จากประชาชาติธุรกิจ
สัมภาษณ์
ถือ เป็นอีกหนึ่งความภูมิใจของประเทศไทย และ บริษัท เด็นโซ่ อินเตอร์เนชั่นแนล เอเชีย จำกัด หลังจากแรงงานฝีมือ ชาวไทยได้มีโอกาสขึ้นไปสร้างชื่อใน งานมหกรรมการแข่งขันฝีมือแรงงานนานาชาติ (World Skills) หรืองาน สุดยอดการแข่งขันทักษะอาชีพ และเทคโนโลยีการฝึกอบรม งานนี้เราส่งเยาวชนร่วมแข่งขันถึง 15 สาขา สามารถคว้ารางวัลมาครองได้ 5 สาขา และหนึ่งในนั้นคือพนักงานจากบริษัทเด็นโซ่ฯ อะไรคือสูตรสำเร็จที่ทำให้แรงงานชาวไทยและบริษัทเด็นโซ่ฯสามารถไปสร้างชื่อ ในระดับโลกได้ วันนี้ "ถาวร ชลัษเสถียร" ในฐานะผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เด็นโซ่ อินเตอร์เนชั่นแนล เอเชีย จำกัด เปิดใจให้ฟังอย่างหมดเปลือก
- ที่มาของการจัดส่งประกวด
เด็น โซ่ยึดถือนโยบายเรื่องการพัฒนาบุคลากรเป็นนโยบายหลักของบริษัท และเด็นโซ่ทั่วโลก ไม่เฉพาะประเทศไทยเท่านั้น จากความเชื่อของเราที่ว่า "Monozukiri is Hitozukuti" หรือ "การ
สร้างงานเริ่มจากการสร้างคน" ซึ่งเด็นโซ่ ทั่วโลกมองว่าบุคลากรที่มีคุณภาพจะเป็นรากฐานของการพัฒนาองค์กรที่ยั่งยืน ที่สุด และเด็นโซ่ก็ได้มีการลงทุนพัฒนาตรงนี้มาอย่างต่อเนื่อง
สำหรับ กลุ่มบริษัทเด็นโซ่ในปัจจุบันนั้นเราจะเน้นการบริหารภายใต้หลักการและแนวคิด ของคำว่า "เด็นโซ่สปิริต" คือ คุณค่า ความเชื่อถือที่มั่นคงไม่เปลี่ยนแปลง มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา และการส่งแรงงานฝีมือเข้าร่วมแข่งขันก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดนี้
- โปรเจ็กต์อาร์แอนด์ดีในบ้านเรา
ย้อน กลับไปเมื่อ 4 ปีที่แล้วเด็นโซ่ได้มีการลงทุนตั้งศูนย์อาร์แอนด์ดี หรือเด็นโซ่ อะเคเดมีขึ้นในประเทศไทย และถือเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค เพื่อพัฒนาและอบรมบุคลากรใน 8 ประเทศ ภายใต้หลักสูตรที่เด็นโซ่พัฒนาเพื่อสร้างบุคลากรเข้ามาทำ งานในบริษัทของเราใน 6 หลักสูตรหลัก ๆ และปัจจุบันศูนย์แห่งนิ้มีการพัฒนาเทรนเนอร์หรือครูผู้สอนขึ้นมาแล้ว 8 คน และขณะนี้กำลังสร้างเทรนเนอร์ขึ้นมาอีก 2 คน เพื่อเป็นกำลังหลักในการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรของบริษัทต่อไป
ทั้ง นี้เนื่องจากปัจจุบันการพัฒนาบุคลากรถือเป็นเรื่องที่ทุกหน่วยงานต้องให้ ความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากการแข่งขันในภาคธุรกิจนั้นการจะทำกำไรให้กับองค์กรวันนี้ไม่ได้ แข่งขันเพียงแค่กำไรหรือราคาสินค้าแต่ยังต้องแข่งขันกันในเรื่องของคุณภาพ การลดต้นทุนการผลิต และการพัฒนาบุคลากรด้วย
อย่างที่ผ่านมาเด็นโซ่ ก็ได้ร่วมมือกับภาครัฐและภาคเอกชนอื่น ๆ เพื่อลงนามดำเนินโครงการพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมยานยนต์ (AHRDP) เพื่อพัฒนาคนในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนด้วย
- อะไรคือความสำเร็จ
ความ สำเร็จดังกล่าวไม่ใช่เฉพาะแต่บริษัทเด็นโซ่ของเราเท่านั้น แต่นั่นยังหมายรวมถึงประเทศไทยและอุตสาหกรรมยานยนต์ ของไทยที่สามารถเข้าไปสร้างชื่อได้ ในเวทีระดับโลก ปีนี้ประเทศไทยส่งแรงงานฝีมือเข้าไปร่วมประกวดการแข่งขันฝีมือแรงงานทั้ง สิ้น 15 สาขา จากทั้งหมด 45 สาขา มีผู้เข้าร่วมการแข่งขันกว่า 900 คน จาก 51 ประเทศ เมื่อวันที่ 1-7 กันยายน ที่ผ่านมา ที่เมืองแคลการี่ ประเทศแคนาดา
การประกวดครั้งนี้ประเทศไทยประสบความสำเร็จโดยเยาวชน ไทยสามารถคว้าเหรียญทอง 2 เหรียญ จากการประกวด มาได้ 2 สาขา คือ สาขาเทคโนโลยี งานเชื่อม จากนายทวีศักดิ์ เอี่ยมพงษ์ และสาขาเครื่องจักรกล CNC เครื่องกลึง จากนายณัฐพล ชัยประเศียร จากบริษัทเด็นโซ่
และ เหรียญทองแดง 2 เหรียญ จากสาขากราฟิกดีไซน์ จากนายจิรวัฒน์ เตชะปีชาวงศ์ และสาขาเครื่องปรับอากาศ จากนายประวิทย์ บุญหล้า รวมถึงเยาวชนไทยอีก 5 คน ที่ได้รับใบรับรองหรือใบ Certificate ที่สามารถทำคะแนนได้เกินมาตรฐานสากลกำหนดอีก 5 สาขาด้วย และเด็นโซ่ก็พร้อมจะยังมุ่งมั่นและพัฒนาเยาวชน และบุคลากรอย่างต่อเนื่อง
- อยากให้ภาครัฐสนับสนุนอะไร
แน่ นอนในอนาคตเราจะต้องเจอกับภาวะการแข่งขันที่รุนแรงเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะหลังจากเปิดเขตการค้าเสรีกับประเทศ ต่าง ๆ อย่างไรก็แล้วแต่สิ่งที่เราต้องการให้ภาครัฐเข้ามาสนับสนุนจะยังคงเป็น เรื่องของภาษีวัตถุดิบต่าง ๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการลงทุน รวมทั้งการส่งเสริมงบประมาณในการพัฒนาบุคลากร เพิ่มขีดความสามารถ และทักษะของฝีมือแรงงาน ด้วยการวาง "โรดแมป" ให้ชัดเจน และต่อเนื่อง เพราะยุทธศาสตร์สำคัญของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย คือ เราต้องพัฒนาคนให้มีขีดความสามารถพร้อมที่จะแข่งขันได้ในอนาคต
- สถานการณ์ของอุตสาหกรรมชิ้นส่วน
วันนี้ ต้องบอกว่า สถานการณ์ของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนเมื่อเปรียบเทียบกับเมื่อช่วงต้นปีนั้นถือ ว่าดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะคำสั่งซื้อตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันนั้นถือ ว่ามีเข้ามาโดยตลอด และส่วนใหญ่จะเป็นคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ ทั้งจีน อินเดีย มาเลเซีย ซึ่งประเทศเหล่านี้ถือเป็นประเทศที่ไม่ได้รับผลกระทบ และตลาดรถยนต์ไม่ได้ตกลงไปมากนัก
ส่วนตลาดในประเทศนั้นขณะนี้ก็เริ่ม มีสัญญาณกระเตื้องให้เห็นเล็กน้อย โดยปัญหาหลักยังอยู่ที่ตลาดรถปิกอัพซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่ไม่น่าพอใจมาก นัก แต่ยังโชคดีที่ในส่วนของรถยนต์นั่งที่มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างเห็น ได้ชัด ทำให้วันนี้เชื่อว่าอุตสาหกรรมชิ้นส่วนจะตกลงไปน้อยกว่าคาดการณ์เหลือเพียง 25-30% จากเดิมที่คาดว่าจะตกลงไปที่ 45-50% และยอดการผลิตของปีนี้น่าจะอยู่ที่ 1 ล้านคัน