จากประชาชาติธุรกิจ
ชำนาญ จันทร์เรือง นักวิชาการอิสระ วิพากษ์คำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ศาลปกครอง กรณีระงับ ๗๖ โครงการ ที่มาบตาพุด ตั้งข้อสังเกตคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ทำให้เกิดความยากลำบากในการบริหาราชการแผ่นดิน หากมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องย่อมยากที่แก้ไขเยียวยาให้การบริหารหรือภาวะเศรษฐกิจการลงทุนกลับสู่สภาพเดิม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายชำนาญ จันทร์เรือง นักวิชาการอิสระ ได้เขียน บทความทางวิชาการ
|
จาก การที่สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนและประชาชนชาวมาบตาพุด กับพวก รวม ๔๓ รายได้ยื่นฟ้อง คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ต่อศาลปกครองกลาง
ใน คดีหมายเลขดำที่ ๙๐๘/๒๕๕๒ ว่า ผู้ถูกฟ้องคดีร่วมกันออกคำสั่งโดยไม่ถูกต้องตามขั้นตอน วิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น ตลอดจนละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
ต่อมา ศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษาคดีให้ระงับ ๗๖ โครงการ ตามคำร้องของชาวบ้านมาบตาพุด เพื่อคุ้มครองชุมชนมาบตาพุดไปเมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๒ ไปแล้วนั้น ทำให้เกิดผลกระทบตามมาอย่างมากมาย
@ ศาลหยิบ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นประเด็น
คดี นี้ ศาลได้พิเคราะห์คำชี้แจงของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งแปดแล้ว รับฟังข้อเท็จจริงได้ว่า ภายหลังจากรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ มีผลใช้บังคับเมื่อ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๐ แล้ว มีการออกใบอนุญาตให้แก่
โครงการ หรือกิจกรรมตามเอกสารคำท้ายฟ้อง โดยยังไม่ได้มีการกำหนดว่าโครงการหรือกิจกรรมใดเป็นโครงการหรือกิจกรรมที่ อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ รวมทั้ง ยังไม่ได้ปฏิบัติให้ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา๖๗ วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐
ศาลเห็นว่าเป็นกรณี ที่มีปัญหาความน่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดชอบของหน่วยงาน ทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนตาม บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญปัญหาว่า การกำหนดมาตรการหรือวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์เป็นการชั่วคราวก่อนการพิพากษา คดี อาจเกิดปัญหาอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นแก่การบริหารงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับ ด้านเศรษฐกิจที่อาจจะเกิดขึ้น และอาจจะเป็นอุปสรรคแก่การบริหารงานของรัฐตามคำชี้แจงของผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง แปดและถ้อยคำของผู้รับมอบอำนาจจากเจ้าของโครงการหรือกิจกรรมตามเอกสารท้ายคำ ฟ้องหรือไม่ นั้น
ศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า ปัญหาดังกล่าวสามารถป้องกันแก้ไขและบรรเทาให้ลดน้อยลงได้ด้วยการบริหาร ราชการแผ่นดินตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติในภาพรวมเป็นสำคัญตามแนวนโยบายพื้นฐาน ของรัฐ และการบริหารจัดการร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างภาครัฐและเอกชน
นอก จากนั้น บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับการบริหารงานของรัฐ ซึ่งปรากฏในมาตรา ๓ วรรคสอง ให้รัฐดำเนินการเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมทางสังคมตามหลักนิติธรรม และมาตรา ๓/๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ได้กำหนดหลักการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนไว้ด้วย
ศาลเห็นว่า เมื่อมีกรณีปัญหาความน่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมายที่เกี่ยวกับความ
รับ ผิดชอบของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิในการดำรงชีพอยู่ได้อย่างปกติและต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อม ที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของประชาชน ซึ่งเป็นสิทธิและเสรีภาพที่เป็นเนื้อหาสำคัญของรัฐธรรมนูญ การกระทำทางการปกครองใดที่มีปัญหาเกี่ยวกับความน่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะ เหตุที่ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญในเรื่องสิทธิและ เสรีภาพของประชาชน เป็นเรื่องที่ศาลจะต้องตระหนัก
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ปัญหามลพิษจากการประกอบกิจการของโรงงาน
อุตสาหกรรม ที่ก่อมลพิษสูงซึ่งรวมกันอยู่ในพื้นที่มาบตาพุดอันเป็นแหล่งอุตสาหกรรมใหญ่ ที่สุดของประเทศมีอยู่จริงและส่งผลกระทบต่อชุมชนอย่างต่อเนื่อง และสถานการณ์ของปัญหามลพิษมีแนวโน้มที่รุนแรงมากขึ้น จึงมีเหตุจำเป็นและเป็นการยุติธรรมและสมควรตามหลักนิติธรรม หลักการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน และหลักการบริหารงานของรัฐอย่างยั่งยืนเพื่อการ
พัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม จึงสมควรกำหนดมาตรการหรือวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์เป็นการชั่วคราวก่อนการพิพากษาคดี จึง มีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งแปดสั่งระงับโครงการหรือกิจกรรมตามเอกสารหมาย เลข ๗ ท้ายคำฟ้อง ไว้เป็นการชั่วคราว จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือศาลมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่าง
อื่น ยกเว้น โครงการหรือกิจกรรมที่ได้รับใบอนุญาตก่อนวันประกาศใช้บังคับรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ โครงการหรือกิจกรรมที่ไม่ได้กำหนดให้เป็นประเภทโครงการ
หรือกิจกรรมที่ต้องจัดทำ รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามประกาศกระทรวง
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการซึ่งต้อง
จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทาง
การจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ลงวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๒ ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการ
ดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา ๖๗ วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
@ ข้อสังเกตของนักวิชาการอิสระ
นายชำนาญ จันทร์เรือง ตั้งข้อสังเกตว่า มาตรา ๖๖ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองบัญญัติว่าในกรณี ที่ศาลปกครองเห็นสมควรกำหนดมาตรการหรือวิธีการใดๆเพื่อบรรเทาทุกข์ให้แก่คู่ กรณีที่เกี่ยวข้องเป็นการชั่วก่อนการพิพากษาคดี ไม่ว่าจะมีคำร้องขอจากบุคคลดังกล่าวหรือไม่ ให้ศาลปกครองมีอำนาจกำหนดมาตรการหรือวิธีการชั่วคราวและออกคำสั่งไปยังหน่วย งานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องให้ปฏิบัติได้ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดโดยระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด
การ กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตามวรรคหนึ่ง ให้คำนึงถึงถึงความรับผิดชอบของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐและ ปัญหาอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นแก่การบริหารงานของรัฐประกอบด้วย
จะ เห็นได้ว่าในการกำหนดมาตรการหรือวิธีการใดๆเพื่อบรรเทาทุกข์แก่คู่กรณีนั้น กฎหมายบัญญัติให้คำนึงปัญหาอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นแก่การบริหารงานของรัฐ ประกอบด้วย แต่ศาลได้ให้เหตุผลว่าปัญหาดังกล่าวสามารถป้องกันแก้ไขและบรรเทาให้ลดน้อยลง ได้ด้วยการบริหารราชการแผ่นดินตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติในภาพรวมเป็นสำคัญตามแนวนโยบายพื้นฐาน ของรัฐ และการบริหารจัดการร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างภาครัฐและเอกชน ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าไม่น่าจะถูกต้องเพราะนอกจาก
@ก้าวล่วงข้ามแดนของการใช้อำนาจอธิปไตยของฝ่ายบริหาร
ผล กระทบที่ตามมามากมายจากคำสั่งดังกล่าวตามที่ปรากฎตามสื่อสารมวลชนแล้ว ผู้เขียนยังเห็นว่าน่าจะเป็นก้าวล่วงข้ามแดนของการใช้อำนาจอธิปไตยของฝ่าย บริหารในการใช้อำนาจบริหาร ซึ่งศาลจะสามารถตรวจสอบได้เพียงในแง่ของความชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น มิใช่ในแง่ของความเหมาะสมหรือเป็นการกำหนดนโยบายให้ฝ่ายบริหารนำไปปฏิบัติ ซึ่งจะทำให้ฝ่ายตุลาการมีอำนาจเหนือฝ่ายบริหารที่ขัดต่อหลักการแบ่งแยกและ ถ่วงดุลการใช้อำนาจอธิปไตยตามหลักนิติรัฐซึ่งมีสาระสำคัญ ๓ ประการ คือ
(๑) บรรดาการกระทำทั้งหลายขององค์กรของรัฐฝ่ายบริหารจะต้องชอบด้วยกฎหมายที่ตราขึ้นโดยองค์กรของรัฐฝ่ายนิติบัญญัติ
(๒) บรรดากฎหมายทั้งหลายที่องค์กรของรัฐฝ่ายนิติบัญญัติได้ตราขึ้นจะต้องชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
(๓) การควบคุมไม่ให้การกระทำขององค์กรของรัฐฝ่ายบริหารขัดต่อกฎหมายก็ดี การควบคุมไม่ให้กฎหมายขัดต่อรัฐธรรมนูญก็ดี จะต้องเป็นอำนาจหน้าที่ขององค์กรขอรัฐฝ่ายตุลาการซึ่งมีความเป็นอิสระจาก องค์กรของรัฐฝ่ายบริหารและองค์กรของรัฐฝ่ายนิติบัญญัติ
ฉะนั้น การควบคุมหรือตรวจสอบฝ่ายบริหารของฝ่ายตุลาการจึงสามารถทำได้ในแง่ของความชอบด้วยกฎหมาย มิใช่การควบคุมในแง่ของความเหมาะสม
อนึ่ง กรณีของมาบตาพุดนี้แตกต่างจากกรณีของการขายหุ้นของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตที่ศาล ปกครองสูงสุดมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวมิให้ขายหุ้นเพราะหากมีการเปิดขายหุ้น ไปแล้วย่อมที่จะยากแก่การแก้ไขเยียวยาในภายหลัง
แต่ กรณีกลับกันในกรณีมาบตาพุดนี้เมื่อมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวแล้วกลับทำให้ เกิดความยากลำบากในการบริหาราชการแผ่นดิน และหากมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องย่อมยากที่แก้ไขเยียวยาให้การบริหาร หรือภาวะเศรษฐกิจการลงทุนกลับสู่สภาพเดิม
อย่าง ไรก็ตามแม้ว่ากรณีมาบตาพุดนี้ศาลเห็นว่าการกระทำทางการปกครองใดที่มีปัญหา เกี่ยวกับความน่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะเหตุที่ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญในเรื่องสิทธิ และเสรีภาพของประชาชน จนเป็นเหตุให้ศาลกำหนดมาตรการชั่วคราวฯขึ้น แต่ก็มิได้หมายความว่าเป็นการวินิจฉัยว่าฝ่ายผู้ถูกฟ้องคดีกระทำการไม่ชอบ ด้วยกฎหมายแล้ว เพราะยังต้องมีการพิจารณาพิพากษาจนถึงที่สุดเสียก่อน
จาก ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ จึงเป็นการชอบแล้วที่ฝ่ายรัฐและผู้มีประโยชน์ได้เสียจะได้อุทธรณ์ไปยังศาล ปกครองสูงสุดเพื่อวินิจฉัยเป็นบรรทัดฐานต่อไป
ทั้ง นี้ นายชำนาญ ได้ย้ำว่า ประเด็นต่างๆ มาวิเคราะห์เพื่อความเจริญงอกงามในเชิงวิชาการด้านกฎหมายมหาชนที่จะต้อง คำนึงถึงความสมดุลย์ของประโยชน์รัฐกับเอกชน
นายกฯเผยรัฐบาลเตรียมเสนอแก้ม.67 หาทางออกปัญหามาบตาพุด
จากประชาชาติธุรกิจ
นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ "เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯอภิสิทธิ์" ทางช่องสทท. เมื่อวันที่ 11 ต.ค. ถึงกรณีศาลปกครองสั่งระงับ 76 โครงการลงทุนที่มาบตาพุดชั่วคราว ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 ว่า ต้องเห็นใจทั้ง 2 ฝ่าย ฝ่ายประชาชนเองก็ใช้สิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญ เนื่องจากได้รับความเดือดร้อนมานาน เกรงว่าซ้ำเติมอีก ส่วนภาคเศรษฐกิจต้องหยุดชะงัก อาจกระทบการจ้างงาน บริษัทเองรอคอยวัตถุดิบจากการลงทุนเหล่านี้ ซึ่งรัฐบาลอยากย้ำว่าไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้พยายามหาความพอดี
รัฐบาลมองโครงการที่อนุมัติไปแล้วบางโครงการไม่เข้าข่ายมาตรา 67 ซึ่งได้ผลกระทบสิ่งแวดล้อมไปแล้วว่าไม่กระทบชุมชน แต่ศาลมองว่าอาจกระทบ ด้านรัฐบาลเองก็อุทธรณ์ หวังได้ข้อยุติในเวลาไม่นาน นอกจากนี้ได้เรียกประชุมหน่วยงานเกี่ยวข้อง มีข้อเสนอแก้ไขกฎหมายสิ่งแวดล้อม โครงการใดอาจมีผลกระทบ ต้องทำรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และผลกระทบต่อสุขภาพ พร้อมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และเปิดโอกาสให้องค์กรอิสระเข้ามาร่วมดูแล ก่อนให้สภาพิจารณาปลายเดือนนี้ถึงต้นเดือนหน้า