สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ปากคำของ 2 จำเลย (3G) จำเป็น เทมาเส็ก-เทเลนอร์

จากประชาชาติธุรกิจ
สัมภาษณ์





ออก โรงหนุน "กทช." ให้เปิดประมูลไลเซนส์มือถือ 3G ให้ได้สักที แม้จะต้องรอต่อไปอีกสักหน่อยก็ไม่ว่ากัน เพราะไหน ๆ ก็รอแล้วรอเล่ามานานหลายปี แต่โดนพาดพิงหนักเข้า โดยเฉพาะในประเด็นที่ว่าด้วยเรื่องของความมั่นคงของชาติ กับการยาตราทัพบุกยึดกิจการสื่อสารไทย กรณี "เทเลนอร์ ณ ดีแทค" และ "เทมาเส็ก ณ เอไอเอส" (ชินคอร์ป)

แม้จะไม่อยากต่อความยาวสาวความยืด หรือเพราะอาจพูดแทนผู้ถือหุ้นได้ไม่ถนัดปาก แต่กับการตกเป็นผู้ต้องสงสัยว่าอาจเป็นร่างทรงของต่างชาติที่จะเข้ามาครอบ ครองสมบัติชาติ (คลื่นความถี่)

เคสนี้ใช้สุภาษิตไทย "พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง" คงไม่ได้การ

"ประชาชาติธุรกิจ" มีโอกาสพูดคุยกับ 2 บิ๊กบอสแห่ง "เอไอเอส และดีแทค" หลากหลายแง่มุม

คนหนึ่งเป็นฝรั่งจากนอร์เวย์ "ทอเร่ จอห์นเซ่น" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเกชั่น (ดีแทค)

อีกคนไทยแท้แต่ (ไม่) โบราณ "สมประสงค์ บุญยะชัย" ซีอีโอ บมจ.ชิน คอร์ปอเรชั่น มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ทอเร่ จอห์นเซ่น

- กทช.จะมีประกาศเกี่ยวกับนอมินีออกมา

ยัง ไม่มีใครเห็นร่างสุดท้ายว่าจะเป็นอย่างไร จึงไม่อยากคอมเมนต์อะไรมากนัก แต่ตาม กม.ไทย โดยกระทรวงพาณิชย์ สถานะของดีแทคในปัจจุบันถือเป็นบริษัทไทย และที่มีการพูดถึงว่าการเปิดประมูล ไลเซนส์ 3G อาจกระทบกับความมั่นคง โดยโยงเข้ากับการเข้ามาของต่างชาติ นั้นผมไม่เข้าใจว่าต่างจากทุกวันนี้ที่ดีแทคก็ทำ 2G อยู่แล้วตรงไหน

- เทเลนอร์ไม่ใช่ต่างชาติธรรมดายังเป็นรัฐวิสาหกิจด้วย

เรา ทำธุรกิจในฐานะบริษัทเอกชนมาโดยตลอด ที่ผ่านมามีการลงทุนใน 12 ประเทศทั่วโลก ในหลายประเทศจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์ฯ ไม่เคยมีรัฐบาลของประเทศไหนหยิบยกเรื่องนี้มาเป็นข้ออ้าง

จริงอยู่ ว่ารัฐบาลนอร์เวย์ถือหุ้นในเทเลนอร์ แต่ไม่เคยก้าวก่ายกิจการของเทเลนอร์ เราเป็นบริษัที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ หุ้นยังค่อนข้าง popular ด�วย

ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้ารัฐบาลเข้ามายุ่ง

กรณี ในไทยเทเลนอร์ถือหุ้นในดีแทคมาหลายปีไม่เคยมีปัญหา แต่ถ้าจะมีการเปลี่ยนแปลงจริง ๆ เราก็พร้อมปฏิบัติตาม แต่อยากขอความชัดเจนด้วยว่าจะเป็นไปอย่างไร

รัฐบาลอาจต้องกังวลถ้าเทเลนอร์เป็นเหมือน กสท โทรคมนาคม และทีโอทีที่รัฐบาลไทยถือหุ้น 100%

ผม ไม่แน่ใจว่าปลุกกระแสเรื่องรัฐบาล นอร์เวย์ขึ้นมาทำไม เราเป็นประเทศเล็ก ๆ แถวขั้วโลกเหนือ ที่อยู่ห�างไกลจากประเทศไทยมาก ทั้งประเทศมีประชากรแค่ 4 ล้านคน เป?นคนรักสงบไม่เห็นน่ากลัวตรงไหน

- ได้ยินว่ามีปัญหาเรื่องนี้ในรัสเซียด้วย

ไม่ ได้เป็นปัญหาระหว่างประเทศหรือกับรัฐบาล เป็นความขัดแย้งของผู้ถือหุ้นคือ เทเลนอร์ และบริษัทในท้องถิ่น ล่าสุดตกลงกันได้ว่าจะตั้งบริษัทใหม่เพื่อทำธุรกิจร่วมกันต่อไป คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ภายในไตรมาส 1 ปีหน้า



- ในประเทศใกล้ ๆ อย่างมาเลเซีย เทเล นอร์ก็เข้าไปลงทุนมีข้อกำหนดเรื่องหุ้นไหม

เห มือนกม.ไทยที่ 49% แต่ช่วงแรกที่เข้าไป สัดส่วนหุ้นสูงถึง 61% เพราะรัฐบาลมาเลเซียในขณะนั้นมองว่าการเข้าไปลงทุนของเทเลนอร์น่าจะเป็น ประโยชน์ต่อประเทศของเขาได้ให้เวลา 4-5 ปีในการทำทุกอย่างให้ถูกต้อง

- คิดอย่างไรกับสิ่งที่ทรูทำ

มองอย่าง มีเหตุผล ทุกบริษัทก็ต้องป้องกันสถานะของตนเอง ไม่ได้เป็นเรื่องตัวบุคคล และคิดว่าทำเพราะอยากดีเลย์การประมูลออกไปเพื่อให้เตรียมพร้อมได้มากขึ้น ทีนี้ก็ขึ้นอยู่กับ กทช.แล้วว่าจะออกกฎระเบียบหรือเงื่อนไขต่าง ๆ ที่แฟร์สำหรับทุกคนอย่างไรให้คนที่อาจมีเงินไม่มากเข้ามาด้วย แต่ต้องเป็นกฎเกณฑ์ที่ใช้กับทุกคน

- ทีโอที-กสทฯกังวลกับรายได้ที่จะหายไป

ผม แปลกใจที่ไม่มีใครพูดถึงว่า ผู้บริโภคจะเสียประโยชน์อย่างไรจากการไม่มี 3G ถ้ามี 3G การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์จะขยายตัวอย่างรวดเร็ว แต่จะโตเร็วแค่ไหนขึ้นอยู่กับการขยายเครือข่ายการให้บริการ ถ้าดูตามข้อกำหนดในเงื่อนไขของ กทช. ภายใน 4 ปี เน็ตเวิร์กจะครอบคลุม 80% ของพื้นที่ที่มีประชากรอาศัยอยู่

การเติบโตบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต ยังมีผลต่อการเติบโตของจีดีพีของประเทศอย่างชัดเจน มีบริการใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์หลายด้านไม่ว่าจะเป็นสุขภาพหรือการศึกษา

สิ่งเหล่านี้ไม่มีใครพูดถึง

จำได้ไหมว่าก่อนมีเอกชน คุณภาพ ราคา และพื้นที่ใช้งานเป็นอย่างไร สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากทีโอที และกสทฯ

เป็นข้อโต้แย้งที่เบาหวิวมากที่จะให�ยังคงสภาพผูกขาดต่อไป ทำให้ผู้บริโภคสูญเสียโอกาสในการเข้าถึงบริการที่ดีกว่า

ทีโอทีและกสทฯทำ 3G ได้ตั้งนานแล้ว

ส่วน เรื่องรายได้ที่ว่าจะหายไปจนกระทบกับความอยู่รอดขององค์กร ผมไม่คิดว่าจะหายไปทันที การที่ลูกค้าจะย้ายไปต้องใช้เวลา เป็นเรื่องของความสมัครใจ ถ้า เน็ตเวิร์กไม่ทั่วถึงก็คงไม่มีใครอยากไป เรื่องเครื่องก็เป็นอุปสรรคเช่นกัน

ฉะนั้นทั้งคู่มีเวลาอีกมากใน การปรับปรุงแผนธุรกิจของตนเอง นอกจากนี้ยังจะมีรายได้จากการเช่าใช้แฟซิลิตี้ต่าง ๆ บนเน็ตเวิร์ก 2G เดิมด้วย ที่เราจะไปเช่าใช้เพื่อลง 3G

- ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงเกณฑ์การถือหุ้น

วี กที่แล้ว ผมขึ้นเครื่องบินจากดาการ์มากรุงเทพฯ ระหว่างอ่านหนังสือบนเครื่อง เปิดไปเจอโฆษณาของบีโอไอเต็มหน้าเพื่อชวนคนมาลงทุนในประเทศ และรัฐบาลไทยพยายามโปรโมตให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทย

ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงจริงจะส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อการลงทุน

ขัดแย้งกับนโยบายหลักของรัฐบาล เพราะเป็นการต่อต้านกีดดันต่างชาติ

ผมไม่แน่ใจว่า กทช.จะมีสิทธิในการเปลี่ยนแปลงไหม

- ถ้าการประมูลต้องล่าช้าออกไป

ไม่ คิดว่าจะช้าออกไปอีกหลายปี รัฐบาลไม่น่าจะทำให้เหตุการณ์นี้เกิดขึ้น ถ้าช้าไป 2-3 เดือนรอได้ แต่ถ้ามากกว่านั้นเป็นปีสองปี คงต้องดู 2G เดิม พัฒนาปรับปรุงขึ้นไป และมองถึงการลงทุนในคลื่นความถี่ 850 MHz ซึ่งวันนี้ก็ยังไม่ได้รับอนุญาตให้ทำเชิงพาณิชย์

แต่การทำ 3G จะให้ดีที่สุดต้องทำบนคลื่น 2100 MHz

- ไลเซนส์ 3G ยังน่าสนใจสำหรับนักลงทุนต่างชาติอยู่ไหม

ผม มาเมืองไทยเมื่อ 11 ปีที่แล้ว เห็นปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ผ่านไป 11 ปี เมื่อต้องเข้ามาบริหารที่นี่ ก่อนมาก็คิดว่าหลายสิ่งหลายอย่างคงเปลี่ยนไปมาก ปรากฏว่าเปลี่ยนไปน้อยมาก

ถาม ว่าในสถานการณ์ปัจจุบันจะมีหน้าใหม่สนใจเข้าร่วมประมูลด้วยไหม น่าจะสัก 1-2 ราย เพราะ 1.ความไม่แน่นอนเรื่องกฎระเบียบ เช่น ค่า IC ที่บางบริษัทเซ็นร่วมกัน แต่บางบริษัทไม่ยอมเซ็น 2.บทบาทของ ทีโอที-กสทฯก็ยังไม่ชัด และ 3.ตลาดมือถือในไทยแม้จะมีช่องว่างให้ทำตลาดได้ แต่ไม่มีช่องว่างมากนักสำหรับ new comer เพราะถ้าเข้ามาทำ 3G โดยไม่มี 2G รองรับถือเป็นความท้าทายมาก

- เห็นด้วยกับการใช้วิธีประมูลคลื่น

เห็น ด้วย เพราะเป็นวิธีที่แฟร์และโกงไม่ได้ เราเข้าใจว่าบางรายไม่อยากให้ประมูลเพราะกังวลเรื่องเงิน ซึ่งเราเองก็ไม่อยากให้ใครที่มีความตั้งใจดี ๆ โดนกีดกัน ซึ่ง กทช.ทำได้โดยกำหนดราคาที่คาดว่าจะได้จากการให้ไลเซนส์อย่างสมเหตุสมผล จริง ๆ ถ้ายิ่งต่ำยิ่งดี ระหว่าง 2-4 พันล้านบาทเป็นราคาที่น่าจะโอเค เงินส่วนใหญ่น่าจะใช้ไปกับการติดตั้งและขยายเครือข่ายการบริการมากกว่าค่าไล เซนส์

ถ้าตั้งราคาที่สมเหตุสมผลและให้ชำระเงินเป็นงวด ๆ ได้ เช่น จ่าย 15% ที่เหลือทยอยจ่ายเป็นงวดนาน 10 ปี ในปากีสถานก็ทำแบบนี้ เพราะถ้าให้ทยอยจ่ายภายใน 6 เดือน ไม่ต่างกับการจ่ายทีเดียวทั้ง 100%

ทำแบบนี้ช่วยคนที่มีปัญหาการเงินได้ แต่ไม่ว่าจะออกมาอย่างไรก็ควรนำมาใช้กับทุกราย

สมประสงค์ บุญยะชัย

- การประมูล 3G อาจช้าออกไปจากกำหนดเดิม

ดี ไม่เห็นเป็นไรเลย ช้าก็ช้าทุกคน จะได้ไม่มีข้อครหา ปากหอยปากปู เมื่อมีความสงสัยก็ต้องทำให้กระจ่างดีกว่า ทำไปเกิดคลุมเครือครึ่ง ๆ กลาง ๆ ไม่ดี ถ้าจำเป็นต้องช้าก็ต้องช้า ไหน ๆ ก็ช้ามาหลายปีแล้ว

- ไม่กังวลกับเรื่องนอมินี

ไม่กังวล เพราะเท่าที่อ่านดู ไม่มีตรงไหนอนุญาตให้เป็นต่างด้าว คำว่าต่างด้าวก็เป็นไปตาม กม.

- เทมาเส็กไม่กังวลใจ

เขา ก็เข้าใจ เพราะยึดถือตัวเอกสารเป็นหลัก เราไม่ควรเอาความรู้สึกเป็นตัวตัดสิน เรื่องความมั่นคงของชาติ หรือที่ว่าผิด กม.รัฐธรรมนูญ ไม่เห็นมีข้อไหนที่ผิด ความมั่นคงขึ้นอยู่กับการปฏิบัติ เวลานี้ยังไม่มี โอเปอเรเตอร์ 3G ยังไม่มีผู้กระทำความผิด จะไปว่ามีความผิดได้อย่างไร

ผมสนับสนุนเรื่องความมั่นคง แต่การนำมาใช้เป็นไปเพื่อประโยชน์ของชาติ ถ้านำไปใช้ในทางใดที่ก่อให้เกิดอันตรายก็่ว่ากันไป

กม.มี 2 ลักษณะของบางอย่างเป็นธรรมชาติต้องห้าม เช่น การฆ่าคนไม่มี กม.ไหนอนุญาตให้ทำได้เลย แต่ของบางอย่างอาจเกิดความเสียหายได้จึงต้องมีใบอนุญาต เช่น ใบอนุญาตขับขี่รถ

- ที่มีการพูดว่าเร่งประมูล

เร่งตรงไหน ถามว่าเรารู้จักเทคโนโลยีนี้ และคิดว่าจะเริ่มได้มากี่ปีแล้ว ส่วนเรื่องการให้ใบอนุญาต เท่าที่จำได้นับตั้งแต่ กทช. เข้าสู่ตำแหน่งเมื่อ 4-5 ปีก่อน ก็พูดว่าจะศึกษาและให้ใบอนุญาต โดยให้ทีโอทีก่อน เรื่อง 3G จึงไม่ใช่เรื่องรีบเร่ง มีการทำ ประชาพิจารณ์อย่างเป็นขั้นเป็นตอน มีการจ้างบริษัทที่ปรึกษา

- เฉพาะตัวเงื่อนไข

ไม่เร็วนะ กว่าจะอนุมัติความถี่ก็ได้ส่งหนังสือถามความเห็นของกฤษฎีกาแล้ว กว่าเรื่องนี้จะอนุมัติผ่าน กทช.ก็ใช้เวลานาน

- เห็นด้วยกับการประมูลพร้อมกัน 4 ใบ

ผม เข้าใจว่าเป็นประสบการณ์ในการให้ใบอนุญาตทั่วโลก ถ้าให้ทีละใบจะเกิดความเหลื่อมล้ำของราคา ถ้าประมูลทีเดียวจะก่อให้เกิดความพร้อมเพรียงในการดำเนินธุรกิจ ราคาก็จะไล่เรียงกันตามธรรมชาติ

- มีที่ปรึกษาเรื่องการประมูลไหม

เดเทคอน เป็นที่ปรึกษาในการเตรียมการประมูลให้

- ทีโอที-กสทฯกังวลเรื่องสถานะองค์กร

ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น สัญญาก็ต้องเดินไปถึงจุดสิ้นสุดอยู่ดี ถ้านับตั้งแต่ ปี 2533 (ปีที่เอไอเอสได้

สัมปทาน) 19 ปีผ่านไป เราจ่ายส่วนแบ่งให้ทีโอทีไปแล้วเป็นแสนล้านบาท ทีโอทีน่าจะใช้เงินเหล่านี้ไปกับการพัฒนาอะไรต่าง ๆ ได้มากมาย

การมี 3G ไม่ได้หมายความว่าลูกค้าไปจะทั้งหมด ไม่มีใครสั่งใครได้ จะไปไม่ไปขึ้นอยู่กับคุณภาพเครือข่าย

- ถ้าเป็นทรูจะทำอย่างไร

ถ้า ผมเป็นเขา ตั้งแต่แรกที่เข้าสู่ตลาดจะไม่ใช้ราคาเป็นตัวนำ แต่จะวางตัวเองให้เป็นพรีเมี่ยม เพราะมีความคิดอีกแบบว่า small is beautiful

แต่ทั้งหลายทั้งมวลเหมือนการเล่นเกม เราควรลืมหลุมที่ผ่านมา และตั้งใจเล่นในหลุมที่กำลังตีดีกว่า

เรื่อง สถานะการเงิน ถามว่าเงินเกิดจากอะไร เงินเกิดจาก "เครดิต" ไม่ใช่สิ่งที่จู่ ๆ ก็เกิดขึ้นได้เอง ต้องสร้างต้องสะสมความน่าเชื่อถือ

view