สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

300 ซีอีโอฟันธงศก.ไทยพ้นถดถอย เด่นธุรกิจเป็นมิตรสิ่งแวดล้อม เปิดโอกาสผู้หญิงขึ้นแท่นผู้บริหาร

จากประชาชาติธุรกิจ



เปิดผลสำรวจ "แกรนท์ ธอร์นตัน" 300 ซีอีโอฟันธงเศรษฐกิจพ้นภาวะถดถอยแล้ว แม้โอกาสฟื้นตัวยังอืด พบผู้นำธุรกิจไทยมีทัศนคติดำเนินกิจการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสูงเกินค่า เฉลี่ยโลก แถมติดเบอร์ 3 ระดับโลกในฐานะประเทศที่เปิดโอกาสให้ผู้หญิงก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้บริหาร ธุรกิจ

นายปีเตอร์ วอล์คเกอร์ กรรมการอาวุโส ส่วนงานให้คำปรึกษาด้านธุรกิจ แกรนท์ ธอร์นตัน (ประเทศไทย) แถลงผลการสำรวจธุรกิจนานาชาติ หรือ Internation Business Report 2009 โดยระบุว่า ขณะนี้ภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ผ่านพ้นไปแล้ว แต่การฟื้นตัวยังจำเป็นต้องใช้เวลาและอยู่ในลักษณะการเผชิญกับคลื่นลมบ้าง และแม้ผลการสำรวจภาพรวมเศรษฐกิจของไทยจะยังบ่งชี้ว่ามีแนวโน้มแย่ลงกว่าปี ก่อนหน้า


แต่จากผลการสำรวจในประเทศไทยประจำปีนี้กลับมีผลลัพธ์ที่ดีใน 2 เรื่องสำคัญ ได้แก่ ทัศนคติต่อสิ่งแวดล้อม และทัศนคติต่อผู้หญิงในภาคธุรกิจ โดยพบว่ามีบริษัทจำนวนมากในประเทศไทย หรือคิดเป็น 99% กล่าวว่า จะดำเนินกิจการด้วยวิธีการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แม้ว่าจะมีผลกระทบต่อรายได้ของธุรกิจ ขณะที่ค่าเฉลี่ยของผู้ตอบคำถามในเรื่องเดียวกันนี้ในระดับโลกอยู่ที่ 51% และในเอเชีย-แปซิฟิกอยู่ที่ 57%


 ส่วนทัศนคติของนักธุรกิจที่พิจารณาว่า ธุรกิจของตนมีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือไม่นั้น ผลสำรวจของประเทศไทย 68% นักธุรกิจเห็นว่า ธุรกิจของตนนั้นเป็นธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งนับว่าสูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยในระดับโลกซึ่งอยู่ที่ 30% ส่วนเอเชีย-แปซิฟิกอยู่ที่ 32%


 ผลสำรวจในประเด็นธุรกิจกับสิ่งแวดล้อมที่ออกมาเช่นนี้ นายปีเตอร์ระบุว่า เป็นข่าวดีที่ได้ทราบว่าผู้นำทางธุรกิจในไทยมีทัศนคติในแง่บวกกับเรื่องนี้ และประเทศไทยควรใช้ทัศนคติที่ดีต่อเรื่องนี้ให้เป็นประโยชน์ เนื่องจากการทำธุรกิจใน 10-20 ปีข้างหน้า ปัจจัยเรื่องสิ่งแวดล้อมจะมีความสำคัญมากขึ้น และจะมีผลทั้งในแง่ดีและผลต่อการเปลี่ยนแปลงการทำธุรกิจในบางสาขาด้วยเช่น กัน


 ด้านประเด็นผู้หญิงในภาคธุรกิจ ซึ่งเป็นอีกหัวข้อของการสำรวจและในกรณีประเทศไทยมีผลลัพธ์ที่ดีด้วยนั้น พบว่า บริษัทในประเทศไทยจำนวน 38% มีผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้หญิง ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยของเอเชีย-แปซิฟิกซึ่งมีสัดส่วนที่ 25% และค่าเฉลี่ยของโลกอยู่ที่ 24% อีกทั้งประเทศไทยยังติดอยู่ในประเทศที่ให้โอกาสแก่ผู้หญิงก้าวขึ้นสู่ ตำแหน่งผู้บริหารในองค์กรธุรกิจมากที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากฟิลิปปินส์และบราซิล


   ต่างจากในกรณีของญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่พบว่า ให้โอกาสผู้หญิงขึ้นมารับผิดชอบในตำแหน่งผู้บริหารน้อยที่สุด โดยบริษัทญี่ปุ่นมีค่าเฉลี่ยในเรื่องการทำงานของผู้หญิงในตำแหน่งบริหาร เพียง 7% ขณะที่บริษัทในประเทศแถบยุโรปอยู่ที่ 20%


  ด้านภาพรวมทัศนคติต่อการทำธุรกิจในประเทศไทยนั้นพบว่า บริษัทต่างๆ ในประเทศไทยมีทัศนคติด้านบวกต่อภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศ "ลดลง" (-63%) เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2551 ซึ่งอยู่ที่ -30% และเมื่อเปรียบเทียบกับระดับโลกในประเด็นเดียวกัน พบว่า นักธุรกิจในระดับโลกมีทัศนคติต่อภาพรวมเศรษฐกิจลดลง (-16%) ต่างจากเมื่อปี 2551 ซึ่งมีตัวเลข 40% ส่วนในกรณีของเอเชีย-แปซิฟิกอยู่ที่ 2% จากปีที่แล้วอยู่ที่ 51%


อย่างไรก็ตาม แกรนท์ ธอร์นตันได้เสนอแนะการทำธุรกิจในสถานการณ์ปัจจุบันในตอนท้ายของรายงานว่า ขณะนี้ถึงเวลาสำหรับการคิดวางแผนในยุคหลังภาวะเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งขึ้นอยู่กับผู้นำภาคธุรกิจที่จะพิจารณาว่า การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจครั้งล่าสุดนี้จะอยู่ในรูปแบบวีเชป (V) หรือดับเบิลยูเชป (W) ซึ่งในความเห็นของนายปีเตอร์แล้ว เขากล่าวว่า ไม่ว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจรอบนี้จะอยู่ในรูปแบบใด การดำเนินกิจการของภาคธุรกิจก็ไม่น่าจะต่างกันมากนัก


  อีกทั้งผู้นำในองค์กรธุรกิจน่าจะได้มุ่งความสนใจไปที่เศรษฐกิจระดับจุลภาค เพื่อพิจารณาวิธีการดำเนินธุรกิจในตลาดของตนให้มากขึ้น โดยต้องพิจารณาถึงระดับความต้องการสินค้าและบริการในตลาดว่าเป็นเช่นไร ลูกค้าของบริษัทมีคำสั่งซื้อหรือความต้องการสินค้าและบริการคงค้างสำหรับการ กระตุ้นตลาดรอบใหม่หรือไม่ สถานะทางการเงินของลูกค้าเป็นอย่างไร ลูกค้ามีความสามารถในการซื้อสินค้าและบริการหรือไม่ และตอนนี้คู่แข่งของเรากำลังทำอะไรกันอยู่


นอกจากนี้ ธุรกิจไทยจำเป็นต้องก้าวข้ามไปสู่การพัฒนากลยุทธ์ในธุรกิจเพื่อเข้าสู่การส ร้างนวัตกรรมของผลิตภัณฑ์ การออกแบบ และการลงทุนเชิงกลยุทธ์มากกว่าจะมุ่งให้ความสำคัญกับการจัดวางโครงสร้างการ บริหารจัดการรูปแบบใหม่ การวางกลยุทธ์ด้านราคา และการประเมินประสิทธิภาพในการทำงานซึ่งทำกันอยู่แต่เดิม


  นายปีเตอร์ระบุว่า การที่ธุรกิจไทยยังมุ่งให้ความสำคัญกับการวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจด้วยการวาง โครงการการบริหารจัดการสมัยใหม่นั้น กลับเป็นเรื่องที่ไม่ใช่ปัจจัยหลักที่ควรจะทำในสถานการณ์ขณะนี้ เพราะเหมือนคุณกำลังจัดเก้าอี้สลับกันไปมาในองค์กรที่อยู่ในสภาพเหมือนเรือ ไททานิกที่กำลังจะจมเท่านั้นเอง


ส่วนในด้านปัจจัยการเมือง แกรนท์ ธอร์นตันระบุว่า ประเทศไทยจำเป็นต้องรักษาความเงียบทางการเมืองเหมือนที่เกิดขึ้นในระยะ 2-3 เดือนที่ผ่านมาต่อไป ซึ่งน่าจะทำให้เกิดผลดีกับธุรกิจมากกว่า


  ทั้งนี้ การสำรวจดังกล่าวจัดทำขึ้นจากการสำรวจทัศนคติของผู้บริหารในบริษัทเอกชน จำนวน 7,800 ราย จาก 36 กลุ่มประเทศเศรษฐกิจ สำหรับการสำรวจในประเทศไทยมีผู้บริหารธุรกิจเข้าร่วมจำนวน 300 ราย ผ่านวิธีการสุ่มเลือกจากธุรกิจเป้าหมายในเรื่องขนาดของกิจการ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ ประเภทอุตสาหกรรม และรูปแบบการถือครองกิจการ

view