สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

โลจิสติกส์ใน โลกของ Healthcare (1)

จากประชาชาติธุรกิจ
คอลัมน์ L&S Hub

โดย รศ.ดร.ดวงพรรณ กริชชาญชัย ศฤงคารินทร์ ศูนย์การจัดการโลจิสติกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล




เมื่อ วันที่ 6-9 ต.ค. 52 ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เข้าร่วมงานประชุม "Global GS1 Healthcare Conference" จัดโดย GS1 Global ร่วมกับ Hongkong Hospital Authority ที่ฮ่องกง โดยทีมงานที่ไปประกอบด้วย ทีมโลจิสติกส์ อุตสาหการ และไฟฟ้า (IT) โดยการสนับสนุนของ GS1 Thailand (ต้องขอขอบคุณ พิชญา วัชโรทัย ผู้อำนวยการสถาบันรหัสสากล สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย มา ณ ที่นี้ด้วย)

การ ไปฮ่องกงครั้งนี้ ทำให้เห็นว่า "โลก" ของ healthcare มีอะไรมากกว่า ที่คิด ตอนแรกคิดว่าจะไปดูการ promote standard ของ GS1 ในอีกการประยุกต์ ใช้แบบหนึ่ง ซึ่งไม่พ้น barcode,traceability หรือพวก RFID

แต่เมื่อไปฟังตั้งแต่วันแรก พบว่ามีอะไรมากกว่าที่คิดมาก ๆ และแต่ละประเทศมีความก้าวหน้าไปมากมาย

สิ่ง ที่ได้จากการประชุมครั้งนี้ คือ การมองอุตสาหกรรมนี้แบบห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) ที่เกี่ยวข้องทั้งภาคเอกชน (private) และการบริหารงานของภาครัฐ (public sector)

ทำอย่างไรให้ผู้เล่น (player) ทุกฝ่ายเป็น supply chain กันได้ ทั้ง manufacturer, logistics distributor/ wholesalers และ healthcare provider

เหมือนหลักการ supply chain และ logistics ทั่วไป คือ "เห็นซึ่งกันและกัน ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ" แต่ภายใต้บริบทของ healthcare สิ่งที่ต้องเห็นซึ่งกันและกันมี 2 ประการ คือ "patient data" และ "product data" โดยความพึงพอใจของลูกค้าวัดได้ 2 ประการเช่นกัน คือ "patient safety" และ "supply chain efficiency"

ปัจจัยสู่ความสำเร็จ หรือจะเรียกว่า ความยากที่ต้องลงมือทำในการสร้าง healthcare supply chain อันนี้ คือ

1) identification การทำให้ material ทุกอย่างที่ไหลไปมาบนโซ่อุปทานบ่งชี้ได้ โดยรวมถึง วัตถุ วัสดุ อุปกรณ์ทุกชนิด และคน (ไข้) ด้วย

2) traceability การทำให้ material ทุกชนิด และข้อมูลทุกอย่าง สอบย้อนกลับ (ไปมา) ได้

3) processes efficiency และ responsiveness คือ กระบวนการในโซ่อุปทานมีประสิทธิภาพและตอบสนองอย่างรวดเร็วได้

เท่าที่จับความจากการประชุมครั้งนี้ น่าจะสรุปเป็น 3 ระดับใหญ่ที่เชื่อมต่อกันใน healthcare supply chain นี้ คือ

ระดับ ที่ 1 : ระดับภายในองค์กร โดยปรับปรุงกระบวนการทำงานต่าง ๆ ของโรงพยาบาล เช่น การจัดการ คลังยา, ห้องยา การใช้ barcode ในการบ่งชี้ยาและอุปกรณ์การแพทย์ รวมถึงการป้องกันการผิดพลาดทางยา เป็นต้น

ในระบบนี้จะอยู่ในองค์กรหนึ่ง ๆ เทคโนโลยีโลจิสติกส์ที่เป็นเทคโนโลยี เฉพาะกิจหรือพัฒนาเองได้

ระดับ ที่ 2 : ระดับโซ่อุปทาน รวมตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ คือ จากผู้ผลิต ผู้จัดส่ง และกระจายจนถึงผู้ให้บริการ healthcare เช่น โรงพยาบาล คลินิก โลจิสติกส์ระดับนี้จะเชื่อมโยงกันตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำยา หรืออุปกรณ์การแพทย์ใดที่ไหลจากผู้ผลิตถึงผู้ป่วยต้องบ่งชี้ได้ และสอบย้อนกลับได้

ดังนั้นเทคโนโลยีโลจิสติกส์ที่ใช้ในระดับนี้ต้องอยู่บน standard เดียวกันและ ภาษาเดียวกัน ที่สื่อสารจากต้นน้ำถึง ปลายน้ำได้

ระดับ ที่ 3 : ระดับชาติ เป็นประเด็น ของ nationwide supply chain นั่นหมายถึงต้องระบุให้ได้มาตรฐาน (ภาษา) เดียวกันทั้งประเทศ เช่น ข้อมูล ผู้ป่วย (health record) และ ID ของวัสดุอุปกรณ์ แม้กระทั่งยาทุกชนิดทั้งประเทศ ทำให้ติดต่อสื่อสารกันได้ทั้งประเทศ เพื่อมุ่งเน้น patient safety เป็นสำคัญ

ขอยกตัวอย่างเพื่อให้เห็น ภาพคร่าว ๆ ว่า ประเทศอื่น ๆ ทำกันไปอย่างไรแล้วบ้าง เช่น ฮ่องกง เจ้าภาพในการจัดประชุมครั้งนี้ ปลัดกระทรวงสาธารณสุขมาเปิดงานและประกาศขับเคลื่อนเต็มที่ พร้อมงบประมาณว่า ทางฮ่องกงจะลงมือทำ electronic health record (EHR) ผู้ป่วยจะมีประวัติที่ทุกโรงพยาบาลทราบและเห็นโดยทั่วกัน ไม่ว่าจะเข้าคลินิก โรงพยาบาลเอกชน หรือโรงพยาบาลรัฐ เพื่อผลของการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง

และให้โรงพยาบาล กลุ่มริเริ่ม (44 โรงพยาบาล) ใช้ GS1 standard ในการ บ่งชี้ยาและอุปกรณ์การแพทย์ต่าง ๆ เพื่อจะสอบย้อนกลับได้ ตั้งแต่ผู้ผลิต จนถึงผู้ป่วย

คล้าย ๆ กับในออสเตรเลีย ที่นำโดย The National E-Health and Transition Authority (NEHTA) หน่วยงานภาครัฐ เช่นกัน จัดทำ electronic health record ของผู้ป่วย และ product catalogue

ขณะที่ประเทศจีน จัดทำ electronic health record ขับเคลื่อนโดยกระทรวงสาธารณสุขเอง โดยมี department of IT for healthcare เช่นกัน

view