ประกอบด้วยหลักการ 7 ข้อ คือหนึ่ง holism อันหมายถึงมองเป็นองค์รวม เพราะภาพรวมมีความหมายมากกว่าแค่การรวมกันขององค์ประกอบย่อย

สอง relationship คือการมองแต่ละเรื่องให้มีการปฎิสัมพันธ์กัน ฉะนั้น เวลาพูดถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จึงมีปฏิสัมพันธ์กันเป็นองค์รวม และเริ่มที่จะเห็นหลาย ๆ เรื่องในเวลาเดียวกัน

สาม diversity คือต้องมีความหลากหลายและแตกต่าง เช่น ถ้าคนใดคนหนึ่งบอกว่าจะคิด systemic และคิด คนเดียว อย่างนี้ทำไม่ได้ ต้องอาศัยความแตกต่างหลากหลายจากคนมากมาย และนี่เป็นอีกหลักการหนึ่งของ systemic

สี่ continuous improvement คือสิ่งที่ต้องฝึกฝน ซึ่งเวลาที่เราเผชิญปัญหา เราต้องหาทางแก้ปัญหา ต้องหาคำตอบ หรือที่เรียกว่า solution เราต้องหาคำตอบให้ได้ แต่ในโลกของความสลับซับซ้อน ก็ต้องยอมรับว่า มันไม่มีคำตอบ ทำให้เรามีความคิด ที่จะปรับปรุงคำตอบของเราอยู่ตลอดเวลา

คำ ตอบแรกอาจคิดปรับปรุงหาคำตอบที่สอง เพราะสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เนื่องจากมีองค์ประกอบหลายอย่าง ไม่นิ่ง ตัวแปรก็มีหลายอย่าง และยังมี ปฏิสัมพันธ์กัน มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ฉะนั้นคำตอบที่เราคิดขึ้นมานั้นอาจไม่ใช่คำตอบอีกต่อไป

ห้า rich picture คือปกติเวลาที่เราเก็บข้อมูลเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพื่อแก้ปัญหา เราจะเก็บข้อมูลแบบแยกส่วน เช่น บัญชี หรือ ฝ่ายขาย ดังนั้น ถ้าผมยกตัวอย่างว่า ถ้าเราพูดถึงการส่งลูกไปโรงเรียน เราจะเก็บข้อมูลโรงเรียนแบบแยกส่วน ระบบการศึกษาก็ส่วนหนึ่ง, ที่ตั้งก็ส่วนหนึ่ง แต่ rich picture ต้องเอาทุกส่วนมาคิดรวมกัน

หก multiperspective คือการมองจากหลายมุมในเวลาเดียวกัน ยกตัวอย่างจากที่เราคุยกันถึงข้อ 3 เรื่องความหลากหลาย และข้อ 5 เรื่อง rich picture ดังนั้น เมื่อมาประกอบกันจะได้ว่า การมีคนหลากหลายมานั่งอยู่รวมกันไม่ได้หมายความว่าเราจะได้ rich picture ตรงจุดนี้คือเราต้องฟังกัน และเห็นมุมมองที่แตกต่าง และสำหรับ systemic ทำไมต้องฟัง เพราะเราเชื่อว่าทุกคนเท่าเทียมกัน เพราะเราไม่รู้ว่าใครมีคุณค่ามากสุด ทุกคนมีข้อมูลบางอย่าง และทุกคนก็มีบางอย่างที่นำไปใช้ได้ เราไม่รู้จนกว่าจะเห็นทั้งหมดว่าข้อมูลจากคนไหนทำให้เราเข้าใจมากยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้น ความคิดคนจึงมีค่าเท่าเทียมกัน

เจ็ด resilience and innovation คือคงความยืดหยุ่นและสร้างนวัตกรรมที่ตรงความต้องการที่แท้จริง โดยผมเล่าให้ฟังอย่างนี้ systemic มีประโยชน์สำหรับอนาคต แต่คำถามก็เกิดขึ้นว่า ทำไมประธานาธิบดีบารัก โอบามา จึงสนใจ systemic thinking

คำตอบ เพราะเขาไม่ได้เป็นประธานาธิบดีที่บริหารแต่อดีต แต่เขาเป็นประธานาธิบดีที่บริหารอนาคต และอนาคตก็ต่างเต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลง พอมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น สองอย่างที่เขาใช้คือ resilience ความยืดหยุ่นต่อแรงกระทบข้างหน้า และ innovation คือสามารถพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ ที่จะอยู่ในอนาคตใหม่ได้

ถึงตรงนี้ "อิสระ" จึงขอให้ "บรูซ แมคเคนซี" ช่วยยกตัวอย่างการทำ systemic thinking ให้ฟังเพิ่มเติม ?

บรู ซ แมคเคนซี บอกว่า ตัวผมนั้นสอน Green MBA ในต่างประเทศด้วย และได้ส่งคำถามไปถามลูกศิษย์จาก 4 ประเทศ ถามว่า ถ้าเราจะยกตัวอย่าง systemic ในชีวิตประจำวัน โดยไม่มีธุรกิจ จะมีอะไรบ้าง

ลูกศิษย์คน หนึ่งเป็น marketing ให้กับเหล้ายี่ห้อหนึ่ง ขายในประเทศอิสลาม คำถามจึงเกิดขึ้นว่า เขาจะขายเหล้าอย่างไร ? โดยจะต้องขายให้ได้ด้วย แถมไม่กระทบกับความเชื่อทางศาสนาของประเทศนั้น

อีกตัวอย่าง หมู่เกาะเล็ก ๆ แห่งหนึ่งในแปซิฟิก นิยมสร้างบ้านในทะเล และ น้ำทะเลก็สูงขึ้นทุก ๆ ปี คำถาม คือจะสร้างบ้านใหม่ และจะย้ายเขาไปไหน ? ฟังดูไม่ยากไม่ง่าย แต่ต้องใช้ systemic

เช่นเดียวกัน สินค้าเกษตรที่ขาดแคลนน้ำ คำถาม คือจะทำอย่างไร เปลี่ยนพืชผลหรือ หรือจะย้ายถิ่นฐาน หรือจะทำอย่างไรดี ซึ่งคำตอบมันยากมาก แต่ที่สุด เราก็ต้องคิดแบบ systemic

ขณะที่ในสหรัฐอเมริกา รัฐบาลให้งบประมาณจำนวนมาก และต้องใช้เงินทั้งหมดใน 6 เดือนข้างหน้า และต้องสร้างให้เกิด green economy ฟังดูไม่ยาก เรื่องการใช้เงิน แต่ว่า ถ้ามีงบประมาณขนาดนี้ คงมีคนเสนอ project เยอะมาก คำถาม แล้วจะตัดสินใจอย่างไร มันจึงเป็นเรื่องที่สลับซับซ้อนขึ้นมา ซึ่งฟังดู อาจนามธรรมไปหน่อย

"อิสระ" จึงขอให้ "บรูซ แมคเคนซี" ช่วยอธิบายต่อว่า แล้ว systemic จะมาช่วย link กับโลกธุรกิจอย่างไร ?

บรู ซ แมคเคนซี จึงบอกว่า มีหน่วยงานรัฐแห่งหนึ่งในออสเตรเลีย ผอ.ทั้งสองจะจอดรถใกล้ ๆ กัน และใช้เวลา 5-6 นาที เดินไป office ของตัวเอง และระหว่างทางจะมีการคุยกันไปเรื่อย ๆ ว่าเป็นอย่างไรบ้าง ทำอะไรอยู่ อยู่มาวันหนึ่ง มีคนบ่นว่า พวกที่ขับรถเก่า มักไม่ให้เกียรติคนขับรถใหม่ เพราะมักจะมาเฉี่ยวชน มาขูดขีด

จึงมีการออกนโยบายว่า ให้รถเก่ามาจอดฝั่งหนึ่ง และรถใหม่อีกฝั่งหนึ่ง ต่อมาเกิดปัญหาที่ทำงาน นั่นก็คือการประสานงานในฝ่ายต่าง ๆ นั้นวุ่นวาย ซึ่งทางการก็เชิญผมเข้าไป พอผมเข้าไปก็พบว่า ผอ.ทั้งสอง ปกติจะคุยกันแบบไม่เป็นทางการ แต่มีประโยชน์สูง เพราะว่าต่างคนต่างรู้ว่ากำลังทำอะไรอยู่ ก็เลยทำให้ลูกน้องเข้าใจและประสานงานได้ดีขึ้น

แต่พอแยกกันจอดรถ ผอ.ท่านหนึ่งใช้ รถเก่า และอีกท่านใช้รถใหม่ จึงทำให้ไม่คุยกัน และ 6 นาทีที่หายไป จึงเป็นที่มาของการประสานงานที่แย่ลง นี่จึงเรียกว่าผลกระทบที่ไม่ตั้งใจ

systemic จะให้ความสำคัญกับคำว่าเท่าเทียมกัน แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกคนได้พูดก็จบ ซึ่งตรงนี้เราเอา conversation map หรือการคุยกันบนกระดาษ ซึ่งเป็นเครื่องมือหนึ่งของ systemic thinking หรือการให้ทุกคนที่เชิญมามีส่วนร่วม ความหมายก็คือต้องมาจากมุมมองของผู้ร่วมพูดคุยและร่วมรับรู้ถึงความรู้สึก

ซึ่ง ไม่เพียงจะทำให้เกิดมุมมองที่แตกต่าง ความคิดที่แตกต่าง ทั้งยังจะต้องทำให้ความแตกต่างที่ร่วมพูดคุยนั้นสามารถนำไปปรับใช้ได้จริง ๆ

พร้อม กันนั้น "บรูซ แมคเคนซี" ยังยกตัวอย่างการทำ conversation map หรือการคุยกันบนกระดาษให้ฟังเพิ่มเติมว่า เราชวนพนักงานมามีส่วนร่วม ซึ่งเชิญพนักงานจากทุกส่วนมาร่วมให้ความคิดเห็น ซึ่งไม่ว่าจะทำงานอะไร ก็มีสิทธิเสนอความคิดเห็นได้

มีข้อแม้ว่า ก่อนอื่น เราต้องฟังเขาก่อน แล้วเขียนลงไปบนกระดาษ เพราะนอกจากจะทำให้เขารู้สึกว่าเราเชิญพนักงานมา และตัวพนักงานเองก็รู้สึกว่าเขาสามารถออกความคิดเห็นได้ และทุกคนต้องอ่านของทุกคน จนทำให้สัมผัสได้ว่า สิ่งที่เขียนลงไปมีคนอ่าน และหลายคนในห้องต้องอ่านด้วย

จากนั้นหลาย ๆ คนก็เริ่มเกิดไอเดียขึ้นว่า จะต้องเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ ตอนจบ ทุกคนในห้องจึงต่างรู้สึกว่าเขามีส่วนร่วม เพราะความคิดนั้นไม่ได้มาจากผู้นำเพียงคนเดียว แต่มาจากความคิดของทุก ๆ คน

ผลตรงนี้ จึงทำให้ "อิสระ" ถามต่อว่า แล้ว systemic thinking จะสามารถนำไปใช้กับ change management ได้หรือไม่ ?

บรู ซ แมคเคนซี จึงตอบว่า ทุกคนรู้ดีว่า การเปลี่ยนแปลงมันยาก หลายคนที่มาร่วม อาจคิดว่าอยากมีส่วนร่วม แต่ไม่อยากเปลี่ยน และเราไม่รู้ว่าทำไมเราถึงต้องเปลี่ยน หรือเราถูกสั่งให้เปลี่ยนอย่างเดียว แต่ systemic เหมาะสำหรับกับการเปลี่ยนแปลง โดยผ่านทุก ๆ คนที่อยู่ในองค์กร

เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว "อิสระ" จึงถามต่อว่า ถ้าไม่ใช่ systemic จะสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ได้หรือไม่ ?

บรู ซ แมคเคนซี จึงตอบว่า...ได้ เพราะจะมีคนบางคนมีความสามารถพิเศษที่มองเห็นบางสิ่งบางอย่างแล้วคิดออกมา เป็น สิ่งใหม่และสร้างขึ้นมา เขาอาจไม่ต้องใช้ systemic ก็ได้ แต่เวลาเราพูดถึง systemic เราหมายถึงว่าการสร้างจากคนหลาย ๆ คน จะมีความหมายยิ่งใหญ่มากกว่าการสร้างจากคนคนเดียว

ผมขอยกตัวอย่าง ให้ฟังว่า เพื่อน ๆ ที่เป็นพวก creative เขาจะมาเล่าให้ฟังว่า จริง ๆ แล้ว คนพวกนี้จะได้ idea จากการไปพบปะสังสรรค์กับพวก creative ด้วยกันเอง ไม่ได้มาจากตนเองคิดคนเดียว แต่เขาไปต่อยอดจากสิ่งที่เขาได้ยินและได้ฟังมา

ถ้าอย่างนั้น ขอถามคำถามสุดท้าย เราจะสร้าง systemic thinking ให้กับคนของเราได้อย่างไร ?

บรู ซ แมคเคนซี จึงตอบว่า ก่อนอื่นต้องพูดให้ชัดก่อนว่า ไม่ใช่ว่า systematic thinking ไม่ดี แต่วันนี้มาเสนอมุมมองใหม่ว่า เอา systemic มาเสริมสิ่งที่ทุกคนมีอยู่แล้ว เพื่อเอามาใช้ เพื่อนำมาต่อสู้กับความสลับซับซ้อนในปัจจุบัน

ฉะนั้น systemic thinking จึงไม่ใช่ว่าจะใช้ได้กับทุก ๆ เรื่อง แต่จะใช้ได้กับบางเรื่องมากกว่า ยิ่งเฉพาะกับเรื่องที่สลับซับซ้อนและหาคำตอบไม่ได้ systemic thinking จะเข้ามาช่วยตรงนี้จนเกิดเป็นความคิดแบบองค์รวมและเกิดความคิดที่แปลกใหม่ ขึ้นมา

และนี่คือ systemic thinking
Systemic Thinking คำตอบของวันนี้ เพื่อการพัฒนาอนาคต

จากประชาชาติธุรกิจ


เหตุผล เพราะเรื่อง ความคิดแบบองค์รวม หรือ systemic thinking ถูกรับรู้ครั้งแรก ในเมืองไทยโดยผ่าน "อริญญา เถลิงศรี" กรรมการผู้จัดการบริษัท เอพีเอ็ม กรุ๊ป

ดังนั้น ทางเดียวที่จะทำให้เรื่องของ systemic thinking ถูกรับรู้และเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ "อริญญา" มามองภาพของเชิงลึกว่า systemic จริง ๆ แล้วแตกต่างจาก systematic อย่างไร ? และ systemic thinking นั้นจะนำมาปรับใช้กับองค์กรภาครัฐและเอกชนได้อย่างไรบ้าง

ซึ่งเบื้อง ต้น "อริญญา" อธิบายให้ฟังว่า systematic กับ systemic ในหลาย ๆ ครั้ง เราเองก็ไม่แน่ใจว่า จะหมายความว่าอย่างไร ในเรื่อง ของ systemic thinking หรือ systematic thinking หลาย ๆ ครั้งเวลาเราไปเจอลูกค้าหลาย ๆ รายก็เกิดความสับสน

จนอยากให้ลองมองย้อนมาใกล้ตัวสักนิดหนึ่งว่า จริง ๆ แล้วไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานไหนก็ตาม จะไม่พูดถึงคำว่านวัตกรรม นั่นคือเหตุผลที่ดิฉันเริ่มมองหา concept ตรงนี้ ว่าจะมีวิธีคิดแบบไหนบ้างที่จะทำให้เกิดนวัตกรรมแบบใหม่ ๆ

เพราะว่า ถ้าถามเกี่ยวกับ strategic thinking เชื่อว่าหลาย ๆ ท่านคงคิดเชิง กลยุทธ์อยู่แล้ว แต่เรื่องของ innovation เป็นเรื่องใหญ่มาก ต้องเริ่มมองอะไรที่ แตกต่าง มันอาจจะไม่เกิด innovation ได้ ถ้าเราไม่เริ่มจากการปรับวิธีคิด

ซึ่งต้องเริ่มจากความสงสัยก่อน เหมือนกับที่บรูซ แมคเคนซี พูดถึง หรือเมื่อเราเดินเข้าไปในองค์กรเราเคยสงสัยหรือไม่ว่า รูปแบบการขายแบบนี้ คู่ค้าของเราคิดยังไง ? ลูกค้าคิดอย่างไร ? พนักงานของเราคิดอย่างไร ?

หรือคนรอบด้านคิดอย่างไร ?

เพราะ เรามองแค่ว่า มันเป็น process การขายอยู่แล้วจึงเป็นอย่างนี้ ประเด็นที่ว่ามันเริ่มจากความสงสัยและหาประเด็นข้อมูลที่ไม่ได้มาจากตนเอง และเวลาหาข้อมูลจะต้องมองภาพรวมให้ได้ อย่าแยก เช่น เรื่องขาย เกี่ยวกับลูกค้าเท่านั้น หรือแค่ทำอย่างไรก็ได้เพื่อให้ได้กำไร คงไม่ใช่แค่ เรื่องเดียว

บรูซ แมคเคนซี ย้ำว่าต้องมองภาพใหญ่ องค์รวม และต้องหาให้ได้ว่าเรื่องอะไรมันเกี่ยวข้องกับอะไร เวลาที่เราพูดว่า อยากได้นวัตกรรมใหม่ ๆ ถ้าเราคิดเป็นเส้นตรง เราจะคิดเป็นทางออกทางเดียว หรือข้อสรุปทางเดียว

อีกประเด็นหนึ่ง คือ ตั้งแต่ดิฉันเข้ามาทำงาน เรื่อง systemic กับบรูซ แมคเคนซี คือเรื่องของการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง วันนี้เราได้คำตอบหนึ่งสำหรับองค์กรมันไม่ใช่ คำตอบที่ดีที่สุดแต่มันใช่สำหรับวันนี้ แต่พรุ่งนี้มันอาจจะเป็นคำตอบอื่น

เพราะ วันนี้เราพูดอย่างหนึ่งกับคนในองค์กร แต่อีก 5 วัน 8 วัน มันอาจไม่ใช่แล้ว อย่างถ้าวัฒนธรรมองค์กรของท่าน ทันทีที่มีคนใหม่เข้ามา หรือมีคนออกไป หรือลูกค้าเปลี่ยนไป วิธีสร้างวัฒนธรรมตรงนั้นอาจจะไม่ใช่แล้ว

ถ้า งั้นคำว่า improve ที่จะเอามา เชื่อมโยงกันกับคำว่า innovation จึงน่าจะเป็นในเชิงของการคิดแบบ systemic ที่คำตอบ วันนี้ใช้สำหรับวันนี้ กลยุทธ์วันนี้ใช้สำหรับวันนี้ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นคำตอบสุดท้ายเสมอไป

สำคัญไปกว่านั้น "อริญญา" ยังอธิบายเพิ่มเติมว่า ไม่ใช่ว่าทุกวิธีคิดจะต้องใช้ systemic คิดตลอด และคงไม่ใช่ไม่เป็น คำตอบที่ดีที่สุด เพราะถ้าเราจะใช้ systemic thinking เราต้องดูว่า สถานการณ์นั้น ๆ หรือโจทย์ซับซ้อนหรือเปล่า เรื่องมันสลับซับซ้อนจริงหรือไม่ เช่น การสร้าง middle management ขององค์กรในเมืองไทย เป็นเรื่องที่ต้องใช้ systemic thinking หรือเปล่า ซึ่งเรามองว่าการสร้างผู้บริหารในองค์กร หรือการหา successor หรือการหาผู้สืบทอดตำแหน่ง จะต้องใช้ systemic หรือไม่ ?

หรือไป เปิดหนังสือแล้วดูว่าองค์กร ใหญ่ ๆ เขาทำกันอย่างไร แล้วเราก็ลอกแบบแผนมาใช้กับองค์กรเราได้เลยหรือเปล่า ? นั่นคือสิ่งที่น่ากลัว ถ้าอะไรที่สลับซับซ้อน เราอาจจะต้องมานั่งมองว่าวันนี้ในองค์กรของเรา เราใช้อะไรที่เป็นขั้นเป็นตอนที่สำเร็จมาแก้สถานการณ์ที่สลับซับซ้อนเลยหรือ เปล่า

ถ้าอะไรที่ง่าย ๆ ไม่ซับซ้อนก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าอะไรที่สลับซับซ้อน ไม่ง่ายเราอาจจะต้องมองลึกกว่านั้น อย่างในเมืองไทยเอง ถ้าเราบอกว่าจะปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร เป็นเรื่องที่ใหญ่ เพราะเกี่ยวข้องกับคนเยอะ และระบบอีกมากมาย หรือเกี่ยวกับลูกค้า ทั้งคนเก่าและคนใหม่

บางครั้งดิฉันไปพบลูกค้า มักจะได้รับ คำถามว่ามีอะไรง่าย ๆ หรือไม่ที่ดึงมาใช้ได้เลย แต่ best practice ใช้กับสถานการณ์ที่สลับซับซ้อนไม่ได้ ดังนั้น ย้อนกลับไปในส่วนข้อเรื่อง continuous improvement ที่บรูซ แมคเคนซีพูด best practice อาจจะเหมาะกับองค์กรหนึ่งในช่วงเวลาหนึ่ง แต่พอมาอีกองค์กรหนึ่งอาจไม่เหมาะ และไม่ใช่ ดังนั้น เราต้องกล้ายอมรับว่าเราไม่ได้รู้ทุกเรื่อง

ผลเช่นนี้จึงทำให้ "อริญญา" สรุปความคิดของ "บรูซ แมคเคนซี" ต่อเรื่อง systemic thinking ว่าไม่ได้อยู่ดี ๆ ความคิดจะออกมาจากความคิดคนใดคนหนึ่ง แต่จะต้องมีในเรื่องของขั้นตอน วิธีการที่จะทำให้ออกมาด้วย

เพราะ ในมุมมองของผู้นำจะต้องมานั่งคิดก่อนว่าเราจะต้องเป็นอย่างไร ? แน่นอนว่าเราต้องเริ่มจากการคิดก่อนว่า การไม่มีคำตอบ หรือยังไม่รู้ว่าจะตอบว่าอย่างไรเป็นเรื่องที่ยังไม่แน่ใจ และพร้อมที่จะเปิดใจ ดูว่าการที่ได้ข้อมูลหลากหลายจะได้ข้อมูลเป็นอย่างไร

ยก ตัวอย่างการทำ strategic planning เริ่มต้นจากการที่ไม่มีคำตอบที่แน่ชัด และไม่แน่ใจว่าทิศทางที่ทำไปจะใช่หรือเปล่า จุดหนึ่งที่สำคัญมาก ๆ เลยคือ ข้อมูลจาก conversation map เพราะทำให้ประหลาดใจ ว่าผลลัพธ์จากการทำตรงนั้นเป็นอะไรที่ไม่เคยคิดมาก่อน ทำให้แตกต่างได้

แต่ ก่อน การทำ strategic planning อาจจะมีแต่ผู้บริหาร แต่ systemic ต้องมั่นใจว่า ผู้นำเปิดใจให้ทุกคนมีส่วนร่วมหรือเปล่า พูดเหมือนเรื่องง่ายแต่จริง ๆ เป็นเรื่องยาก ที่จะทำให้ทุกคนแสดงความคิดเห็น และตรงนั้นก็เอามาย่อย มานั่งอ่าน ให้ทุกคนได้เขียนได้คิด

เพราะในความเป็นจริง ผู้นำขององค์กรอยากได้อะไรใหม่ ๆ และอยากที่จะเปลี่ยนแปลงองค์กรให้ได้ แต่ systemic thinking บอกว่าอย่าเพิ่งรีบกระโดดไปตอบว่า คำตอบคืออะไร แต่เป็นการเริ่มที่จะให้คนทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วมจริง ๆ ดังนั้น conversation map จึงเป็นเพียงวิธีการหนึ่ง ที่คนทุกคนเขียน และเราจะได้ข้อมูลของคนทุกคนจริง ๆ และได้อ่านจากคนทุกคนจริง ๆ และเราก็ยอมรับในความแตกต่าง และสุดท้ายข้อมูลใน conversation map ก็จะออกมาเป็น rich picture อย่างที่บรูซ แมคเคนซีอธิบาย

ฉะนั้น ถ้าจะให้ตอบว่าคำตอบไหนดีที่สุด "อริญญา" จึงอธิบายเพิ่มเติมว่าจริง ๆ แล้วทุกคนต่างมีคำตอบที่คิดว่าตัวเองมีคำตอบดีที่สุด แต่ในความเป็นจริง เราต้องถามตัวเองก่อนว่า เรากล้าท้าทายตัวเองหรือไม่ว่าเราไม่มีคำตอบสำหรับทุกเรื่อง

systemic จึงเข้ามาเพื่อให้เรารู้ว่าไม่ใช่เรามีคำตอบอยู่แล้วทั้งหมด ยกตัวอย่างต้มยำ ทำไมบางร้านทำต้มยำรสชาติดีมากเลย แต่ทำไมบางร้านถึงแตกต่าง หรือบางร้านก๋วยเตี๋ยวมีชื่อ หรือพิซซ่าบางร้านทำไมแตกต่าง ทำไมสปาเกตตีถึงมีบางร้านเอามาผัดกับปลาเค็ม เพราะนี่คือนวัตกรรมที่กล้าคิด กล้ามองอย่างแตกต่าง

ตรงนี้ไม่ใช่ทุก คนจะมี creativity มา ตั้งแต่เกิด เราต้องยอมรับ เราจะให้ทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์คงยาก แต่ประโยชน์จริง ๆ ของ systemic คือ เราไม่มีคำตอบเดียว แต่เราจะเอามาจากหลาย ๆ มุมมอง และคำตอบที่ได้จะออกมาจากหลายมุมมองนั้น

ฉะนั้น systemic จึงหมายความว่า แม้เราจะได้คำตอบมาแล้ว แต่ก็ไม่ได้หมาย ความว่า วันข้างหน้าจะยังดีที่สุดหรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น เราทำต้มยำอร่อยที่สุดใน วันนี้ แต่ไม่ได้หมายความว่าอีก 1-2 ปีข้างหน้าจะไม่มีคนทำต้มยำอร่อยกว่าเรา คำตอบตรงนี้จึงเป็นช่วง ๆ หนึ่งขององค์กรอาจต้องการคำตอบแบบนี้ แต่หลังจากนั้นอาจนำมาต่อยอดได้

ผล เช่นนี้ จึงทำให้เราต้องถามตัวเองเสมอว่า ทุกวันนี้องค์กรของเรามีคนที่มี creative เยอะหรือไม่ แล้วประเด็นที่สำคัญคือ เมื่อมีจำนวนเยอะแล้ว แข่งขันกันพอหรือเปล่า ที่พูดอย่างนี้เพราะไม่ใช่ว่าเราจะต้องใช้ systemic thinking เพื่อให้ได้นวัตกรรมใหม่ ๆ

แต่ถ้าเรามีคนที่ creative มากพอในองค์กร และองค์กรสามารถแข่งขันได้ และอยากสร้างให้เป็น innovative culture คือเอาหลาย ๆ ไอเดียหลาย ๆ ความคิดมารวมกันและต่อยอด จนทำให้เกิดเรื่องใหม่ออกมา ซึ่งต่างกับการคิดสร้างสรรค์เฉพาะบุคคล

แต่ ในมุมตรงข้าม ก็มีหลาย ๆ องค์กรที่ผู้บริหารมักบ่นเสมอว่าไม่ค่อยมีคนช่วยคิด นั่นแสดงให้เห็นว่าในองค์กรจริง ๆ แล้วมีคนที่ creative จริง ๆ ไม่กี่คน ดังนั้น ถ้าถามว่าถ้าเราจะให้เขาคิดอะไรใหม่ ๆ ออกมา จากสิ่งที่มีอยู่เพียงแค่นั้น เราก็ต้องถามตัวเองก่อนว่า เราต้องการคน creative จริง ๆ หรือเปล่า

ผลตรงนี้ จึงเป็นข้อสรุปว่า systemic ไม่จำเป็นจะต้องใช้กับทุก ๆ กรณี แต่เราต้องถามก่อนว่าวันนี้เรา ในชีวิตของเรามีเรื่องอะไรบ้างที่เราคิดว่ามีคำตอบที่ดีที่สุด แล้วยังมีเรื่องต้องให้แก้อยู่ทุกวัน ๆ หรือไม่

หรือแม้แต่ว่า ความคิดบางอย่างที่เราคิดว่าดีอยู่แล้ว แต่กลับมีคู่แข่ง สามารถทำให้ดีกว่า แตกต่างกว่า อยากให้เริ่มมองว่า systemic thinking จึงเริ่มจากตัวเองก่อน ว่าเราเข้าใจ และเห็นภาพทั้งหมดหรือยัง ถ้ายังเราจะต้องถามและหาวิธีที่จะทำให้ ชัดได้

ที่สำคัญคือ จะต้องเปลี่ยนวิธีของตนเองเพื่อทำให้หาข้อมูลให้ชัด และควรเปลี่ยนวิธีหาข้อมูลใหม่ ที่สุดจะพบว่าเรามีคำตอบที่คาดไม่ถึง เพราะครั้งหนึ่งดิฉันเคยอยู่ในช่วงที่ใช้ best practice แล้วพบว่า ทำไมเรื่องหนึ่งทำกับองค์กร A แล้วไปทำกับ B ไม่ได้ นี่คือจุดที่คาใจและเป็นสาเหตุว่า ทุกอย่างไม่มีคำตอบทุกเรื่อง เราต้องหาวิธีการ หาข้อมูล รับฟัง และรวมกัน จนเป็นคำตอบที่ดีที่สุด

ซึ่งนั่นก็คือ systemic thinking นั่นเอง
ในบางคำถามจากเวทีสัมมนา ?

จากประชาชาติธุรกิจ



เนื่องเพราะคำถามมีความหลากหลาย ไม่สามารถลงได้ทั้งหมด จึงขออนุญาติมาตอบรวมในที่เดียวกันนี้

คำ ถาม - การระดมสมอง (brain storming) เพื่อหาไอเดียใหม่ๆ ต่างจากการระดมความคิดเห็นเชิง systemic เพื่อหาแนวคิดใหม่ (emergence) อย่างไร ? แล้วสุดท้ายเราจะเลือกคำตอบอย่างไร ?

บรูซ แมคเคนซี - ต่างกันหลายด้านครับ สมมติว่าเราระดมสมองตามหลักการที่ถูกต้อง กล่าวคือ ทุกคนมีส่วนร่วม ใครจะเสนอไอเดียอะไรก็ได้ ไม่มีผิดถูก มุ่งผลิต ไอเดียให้มากๆ หลากหลาย จนกระทั่งเราเจอไอเดียที่ดีที่สุด เพื่อให้ได้ประสิทธิผลดี

ส่วนกิจกรรมการระดมความคิดเชิง systemic นั้น ดูคล้ายกันจากภายนอก ประเด็นที่ต่างกัน คือ กระบวนคิด (thought process) ที่เรามองไม่เห็นแต่ตั้งใจ ออกแบบให้เกิดขึ้น (systemic practice)

สรุป การคิดเชิง systemic เป็นอีกมิติหนึ่งในการคิดแก้ปัญหาและตัดสินใจ ไม่ได้ทดแทนการคิดมิติอื่นๆ ที่มีอยู่แล้ว เช่น การคิดสร้างสรรค์ การคิดวิเคราะห์ การคิดเชิง systemic เหมาะกับการแก้ปัญหาหรือสถานการณ์ซับซ้อน คลุมเครือ จนทำให้เรามักคิดไม่ออก บัดนี้เรามีวิธีคิดต่อสู้แล้ว

คำถาม - systemic เอาไปใช้ประโยชน์อะไรกับองค์กร ?

บรู ซ แมคเคนซี - เกี่ยวกับด้านผลกำไร ถ้าเราใช้ systemic เราจะลงทุนกับการคิดมากเพื่อให้เผชิญกับความเสี่ยงที่น้อยลง ถูกกระทบน้อยลงจากสิ่งที่ไม่คาดฝัน เป็นการลดความเสี่ยงในทางปฏิบัติ ผลกระทบที่ไม่ได้ตั้งใจซึ่งอาจจะทำให้กำไรนั้นหายไป อีกด้านหนึ่งคือการทำอะไรก็ตาม เราคิดว่าแก้ปัญหาหมดแล้ว แต่มันยังกลับมาอีก การกลับมาอีก การตอบ สนองคือ เราอาจจะแก้ตัวว่า เพราะอย่างงั้น เพราะอย่างนี้ ก็แก้ตัวเป็นเรื่อง ๆ แล้วปัญหาก็เกิดขึ้นอีก เช่น การประกันราคาพืชผล บอกว่ามีวิธีจะแก้ แต่พอมีเรื่องอื่น ๆ เข้ามาอีกก็บอกว่าแก้ไม่ได้เพราะอย่างนี้อย่างนั้น แล้วปัญหาใหม่ ๆ ก็เกิดขึ้นอีก แก้ไปเรื่อย ๆ เพราะเมื่อมีปัญหาใหม่ แต่จริงๆ เป็นปัญหาเดิมที่ย้อนกลับมา systemic ต้องยอมรับแต่ต้นว่าปัญหานี้เราไม่รู้ และยอมรับว่าเรารู้วิธีแก้ไม่หมด บางครั้งเราคิดเหมือนคนที่รู้ทั้งหมดปัญหาเลยไม่ได้แก้

คำถาม-ใน ส่วนของ multiperspective หลายๆ ครั้งคนที่เข้ามาให้ข้อมูล มักให้ ข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องกับส่วนที่กำลังคุยกันอยู่ ถือว่าเป็น multiperspective หรือไม่ ?

บรูซ แมคเคนซี - ต้องย้อนกลับไปถามก่อนว่า คำว่าไม่เกี่ยวข้องใครตัดสิน ถ้าคุณตัดสินว่าไม่เกี่ยวข้อง แต่คุณถามคนที่แสดงความคิดเห็น เขาบอกว่าเกี่ยวข้องเพราะเขาเข้าใจ keyword ว่าเป็นแบบนี้ จึงเสนอความคิดเห็นออกมา ถ้าคนเสนอบอกเกี่ยวข้อง คนฟังบอกไม่เกี่ยวข้อง อันนี้เป็นหลักการ ของ brainstorm คนตัดสินคือคนฟัง และถ้าเราพูดถึงการ brainstorm เพื่อหาคำตอบที่ดีที่สุด จะเกิดการเลือกขึ้นมาว่าคำตอบของใครดีที่สุด

ถ้าเป็น systemic จะไม่ใช่แบบนี้ เพราะเริ่มต้นจากการยอมรับว่าไม่มีคำตอบ เวลาคุยกันทุกสิ่งทุกอย่างจะผสมผสานเข้าไป เกี่ยวไม่เกี่ยวก็จะผสมไปจนกระทั่งเกิดสิ่งที่จะมาจากหลายๆ สิ่งหลายๆ อย่าง เช่น การกินอาหาร อาหารเดียวกัน 2 ร้านไม่เหมือนกัน เพราะการผสมผสานที่แตกต่าง ที่ใส่สิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปในตอนแรก แต่ตอนหลังเมื่อมีคนชอบมันจึงเกี่ยวข้องกันไปโดยปริยาย เพราะฉะนั้นรสชาติใหม่ ๆ จึงเหมือนความคิดใหม่ๆ ที่แตกต่างจากหลาย ๆ คน

คำถาม - systemic เหมือนจะใช้เวลาเยอะ แล้วสามารถใช้กับพวกโครงการได้หรือไม่ ?

บรู ซ แมคเคนซี-การที่เราใช้เวลาไม่ได้หมายความว่าเราจะใช้เวลาในโครงการยาวกว่า เดิม แต่ systemic จะเป็นเรื่องของการใช้เวลาในตอนต้นกับการรีบที่จะตัดสินใจด้วยวิธีใดวิธี หนึ่ง โดยการใช้เวลาคำนึงถึงหลายๆ จุดก่อนแล้วค่อยลงมือทำ ตรงนั้นเอง จะทำให้ประหยัดเวลาในตอนหลัง เพราะไม่ผิดพลาด จากการที่ไม่ต้องไปเผชิญกับสิ่งที่ไม่ได้ตั้งใจ ดังนั้นแล้วใช้ได้ กับงาน project systemic คือถ้าไม่รีบด่วนตัดสินใจ ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้คิดให้รอบด้าน

คำถาม - สุดท้ายอะไรเป็นอุปสรรคของการคิดแบบ systemic thinking ?

บรู ซ แมคเคนซี - การคิดแบบตะวันตกเป็นอุปสรรคของการคิดแบบ systemic เพราะความคิดแบบตะวันตกสอนให้เราทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีเวลาจำกัด ต้องสูญเสียน้อยๆ อย่ามาเสียเวลากับการฟังคนอื่นเยอะๆ และสอนเราเรื่อง คุณต้องฟังผู้เชี่ยวชาญ เพราะเป็นคำตอบเสมอ และผู้รู้เป็นผู้ตัดสินใจ นี่คือเราถูกฝึกอย่างนี้ แต่คนเอเชีย เรารู้มานานแล้วว่าไม่ได้มีวิธีเดียว จะต้องมีการผสมผสานหลาย ๆ อย่าง

ดังนั้น systemic thinking จึงต้องเคารพความแตกต่างอย่างเท่าเทียมกัน

view