สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

รางวัลโนเบลทางเศรษฐศาสตร์ปี 2009

จากประชาชาติธุรกิจ
คนเดินตรอก

ดร.วีรพงษ์ รามางกูร


 

 

ปี นี้คณะกรรมการรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ ทำให้รางวัลโนเบลเสียชื่อเป็นอันมาก โดยการมีมติให้รางวัลสาขานี้กับประธานาธิบดีบารัก โอบามา เพราะโอบามาเพิ่งเข้ารับตำแหน่งได้เพียง 9 เดือน ยังไม่มีผลงานอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน ทำให้มองกันว่าคณะกรรมการโนเบล สาขาสันติภาพ ต้องการประจบผู้นำประเทศมหาอำนาจอย่างไม่เหลือศักดิ์ศรีอะไรเลย สื่อมวลชนทั่วโลกวิพากษ์วิจารณ์โจมตีกันเป็นการใหญ่

 

สำหรับ รางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ คณะกรรมการสาขานี้ยังคงรักษามาตรฐานไว้ได้ ไม่ได้ถูกวิพากษ์เหมือนกับผลการตัดสินของกรรมการสาขาสันติภาพ โดยประกาศให้รางวัลแก่ ดร.อีลินอร์ ออสตรอม กับ ดร.โอลิเวอร์ อี. วิลเลียมสัน

 

โดย ทั้งสองคนเสนอทฤษฎีใหม่สำหรับกิจกรรมหรือธุรกรรมที่กลไกตลาดไม่อาจจะเป็นคำ ตอบที่ดีที่สุด หรือกลไกตลาดไม่อาจจะอธิบายพฤติกรรมทางเศรษฐกิจบางอย่างได้

 

ดร.ออ สตรอมเป็นชาวอเมริกันโดยกำเนิด เกิดเมื่อปี 1933 ที่นครลอสแองเจลิส ได้รับปริญญาเอกทางรัฐศาสตร์ เมื่อปี 1965 จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แห่งลอสแองเจลิส หรือ UCLA ขณะนี้เป็นศาสตราจารย์ทางรัฐศาสตร์และศาสตราจารย์ทางสิ่งแวดล้อมและกิจการสาธารณะที่มหาวิทยาลัยอินเดียนา สหรัฐอเมริกา

 

ส่วน ดร.โอลิเวอร์ อี. วิลเลียมสัน ก็เป็นชาวอเมริกันโดยกำเนิดเช่นกัน เกิดในปี 1932 ที่เมืองสุพีเรีย มลรัฐไวโอมิ่ง ได้รับปริญญาเอกทางเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยคาร์เนกี้ เมลลอน มลรัฐเพนซิลเวเนีย ขณะนี้เป็นศาสตราจารย์กิตติคุณทางบริหารธุรกิจ และศาสตราจารย์ทางเศรษฐศาสตร์และกฎหมายที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แห่งเบริกลีย์ สหรัฐอเมริกา

 

โดย ปกติแล้วพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของครัวเรือนหรือบริษัทห้างร้านต่าง ๆ รวมทั้งปัจจัยการผลิต เช่น ตลาดการเงิน ตลาดทุน ตลาดแรงงาน และอื่น ๆ อาจจะอธิบายได้โดยทฤษฎีของตลาดนั้น ๆ ทั้งที่เป็นสินค้าหรือบริการ หรือแม้แต่การเงิน เพื่ออธิบายว่าราคาของสินค้าและบริการเกิดขึ้นได้อย่างไร และมีพฤติกรรมอย่างไร จนเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในนามของ ′ทฤษฎีราคา′

 

การ พิจารณาจัดการทรัพยากรต่าง ๆ ของชาติก็มักจะคำนึงถึงกลไกตลาดว่า ถ้าให้เป็นไปตามกลไกตลาดพฤติกรรมของผู้เกี่ยวข้องที่กำหนดโดยกลไกตลาดก็จะ เป็นคำตอบว่าทำให้ระบบเศรษฐกิจทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

 

แต่ นักวิชาการทั้งสองท่านกลับเสนอความเห็นว่า การจัดทรัพยากรหรือบริการหรือพฤติกรรมหลายอย่างที่เป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ หรือสังคม กลไกตลาดอาจจะไม่ใช่คำตอบที่จะทำให้การจัดทรัพยากรของชาติเป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพสูงสุด การจัดรูปแบบของกรรมสิทธิ์ การจัดรูปแบบการจัดการ การบริการที่เหมาะสมเท่านั้น จึงจะทำให้เกิดความเหมาะสมและเป็นประโยชน์สูงสุดในระยะยาว

 

ดร.ออ สตรอมได้ชี้ให้เห็นว่าทรัพยากรธรรมชาติหลายอย่าง เช่น สัตว์น้ำในทะเล ทะเลสาบ แม่น้ำ ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ป่าไม้หรือแหล่งน้ำบาดาลก็ดี การจะใช้กลไกตลาดเข้าไปจัดการโดยการประมูลให้สัมปทานหรือการที่รัฐบาลเข้าไป ดำเนินการเองอาจจะไม่ใช่คำตอบ ถ้าต้องการบริหารให้การใช้ทรัพยากรธรรมชาติเหล่านั้นเกิดความสมดุลและ ยั่งยืนในระยะยาว ไม่เกิดสภาพเสื่อมโทรมจนกลายเป็นของที่หมดค่าไปหรือสูญหายไปในที่สุด ดังที่เกิดมาแล้วในหลายแห่งในหลายภูมิภาคทั่วโลก

 

ดร.ออ สตรอมได้เสนอกลไกทางสังคมในการบริหารจัดการ การออกกฎเกณฑ์และการบังคับใช้กฎเกณฑ์ เพื่อสร้างจิตสำนึกในการร่วมมือกันใช้อย่างอนุรักษ์ เพื่อสร้างความสมดุลให้กับทรัพยากรธรรมชาติ

 

อาจ จะยกตัวอย่างในกรณีการจับปลาในอ่าวไทย ถ้าปล่อยให้จับกันอย่างเสรี ไม่มีกฎเกณฑ์เป็นไปตามกลไกตลาด ในไม่ช้าสัตว์น้ำในอ่าวไทยก็คงจะหมดไป ดังนั้นรัฐอาจจะต้องเข้ามามีบทบาท แต่ถ้าจะให้รัฐเป็นผู้มีบทบาท เป็นผู้ออกกฎเกณฑ์ฝ่ายเดียว เช่น ชนิดของเครื่องมือจับปลา กฎระเบียบปิดอ่าวที่ห้ามจับปลาและสัตว์น้ำในฤดูปลาวางไข่ กฎเหล่านี้ก็อาจจะไม่ได้ผลหากไม่ได้รับความร่วมมือจากชาวประมงในการรักษา กฎเกณฑ์ แต่จะเกิดการละเมิดกฎเกณฑ์ แต่ถ้ารัฐสร้างกลไกให้ชาวประมงทุกคนเห็นประโยชน์ของการร่วมมือกัน เห็นประโยชน์จากการบังคับใช้กฎเกณฑ์ที่ร่วมกันสร้างโดยกลไกทางสังคม นอกเหนือไปจากกลไกทางกฎหมาย เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป เช่น ป่าไม้ ทุ่งหญ้า บ่อน้ำบาดาล สัตว์ป่า สัตว์น้ำ และอื่น ๆ ซึ่งการจัดกลไกทางสังคมนี้ไม่ใช่กลไกตลาด

 

ตัวอย่าง ที่ ดร.ออสตรอมทำวิจัยก็คือ ระบบการบริหารน้ำที่ประเทศเนปาล เขาพบว่าระบบชลประทานราษฎร์ที่สร้างและบริหารโดยชาวบ้านที่มีผลประโยชน์ร่วม กัน แม้ว่าจะเป็นเหมือง ฝาย เขื่อนที่เล็กล้าสมัยสร้างโดยวัสดุในท้องถิ่นถูก ๆ แต่ได้ประสิทธิภาพดีกว่าระบบชลประทานขนาดใหญ่ที่รัฐบาลสร้างด้วยคอนกรีต และบริหารโดยรัฐบาล เพราะระบบที่สร้างโดยชาวบ้านจะดูแลและจัดสรรน้ำอย่างทั่วถึงมากกว่า เพราะชาวบ้านรู้สึกว่าเป็นของเขา เขามีส่วนร่วมในการตัดสินใจและการบริหาร ต่างกับระบบชลประทานใหญ่ที่สร้างและบริหารโดยรัฐบาล

ใน กรณีทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ในมองโกเลียและบริเวณใกล้เคียงในจีนและรัสเซีย จากภาพถ่ายด้วยดาวเทียมในช่วง 30-40 ปีที่ผ่านมา พบว่าระบบที่ให้ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์เป็นของส่วนรวม เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ย้ายปศุสัตว์หมุนเวียนไปเรื่อย ๆ สามารถอนุรักษ์คุณภาพดินได้ดีกว่ากรณีที่จัดเป็นทุ่งหญ้าของคอมมูนหรือ สหกรณ์ หรือการจัดสรรที่ดินให้เป็นของครัวเรือน เพราะเมื่อบังคับให้ผู้คนอยู่กับที่ก็จะมีการใช้ที่ดินอย่างเข้มข้น ทำให้เสียสมดุลทางธรรมชาติ คุณภาพของที่ดินเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว

 

กุญแจ สำคัญในการกำหนดการบริหารก็ดี สิทธิการใช้ก็ดี สำหรับทรัพยากรธรรมชาติหลายอย่างที่ไม่อาจพึ่งกลไกตลาดได้ เพราะบุคคลแต่ละคนจะคำนึงถึงแต่กำไรขาดทุนของตนเอง โดยไม่คำนึงถึงผลเสียที่จะเกิดในอนาคตกับคนอื่น ๆ และสังคมส่วนรวม รัฐบาลจะต้องเข้ามาจัดรูปแบบที่ให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการกำหนด กฎเกณฑ์และมาตรการบังคับใช้กฎเกณฑ์ มีบทลงโทษทางสังคมและทางกฎหมายสำหรับผู้ฝ่าฝืน

 

บุคคล ภายนอก เช่น รัฐบาลหรือผู้มีอิทธิพลคนเดียวหรือกลุ่มเดียวแม้จะเป็นคนใน เป็นผู้ออกกฎเกณฑ์ เป็นผู้บริหารหรือบังคับใช้กฎเกณฑ์ต่างก็จะไม่ได้รับความร่วมมือในการ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเช่นว่านั้น ดังนั้น ′การมีส่วนร่วม′ ของผู้มีส่วนได้เสียจึงเป็นกุญแจสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จในการบริหารการ ใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้ยั่งยืน

 

จะ เห็นได้จากความคิดเรื่องป่าชุมชนก็ดี ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ของชุมชนก็ดี ระบบชลประทานราษฎร์ก็ดี สมาคมผู้ใช้น้ำก็ดี การบริหารจัดการจะมีประสิทธิภาพ เพราะการมีส่วนร่วมของผู้ที่ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่ช่วยเหลือกัน

 

สำหรับ ดร.วิลเลียมสันก็เช่นเดียวกัน กิจกรรมทางเศรษฐกิจจำนวนมากไม่ได้เกิดขึ้นผ่านตลาด อาจจะเป็นเพราะกลไกตลาดไม่ทำงาน ไม่ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการผลิต เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหินควรมีเหมืองถ่านหินเองหรือมีสัญญาระยะยาวกับเหมืองถ่านหิน หรือควรซื้อถ่านหินจากตลาด หรือเหมืองถ่านหินควรมีโรงไฟฟ้าซึ่งใช้ถ่านหินเองหรือไม่ โรงงานผลิตเบียร์ควรมีโรงงานทำขวดและฝาจีบเอง หรือไปซื้อขวดจากตลาดซึ่งผู้อื่นผลิต โรงงานสับปะรดกระป๋องควรมีไร่สับปะรดเองหรือคอยซื้อสับปะรดจากตลาดเสรีหรือ มีสัญญาระยะยาวกับชาวไร่ มีสูตรราคาระยะยาวต่างจากราคาในตลาด โรงเยื่อกระดาษควรมีสวนป่าเองหรือควรซื้อไม้จากตลาดเสรีทั้งหมดหรือบางส่วน บริษัทผลิตรถยนต์ควรผลิตชิ้นส่วนต่าง ๆ เอง หรือให้ผู้อื่นผลิตแล้วส่งให้บริษัทรถยนต์

 

ทฤษฎีเดิมที่เป็นคำตอบสำหรับปัญหาดังกล่าวที่ได้เสนอโดย ดร.โรนัลด์ โคส (Dr. Ronald Coase) เมื่อ 70 กว่าปีก่อน จนทำให้ ดร.โคสได้รับรางวัล ′Prize in Economic Sciences′ ในปี 1991 คำตอบของโรนัลด์ โคส มีอยู่ว่า ถ้าบริษัทสามารถบริหารจัดหาผู้ผลิตอื่นที่ผลิตได้ในราคาที่ถูกกว่าบริษัท ผลิตเอง สำหรับวัตถุดิบและชิ้นส่วนต่าง ๆ อาจจะเป็นเพราะราคาค่าขนส่ง ขนาดของกิจการ เทคโนโลยี การบริหารจัดการที่ดีกว่า บริษัทก็คงปล่อยให้ผู้อื่นผลิตส่งให้ บริษัทควรจะผลิตเฉพาะวัตถุดิบและชิ้นส่วนที่ตนผลิตได้ถูกกว่าผู้อื่นเท่า นั้น แต่ต้นทุนของธุรกรรมที่ซื้อจากภายนอกกับที่ผลิตเองภายในนั้นมีจุดสมดุลอยู่ ที่ใด ดร.โคสยังไม่สามารถให้คำตอบที่ชัดเจนได้

 

คำ ตอบที่ถูกต้องควรอธิบายได้ว่า ทำไมภายในอุตสาหกรรมเดียวกัน บางแห่งสามารถรวมการผลิตวัตถุดิบและชิ้นส่วนทุกขั้นตอนไว้ในกลุ่มบริษัท เดียวกัน ขณะเดียวกันบางแห่งในอุตสาหกรรมเดียวกันกลับผลิตแต่ส่วนที่ตนผลิตได้ในราคา ต่ำกว่าผู้อื่น

 

ใน ระหว่างทศวรรษที่ 1970 ดร.วิลเลียมสันค้นพบว่า ในหลายกรณีการเข้าไปซื้อกิจการของผู้ผลิตวัตถุดิบและชิ้นส่วนก็เพราะการเอา มาผลิตเองตัดปัญหาค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการความขัดแย้ง หรือการแก้ไขความขัดแย้งกับคู่ค้า เช่น การเจรจา การทำสัญญา ถ้ายิ่งคู่ค้ามีทางเลือกมากก็ยิ่งเจรจาได้ยาก เมื่อได้สัญญาแล้วการบริหารจัดการให้มีการบังคับให้เป็นไปตามสัญญา ความเสียหายจากการที่คู่ค้าสร้างปัญหาต่าง ๆ ให้ ดังนั้นถ้าหากเข้าไปซื้อกิจการของผู้ผลิตที่ส่งของให้ก็จะลดค่าใช้จ่ายในการ แก้ไขปัญหาความขัดแย้งได้ง่ายขึ้น ด้วยเหตุนี้บริษัทหลายแห่งจึงเข้าไปซื้อหุ้นหรือถือหุ้นบริษัทที่ผลิตของส่ง ให้ เช่น บริษัทเบียร์เข้าไปถือหุ้นส่วนใหญ่หรือบางส่วนของบริษัทผลิตขวดเบียร์ เป็นต้น เพื่อตัดค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาบริษัทผลิตขวดจะสร้างปัญหาให้

แต่ อย่างไรก็ตามในระยะ 10-15 ปีผ่านมาแนวโน้มกลับเป็นไปทางตรงกันข้าม กล่าวคือ บริษัทใหญ่กลับขายกิจการบางอย่างให้บริษัทภายนอกเป็นผู้ทำหรือที่เรียกว่า ′outsource′ เช่น การทำความสะอาด การรักษาความปลอดภัย การขนส่ง การส่งหนังสือ ฯลฯ จนเกิดธุรกิจบริการดังกล่าวใหญ่โตขึ้น

 

คำ ตอบของเหตุการณ์นี้โดยทั่วไป ก็คือ ต้นทุนของการทำเองสูงกว่า ที่อาจจะเนื่องมาจากปริมาณการผลิตไม่มากพอ มีต้นทุนการบริหารสูง หรือไม่ก็เพราะกฎหมายแรงงานหรือสหภาพแรงงานทำให้การทำเองมีต้นทุนสูง แต่ ดร.วิลเลียมสันก็ยังเพิ่มเติมว่า บางทีอาจจะไม่ใช่เพราะต้นทุนที่สูงกว่าหากทำเองแต่เป็นเพราะความไม่โปร่งใส และการขาดธรรมาภิบาลของฝ่ายบริหาร ไม่ใช่รูปแบบการผลิตขององค์กรในการจัดการขั้นตอนของการผลิต

ดร.วิ ลเลียมสันจึงสรุปว่า องค์กรสององค์กรหรือบริษัทสองบริษัทมีแนวโน้มจะรวมกัน หากทั้งสองฝ่ายต้องพึ่งพาซึ่งกันและกัน แต่ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีทางเลือกที่จะขายผ่านตลาดได้มากโดยการแยกกันอยู่ก็ เป็นไปได้สูง

ขณะ เดียวกันการที่บริษัทขนาดใหญ่ที่มีการผลิตเองทุกขั้นตอนได้ก็ต่อเมื่อผู้ บริหารมีธรรมาภิบาล ไม่ใช้ผลประโยชน์ของตนหรือเหตุผลทางการเมืองในการตัดสินใจ การมีธรรมาภิบาลกับการบังคับใช้กฎเกณฑ์ภายในบริษัทโดยตรงมีต้นทุนที่ต่ำกว่า การขายกิจการ หรือ ′outsource′ ออกไป

การค้นพบความจริงดังกล่าวทำให้ทั้งสองท่านได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ประจำปี 2009

view