จากประชาชาติธุรกิจ
คอลัมน์ L&S HUB
โดย รศ.ดร.รุธิร์ พนมยงค์ อาจารย์ประจำภาควิชาบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ โลจิสติกส์ และการขนส่ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ดัง ที่ได้กล่าวมาแล้วในบทความที่ผ่านมาถึงบทบาทหน้าที่ของการท่าเรือแห่งประเทศ ไทยต่อการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศ ตลอดจนบทบาทของการท่าเรือฯในปัจจุบันที่มีลักษณะเหลื่อมล้ำกันอยู่ อันอาจจะนำไปสู่ผลประโยชน์ที่ทับซ้อนขึ้นมาได้ หากขาดความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่
การบริหารจัดการท่าเรือ แหลมฉบัง จึงถือเป็นความท้าทายประการหนึ่งของการท่าเรือฯในอันที่จะบริหารจัดการให้ เกิดความโปร่งใส สร้างความเด่นชัดในบทบาทของตนเองในฐานะของผู้วางกฎระเบียบและควบคุมให้เป็น ไปตามกฎระเบียบนั้น ๆ
ท่าเรือแหลมฉบังเป็นท่าเรือน้ำลึก หลักของไทย ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งเพื่อให้เป็นโครงสร้างพื้นฐานของการพัฒนา พื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก ตลอดจน เชื่อมโยงเครือข่ายการขนส่งในประเทศ เข้าด้วยกัน อันจะนำไปสู่การ ขยายตัว ของการค้าระหว่างประเทศในอนาคตและเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของ ผู้ประกอบการไทย
อย่างไรก็ตาม ท่าเรือแหลมฉบังนับว่าเป็นท่าเรือน้ำลึกที่มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับ ประเทศไทย เนื่องด้วยสามารถรองรับเรือบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่ได้ ทดแทนศักยภาพในด้านนี้ของท่าเรือกรุงเทพ อีกทั้งยังมีการเพิ่มขีดความสามารถในการขนถ่ายสินค้า และการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการบริหารงานหน้าท่าด้วย
ดัง ที่พอทราบกันมาบ้างแล้วว่า ต้นทุนโลจิสติกส์นับว่าเป็นต้นทุนที่สำคัญประการหนึ่งสำหรับผู้ประกอบการใน ด้านของการแข่งขันกับผู้ประกอบการในประเทศอื่น ๆ หากมีการบริหารจัดการท่าเรือแหลมฉบังที่มีประสิทธิภาพ แน่นอนว่าต้นทุนโลจิสติกส์ย่อมลดลง อันจะนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันที่จะช่วยให้ประเทศสามารถรอด พ้นวิกฤตเศรษฐกิจดังเช่นทุกวันนี้ไปได้
การบริหารจัดการท่าเรือแหลม ฉบังในปัจจุบัน เป็นลักษณะของการบริหารจัดการที่การท่าเรือฯมีการให้สัมปทานในการบริหาร พื้นที่ท่าเทียบเรือแก่ผู้ประกอบการเอกชน โดยการท่าเรือฯมีหน้าที่ในการวางกฎระเบียบต่าง ๆ ตลอดจนเป็นผู้กำหนดโครงสร้างอัตราค่าภาระและอัตราขั้นสูงสุดของค่าภาระ สำหรับบริการต่าง ๆ ซึ่งผู้ประกอบการจะเรียกเก็บได้ไม่เกินอัตราขั้นสูงสุดที่การท่าเรือฯอนุญาต ภายใต้ผลประโยชน์ที่การท่าเรือฯจะได้รับจากการนำส่งรายได้ของผู้ประกอบการ เอกชนท่าเทียบเรือนั้น ๆ
โดยจำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ รายได้ขั้นต่ำที่ผู้ประกอบการจะต้องนำส่ง เรียกว่า "fixed fee" และรายได้ส่วนที่ต้องนำส่งเพิ่มหากมีการดำเนินกิจกรรมการให้บริการในระดับ ที่เกินกว่าที่ได้ตกลง
ในส่วนของ fixed fee ที่เรียกว่า "added fee" เป็นรายได้ที่ผู้ประกอบการเอกชนที่ได้รับสัมปทานท่าเทียบเรือจะต้องนำส่งต่อ การท่าเรือฯนั้นจะแตกต่างกัน ตามสัญญาที่ได้ตกลงลงนามร่วมกันและตามช่วงระยะเวลาที่มีการลงนาม รวมถึงเงื่อนไขต่าง ๆ ในสัญญาก็มีความแตกต่างกันด้วย
การบริหาร จัดการท่าเรือแหลมฉบังนั้นการท่าเรือฯมีฐานะเป็นเพียงผู้วางกฎระเบียบและควบ คุมให้เป็นไปตามกฎระเบียบนั้น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนดโครงสร้างอัตราค่าภาระและอัตราขั้นสูงสุดที่ผู้ ประกอบการเอกชนท่าเทียบเรือสามารถเรียกเก็บจากผู้รับบริการได้