สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

CSR ประเทศอื่นเขาทำอะไรกัน (1)

คอลัมน์ CSR Talk

โดย ดร.อัศวิน จินตกานนท์ ที่ปรึกษาอาวุโสกลุ่มบริษัททีม และมูลนิธิอนุรักษ์พลังงานแห่งประเทศไทย



มี หลายคนสนใจอยากทราบว่า ธุรกิจหรือบริษัทในต่างประเทศเขาทำกิจกรรม CSR อะไรกันบ้างที่แตกต่างจากประเทศไทย ซึ่งคนที่มีความรู้เรื่องนี้มากที่สุดคนหนึ่งน่าจะเป็น คุณศิริชัย สาครรัตนกุล รองกรรมการ ผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย แต่ไหน ๆ แล้วผมก็จะลองถ่ายทอดความรู้อันน้อยนิดของผมให้ท่านผู้อ่านได้รับทราบ

CSR เป็นวิธีหนึ่งที่บริษัทสามารถตอบแทนความดีให้แก่โลก และทำให้สังคมโลกดีขึ้น กิจกรรมที่ทำกันขึ้นอยู่กับความต้องการของสังคมและความสนใจของบริษัท ที่พร้อมจะให้ เช่น การช่วยเหลือชุมชนด้อยโอกาส และกิจกรรมสังคมอื่น ๆ ด้านสุขอนามัย การศึกษา การต่อสู้เพื่อสิทธิสตรีและเด็ก เป็นต้น ในปัจจุบันกิจกรรมที่ได้รับความสนใจมากที่สุด คือ การดูแลป้องกันและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม การลดมลพิษทางอากาศที่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งชาวฟิลิปปินส์ เวียดนาม และลาว รวมถึงคนไทยได้เห็นอำนาจการทำลายของพายุไต้ฝุ่น Ketsana และกำลังเตรียมตัวที่จะเผชิญกับไต้ฝุ่น Parma ซึ่งทุกคนทราบดีว่าเกิดจากสภาวะโลกร้อนที่กำลังจะรุนแรงขึ้นทุกวัน

สังคม ในประเทศที่เจริญทางเศรษฐกิจแล้ว (ที่ผมใช้คำว่า เจริญทางเศรษฐกิจก็เพราะการเจริญทางเศรษฐกิจไม่มีความสัมพันธ์กับความเจริญ ทางจิตใจและจริยธรรม) คาดหวังและปรารถนาที่จะเห็นธุรกิจหรือบริษัทคืนกำไรให้สังคมในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การทำบุญทำทาน การทำประโยชน์ให้แก่สังคม การมีการบริหารจัดการที่ดี (Good corporate governance) ซึ่งก็คือการทำธุรกิจด้วยความโปร่งใส ไม่เอาเปรียบลูกค้า ไม่เอาเปรียบคู่ค้า ไม่เอาเปรียบผู้ถือหุ้นการดูแลพนักงานในบริษัทให้ได้รับความเป็นธรรม ไม่โกง ไม่ทำธุรกิจโดยให้สินบนเจ้าพนักงาน ฯลฯ ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้เป็นการประชาสัมพันธ์ที่ดีและทำให้ธุรกิจได้ความยอมรับ จากประชาชนมากขึ้น

ดร.ฟิลลิป คอทเล่อร์ และ แนนซี่ ลี แต่งหนังสือเล่มหนึ่งโดยให้ความสำคัญแก่ CSR และแนะนำผู้นำธุรกิจ (1) ในวิธีการเลือกโครงการที่ดีมีประโยชน์และเหมาะสมสำหรับสังคมที่เขาจะเข้าไป ให้การสนับสนุนทั้งสองแนะนำถึงวิธีจูงใจให้พนักงานให้การสนับสนุนโครงการ CSR ของบริษัท จนถึงวิธีประเมินผลโครงการ และให้คำแนะนำในเรี่องการเลือกหากิจการ CSR ที่ใหม่และนำสมัย

จากการ วิจัยโดย IBM บริษัทผู้นำในด้านคอมพิวเตอร์พบว่า ผู้บริหารระดับสูงกว่าร้อยละ 60 ขององค์กรที่ให้สัมภาษณ์ เชื่อว่ากิจกรรม CSR ทำให้บริษัทหรือองค์กรของเขาได้รับความเชื่อถือและความไว้วางใจจากลูกค้าสูง ขึ้น และทำให้บริษัทของเขามีผลประกอบการ (กำไร) ดีกว่า คู่แข่งของเขา (2)

อุปสรรคในการสร้างการบริหารจัดการ

ที่ดีในประเทศกำลังพัฒนา

ประเทศ ที่เจริญทางเศรษฐกิจ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ แคนาดา และยุโรปตะวันตก มีความก้าวหน้าด้าน Good corporate governance (การบริหารจัดการที่ดี) ซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งของ CSR ที่สำคัญได้มากพอควร และในกรณีที่มีผู้บริหารกระทำผิดกฎหมายเนื่องจากความโลภและความหลงในเงินทอง และวัตถุนิยม ก็มีการลงโทษผู้บริหารที่ กระทำผิดกฎหมายที่รุนแรงมาก

ตัวอย่าง เช่น นายเบอร์นาร์ด แมดดอฟฟ์ (Bernard Madoff) อดีต ผู้บริหารตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ ในสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันมีอายุ 71 ปี ถูกตัดสินคดีการโกงหุ้น การให้คำแนะนำ ผู้ลงทุนโดยมีเจตนาเพื่อหาประโยชน์ให้ตนเอง การฟอกเงิน การส่งรายงานเท็จ ต่อคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ การให้การเท็จต่อศาล ถูกตัดสินจำคุก 150 ปี และต้องเสียค่าปรับ 170,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (3) เขาจะถูกปล่อยจากคุกในวันที่ 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 2139 เมื่ออายุ 201 ปี ซึ่งเป็นการปรามผู้ที่คิดจะกระทำผิดได้อย่างดี

แม้ว่าประเทศที่ กำลังพัฒนาจะมีระเบียบ กฎเกณฑ์ และกฎหมายที่ดีเนื่องจากประเทศเหล่านี้พัฒนากฎหมายหรือระเบียบโดยปรับปรุง จากโครงร่างระเบียบและกฎหมายจากประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่ประเทศที่กำลังพัฒนามักขาดการลงโทษหรือไม่สามารถลงโทษผู้กระทำผิดได้ เพราะเส้นสายและอิทธิพลของผู้กระทำความผิด จึงมีการละเมิดกฎหมายกันเสมอ ดังนั้น Good corporate governance

(การบริหารจัดการที่ดี) ไม่สามารถพัฒนาต่อไปได้ นอกจากนี้บริษัทใหญ่ ๆ หรือบริษัทจดทะเบียนในประเทศที่กำลังพัฒนาใช้วิธีการสร้างภาพลักษณ์ให้คน เข้าใจว่าบริษัทมีการบริหารจัดการที่ดีทั้ง ๆ ที่อาจใช้การตกแต่งบัญชีและรายงานสถานะที่ไม่โปร่งใสให้แก่ผู้ถือหุ้นและนัก ลงทุน

ประเทศที่พัฒนาทางเศรษฐกิจกำลังสนใจ CSR เรื่องใดบ้าง

ใน ปัจจุบันยุโรปตะวันตก แคนาดา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา (ตั้งแต่ประธานาธิบดีโอบามาเข้ารับตำแหน่ง) หันมาให้ความสนใจเรื่องการรักษาสภาพแวดล้อมและการลดก๊าซเรือนกระจกกันมาก เพราะปัญหาทั้งสองมีผลกระทบไปยังประเทศของเขา (และทั่วโลก) โดยประเทศที่เจริญทางเศรษฐกิจก็เป็นประเทศที่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกมาเป็น เวลาช้านาน และที่น่ากลัวก็คือภาวะโลกร้อนจะทำให้ดินฟ้าอากาศแปรปรวน จะทำให้ประเทศที่เคยผลิตอาหารและส่งออกพืชผลทางการเกษตรมีผลผลิตน้อยลง มารค์ โรส กรานท์ จากองค์การ International Food Policy Research Institute (IFPRI) คาดว่าทวีปเอเชียจะผลิตอาหารน้อยลงร้อยละ 27 ข้าวนาปีที่ผลิตจากประเทศไทยจะลดลงร้อยละ 25 (4) ใน ค.ศ. 2050 เขาคาดว่าระดับน้ำในทะเลรอบ ๆ ประเทศไทยและใน อ่าวไทยจะสูงขึ้น 3 เมตร การผลิตอาหารจากเอเชียจะลดลงร้อยละ 27 เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกจะจมลงอยู่ใต้น้ำเป็นจำนวนมาก

บริษัทข้าม ชาติและมูลนิธิต่างประเทศต่าง ๆ มีกิจกรรม CSR ในประเทศของเขามากมาย ส่วนใหญ่จะเป็นการช่วยเหลือบุคคล และชุมชนที่ด้อยโอกาส ในสหรัฐ อเมริกามีองค์กรใหญ่เกิดขึ้นมากมาย เช่น United Way, Goodwill, The Salvation Army ซึ่งขอรับบริจาคของที่ไม่ใช้ตามบ้านเพื่อนำไปขายหารายได้ไปช่วยผู้ด้อยโอกาส องค์กรเหล่านี้มักจะจ้างคนพิการมาเป็น พนักงานขายของในร้านของเขา ทั้งนี้เพื่อให้คนพิการมีความภาคภูมิใจและมีศักดิ์ศรีในสังคม ในประเทศไทยวัดสวนแก้วทำกิจกรรมลักษณะคล้ายกันแต่ยังอยู่ในระดับเล็ก

การ ดูแลคนพิการในประเทศที่พัฒนาทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับดีมาก วัตถุ ประสงค์ของเขาคือการทำให้คนพิการมีสิทธิเท่าเทียมกับคนทั่วไป ไม่ต้องพึ่งผู้อื่นเพื่อความอยู่รอดทำให้คนพิการมีชีวิตที่มีศักดิ์ศรี คนพิการที่ต้องใช้รถเข็นในการเดินทางสามารถไปไหนมาไหนด้วยตนเอง รถประจำทางทุกคันจะสามารถรับคนนั่งรถเข็นได้โดยมีลิฟต์ให้บริการขึ้น-ลง และพนักงานขับรถก็ได้รับการฝึกฝนอย่างดีเยี่ยมลงไปช่วยอำนวยความสะดวกให้ คนนั่งบนรถประจำทางทุกคนก็แสดงความเข้าใจรอให้คนพิการขึ้นรถอย่างเรียบร้อย รถประจำทางจะมีที่สำหรับรถเข็นของคนพิการยึดติดตัวรถประจำทางเพื่อความ ปลอดภัย นอกจากนี้อาคารทุกอาคารที่สร้างขึ้นมาใหม่จะมีทางลาดให้รถเข็นเลื่อนขึ้น-ลง ได้โดยสะดวก และมีห้องน้ำสำหรับคนพิการได้ใช้ ซึ่งโรงแรมที่มีคุณภาพระดับ 4-5 ดาวในประเทศไทยจะทำไว้บริการแขกที่พิการ

view