จาก โพสต์ทูเดย์
รายงานโดย :กิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์: |
บทความหลายตอน ที่แล้ว ผมได้พูดถึงการบริหารจัดการธุรกิจครอบครัวโดยมีการจัดตั้งบริษัทธุรกิจครอบ ครัว มีการจัดทำข้อบังคับและการทำสัญญาผู้ถือหุ้นรวมถึงการทำพินัยกรรมไปแล้ว บทความฉบับนี้จะมักพูดถึงว่า “มีการจัดตั้งในสภาครอบครัว มีความจำเป็นเพียงไรกับธุรกิจครอ
โดยทั่วไปครอบครัวบางคนอาจจะเป็นผู้ถือหุ้นของกรรมการของบริษัทครอบครัวหรือ ทำงานในบริษัทในฐานะผู้บริหารหรือลูกจ้างหรือบางคนอาจไม่ได้ทำงานหรือบริหาร โดยเฉพาะในธุรกิจครอบครัวที่มีจำนวนลูกหลานเป็นจำนวนมากมีความเกี่ยวข้องที่ แตกต่างกันบุคคลในวงกลม 3 ห่วงที่ผู้เขียนเคยเขียนไว้ ย่อมจะมีแนวคิดในการจัดการที่แตกต่างกัน และผลประโยชน์ที่ขัดแย้งกันจึงนำไปสู่ข้อพิพาทของธุรกิจครอบครัวทั่วโลกรวม ทั้งในประเทศไทยด้วย
ดังนั้น แนวคิดการจัดให้ “สภาครอบครัว” หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า “Family Council” พัฒนามาจากต่างประเทศ ประเทศไทยอาจจะมีแต่ไม่เป็นทางการ ซึ่งสภาครอบครัวก็มีส่วนสำคัญที่จะพัฒนาเป็นการเปิดโอกาสให้สมาชิกในครอบ ครัวสามารถสื่อสารติดต่อกันได้มากขึ้น เป็นการสร้างความสมัครสมานสามัคคี
อีกทั้งหากมีปัญหาข้อขัดแย้งกัน ก็สามารถขจัดปัญหาอุปสรรคต่างๆ ได้ด้วยการพูดคุย รวมทั้งสภาครอบครัวยังสามารถกำหนดแนวทางในการดำเนินกิจการของธุรกิจครอบครัว ได้ ตลอดจนจะเป็นศูนย์กลางการฝึกอบรมให้ลูกหลานซึ่งเป็นสมาชิกในครอบครัวมีความ รู้ในเรื่องต่างๆ จากสมาชิกในครอบครัวที่มีประสบการณ์การบริหาร หรือนำบุคคลภายนอกเข้ามาบรรยายให้สมาชิกในครอบครัวมีความรู้เป็นพิเศษใน เรื่องต่างๆ เช่น การบริหารการเงินเพื่อพัฒนาธุรกิจครอบครัวอย่างยั่งยืน
โดยทั่วไปสภาครอบครัวกับธรรมนูญหรือข้อพึงปฏิบัติของครอบ ครัวมักจะมาพร้อมๆ กัน ซึ่งผมจะเน้นเรื่องข้อพึงปฏิบัติของครอบครัว เหตุผลเพราะครอบครัวแต่ละครอบครัวมักจะเติบใหญ่มีสมาชิกเพิ่มขึ้นจากการเข้า มาของคู่สมรส การมีทายาทรุ่นใหม่เกิดขึ้น ทำให้มีการโอนหุ้นให้บรรดาทายาทผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้นและการเจริญเติบโตของ ธุรกิจของครอบครัวที่ขยายตัวขึ้น ทำให้ต้องการสมาชิกในครอบครัวเข้ามาช่วยบริหารจัดการ
ตัวอย่างของธุรกิจครอบครัวในประเทศไทยที่อาจจะถือได้ว่า มีตัวอย่างที่น่าจะถือว่าเป็นความสำเร็จคือ กลุ่มบริษัทเซ็นทรัลของตระกูล จิราธิวัฒน์ ซึ่งจากที่ผมได้อ่านจากหนังสือ 70 ปี เซ็นทรัลนั้น ก็จะเห็นรูปแบบการจัดโครงสร้างของ Family Council หรือ “สภาครอบครัว” ที่เป็นหน่วยหรือแหล่งที่จะได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น กำหนดวิสัยทัศน์ นโยบายต่างๆ ของธุรกิจครอบครัวจนธุรกิจเติบใหญ่มาในปัจจุบัน
แต่ก็ยังไม่เคยเห็นธรรมนูญครอบครัวหรือข้อบังคับสภาครอบครัวที่พิมพ์เผยแพร่อันจะนำมาเป็นตัวอย่างได้
ผู้เขียนเคยอ่านบทความเรื่อง “จิราธิวัฒน์ รากฐานของตระกูลที่เป็นระบบ” ในนิตยสารผู้จัดการเมื่อเดือนธ.ค. 2543 เกี่ยวกับสภาครอบครัวของตระกูลจิราธิวัฒน์ ที่ได้ระบุไว้ว่า
“เรา ต้องแยกเป็น 2 วง วงหนึ่งว่ากันเรื่องของครอบครัว เป็นการคุยกันในเรื่องของครอบครัวโดยตรง ส่วนอีกวงเป็นเรื่องของธุรกิจ ก็ต้องเป็นเรื่องที่ต้องไปคุยกันในบริษัท ในที่ประชุมผู้ถือหุ้น”
“ในวงของ Family Council จะเป็นเรื่องที่ว่าด้วยบทบาทของคนที่เกิดมาในตระกูลจิราธิวัฒน์ควรกระทำและ สิทธิประโยชน์ที่คนในตระกูลนี้จะได้รับจากครอบครัวเป็นหลัก โดยมีการร่างกฎระเบียบไว้อย่างชัดเจน”
มีผู้เคยถามผมว่าธุรกิจหรือครอบครัวขนาดใหญ่แค่ไหนที่มีความ จำเป็นจะต้องมี Family Council หรือสภาครอบครัวเช่นกัน อาจหา คำตอบที่เหมาะสมสำหรับทุกครอบครัวได้ยาก
แต่ผมเห็นว่า หากสมาชิกในครอบครัวที่มีจำนวนไม่มากและ หากสมาชิกในครอบครัวมีโอกาสพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็นในการเงินระหว่าง กันอยู่แล้ว การจัดตั้งสภาครอบครัวก็อาจไม่มีความจำเป็น แต่หากว่าสมาชิกในครอบครัวตระกูลใหญ่มีจำนวนมาก มีธุรกิจหลากหลายมากมาย
การจัดให้มีสภาครอบครัวหรือการพบปะแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกัน ก็จะมีความสำคัญและมีความจำเป็นไม่น้อยในการจัดตั้งขึ้นมา
เอาไว้ฉบับหน้า เรามาดูในเรื่อง “การกำกับดูแลกิจการครอบครัว : สถาบันครอบครัว” กันนะครับ