สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

วิกฤตรถไฟ หยุดเดินรถ นักวิชาการเสนอ โมเดลฝรั่งเศส ออกกฏหมายว่าด้วยการให้บริการขั้นต่ำ

จากประชาชาติธุรกิจ



วิกฤตรถไฟ หยุดเดินรถเกือบเดือนแล้ว   นักวิชาการเสนอ โมเดลฝรั่งเศส  ออกกฏหมายว่าด้วยการให้บริการขั้นต่ำ เพื่อให้หลักความต่อเนื่องของบริการสาธารณะดำรงอยู่
      จากปรากฏการณ์ของการนัดหยุดงานในประเทศไทยที่เพิ่งเกิดขึ้นมาโดยสหภาพแรงงาน รัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทยอันส่งผลให้รถไฟต้องหยุดวิ่งไปในเส้นทางภาค ใต้ จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าเป็นการกระทำที่ส่งผลกระทบให้ “บริการสาธารณะซึ่งเป็นภาระกิจสำคัญของฝ่ายปกครอง” ต้องมีความขาดตกบกพร่องไป
    ดร.พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ  แสดงความเห็นผ่านบทความเรื่อง การใช้สิทธินัดหยุดงานกับบริการสาธารณะ ( www.pub-law.net )  ตอนหนึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
    ดร. พรสันต์   ชี้ประเด็นว่า   จากการพินิจพิเคราะห์ตามหลักกฎหมายปกครองว่าด้วยเรื่องบริการสาธารณะที่ได้ นำกล่าวมาแล้วพอสังเขปในข้างต้น หลักความต่อเนื่อง (Continuity) ของบริการสาธารณะถือได้ว่าเป็นหลักการที่สำคัญที่สุดสำหรับบริการสาธารณะ เพราะหากบริการสาธารณะซึ่งมีความจำเป็นต้องหยุดชะงักไปก็จะส่งผลกระทบต่อผู้ ใช้บริการโดยทั่วไปรวมไปถึงธุรกิจบางประเภทซึ่งจะเกิดผลเสียต่อภาคเศรษฐกิจ ของประเทศอันหลีกเลี่ยงมิได้
       อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่แต่เฉพาะประเทศไทยที่ต้องเผชิญกับผลกระทบของการนัดหยุดงานของเจ้า หน้าที่ฝ่ายรัฐในภาคการขนส่งสาธารณะ (Public Transports) ไปทั่วเยี่ยงปัจจุบัน หากแต่เกิดขึ้นในประเทศต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศฝรั่งเศสซึ่งเกิดขึ้นหลายต่อหลายครั้ง การณ์ดังกล่าวนำไปสู่คดีความต่างๆ บนชั้นศาล จนศาลปกครองและคณะตุลาการรัฐธรรมนูญในประเทศฝรั่งเศสต่างก็ได้มีคำวินิจฉัย ที่เป็นการยืนยันรับรองหลักความต่อเนื่องของบริการสาธารณะที่จำต้องมีไว้
   ยกตัวอย่างเช่น ศาลปกครองสูงสุดในคดี Dehaene ได้ให้ความเห็นว่าทางภาครัฐจำต้องวางกฎในการจัดทำบริการสาธารณะอย่างต่อ เนื่องเพื่อรองรับการใช้สิทธิการนัดหยุดงาน ซึ่งต่อมาแนวคิดดังกล่าวก็ได้ถูกสนับสนุนโดยคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐ ธรรมนูญ (Conseil constituionnel) ด้วย เป็นต้น
      หลังจากคำวินิจฉัยข้างต้นจึงได้เกิดการถกเถียงกันเป็นอย่างมากอันนำไปสู่การ เกิดของแนวคิดว่าด้วยความต่อเนื่องของการให้บริการสาธารณะและเกิดแนวคิด มาตราการในการเข้ามาทำให้หลักความต่อเนื่องดังกล่าวสามารถกระทำได้จริง กล่าวคือ 2 มาตรการที่ถูกคิดประดิษฐ์ขึ้นมาอย่างการให้บริการขั้นต่ำ (Minimum Service) มาตรการหนึ่ง และการเข้าดำเนินการเองอีกมาตรการหนึ่ง จะสามารถทำให้หลักความต่อเนื่องของบริการสาธารณะดำรงคงอยู่ได้
       สำหรับหลักการแรกว่าด้วยการให้บริการขั้นต่ำนั้นถูกนำมาแก้ไขปัญหาการนัด หยุดงานของเจ้าหน้าที่รัฐที่ให้บริการสาธารณะ โดยภาครัฐจำต้องกำหนดมาตรการเพื่อรองรับการหยุดงานว่าท้ายที่สุดแล้วการ บริการสาธารณะจะไม่หยุดไปทั้งหมด หากแต่ต้องมีบริการให้แก่ประชาชนทั่วไปได้ใน
       นอกจากมาตราการการให้บริการขั้นต่ำข้างต้นแล้ว หากภาครัฐมิอาจสามารถที่จะรักษาให้บริการสาธารณะสามารถที่จะให้บริการได้ อย่างต่อเนื่อง มาตรการที่สองอย่าง “การเข้าดำเนินการเอง” จะถูกหยิบยกขึ้นมา เพื่อทำให้ความต่อเนื่องของการให้บริการสาธารณะบรรลุผล กล่าวอีกนัยหนึ่ง หากปรากฏว่าการหยุดงานของเจ้าหน้าที่รัฐที่ให้บริการสาธารณะค่อนข้างรุนแรง จนนำไปสู่การหยุดการให้บริการ ทางภาครัฐอาจจัดส่งคนเข้าไปดำเนินการแทนเจ้าหน้าที่รัฐนั้นๆ ได้ ทั้งนี้เพื่อแก้ไขปัญหาการหยุดชะงักของการให้บริการสาธารณะ
       แนวความคิดและมาตรการต่างๆ ที่ถูกนำมาใช้เพื่อทำให้การบริการสาธารณะของประเทศฝรั่งเศสมีประสิทธิภาพ ข้างต้น มาในยุคหนึ่งได้ถูกทำให้เป็น “รูปธรรม” มากขึ้น กล่าวคือ ในยุคของประธานาธิบดี นิโกลาร์ ซาร์โกซี (Nicolas Sarkozy) ได้มีการผลักดันร่างกฏหมายว่าด้วยการให้บริการขั้นต่ำ (Minimum Service Bill) ซึ่งมีหลักการสำคัญว่ารัฐมิได้ห้ามมิให้มีการนัดหยุดงาน หากแต่ต้องมีการบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนที่จะทำการหยุดงานเป็นระยะเวลา 48 ชม. ทั้งนี้เพื่อที่จะได้ติดต่อประสานงานกับนายจ้างของตนเองในการจัดการบริการ สาธารณะขั้นต่ำให้แก่ผู้ใช้บริการ สุดท้ายแล้วรัฐสภาฝรั่งเศสก็ได้เห็นชอบและผ่านร่างกฎหมายดังกล่าวและประกาศ ใช้เป็นรัฐบัญญัติว่าด้วยการให้บริการขั้นต่ำนับตั้งแต่ปี 2007 จนทำให้นานาประเทศให้การยอมรับว่าประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศหนึ่งที่สามารถ รักษาความสมดุลระหว่างการใช้สิทธินัดหยุดงานของเจ้าหน้าที่รัฐที่ได้รับการ รับรองและคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญและบริการสาธารณะตามหลักกฎหมายปกครองที่ถือ ประโยชน์สาธารณะของประชาชนทั่วไปเป็นสำคัญได้เป็นอย่างดี
       จากหลักการของกฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กอปรกับประสบการณ์ของประเทศฝรั่งเศสที่ได้ประสบพบเจอกับปัญหาของการนัดหยุด งานของเจ้าหน้าที่ให้บริการสาธารณะที่ผู้เขียนได้นำเสนอมาในข้างต้น ถือได้ว่าสามารถเป็นอุทธาหรณ์ให้ประเทศไทยเราได้ชุกคิดกรณีดังกล่าวได้ กล่าวคือ นอกจากการเจรจาพูดคุยกันโดยเร่งด่วนเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าของแรงงานรัฐ วิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทยเพิ่งเกิดขึ้นของในปัจจุบันแล้ว ผู้เขียนต้องการเสนอประเด็นให้ผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นภาครัฐและภาค ประชาชนผู้ใช้สิทธิในการนัดหยุดงานได้นำไปขบคิดถึงหลักการให้บริการสาธารณะ อันมีความสำคัญยิ่งแก่ประชาชนผู้ใช้บริการสาธารณะส่วนมากเพื่อแก้ไขปัญหาใน ระยะยาวต่อไป
       อาจจะถึงเวลาแล้วหรือไม่ที่จะต้องมีการนำปัญหาของสิทธิการนัดหยุดงานมาถก เถียงกันในทุกมิติเพื่อนำไปสู่การกำหนดกรอบกฎเกณฑ์ที่ชัดเจน หรือแม้แต่การตราเป็นตัวบทกฎหมายโดยเฉพาะ (Sui Generis) ว่าด้วยการให้บริการสาธารณะเฉกเช่นเดียวกันกับประเทศฝรั่งเศสได้กระทำหรือ ไม่อย่างไร เพื่อมิให้กระทบต่อหลักบริการสาธารณะซึ่งต้องมีความต่อเนื่องในการให้บริการ กับประชาชนนั่นเอง
       อนึ่ง สำหรับประเทศไทยแล้ว แม้ว่าจะมิได้มีคดีความต่างๆ อันนำไปสู่พัฒนาการของหลักว่าด้วยความต่อเนื่องของบริการสาธารณะมากมายเท่า ประเทศฝรั่งเศส แต่ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้มีการบัญญัติหลักการดังกล่าวไว้ในมาตรา 64 วรรค 2 ว่า “ข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐย่อมมีเสรีภาพในการรวมกลุ่มเช่นเดียวกันกับ บุคคลทั่วไป แต่ทั้งนี้ต้องไม่กระทบต่อประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดินและความต่อ เนื่องในการจัดทำบริการสาธารณะ” อันเป็นการสะท้อนให้เห็นว่าผู้ร่างรัฐธรรมนูญก็ตระหนักและให้ความสำคัญใน หลักความต่อเนื่องของบริการสาธารณะนี้ด้วยเช่นกัน

view