สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

CSR ประเทศอื่นเขาทำอะไรกัน (3) : ความเคลื่อนไหวในอาเซียน

จากประชาชาติธุรกิจ
คอลัมน์ CSR TALK

โดย ดร.อัศวิน จินตกานนท์ ที่ปรึกษาอาวุโสกลุ่มบริษัททีม และมูลนิธิอนุรักษ์พลังงานแห่งประเทศไทย




CSR ในประเทศฟิลิปปินส์ประเทศฟิลิปปินส์มีปัญหาอีกลักษณะหนึ่ง ในปัจจุบันประเทศฟิลิปปินส์มีความยากจนมาก แต่เมื่อ พ.ศ. 2511 รายได้ประชาชาติ/ประชากรและพลเมืองของ ประเทศฟิลิปปินส์กับประเทศไทยเท่ากัน และประเทศฟิลิปปินส์มีความก้าวหน้ากว่าประเทศไทย

ปัจจุบันรายได้ ประชาชาติ/ประชากรของประเทศไทยเป็น 3 เท่าของประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งมีพลเมือง 87.1 ล้านคน ในขณะที่พลเมืองประเทศไทยมีแค่ 62.8 ล้านคน ทั้งนี้เป็นเพราะประเทศฟิลิปปินส์ไม่สามารถสร้างโครงการวางแผนครอบครัวเป็น ผลสำเร็จ (เนื่องจากเป็นประเทศที่นับถือคริสต์นิกายคาทอลิก) บวกกับปัญหาคอร์รัปชั่นในสมัยของประธานาธิบดีและนางอีเมลด้า มากอส จนทุกวันนี้ ทำให้ประเทศฟิลิปปินส์ยังอยู่ในสภาพยากจน แม้ว่า NGO ในประเทศฟิลิปปินส์จะมีเป็นจำนวนมาก ทำงานเข้มแข็งและได้รับความช่วยเหลือด้าน CSR จากธุรกิจจากสหรัฐอเมริกาอย่างมาก

CSR กิจกรรมหนึ่งในประเทศฟิลิปปินส์ ที่น่าสนใจมาก ดำเนินการโดย NGO ชื่อว่ากลุ่ม Alliance for Mindanao off-Grid Renewable Energy (AMORE) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2545 วัตถุประสงค์ของกลุ่มนี้คือการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนเพื่อให้ชุมชน ในภาคใต้ของเกาะมินดาเนา ซึ่งอยู่ห่างจากเครือข่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตของประเทศฟิลิปปินส์ และเป็นกลุ่ม คนด้อยโอกาส หมู่เกาะมินดาเนาเป็นที่ หลบซ่อนของพวกกบฏและผู้ก่อการร้าย ชาวมุสลิม (อาบูซายาฟ) การพัฒนาชุมชนในหมู่เกาะเหล่านี้จึงมีความสำคัญต่อประเทศฟิลิปปินส์อย่างมาก

ใน พ.ศ. 2549 กลุ่ม AMORE จ่ายกระแสไฟฟ้าให้ 1,300 ครัวเรือน และจ่ายไฟถนนหนทาง ในหมู่บ้านทั้งสิ้น 227 หมู่บ้าน และ AMORE วางแผนที่จะจ่ายไฟฟ้าให้อีก 170 หมู่บ้านในอนาคตอันใกล้นี้

จาก การวิเคราะห์ของ AMORE ปรากฏว่าแสงสว่างที่ได้จากไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานแสงอาทิตย์ (solar cell) ถูกกว่าแสงสว่างจากตะเกียงน้ำมันก๊าดถึงร้อยละ 70 และยังลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นก๊าซเรือนกระจกจากการ จุดตะเกียงได้อีกด้วย ความปลอดภัยของชาวบ้านและเด็กในหมู่บ้านดีขึ้นมาก เนื่องจากแสงสว่างตามทางเดินและถนนในหมู่บ้านทำให้การดักทำร้ายน้อยลงไป การเรียนของเด็กดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เพราะเด็กสามารถอ่านหนังสือและทำการบ้านในเวลากลางคืน การค้าขายก็สามารถดำเนินต่อหลังพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปแล้ว จากการมีไฟฟ้านี้เองทำให้ชาวบ้านสูบน้ำขึ้นมาจากบ่อมาใช้ใดยไม่ต้อง หาบน้ำมาจากระยะไกล ๆ และสามารถกรองน้ำเพื่อให้ได้น้ำเพื่อบริโภคที่ถูกสุขลักษณะ

ในขณะนี้ AMORE แนะนำให้ชาวบ้านสูบน้ำเพื่อการเกษตร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการทำการเกษตรกรรม สนับสนุนให้ชาวบ้านฟังรายการวิทยุเพื่อการศึกษานอกโรงเรียน เรียนภาษาอังกฤษเพื่อการหางานที่ดีขึ้น การใช้พลังงานทดแทนเพื่อทำปลาและสาหร่ายทะเลแห้ง ซึ่งเป็นการยืดอายุของอาหาร มีการสร้างห้องคอมพิวเตอร์และห้องสื่อสารเพื่อชุมชน การมีโทรทัศน์ชุมชนเพื่อการศึกษาและความบันเทิง ล่าสุดนี้ AMORE รายงานว่ามีองค์กรที่ต้องการหาโครงการ CSR ดี ๆ ขอเข้ามาร่วมสนับสนุนโครงการอีกมาก

AMORE ยังผลิตไฟฟ้าให้กับหมู่บ้าน Chua ใน Bagumbayan, Sultan Kudarat โดยสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดจิ๋ว (micro-hydropower system) ขนาด 8 กิโลวัตต์เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งและสร้างโรงผลิตน้ำประปาที่ดื่มได้จากน้ำ ในห้วยและบึง สนับสนุนชุมชนให้ปลูกสวนผักให้หมู่บ้านมีอาหารที่มีประโยชน์ในราคาย่อมเยา และยังสร้างรายได้อีกด้วย การสร้างระบบไฟฟ้าพลังน้ำที่หมู่บ้านนี้ทำให้สามารถนำระบบการศึกษาทางไกลมา สอนเด็กรวมถึงการศึกษานอกโรงเรียนให้ผู้ใหญ่อีกด้วย

AMORE มอบความไว้วางใจให้ชุมชนที่ได้รับความช่วยเหลือ โดยให้ชาวบ้านเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้าด้วยตนเอง ทำนุบำรุง ดูแลซ่อมแซมอุปกรณ์ด้วยตนเอง ทำให้ ชาวบ้านเกิดความภาคภูมิใจ มีความรู้สึกเป็นเจ้าของและมีความรับผิดชอบ ชาวบ้านใช้ความรู้ความสามารถและทุนทรัพย์ของตนเองดูแลไม่ให้มีการขโมย ทรัพย์สินจากระบบและหาเงินมาติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างสำหรับถนนและทางเดินในหมู่ บ้านของตนเองอีกด้วย

CSR ในบังกลาเทศ

บังกลาเทศเป็น ประเทศที่ยากจนมาก คนจนถูกเอารัดเอาเปรียบโดยคนไม่มีจริยธรรม (ซึ่งมีทั่วไปในทุกประเทศ) คนจนที่ไม่มีสินทรัพย์ค้ำประกันจำป็นต้องกู้เงินนอกระบบและต้องจ่ายดอกเบี้ย สูง ๆ ให้กับนายทุนหน้าเลือด ทำให้พวกเขาเสียไร่นา หมดศักดิ์ศรีต้องวิ่งหาเงินมาใช้หนี้เดิมโดยการก่อหนี้ใหม่ซึ่งพอกพูนไป เรื่อย ๆ ดร.โมฮามัด ยูนุส ผู้ริเริ่มก่อตั้งธนาคารกรามีนในบังกลาเทศ ซึ่งเป็นธนาคารเพื่อ คนมีรายได้น้อยและปล่อยสินเชื่อขนาดจิ๋วให้คนที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ที่เรียกกันว่า Micro Finance ขึ้นจนได้รับเกียรติสูงสุด ได้รับรางวัลโนแบล ด้านนักเศรษฐศาสตร์และนักการธนาคาร Micro Finance เป็นตัวแบบให้ธนาคารคนจนทั่วโลก เช่น ธนาคารสัจจะ และสหกรณ์ออมทรัพย์

เขา ยังริเริ่มโครงการโทรศัพท์มือถือในหมู่บ้าน โดยให้เงินกู้แก่ตัวแทนสตรีในหมู่บ้านเพื่อไปซื้อโทรศัพท์มือถือให้คนเช่า ใช้เป็นครั้ง (แทนการใช้โทรศัพท์สาธารณะซึ่งไม่มีในหมู่บ้านเล็ก ๆ) สตรีผู้นั้นกลายเป็นนักธุรกิจ มีงานทำและมีรายได้ที่ดีมีศักดิ์ศรีไม่ต้องเป็นเบี้ยล่างของผู้ชาย คนในหมู่บ้านเล็ก ๆ นี้จึงมีวิธีที่จะติดต่อกับญาติพี่น้องและเพื่อนต่างหมู่บ้าน และในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน คนในหมู่บ้านก็สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือทันเหตุการณ์ (ฉบับหน้าพบกับ CSR ที่น่าจะได้รับการสนับสนุนในประเทศไทยเป็นตอนจบ)

view