สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

หลากความคิดเห็น ทางออกมาบตาพุด เร่งออกแนวปฏิบัติตามกฎหมาย ตั้งองค์กรอิสระ

จากประชาชาติธุรกิจ



กรณี ที่ศาลปกครองกลางมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้ ระงับการดำเนินการ 76 โครงการลงทุนในพื้นที่ มาบตาพุดและบริเวณใกล้เคียง เป็นการเพื่อบรรเทาทุกข์ต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยตามคำฟ้องของสมาคมต่อ ต้านสภาวะโลกร้อนกับประชาชนชาวมาบตาพุดรวม 43 ราย โดยให้ 8 หน่วยงานภาครัฐต้องปฏิบัติเงื่อนไขทางกฎหมาย มาตรา 67 แห่งรัฐธรรมนูญ 2550 ที่ระบุให้โครงการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างร้ายแรงจะต้องได้รับ ความเห็นชอบรายงานผลกระทบ สิ่งแวดล้อม (EIA) กับรายงานผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA) เปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และต้องได้รับความเห็นจากองค์กรอิสระด้วย

"ประชาชาติธุรกิจ" ได้รวบรวมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ในการเสนอแนะทางออก ดังนี้

ต้องตั้งองค์กรอิสระโดยเร็ว

ม.ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี ได้เขียนบทความ "ดีก็ชม ไม่ดีก็ติง" โดยเสนอทางออกว่า ขณะนี้โครงการต่าง ๆ ที่เริ่มลงทุนใหม่และรอเปิดดำเนินการอยู่พร้อมที่จะให้ ประเมินผลกระทบด้านสุขภาพเพื่อปฏิบัติให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 อยู่แล้ว บางรายถึงกับจ้างผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศเพื่อศึกษาผลกระทบด้านสุขภาพ เตรียมไว้เพื่อเสนอขออนุมัติก่อนที่จะเปิดดำเนินการอยู่แล้ว แต่รัฐบาลยังไม่ได้กำหนดว่าให้นำผลการศึกษาเสนอขออนุมัติต่อคณะบุคคลใด และยังไม่ได้ตั้งองค์กรอิสระที่จะต้องอ่านผลการศึกษาเพื่อให้ความเห็นใน เรื่องความเป็นกลาง การดำเนินการตามความต้องการของมาตรา 67 จึงเดินต่อไปไม่ได้

จึงใคร่ขอร้องให้รัฐบาลช่วยดำเนินการในเรื่อง ต่าง ๆ ที่กล่าวถึงข้างต้นโดยเร็ว ทั้งนี้มาตรา 67 ในรัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่ในปัจจุบันกำหนดให้มีการศึกษาผลกระทบด้านสุขภาพของ โรงงานที่จะสร้างขึ้นใหม่ เพื่อเสนอต่อผู้ที่มีอำนาจอนุมัติ โดยต้องให้องค์กรอิสระให้ความเห็นเกี่ยวกับผลการศึกษาต่อผลกระทบด้านสุขภาพ ประกอบการพิจารณาของผู้มีอำนาจด้วย เพื่อให้แน่ใจว่าเป็นความเห็นที่เป็น กลางไม่เข้าข้างฝ่ายใด

จากคำบอกเล่าของนักธุรกิจเอกชนที่ลงทุนใน 76 โครงการนี้ ถึงวันนี้ยังไม่มีการกำหนดเนื้อหาหลักและขอบเขตของการศึกษา ผลกระทบด้านสุขภาพเลย ยังไม่มีการกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะศึกษา ยังไม่มีการแต่งตั้งองค์กรอิสระและบุคคลทำหน้าที่ในองค์กรอิสระ และยังไม่มีการกำหนดแม้กระทั่งบุคคลหรือคณะบุคคลที่จะเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติ ในเรื่องนี้

เปิดเผยข้อมูลวิชาการ

นายศุภชัย วัฒนางกูร ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ระหว่างการยื่นอุทธรณ์รัฐบาลต้องรีบจัดตั้งองค์กรอิสระ และหน่วยงานที่จะมาให้ความเห็นชอบรายงานผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA) ให้เร็วที่สุด จัดเป็นแนวปฏิบัติให้ชัดเจน ซึ่งเอกชนยินดีปฏิบัติตามกฎหมายทุกอย่าง และแนวทางที่ต้องเดินควบคู่กันไป คือ การเปิดเผยข้อมูลทางวิชาการที่พิสูจน์ ตรวจสอบได้ ทำให้ชุมชนเกิดความเชื่อมั่นทั้งในเรื่องของมลพิษ, สุขภาพ, การเจ็บป่วยของคนในพื้นที่ว่าสาเหตุแท้จริงเกิดขึ้นจากอะไร จะได้หาทางแก้ไขได้อย่างถูกต้อง ไม่ใช่เหมารวมว่าทุกโครงการจะมีการปล่อยมลพิษ เพราะบางโครงการก็เป็นโครงการที่ช่วยลดมลพิษ

ประกาศสำนักนายกฯตั้งองค์กรอิสระ

นาย อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) เปิดเผยว่า ทาง คสช.ได้เคยเสนอแนะให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีในการจัดตั้งองค์กรอิสระขึ้นมาให้ความเห็นกับ โครงการมาใช้พลางก่อนที่จะมีพระราชบัญญัติว่าด้วยองค์กรอิสระจะมีผลบังคับ ใช้ ซึ่งเป็นกระบวนที่สามารถทำรวดเร็วไม่เกิน 1 เดือนก็จัดตั้งได้ เป็นการปลดล็อกมาตรา 67 ให้โครงการลงทุนต่าง ๆ สามารถเดินหน้าต่อได้ ซึ่งข้อเสนอดังกล่าวก็คาดว่านายอภิสิทธิ์คงอยู่ในระหว่างการพิจารณาอยู่

นาย สัญชัย สูติพันธ์วิหาร อาจารย์ประจำคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า การที่ภาครัฐไม่ได้ทำตามเงื่อนไขกฎหมาย มาตรา 67 ใน 4 ขั้นตอน คือ

1) การจัดทำงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ทุกโครงการทำอยู่แล้ว แต่ที่มีปัญหาคือการจัดทำรายงานผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA) ซึ่งในส่วนของ EIA ที่หลายคนอ้างว่าทำผลกระทบด้านสุขภาพแล้วนั้นยังไม่ครอบคลุมตามกฎหมาย

2) การรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทำแล้วหรือไม่ แล้วเป็นใคร เมื่อไร รูปแบบไหน ซึ่งปัจจุบันมีระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีกำหนดไว้อยู่แล้ว แต่กำลังมีการปรับปรุงเป็นพระราชบัญญัติขึ้นมาใหม่ ซึ่งถ้าทำตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีก็ถือว่าทำได้ตามกฎหมาย

3) องค์กรอิสระให้ความเห็นโครงการตามกฎหมาย ปัจจุบันยังไม่มี เดิมได้มีการจัดทำร่าง พ.ร.บ.องค์กรอิสระ และผ่านการทำประชาพิจารณ์แล้วแต่ไม่ถูกผลักดันเข้าสู่กระบวนการเพื่อให้มีผล บังคับใช้ ปัญหาจึงยังคาราคาซังอยู่ ทราบว่ากระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ไม่สนับสนุนร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว แต่กลับจะไปปรับปรุงในบางมาตราของ พ.ร.บ. ส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม 2535 แทน ทำให้องค์กรอิสระไม่ตรงกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญในหลายประเด็น

ทางออก ของการแก้ไขปัญหา คือ ผลักดันให้ร่าง พ.ร.บ.องค์กรอิสระที่เคยทำไว้แล้วมีผลบังคับใช้ แต่ในระหว่างนี้ถ้าอยากให้กระบวนการเร็วอาจจะมีการประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ขึ้นมาใช้พลางก่อน แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานของเงื่อนไขตามร่าง พ.ร.บ.องค์กรอิสระ ไม่ใช่พื้นฐานของร่างที่มีการปรับปรุง

NGO ชี้ทุกอย่างมีทางแก้ไข

นาย สุทธิ อัชฌาศัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก เปิดเผยว่า รัฐบาลต้องเร่งดำเนินการให้เป็นไปตามเงื่อนไขกฎหมายให้เร็วที่สุด คือ 1) ต้องชะลอการอนุมัติโครงการลงทุน ต่าง ๆ ออกไปก่อนจนกว่าจะมีกระบวนการ แนวทางปฏิบัติด้าน สิ่งแวดล้อม สุขภาพให้เป็นไปตามกฎหมายที่กำหนดชัดเจน 2) ชี้แจงต่อแหล่งทุนที่ก่อให้เกิดมลพิษ ต้องดูแลสิ่งแวดล้อมในพื้นที่อย่างเคร่งครัด 3) เร่งกลไกให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญประกอบด้วย การนำร่างประกาศกิจการที่อาจจะสร้างผลกระทบรุนแรง 19 กิจการ รวมถึงร่าง พ.ร.บ.องค์กรอิสระที่เคยจัดทำและผ่านการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนแล้วนำ เข้าสู่การพิจารณาของ คณะรัฐมนตรี และ 4) หน่วยงานที่จะมาให้ความเห็นชอบรายงานผลกระทบด้านสุขภาพ ซึ่งต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ หลักเกณฑ์เงื่อนไข

"ทุกเรื่องแก้ไขได้ไม่ยาก และสามารถทำได้ตามกฎหมาย แต่กลับมีการตีโพยตีพายในเรื่องของเศรษฐกิจที่จะย่ำแย่ ทุกอย่างมีทางออกหากยินดีที่จะปฏิบัติตามกฎหมาย แต่คนที่โวยวายก็คนที่กลัวว่าจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายมากกว่า" นายสุทธิกล่าว

view