จากประชาชาติธุรกิจ
เครือ ซิเมนต์ไทยเข้าสู่ธุรกิจเคมีภัณฑ์ในปี พ.ศ. 2526 ปัจจุบันธุรกิจเคมีภัณฑ์ผลิตและจำหน่ายเคมีภัณฑ์ครบวงจรตั้งแต่ขั้นต้น ได้แก่ โอเลฟินส์ ขั้นกลางได้แก่ สไตรีนโมโนเมอร์ พีทีเอ และเอ็มเอ็มเอ และขั้นปลายได้แก่ เม็ดพลาสติกหลัก ทั้ง 4 ประเภท ได้แก่ โพลีเอทิลีน โพลีโพรไพลีน โพลีไวนิลคลอไรด์ และโพลีสไตรีน
โดยเอสซีจี เคมิคอลล์เป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของประเทศ และเป็นผู้ผลิตชั้นนำในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ด้วยคุณภาพผลิตภัณฑ์ ความสามารถในการบริหารจัดการและการดำเนินธุรกิจ ซึ่งเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง ธุรกิจประสบความสำเร็จในการร่วมทุนกับบริษัทชั้นนำระดับโลก อาทิ The Dow Chemical ประเทศสหรัฐอเมริกา Mitsui Chemicals และ Mitsubishi Rayon ประเทศญี่ปุ่น
และเพื่อรับมือกับการแข่งขันที่สูงขึ้น ตลอดจนการผันผวนของราคา ธุรกิจพัฒนาสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูง และเพิ่มประเภทสินค้าให้หลากหลายอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ธุรกิจ ยังให้ความสำคัญกับการบริหารคุณภาพและการจัดการสิ่งแวดล้อมไปพร้อม ๆ กัน ทำให้ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติหลายรางวัล อาทิ รางวัล Deming Prize จาก สมาพันธ์นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรแห่งประเทศญี่ปุ่น และรางวัล Prime Minister"s Industry Award for Outstanding Achievement in Environmental
เอสซีจี เคมิคอลล์ องค์กรของคนที่ชอบความท้าทาย
จากประชาชาติธุรกิจ
"เอส ซีจี เคมิคอลล์" แม้จะเป็นธุรกิจน้องใหม่ในเครือเอสซีจีที่เพิ่งแจ้งเกิดได้ไม่นาน แต่ก็เป็นน้องใหม่ที่มาแรงเพราะธุรกิจเคมีภัณฑ์ในวันนี้การแข่งขันสูงไม่แพ้ อุตสาหกรรมอื่น แถมตลาดส่วนใหญ่ยังอยู่ในต่างประเทศ การจัดโครงสร้างและการบริหารจัดการองค์กรจึงต้องอาศัยยุทธศาสตร์เฉพาะตัว เพื่อสร้างคนที่มีความสามารถแตกต่างจากธุรกิจอื่น
"ชลณัฐ ญาณารณพ" ผู้บริหารหนุ่มที่ก้าวขึ้นมานั่งตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสซีจี เคมิคอลล์ จำกัด เพื่อดูแลธุรกิจเคมีภัณฑ์ด้วยวัยเพียง 46 ปี เล่าถึงความสำเร็จของธุรกิจให้ฟังว่า ด้วยความที่เอสซีจีฯเน้นเรื่องของคน มองคนว่ามีคุณค่าสำหรับองค์กร การรับสมัคร พนักงานใหม่จะเลือกรับตั้งแต่จบการศึกษาเพราะง่ายต่อการหล่อหลอมและการพัฒนา ดังนั้นจะเห็นว่าคนของเอสซีจีฯจะมีวัฒนธรรมองค์กรที่เป็นเนื้อเดียวกันเป็น พื้นฐาน และแต่ละธุรกิจก็จะมีบุคลิกแตกต่างกันไปตามลักษณะการทำงานในธุรกิจนั้น
เคมี ภัณฑ์เป็นธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงเร็ว และเปลี่ยนแปลงครั้งละมาก ๆ คนในองค์กรต้องสามารถตอบสนองต่อภาวะธุรกิจเช่นนี้ได้ คนของเคมีภัณฑ์จึงเป็นคนที่ทำอะไรเร็ว มีความยืดหยุ่นสูง ที่มากกว่านั้นจะต้องมีความสามารถในการปฏิสัมพันธ์กับชาวต่างชาติ เพราะเคมีภัณฑ์เป็นธุรกิจข้ามชาติที่มีการแข่งขันเกิดขึ้นตลอดเวลา
นั่น คือภาพของการทำธุรกิจ แต่วัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันในองค์กรเอสซีจี เคมิคอลล์ก็ไม่ได้แตกต่างจากองค์กรไทย ๆ ทั่วไปนั่นคือ เน้นการอยู่ร่วมกันแบบครอบครัว รุ่นพี่สอนงานให้กับรุ่นน้อง รุ่นพี่เป็นโรโมเดลให้กับน้อง ๆ
"ที่เอสซีจี เคมิคอลล์ จะมีระบบคุณภาพที่เรียกว่า TQM (Total Quality Management) เป็นระบบใหญ่ที่ครอบอยู่ เพราะคัลเจอร์ของปูนฯ คือ เรื่องของคุณภาพและอินโนเวชั่น ในส่วนธุรกิจเคมีภัณฑ์จะมีคัลเจอร์ในเรื่องของความปลอดภัย เรื่องวินัยเพิ่มเข้ามาเป็นตัวขับเคลื่อนองค์กร"
"ชลณัฐ" บอกว่าในเรื่องการเทรนนิ่งต่าง ๆ ตามแผนงานทางบริษัทแม่จะเป็นคนดูแลให้ แต่ในเรื่องของซอฟต์ไซด์ เอสซีจี เคมิคอลล์จะเป็นคนดูแลเองเพื่อลดขั้นตอนในการทำงาน
การพัฒนาจะมี 2 หลักใหญ่ คือ การพัฒนาด้าน competency และ Learn how to learn เป็นการ บ่มเพาะทักษะการเรียนรู้โดยใช้ คอนเซ็ปต์ของคอนสตรักชั่นนิสซึ่ม ซึ่งเปิดอบรมทุกปี ปีละ 10 กว่าคน ปัจจุบันมีผู้ผ่านการอบรมไปแล้วกว่า 100 คน พนักงานเหล่านี้เข้ามาเป็นฐานให้กับองค์กร
พนักงานที่จบ ปวส. ปวช. ด้านช่างบริษัทก็มาต่อยอดความรู้ให้กับเขา ทั้งทางด้านเทคนิคอลเอ็นจิเนียริ่ง ความเข้าใจทางด้านปิโตรเคมี พัฒนาศักยภาพจนถึงระดับน้อง ๆ เอ็นจิเนียร์
พร้อมกันนั้นองค์กรก็ใส่ เรื่องการพัฒนาสภาพจิตใจของพนักงานเข้าไปด้วย โดยบริษัทจะมีคอร์สให้กับพนักงานได้ฝึกสมาธิเพื่อให้เป็นคนที่เปิดการรับรู้ คิดอะไรในลักษณะองค์รวมเป็น
"พนักงานที่อยู่กะประมาณ 6 คนต่อ 1 กะ จะต้องดูแลทรัพย์สินของบริษัทประมาณ 7-8 พันล้านบาท หากเกิดอะไรขึ้นความสูญเสียจะมหาศาล ดังนั้นการพัฒนาพนักงานภายใต้คอนเซ็ปต์การเรียนรู้ในลักษณะคอนสตรักชั่นนิ สซึ่มจึงมีความจำเป็นมากเพราะช่วยให้คนเรียนรู้ได้เร็วและตรงจุด"
ผู้ บริหารหนุ่มบอกถึงความสำคัญของการพัฒนาคนทั้งเรื่องทักษะการทำงานและด้านจิต ใจไปพร้อม ๆ กัน พร้อมให้ข้อมูลต่อว่า หลังจากที่นำระบบคอนสตรักชั่นนิสซึ่ม มาใช้ระยะหนึ่งแล้วเห็นผลที่ดีจึงได้ขยายไปในสถานศึกษาโดย จับมือกับวิทยาลัยเทคนิคระยอง เปิดโครงการโมเดลสกูลให้น้อง ๆ ที่เรียนระดับ ปวส.ได้เรียนรู้ลักษณะคอนสตรักชั่นนิสซึ่ม ซึ่งเมื่อเด็กเหล่านี้เข้าทำงานกับเอสซีจี เคมิคอลล์ก็จะเป็นเนื้อเดียวกับพนักงาน อื่น ๆ ทั้งกายและใจโดยไม่ต้องมาเสียเวลาในการเทรนนิ่งใหม่
"ผมทำงานมา 20 กว่าปี สนุกกับการทำงานก็อยากให้น้อง ๆ ทำงานด้วยความสนุก มีเอ็มพาวเวอร์เพราะว่าผู้บังคับบัญชาให้โอกาส เรามีโอกาสที่จะแสดงฝีมือ พอ ผู้บังคับบัญชาเห็นฝีมือก็ให้โอกาสอีก ก็ต่อ ยอดไปเรื่อย ๆ เมื่อขึ้นมาเป็นผู้บริหารก็จะเปิดโอกาสให้น้อง ๆ ได้แสดงฝีมือ ทุกคนก็จะทำผลงานขึ้นมา เราก็ลองให้เขาไปจับตรงโน้นตรงนี้แล้วดูว่าตรงไหนเหมาะที่สุด"
"ชลณัฐ" เชื่อว่าพนักงานจะเก่ง จะโตได้อยู่ที่ผู้บังคับบัญชาให้โอกาสและคอยดูแลเขาแค่ไหน
ที่ เอสซีจี เคมิคอลล์จะเน้นการทำงานเป็นทีม การไปลงทุนต่างประเทศแม้จะมีคนไปบุกตลาดไม่กี่คน แต่ทุกคนก็อุ่นใจเพราะรู้ดีว่าทีมงานที่อยู่ที่สำนักงานคอยสนับสนุนเขาอยู่ ถ้าเขาทำงานไม่สำเร็จหน่วยงานนั้นก็ถือว่าทำงานไม่สำเร็จด้วย
"คน ที่เก่งจะได้รับเกียรติให้ทำงานที่ยากเสมอ เพราะโอกาสล้มเหลวมีน้อย และที่สำคัญคนเก่งเมื่อได้ทำงานยากเขาจะยิ่งเก่งขึ้นไปอีก เหมือนการยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว และสิ่งที่จะได้ตามมาอีกอย่างหนึ่งคือ คนเก่งบางทีอีโก้สูงแต่พอต้องไปทำงานที่ยากเขาจะเป็นโลกในอีกมุมมองหนึ่ง อีโก้ก็จะลดลง ดังนั้นองค์กรต้องให้งานที่ท้าทายเขาตลอดเวลาพร้อมทั้งรีวอร์ดเมื่อทำงาน สำเร็จ"
นั่นคือเคล็ดลับในการบริหารจัดการคนเก่ง ฉบับ "ชลณัฐ"
และ ด้วยความที่ "คน" มีความสำคัญต่อธุรกิจมาก เอสซีจี เคมิคอลล์จึงใช้เวลาเตรียมคนสำหรับอนาคตธุรกิจในลักษณะของมีเดียมเทอม ยกตัวอย่างบริษัทมีแผนขยายโรงงานในปีหน้าจะต้องรับสมัครคนเพื่อมาเทรนงาน ล่วงหน้าอย่างน้อย 4 ปี เรียกว่าลงทุนใส่คนเข้าไปก่อนเมื่อทุกอย่างพร้อมแล้วจึงเริ่มรันงานใหม่
"ชล ณัฐ" บอกว่า สเต็ปต่อไปคิดว่าจะพัฒนาเป็นโรงเรียนเอสซีจี เคมิคอลล์ในลักษณะของอะคาเดมีในการสร้างคนเป็นหลักสูตรระยะยาว เพราะนักการตลาดก็พัฒนาแบบหนึ่ง แผนกเดินเครื่องดูแลการผลิตก็ต้องได้รับการพัฒนาอีกแบบหนึ่ง แล้วพี่ ๆ มีหน้าที่ดูแลรุ่นน้อง ตอนนี้ให้พี่ ๆ กลับไปทำการบ้าน ทุกคนต้องเก็บข้อมูลจากประสบการณ์มาสอนน้อง ๆ ซึ่งเรื่องที่สอนจะมีเรื่องของฮาร์ดไซด์ และซอฟต์ไซด์ เทรนทั้งเรื่องการขาย การดูแลลูกค้า การวิเคราะห์ตลาด ฯลฯ เพราะในการทำงานมีสิ่งใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา การพัฒนาตรงนี้จะทำให้พนักงานเปิดกว้างทาง ความคิด แล้วมุ่งไปสู่จุดที่สูงกว่าตลอดเวลาเพราะทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ องค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กรไม่ตกหาย "เจเนอเรชั่นต่อไปที่จะมารับช่วงธุรกิจเก่งกว่าคนที่ทำงานอยู่ในปัจจุบัน เพราะต้องยอมรับว่าการทำธุรกิจในวันนี้ยากกว่าเมื่อ 10 ปีที่แล้วมาก ในอนาคตการทำธุรกิจก็ต้องยากกว่าในปัจจุบัน วันนี้จึงต้องมองไปข้างหน้า กล้าที่จะเป็นผู้นำ อ่านเทรนข้างหน้าให้ขาด ซึ่งประสบการณ์จะช่วยให้มองทิศทางข้างหน้าได้ชัด จะวางคน จะก้าวไปอย่างไร เพื่อมองหาน่านน้ำสีฟ้าตลอดเวลา"
ภารกิจที่ยิ่งใหญ่แม้จะเป็นความ ท้าทายที่ทำให้คนของเอสซีจี เคมิคอลล์ สนุกกับงานและพร้อมที่จะลุยไปข้างหน้า แต่ทว่าเรื่องของ work life balance ก็เป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นสำหรับทุกคนในการทำงานยุคปัจจุบันที่นายใหญ่ องค์กรนี้ไม่ลืมที่จะดูแล