จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
โดย : เอกรัตน์ สาธุธรรม
“อีไอยู” เผยไทยขีดแข่งขันไอทีร่วงจากอันดับ 42 มาอยู่อันดับ 49 เหตุไร้เสถียรภาพทางการเมือง รัฐไม่ใส่ใจโครงสร้างพื้นฐาน
นายคาร์โร พาราเด รองประธานและผู้อำนวยการด้านนโยบายซอฟต์แวร์ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ (บีเอสเอ) กล่าวว่า ได้ร่วมมือกับอีโคโนมิสต์ อินเทลลิเจนซ์ ยูนิต หรืออีไอยู (Economist Intelligence Unit : EIU) สำรวจขีดการแข่งขันในอุตสาหกรรมไอที 66 ประเทศทั่วโลก ผลปรากฏว่า ปี 2552 อุตสาหกรรมไอทีของประเทศไทยมีความสามารถในการแข่งขันเป็นอันดับที่ 49 ของโลก ตกลงจากอันดับที่ 42 เมื่อปีก่อน
ทั้งนี้ เป็นผลจากความไม่มั่นคงทางการเมืองในช่วงที่ผ่านมา ทำให้การลงทุนหยุดชะงัก ขณะที่ อันดับด้านนโยบายลงทุนต่างประเทศ และด้านการเป็นเจ้าของพีซีลดลง ส่วนในภูมิภาคเอเชีย ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 11 ตามหลังอินเดีย (อันดับที่ 44 ของโลก) และนำหน้าฟิลิปปินส์ (อันดับที่ 51) และเวียดนาม (อันดับที่ 56)
เหตุผล ดังกล่าวถือเป็นตัวบ่งชี้ที่มีน้ำหนักความสำคัญมากในหมวดโครงสร้างพื้นฐานไอ ที ซึ่งอันดับนโยบายลงทุนต่างประเทศของประเทศร่วงลงมาอยู่อันดับที่ 35 จากอันดับที่ 29 ในปีที่แล้ว ขณะที่ การเป็นเจ้าของพีซี (คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล) จะเพิ่มมากขึ้นกลับลดลงมา 5 อันดับจากอันดับที่ 47 เมื่อปีที่แล้วเป็นอันดับที่ 52 ในปีนี้
ผลการศึกษายัง พบด้วยว่า คุณภาพของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในภาพรวมของไทยได้รับการจัดให้อยู่อันดับที่ 30 ของโลก ตกลงเล็กน้อยจากอันดับที่ 28 เมื่อปีที่แล้ว และถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 50 ของโลก ด้านโครงสร้างพื้นฐานไอที ขยับลงเล็กน้อยจากอันดับที่ 49 เมื่อปี 2551
ไทยยังอยู่ อันดับที่ 43 ของโลกด้านทรัพยากรบุคคลไอที ปรับขึ้นจากอันดับ 46 ในปี 2551 ส่วนสภาพแวดล้อมการวิจัยและพัฒนาอยู่ในอันดับที่ 58 ของโลก ขยับขึ้นเล็กน้อยจากอันดับที่ 59 ในปี 2551เช่นกัน ส่วนสภาพแวดล้อมทางกฎหมาย ไทยอยู่อันดับที่ 57 ของโลกในปีนี้ ขยับลงจากอันดับที่ 56 เมื่อปี 2551 เล็กน้อย และอยู่อันดับที่ 29 ของโลก ด้านการสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมไอที
ขณะที่ ท็อปไฟว์ประเทศที่มีขีดการแข่งขันไอทีมากที่สุดในโลกเรียงตามลำดับ 1.อเมริกา 2.ฟินแลนด์ 3.สวีเดน 4.แคนาดา และ 5 เนเธอร์แลนด์
นาย พาราเด กล่าวว่า ความร่วมมือสำรวจครั้งนี้ ทำขึ้นเป็นปีที่ 3 เน้นการประเมินค่า และเปรียบเทียบสภาพแวดล้อมต่างๆ ของอุตสาหกรรมไอที เพื่อกำหนดขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยเน้นตรวจสอบเกณฑ์สำคัญ 6 ประการ ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ โครงสร้างพื้นฐานไอที ทรัพยากรบุคคล สภาพแวดล้อมทางกฎหมาย สภาพแวดล้อมทางการวิจัยและพัฒนา และการสนับสนุนอุตสาหกรรมไอที
ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มี 5 ประเทศที่ได้รับการจัดให้อยู่ใน 20 อันดับแรกของประเทศที่มีภาวะการแข่งขันในอุตสาหกรรมไอทีสูงที่สุดของโลก ได้แก่ ออสเตรเลีย สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ไต้หวัน และเกาหลีใต้
“สภาพ เศรษฐกิจปัจจุบัน สิ่งที่สำคัญ คือ รัฐบาลของประเทศในภูมิภาคเอเชียยังคงต้องสนับสนุนการเจริญเติบโตของภาค อุตสาหกรรมไอทีให้เข้มแข็งต่อไป เพราะยังเป็นกลไกสำคัญของการเติบโตทางเศรษฐกิจ”
ขณะเดียว กัน เศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้ ที่พึ่งพิงกับนวัตกรรมใหม่ และมีนโยบายในการกระตุ้นให้ภาคไอทีสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ออกมา กำลังสร้างจุดยืนที่เข้มแข็งให้ตัวเอง เพื่อเร่งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโดยภาพรวม
นายพาราเด กล่าวด้วยว่า บรอดแบนด์ได้กลายมาเป็นสิ่งจำเป็นอันดับแรกสำหรับหลายภาคส่วนของภาค อุตสาหกรรมไอที ทำให้ประเทศที่ใช้บรอดแบนด์อย่างแพร่หลายมีความได้เปรียบในการแข่งขัน มากกว่าประเทศที่ขาดโครงสร้างพื้นฐานด้านนี้อย่างมาก
ผล สำรวจบอกด้วยว่า ประเทศที่ลงทุนเพิ่มด้านบรอดแบนด์ 10% จะสามารถเพิ่มมูลค่าจีดีพีได้ 1.3% ขณะที่ ประเทศที่มีบรอดแบนด์แพร่หลายจะได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับสูง ทั้งในหมวดโครงสร้างพื้นฐานไอที รวมถึงการจัดอันดับโดยรวมด้วย ซึ่งออสเตรเลีย ที่ได้รับการจัดให้อยู่ใน 10 อันดับแรก นับเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความก้าวหน้าเรื่องการพัฒนาบรอดแบนด์ได้อย่างโดด เด่นมากที่สุดในโลก
ทั้งนี้ อัตราการเข้าถึงบรอดแบนด์และอัตราการมีเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลไว้ใน ครอบครองเพื่อใช้ยังมีอัตราที่น้อยในตลาดเกิดใหม่ ส่งผลให้ภาคไอทีต้องตกเป็นรองเมื่อเทียบกับตลาดที่มีการพัฒนาด้านนี้ไปมาก แล้ว
นอกจากนี้ รายงานดังกล่าว ยังได้แสดงให้เห็นว่า ประเทศที่มีกฎหมายที่เข้มงวดในการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา มักเป็นผู้นำด้านไอที ทางตรงข้ามประเทศที่บังคับใช้กฎหมายปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาไม่เต็มที่ มักจะไม่ใช่ประเทศที่คิดค้นหรือประดิษฐ์นวัตกรรมใหม่ๆ
สิงคโปร์ที่ อยู่ในอันดับ 3 ของโลกในหมวดสภาพแวดล้อมทางนวัตกรรม ได้อานิสงส์จากการที่งานด้านวิจัยและพัฒนาได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างมากจาก รัฐบาล และปริมาณการจดสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ของบริษัทไอทีภายในประเทศ ส่วนไต้หวัน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ยังคงอยู่ในกลุ่มที่เป็นเจ้าของสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ด้านไอทีมากที่สุดใน เอเชีย
ผลการศึกษาครั้งนี้ ยังได้สรุปปัจจัยสำคัญที่จะเป็นตัวเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้วยว่า เครือข่ายบรอดแบนด์เป็นปัจจัยที่ขาดไม่ได้ในการแข่งขันด้านไอที ประเทศที่นำมาใช้ช้ากว่าจะโดนนำห่างไปมากยิ่งขึ้น รัฐควรหันมาให้ความสนใจการในลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทางด้านไอทีเพิ่มขึ้น เช่น การขยายบรอดแบนด์ การจัดทำแผนแม่บทไอซีทีที่มีความชัดเจน และมีแนวทางการลงทุนที่เป็นรูปธรรม
ขณะที่การลงทุนการพัฒนา ทักษะยังคงเป็นสิ่งที่จำเป็นที่บังคับในระยะยาว ประเทศที่มีการอบรมผสมผสานทั้งไอที ธุรกิจ และทักษะทางภาษาจะสร้างบุคลากรไอทีได้เก่งกว่า รวงมถึงการหันมาให้ความสำคัญกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา เพราะถือเป็นวิธีการที่ต้นทุนต่ำที่สุด และสามารถกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจได้ในระยะยาว