จากประชาชาติธุรกิจ
สัมภาษณ์พิเศษ
เมื่อผลของการพัฒนาอุตสาหกรรม ส่งผลกระทบร้ายต่อประชาชนจนต้องพึ่งระบบ "ศาล"
กระดานอำนาจการเมือง-นักธุรกิจ- การค้า-อุสาหกรรมจึงอลหม่าน-เดือดร้อนถ้วนหน้า
ตั้งแต่ ตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี-รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม-สาธารณสุข-ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม- สภาอุตสาหกรรมฯ-สมาคมธนาคารไทยและหอการค้าไทย ต่างตั้งวงระดมประเด็นร้อนเข้าสู่วาระเพื่อพิจารณา
และเป็นธรรมดาทาง การเมืองที่ต้องกล่าวโทษกันไปมา แต่ทว่าเรื่องเขตควบคุมมลพิษ "มาบตาพุด" ส่งผลกระทบกว้างขวางเกินกว่าจะกล่าวหาใครคนใดคนหนึ่ง
แน่นอนที่สุด ว่า "นายสาวิตต์ โพธิวิหค" ซึ่งเป็นคนริเริ่มก่อตั้ง-กำหนดทิศทางการพัฒนา พื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกถูกตราหน้าเป็น "คนบาป" แห่งการพัฒนาอุตสาหกรรม ในยุคที่ "พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์" โชติช่วงชัชวาล
ในฐานะที่ปรึกษา ของ "นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" นายกรัฐมนตรี เขาต้องออกมาอธิบาย-ปฏิเสธ-โต้แย้ง อย่างมีเหตุ-มีผล-มีที่มา กว่า 2 ทศวรรษ
- ผลการพัฒนาตามแนวทางอีสเทิร์น ซีบอร์ดถึงตอนนี้ มีผลบวกหรือลบต่อประเทศ
โครงการ นี้ที่จริงเริ่มต้นเมื่อปี 2545 โดยนายกรัฐมนตรี พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ซึ่งได้วางแผนยุทธศาสตร์ใหม่ของประเทศ เพราะเมืองไทยสมัยก่อนไม่มีการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างเป็นระบบ ทำให้เกิดเขตอุตสาหกรรมสะเปะสะปะ ไม่สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้
สมัย นั้นนิคมอุตสาหกรรมมีเพียงแห่งเดียว คือนวนคร จ.พระนครศรีอยุธยา จะผลิตอะไร ส่งออกอะไร ก็ต้องผ่านมาจากนิคมนี้ แล้วส่งไปที่ท่าเรือคลองเตย ไปออกที่สิงคโปร์ ไปเข้ากล่องแล้วส่งต่อไปอีก ทำให้มีค่าต้นทุน ค่าขนส่ง ระบบโลจิสติกส์สูงมาก แข่งขันลำบาก
ผมจึงได้กราบเรียน ฯพณฯ ท่านนายกรัฐมนตรี พล.อ.เปรม ว่าประเทศเราจะพัฒนาอุตสาหกรรมลำบาก ดังนั้นจะต้องมีนิคมอุตสาหกรรมที่เป็นระบบ มีที่ดินบริการให้นักอุตสาหกรรม มีการสร้างระบบควบคุมมลพิษได้ มีท่าเรือ ซึ่งมาตรการในการควบคุมมลพิษในขณะนั้น ก็สามารถทำได้สำเร็จมากบ้างน้อยบ้าง
- อะไรทำให้ระบบการควบคุมมลพิษเปลี่ยนแปลงไป
ความสำเร็จใน การควบคุมสมัยนั้น เป็นไปได้เพราะมีการบริหารจัดการระบบใหม่ เรามีระบบการควบคุมที่ดิน มีหน่วยงานราชการเข้าไปควบคุมดูแล มีการวางผังเมืองเฉพาะ โดยแบ่งเป็นผังเมืองของชุมชน ผังเมืองอุตสาหกรรม ผังเมืองธุรกิจพาณิชย์ และผังเมืองสำหรับเขตเกษตรกรรม ทำให้คนอยู่ร่วมกันได้
นับเป็นครั้งแรกที่มีการออกแบบผังเมืองที่ มาบตาพุด จ.ระยอง พร้อม ๆ กับการ ตั้งเทศบาลมาบตาพุดขึ้นมาด้วย มีการตั้งเครื่องมือวัดคุณภาพอากาศ มีเมืองใหม่เกิดขึ้น มีโรงเรียน-โรงเรียนนานาชาติ มีมหาวิทยาลัยบูรพา สนับสนุนให้เกิดการพัฒนา มีโรงพยาบาล แล้วจึงให้คนย้ายเข้าไปอยู่อย่างจริงจัง
มีการพัฒนา ซึ่งก้าวหน้าที่สุด มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานคณะกรรมการพัฒนาชายทะเลฝั่งตะวันออก หรืออีสเทิร์นซีบอร์ด มีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกำกับพื้นที่ด้วย มาบตาพุดจึงมีการคุมพื้นที่อย่างเข้มงวด มีการพัฒนามากที่สุดในภูมิภาคเอเชีย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯเยี่ยมชม การพัฒนา และยังมีผู้นำจากชาติสิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม เดินทางมาศึกษา การพัฒนา
- ทำไมผลการพัฒนาถึงได้ออกมาอย่าง ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
ผู้ ริเริ่มโครงการเขาก็ตั้งใจให้เกิดการพัฒนาให้อุตสาหกรรม ประชาชน อยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน ผลการพัฒนาในระยะแรกจำนวน 2 หมื่นไร่ ก็ถือว่าเจตนาสำเร็จ และกุญแจสำคัญของระบบเศรษฐกิจคือเรื่องท่าเรือพาณิชย์ ในอีสเทิร์นซีบอร์ด จึงได้มีการสร้างท่าเรือแหลมฉบังเป็นท่าเรือพาณิชย์ ควบคู่พัฒนาอุตสาหกรรมเบา พร้อม ๆ กับการสร้างท่าเรือน้ำลึกที่ มาบตาพุดควบคู่พัฒนาอุตสาหกรรมหนัก
ผังเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปใน ปัจจุบัน อำนาจการต่อรองของประชาชนเปลี่ยนแปลงไป หน่วยงานราชการซึ่งผม ไม่แน่ใจเรื่องความเป็นกลาง ซึ่งสะท้อนออกมาที่คำพิพากษาของศาลปกครองที่ว่า มีเจ้าหน้าที่ละเลยการปฏิบัติหน้าที่ เพราะถ้าหน่วยงานราชการมีความเป็นกลาง ประชาชนต้องได้รับการคุ้มครอง มี ความสมดุล เป็นธรรม ตามกฎหมาย
- ปัญหาคือชุมชนไม่ได้มีส่วนร่วมในการ จัดทำผังเมืองหรือไม่
สมัย ก่อนนั้นการพัฒนาเป็นเรื่องของอุตสาหกรรมขนาดเล็ก อุตสาหกรรมเบา เรื่องเกษตร และเรื่องใหญ่คือเรื่องการพัฒนาระบบชลประทาน แต่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ไม่มี เราจึงไม่ได้ศึกษาถึงการควบคุม พล.อ.เปรม จึงได้ให้มีการวางแผนแบบ "มาบตาพุด" เหมือนเป็นการสร้าง เมืองขึ้นมาใหม่ มีการสร้างโรงแยกก๊าซ ท่อก๊าซขึ้นมา
ขณะนั้นมีการควบคุมมลพิษอย่าง ใกล้ชิด 2 หมื่นไร่ แต่หลังจากนั้นก็มีการพัฒนาเพิ่มเป็น 1 แสนไร่ มีหลายนิคมอุตสาหกรรมเกิดขึ้น มีการขยายไลน์การผลิตปิโตรเคมี มีอุตสาหกรรมต้นน้ำกลางน้ำและปลายน้ำ ขณะเดียวกันคนก็ย้ายเข้ามาอยู่มากขึ้น ผังเมืองก็มีการปรับเปลี่ยนตาม ไปด้วย
- ปัญหาผังเมืองเปลี่ยนไป ส่งผลต่อมลพิษอย่างไร
ใน ปี 2527 มาบตาพุดมีผังเมืองพัฒนาอุตสาหกรรม 2 หมื่นไร่ พอปี 2531 ผังเมืองรวมทั้งพื้นที่สำหรับภาคอุตสาหกรรม ชุมชน การเกษตร ถูกแบ่งอย่างเหมาะสม จากนั้นในปี 2534 ผังเมืองก็ยังมีพื้นที่สำหรับชุมชนใหญ่ ที่เมืองใหม่ติดต่อกับเขต อ.บ้านฉาง แต่พอปี 2546 ผังเมืองถูกเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาล เพราะพื้นที่สีเหลืองที่แสดงถึงพื้นที่ชุมชนที่อยู่อาศัย หายไปเกือบหมด แต่มีผังเมืองแสดงพื้นที่สีเหลืองของภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นมาแทนที่อย่าง เห็นได้ชัด นี่จึงเป็นจุดเปลี่ยนของการพัฒนาพื้นที่มาบตาพุดที่เห็นภาพชัดเจนที่สุด
ผัง เมืองที่ถูกเปลี่ยนไปแต่ละครั้ง ประชาชนตามไม่ทันทางการ และไม่มีส่วนร่วม ดังนั้นปัญหาสำคัญที่ต้องเร่งสะสางมากที่สุดของมาบตาพุดคือปัญหาชุมชน
- จุดเปลี่ยนของการควบคุมมลพิษในพื้นที่คือสมัยรัฐบาลไหน
จะ เห็นได้ว่าในปี 2546 ที่มีการเปลี่ยนระบบผังเมือง ในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไม่มีคณะกรรมการอีสเทิร์นซีบอร์ด เพราะเขาใช้หน่วยงานราชการทำงานไปทั้งฝ่ายสิ่งแวดล้อม สาธารณสุข มหาดไทย ที่ดูแลชุมชน เพราะเห็นว่าไม่จำเป็นต้องมีกรรมการพิเศษ จากจุดนี้ทำให้แต่ละคนแต่ละฝ่ายทำงานของตัวเอง ไม่มีใครเห็นภาพ ว่าวันนี้จะเกิดอะไรขึ้น
ในสมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เคยจะประกาศเขตมาบตาพุดเป็นเขตควบคุมมลพิษ แต่สมัยนั้นก็ไม่ได้ประกาศ จนกระทั่งเอ็นจีโอและประชาชนร่วมกันฟ้องศาลปกครองให้ประกาศเป็นเขตควบคุม มลพิษ ซึ่งนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็เห็นด้วย และมีการแต่งตั้งคณะกรรมการอีสเทิร์นซีบอร์ดขึ้นมาใหม่ โดยให้นาย กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ซึ่งไม่ได้มีอำนาจในการตัดสินใจเด็ดขาด แต่ต้องส่งเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอนุมัติอีกครั้ง
- ตอนนี้ปัญหาบานปลายไปจนถึงจะมีการฟ้องร้องอีก 500 โครงการทั่วประเทศ
เฉพาะ ปัญหาที่มาบตาพุด ก็มีเรื่องที่ไม่สามารถตอบประชาชนได้ เพราะฉะนั้นจึงมีแนวคิดของคนไม่น้อยที่ว่าโครงการ ขนาดใหญ่ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมีผลต่อสุขภาพของประชาชน ควรต้องมีการทำ EIA และ HIA และให้ประชาชนมีส่วนร่วม มีการตั้งองค์กรอิสระขึ้นมา ทบทวนสิ่งที่ข้าราชการเคยทำมา
ใน ประเด็นมาตรา 67 ของรัฐธรรมนูญ 2550 เป็นเรื่องความปวดหัวของนักอุตสาหกรรม แต่ต้องยอมรับว่ารัฐธรรมนูญประกาศใช้มา 2 ปี แต่มาตรา 67 ยังไม่ได้ประกาศใช้อย่างจริงจัง เดิมนักกฎหมาย นักสิ่งแวดล้อม ก็ไม่ได้ดูมาตรานี้
ต่อมาตอนยื่นฟ้องให้เป็นเขตควบคุมมลพิษ นักกฎหมายจึงได้ให้ข้อแนะนำว่าต้องฟ้องตามมาตรา 67 ทั้ง 76 โครงการ ต่อมาในการฟ้องรอบสอง ศาลก็ให้ระงับการคุ้มครอง ทำให้นักธุรกิจ นักอุตสาหกรรมก็ได้รับผลกระทบอย่างหนัก
ปัญหามีอยู่ว่า เมื่อมีกฎหมายรัฐธรรมนูญออกมาใหม่ ต้องมีการกำหนดทิศทางการเปลี่ยนแปลงด้วยการจะกำหนดเรื่องกฎหมายลูก แต่ในฉบับนี้ เรื่องมาตรา 67 ไม่ได้มีการกำหนดแผนปฏิบัติการ ไม่มีการเตรียมออกกฎหมายลูกรองรับ คนก็ไม่รู้ทิศทางการปฏิบัติ ไม่มีภาคบังคับ มีการตีความกันกว้าง ๆ ในมุมกลับจะมีผู้ที่ยื่นฟ้อง การพัฒนาแบบนี้ทั่วประเทศจำนวนมาก พวกที่ฟ้องก็บอกต้องหยุดกิจการหมด เพราะมาตรา 67 ระบุชัดเจนว่าไม่มีใบอนุญาตให้ก่อสร้างโรงงาน แต่เดิม กระทรวงอุตสาหกรรมมีระบบ one stop service จึงมีการอนุญาตทั้งสร้าง โรงงาน-ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและใบอนุญาตเปิดกิจการ โรงงานต่าง ๆ จึงยึดแนวทางนี้
- นักลงทุนกลัวปัญหาเอ็นพีแอล ปัญหาการลงทุนในเขตนิคมอุตสาหกรรม ทั่วประเทศ รัฐบาลจะช่วยอย่างไร
ใน แง่รัฐบาล ฝ่ายนโยบายก็มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม สาธารณสุข ที่เห็นว่าต้องอุทธรณ์ เพราะเห็นว่าโครงการ 76 แห่งที่อาจผิดมาตรา 67 นั้นอาจไม่เข้าข่ายความผิด เพราะมีการระบุว่าเป็นอุตสาหกรรมที่ร้ายแรง ซึ่งคำว่าร้ายแรงหรือไม่นั้น ต้องเป็นไปตามเกณฑ์ที่ศาลจะระบุอีกครั้ง
รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ จะรีบออกกฎหมายลูก นำเรื่องเข้า ครม.และส่งให้สภาผู้แทนฯพิจารณา ออกหลักเกณฑ์ ให้นักอุตสาหกรรม นักธุรกิจ ถือปฏิบัติโดย ทั่วกัน โดยรัฐบาลจะปฏิบัติตามกฎหมาย ทุกโครงการต้องเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ
- ถ้าต่างฝ่ายต่างตีความ ศาลระดับไหน จะให้ความกระจ่าง และให้ความยุติธรรมกับทุกฝ่าย
ยุค นี้เมืองไทยไม่ได้ตัดสินใจได้เฉพาะฝ่ายบริหารฝ่ายเดียว แต่เมื่อมีปัญหาระหว่างประชาชนกับฝ่ายต่าง ๆ ก็มีการไปพึ่งศาล ก็ขึ้นอยู่กับการตีความ ซึ่งหากเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับประเด็นทางรัฐธรรมนูญมาตรา 67 ก็ต้องไปว่ากันที่ศาลรัฐธรรมนูญ เพราะต้องตีความรัฐธรรมนูญ ก็ต้องใช้ช่องทางศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งก็เป็นไปได้ เพราะเรามีระบบศาลที่คุ้มครองประชาชนหลายศาล
- มีการมองกันว่าการที่ท่านสาวิตต์ออกมาช่วยแก้ปัญหาเรื่องนี้ เพราะต้อง การไถ่บาปจากการพัฒนาอีสเทิร์นซีบอร์ด
ไม่ เลย...ตรงข้ามผมทำเป็นบุญไว้มากมาย ไม่ใช่บาป ผมบอกตามตรง ตั้งแต่ผมออกมาจากวงจรการพัฒนา อุตสาหกรรมนั้นแล้ว เห็นได้ชัดว่าความสำเร็จโดยกติกาที่เคยมีอยู่ได้หายไป บทบาทการพัฒนาที่เราคาดหวังให้มีการดูแลกติกาให้ชัดเจน ตรงไปตรงมานั้นไม่เกิด ทำให้การพัฒนาอย่างยั่งยืนเกิดขึ้นไม่ได้เท่าที่ควร
- การแก้ปัญหาสไตล์รัฐบาลประชาธิปัตย์ จะทำให้นักธุรกิจเสื่อมความนิยมต่อรัฐบาลลงหรือไม่
ต้อง ยอมรับว่าวันนี้ ถ้าไม่มีคำพิพากษาของศาลปกครอง การเคลื่อนไหวเพื่อแก้ปัญหาก็คงไม่เกิดขึ้นอย่างจริงจัง ผมคิดในทางบวกว่า อย่างน้อยที่สุดประชาชนที่เคยร้องเรียนก็จะรู้สึกว่าได้มีศาลเป็นที่ พึ่งพิง นักธุรกิจที่ต้องการทำธุรกิจอย่าง ตรงไป ตรงมาก็ต้องการกรอบกติกาที่ชัดเจน เพราะฉะนั้นถือว่าจุดนี้จะเป็น การเริ่มต้นกระบวนการพัฒนาที่ทุกฝ่ายยอมรับได้
ผมเชื่อว่านัก ธุรกิจเอกชนก็ไม่ได้ขัดข้องที่จะให้ประชาชนมีส่วนร่วม เชื่อมั่นว่า นายกรัฐมนตรีที่เป็นนักกฎหมายใกล้ชิดนักธุรกิจ คลุกคลีปัญหาตั้งแต่ในคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เข้าใจประเด็นนี้ดีและมีการพูดคุยกับนักธุรกิจภาคประชาชนไปแล้ว และท่านเข้าใจดีว่าเรื่องนี้ต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ