สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

New World : New Gen : New Media ความท้าทายในยุค โลกที่เลื่อนไหล

จากประชาชาติธุรกิจ



สมาคม ศิษย์เก่าสื่อสารมวลชนและคณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ครบรอบ 4 ปี ในการก่อตั้งคณะ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ครบรอบ 45 ปี ทางคณะกรรมการจึงจัดให้มีการสัมมนาในหัวข้อ "New World : New Gen : New Media" โดยมีวิทยากรได้แก่ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและให้ คำปรึกษา สถาบันศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายสาระ ล่ำซำ กรรมการ ผู้จัดการ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด นายอดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ กรรมการอำนวยการ บมจ.เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น โดยมี นายเทพชัย หย่อง เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย โดยเห็นว่าเป็นเนื้อหาที่น่าสนใจเพื่อรับมือกับอนาคตยุค "โลกที่เลื่อนไหล"

New World : โลกที่เลื่อนไหล

"ดร.สุ วิทย์ เมษินทรีย์" กล่าวในหัวข้อ "New World" ว่า พลวัตของโลกที่เริ่มเปลี่ยนแปลงและเลื่อนไหลอยู่ตลอดเวลา พร้อมกับชี้ให้เห็นถึงโลกในยุคใหม่ที่เรียกว่า "โลกที่เลื่อนไหล" (Liquid Phase Modernity) ซึ่งเป็นพัฒนาการมาจาก "โลกแบบกลุ่มก้อน" (Solid Phase Modernity) โดยมีปัจจัยอย่างโลกาภิวัตน์ที่ทำให้โลกทุกส่วนเข้าหากันได้ง่ายขึ้นทั้ง ในด้านการเชื่อมต่อระหว่างกัน, การปฏิสัมพันธ์ และการเดินทางเคลื่อนย้ายสิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้นได้ในเวลาอันสั้น ดังนั้นโลกที่เลื่อนไหลจึงเกิดการหลอมรวมและมีปฏิสัมพันธ์ที่ซ้อนทับกันและ กันมากขึ้น

สิ่งที่เกิดขึ้นตามความเปลี่ยนแปลงของโลกที่เลื่อนไหล คือ วาทกรรมทั้งด้านพื้นที่และเวลา เปลี่ยนแปลงไปจากแนวความคิดเรื่องเวลาที่อยู่ในพื้นที่ โดยแต่ละพื้นที่จะเป็นตัวกำหนดเวลาที่แตกต่างกัน เปลี่ยนมาสู่แนวคิดเรื่องพื้นที่ในเวลา กล่าวคือ ทุกพื้นที่สามารถเชื่อมเข้าสู่ ในเงื่อนเวลาเดียวกันได้

"วาทกรรมที่ เปลี่ยนไปนั้นเริ่มทำให้เส้นแบ่งหรือพรมแดนของความเป็นรัฐชาติค่อย ๆ หายไป และเป็นการท้าทายต่ออำนาจของรัฐชาติที่กำลังลดน้อยลงไปทุกที เพราะไม่สามารถกำหนดอำนาจหน้าที่ใน ดินแดนได้เช่นเดิม ขณะที่พลเมืองก็ต้อง เกิดสำนึกความเป็นทั้งพลเมืองของประเทศและพลเมืองของโลกไปพร้อม ๆ กัน"

ดร.สุ วิทย์กล่าวอีกว่า อำนาจของรัฐชาติที่สั่นคลอนไปจึงเกิดรูปแบบความสัมพันธ์ของโลกในยุคใหม่ที่ เป็นการรวมตัวของ ภาคประชาสังคม, กลุ่มแนวร่วมต่าง ๆ เช่นเอ็นจีโอ และภาคสังคมธุรกิจ ลักษณะดังกล่าวจึงกลายเป็นความสัมพันธ์ที่ ซ้อนทับกันได้หลากหลายชั้น, มีหลายศูนย์กลาง และที่สำคัญ คือ สามารถปกครองดูแลกันเองด้วยระบบเครือข่ายระหว่างกัน

ลักษณะที่อธิบาย ให้เห็นมาทั้งหมด ดร.สุวิทย์สรุปลักษณะของโลกที่เลื่อนไหลว่า เป็นโลกที่ความจริงมีอยู่หลากหลายและกลายเป็นสิ่งสัมพัทธ์ อำนาจที่เคยมีอยู่ในกลุ่มผู้ปกครองเดิมเริ่มแตกออกกระจายไปสู่การรวมกลุ่ม ใหม่ ๆ ได้มากขึ้น และสุดท้าย คือ เกิดอัตลักษณ์ที่หลากหลาย ทั้งหมดนำมาสู่ภาวะที่เรียกว่า "ความขัดแย้งสูง" (Hyper-Conflicts)

ดร.สุวิทย์อธิบายถึงความท้าทาย 4 ด้านที่จะต้องเผชิญหน้ากับโลกที่เลื่อนไหล

ประการ แรก คือ การกระจายของ ความมั่งคั่งที่เริ่มขยายไปสู่กลุ่มประเทศกำลังพัฒนามากขึ้นกว่าเดิมที่ กระจุกอยู่ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว เห็นได้จากข้อมูล



ประการ ที่ 2 เป็นการกระจายตัวของ ความเสี่ยงต่าง ๆ ที่เป็นความเสี่ยงภัยของโลกเริ่มเข้าหาทุก ๆ คนมากขึ้น ทั้งกรณีวิกฤตการเงิน, โรคระบาดร้ายแรง, ปัญหาโลกร้อน และภัยก่อการร้าย

ประการ ที่ 3 แนวโน้มการล่มสลาย ของลัทธิทุนนิยม โดยเฉพาะในกรณีวิกฤตเศรษฐกิจครั้งล่าสุดที่เริ่มเห็นความร่วมมือระหว่างกัน ของประเทศต่าง ๆ ในโลกมากขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าสำนึกแบบตัวใคร ตัวมันเริ่มหายไป และโยงมาถึงประการสุดท้าย คือ การล่มสลายของรัฐชาติจากการร่วมกลุ่มระหว่างกันในระดับโลกเพื่อจัดการกับ ปัญหาที่เป็นสำนึกของ คนทั้งโลก และการร่วมกลุ่มเพื่อดูแล ตนเองของแต่ละภาคส่วน ซึ่งได้ลดทอนบทบาทและอำนาจของรัฐชาติลงไปอย่าง ต่อเนื่อง

สำหรับประเทศไทย ดร.สุวิทย์บอกว่า ความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ไม่ใช่สิ่งน่ากลัวเลย หากประเทศไทยมีความสมดุล อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาประเทศไทยยังไร้สมดุลในเรื่องต่าง ๆ อย่างน้อย 4 ด้าน คือ ความไร้สมดุลด้านการบริหารการปกครองที่เน้นการเติบโตในฝั่งรัฐหรือระบบ ราชการเพียงอย่างเดียว มิได้พัฒนาชาติโดยเฉพาะด้านประชาธิปไตยควบคู่ไปด้วยอย่าง เหมาะสม ด้านที่สองเป็นการไร้สมดุลในการพัฒนาเศรษฐกิจที่มุ่งขยายความมั่งคั่งทาง เศรษฐกิจแต่ละเลยเรื่องสิ่งแวดล้อม, สังคม และความรู้ของประชากร

ด้าน ต่อมาเป็นความไร้สมดุลในการปกครองที่ประเทศไทยขาด 4 คำ คือ "Clear" หรือขาดธรรมาภิบาลทั้งระบบ, "Care" หรือความห่างของช่องว่างรายได้ของประชากรที่ถ่างออกไปเรื่อย ๆ, "Fair" หรือการบังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรม และสุดท้าย "Share" หรือความเผื่อแผ่แบ่งปันซึ่งมิอาจเกิดขึ้นได้หากไม่มี 3 คำแรก ด้านสุดท้าย คือ ความไร้สมดุลทางวัฒนธรรมที่มีทั้งวัฒนธรรมของต่างชาติและของโลกโถมเข้ามา อย่างต่อเนื่องจนเบียดแซงวัฒนธรรมท้องถิ่นและวัฒนธรรมของ ชาติไทย

"โดย สรุปแล้วภาพของประเทศไทยที่กำลังก้าวเข้าสู่โลกที่เลื่อนไหลเช่นกัน แต่ที่ผ่านมาไทยยังขาดความสมดุลในหลายด้าน จึงทำให้ปัจจุบันเราอยู่ในภาวะความขัดแย้งสูง ไร้เสถียรภาพ และขาดความปลอดภัย ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องร่วมมือกันและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต มิฉะนั้นแล้วไทยจะกลายเป็นรัฐที่ล้มเหลว ในอนาคตได้" ดร.สุวิทย์ทิ้งท้าย

New Gen :

กล้าคิด-แตกต่าง-ปรับตัวเร็ว


"สาระ ล่ำซำ" กล่าวในหัวข้อ "New Gen" ได้เล่าถึงมุมมองต่อคนรุ่นใหม่ ในฐานะผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จมากในวัยที่ยังไม่ถึง 40 ปี โดย "สาระ" เลือกยกกรณีศึกษาที่ตนเองเข้ามารับตำแหน่งเบอร์ 1 ในบริษัทประกันชีวิตที่เป็นธุรกิจของครอบครัว พร้อมกับยกเครื่องใหม่ทั้งหมดตั้งแต่ 5 ปีที่แล้ว

สิ่งที่ "สาระ" ต้องการชี้ให้เห็นมุมมองของคนรุ่นใหม่จึงต้องย้อนภาพของธุรกิจประกันชีวิตใน ทศวรรษที่ผ่านมา โดยบอกว่า หลังวิกฤตต้มยำกุ้งภาครัฐได้อนุมัติใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิต เพิ่มขึ้นอีกนับสิบราย แต่บริษัทไทยกลับไม่มีเงินทุนที่จะมาทำธุรกิจ จึงต้องขายใบอนุญาตให้แก่ธุรกิจประกันภัยจากต่างชาติแทน ทำให้การแข่งขันเริ่มรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ เพราะต่างชาติที่เข้ามามีทั้งทุนและองค์ความรู้ในธุรกิจประกันชีวิตที่พัฒนา กว่าไทยมากนัก

"ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเราทันที โดยส่วนแบ่งตลาดของเมืองไทยประกันชีวิตเริ่มร่วงไปเรื่อย ๆ ขณะเดียวกันกลยุทธ์ที่เห็นมากในช่วงนั้นก็คือ การซื้อตัวแทนให้ ย้ายค่าย พร้อมกับดึงฐานลูกค้าของตัวแทนเหล่านั้นไปอยู่บริษัทใหม่ด้วย บริษัทเรากำลังเป็นเหมือนเรือที่มีแต่รูรั่วอยู่เรื่อย ๆ รอแค่วันจมเท่านั้น"

ในช่วงเวลาที่ยากลำบากนั้น ในปี 2547 "สาระ" รับไม้ต่อในการบริหารบริษัทนี้จากผู้เป็นพ่อต้องการ "ไฟ" ของคนหนุ่มรุ่นใหม่ขึ้นมาพลิกฟื้นธุรกิจ ในสายตาสาระเวลานั้นจุดแรกที่เขาต้องการก็คือ การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันที่จะต้อง "แตกต่าง" จากคู่แข่งทั้งหมดในเวลานั้น จึงนำมาสู่การศึกษาตลาดอย่างจริงจัง ก่อนจะตัดสินใจ "รีแบรนด์" ในที่สุด

"สาระ" บอกอีกว่า ธุรกิจประกันชีวิต ในเวลานั้นเป็นเรื่องที่เคร่งเครียดมากต้องดูน่าเลื่อมใส สีก็จะจืด ๆ ไม่สดใส แต่มุมมองคนหนุ่มอย่างเขากลับมองต่างออกไป โดยเชื่อว่าประกันชีวิต คือ การบริหารความเสี่ยง และทำให้ผู้เอาประกันรวมถึงครอบครัวสามารถมีรอยยิ้มและความสุขได้ด้วยระบบ บริหารความเสี่ยงนี้ จึงเป็นจุด เริ่มต้นความคิดอันกล้าหาญที่ต้องการให้เมืองไทยประกันชีวิตเป็น "เจ้าแห่งความสุข" ให้ได้ และความสุขนี้ต้องจับต้องได้ด้วย จึงออกมาเป็นสีชมพูบานเย็นที่เสมือนแสงอาทิตย์ยามเช้า และตัวเขาเองก็ยอมรับว่า สีนี้แตกต่างจากตลาดจริง ๆ ทำให้ เมืองไทยประกันชีวิตเป็นฝ่ายรุกเข้าหา "พันธมิตร" ที่จะอำนวยกิจกรรมความสุขในทุก ๆ ด้านให้แก่ลูกค้าได้

สิ่งสำคัญอีกด้านหนึ่งที่สาระต้องการย้ำก็คือ การหูไว ตาไว และปรับตัวได้ รวดเร็ว

โดย เขายกกรณีที่ภาครัฐในขณะนั้น กำลังจะอนุญาตให้ธนาคารสามารถเป็น นายหน้าขายประกันชีวิตได้ ซึ่งจะเป็นอีกช่องทางที่ช่วยสร้างยอดขายได้มหาศาลในอนาคต เขาจึงชิงจังหวะยกเครื่องโครงสร้าง บริษัทใหม่ โดยถอดภาพความเป็น "ธุรกิจครอบครัว" ออกไป และปรับตัว ทุกด้านเพื่อให้มีเหตุผลเพียงพอที่ทุกธนาคารจะเปิดประตูต้อนรับเมืองไทย ประกันชีวิต ในฐานะพันธมิตรทางธุรกิจ

นอกจากนี้สาระยังเปิดรับ "ต่างชาติ" อย่างกลุ่มฟอร์ติสซึ่งเป็นธุรกิจประกันชีวิตและธนาคารจากเบลเยียมเข้ามา เสริมศักยภาพเรื่ององค์ความรู้อีกด้วย

"ทฤษฎีเป็นสิ่งที่เชื่อไม่ได้ เสมอไป ซึ่งพิสูจน์มาแล้ว เพราะทฤษฎีฝรั่งบอกว่า คนที่จะซื้อประกันชีวิตต้องมีปัจจัยพื้นฐานครบและมีรายได้ส่วนเกินเพียงพอ เสียก่อน แต่ประเทศไทยมีกลุ่มคนระดับกลางและ บนเพียง 30% ขณะที่ 70% ที่เหลือเป็นตลาดรากหญ้า เพราะเราเป็นสังคมเกษตร แต่ความเป็นจริงในวันนี้เราสามารถมา ทำตลาดนี้ได้เช่นกัน จนประเทศไทยเป็น เจ้าทฤษฎีประกันรากหญ้าก็ว่าได้ เพราะฉะนั้นอยู่ที่ว่าเราต้องกล้าเปลี่ยนให้เกิดความแตกต่างและเราก็สามารถ สร้างทฤษฎีใหม่ของเราเองได้เช่นกัน"

New Media : องค์กรสื่อยุคโมเดล "Newsroom 3.0"

"อดิ ศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ" ในฐานะ ผู้ที่คร่ำหวอดอยู่ในวงการสื่อสารมวลชนมากว่า 20 ปี เริ่มต้นด้วยการฟันธงว่า ในโลกที่เปลี่ยนแปลงไป และเป้าหมาย กลุ่มคนรุ่นใหม่ในตลาดที่ต่างออกไปจากเดิม ทำให้วิชาชีพสื่อก็ต้องปรับตัวมากพอสมควรให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของสื่อใน ยุคใหม่ ไม่ว่าจะเป็น SMS ผ่านโทรศัพท์มือถือ, เว็บไซต์, เคเบิลทีวี =และทีวีผ่านดาวเทียม

ลักษณะสำคัญของสื่อใหม่อดิศักดิ์ให้นิยามไว้ ว่า เป็นการรวมตัวของสื่อรูปแบบเดิม ผ่าน "สื่อกลางในการทำงาน" ทั้งคอมพิวเตอร์, อินเทอร์เน็ต, โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ โดยมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์เข้ามาร่วมในกระบวนการ

"รูปแบบสื่อใหม่ที่ หลากหลายขึ้นและผู้รับสื่อมีโอกาสรับสื่อจากหลายช่องทาง ทำให้องค์กรสื่อเองต้องปรับตัวเข้าหา ช่องทางสื่อใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น ดังนั้นผู้สื่อข่าวในยุคใหม่จำเป็นต้องมีศักยภาพสูงขึ้น= ในการทำข่าวเพื่อป้อนเป็นเนื้อหาเข้าสู่ ช่องทางสื่อที่หลากหลายขึ้นกว่าเดิม"

ทั้งนี้วิวัฒนาการขององค์กร สื่อผ่านโมเดล Newsroom ในเวอร์ชั่นต่าง ๆ ตั้งแต่ Newsroom 1.0 ที่เป็นลักษณะ แยกกองบรรณาธิการแต่ละช่องทางสื่ออย่างชัดเจน และมีทีมผู้สื่อข่าวในแต่ละสายที่เป็นอิสระต่อกัน พัฒนาการเข้ามาสู่เวอร์ชั่น Newsroom 2.0 ที่เริ่มมองเนื้อหาเป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน หากแต่ยังมีการแบ่งทีมจัดการในแต่ละช่องทางสื่อเหมือนเดิม

จนกระทั่ง ในยุคปัจจบันที่เป็นเวอร์ชั่น Newsroom 3.0 ที่ยึดเนื้อหาของสารเป็นหลักและผู้สื่อข่าวสามารถป้อนเนื้อหา เหล่านั้นเข้าสู่ช่องทางสื่อที่หลากหลายได้โดยตรง และสามารถข้ามรูปแบบสื่อไปมาระหว่างกันได้อีกด้วย เช่น การส่งข่าวออนไลน์ และการส่งข่าว SMS เข้าโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น

"แม้องค์กรข่าวและรูป แบบสื่อใหม่ ๆ จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่สิ่งสำคัญที่สุดของสื่อสารมวลชนก็ยังอยู่ที่ "เนื้อหาของข่าวสาร" หรือที่เรียกว่า Content is the king"

ดังนั้นวิชาชีพผู้สื่อข่าว ก็ยังมีความสำคัญเช่นเดิม หากแต่ต้องรู้จักพัฒนาวิธีการเขียนให้สอดคล้องกับสื่อ เพราะทักษะสำคัญของวิชาชีพนี้อยู่ที่พื้นฐานการเขียนที่ดี ขณะที่เทคโนโลยีของช่องทางสื่อสารเป็นเพียง วิธีการอำนวยให้สารเข้าไปถึงผู้รับสารได้เท่านั้นเอง

นอกจากนี้การเกิดขึ้นของสื่อใหม่อย่างเคเบิลทีวีและทีวีผ่านดาวเทียมเริ่มเติบโต สูงขึ้นทุกปีและขยายวงกว้างเรื่อย ๆ

ขณะ ที่พฤติกรรมผู้บริโภคเริ่มเปลี่ยนไป จากเหตุผลในการติดเคเบิลทีวีเพราะดูฟรีทีวีไม่ชัด เริ่มเปลี่ยนมาสู่ความต้องการในรายการที่ฟรีทีวีไม่มี ทั้งช่องสำหรับเด็ก และช่องสารคดี ขณะที่ต้นทุนการติดเคเบิลทีวีเริ่มถูกลงจนอยู่ในระดับที่ผู้บริโภคเข้าถึง ได้ไม่ยากแล้ว

นี่จึงเป็นอีกหนึ่งความท้าทายในวงการสื่อสารมวลชนยุคใหม่กำลังเผชิญและจะต้องเผชิญในอนาคตอันใกล้แล้ว

view