สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

การสืบทอดหรือการส่งผ่านธุรกิจครอบครัวไทย (2)

จาก โพสต์ทูเดย์
รายงานโดย :กิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์:


ฉบับที่แล้วผมนำเรื่องราวที่สะท้อนว่าเมื่อใดที่ต้องมีการสืบทอดหรือการส่งผ่านธุรกิจของครอบครัว

ไม่ ว่าจะเป็นการโอนขายหุ้น การมอบอำนาจให้สมาชิกบุคคลใดบุคคลหนึ่งในครอบครัวเป็นกรรมการ ผู้จัดการบริหาร หรือผู้นำในการบริหารจัดการธุรกิจครอบครัวหรือการดำเนินการในแบบสืบทอด 7

และได้ชี้ข้อบกพร่องว่า หากไม่มีการทำความเข้าใจหรือการถ่ายทอดปรัชญาการดำเนินธุรกิจโดยให้สมาชิกใน ครอบครัวยึดถือเป็นจารีตประเพณีและคุณค่าของครอบครัวเป็นสำคัญ

ในกรณีการสืบทอดหรือการส่งผ่านธุรกิจในครอบครัวจากสมาชิกครอบครัวหนึ่งไป ยังสมาชิกอีกครอบครัวหนึ่ง หรือเป็นการโอนทรัพย์สินหรือธุรกิจจากสมาชิกครอบครัวหนึ่งไปยังอีกครอบครัว โดยไม่เท่าเทียมกัน หรือมอบหมายให้สมาชิกในครอบครัวหรือตระกูลใดตระกูลหนึ่งเป็นผู้นำทางธุรกิจ แล้ว สมาชิกในครอบครัวผู้ที่ไม่ได้รับการแต่งตั้งก็ย่อมเกิดความไม่เห็นด้วยหรือ อาจก่อกระแสความขัดแย้งขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นเรื่องผลประโยชน์และบางทีอาจเป็นเรื่องหน้าตาก็ได้

การสืบทอดหรือการส่งผ่านธุรกิจครอบครัว จึงต้องมีการเตรียมการและวางแผนตั้งแต่เริ่มหรือเมื่อเจ้าของธุรกิจเริ่มจะ มีการวางมือ เช่น ไม่ว่าจะเป็นการจัดให้ความรู้และการสร้างความเข้าใจให้สมาชิกในครอบครัว การจัดทำสัญญาระหว่างผู้ถือหุ้นหรือข้อบังคับหรือข้อพึงปฏิบัติ (Code of Conduct) ของครอบครัว

การสืบทอดหรือการส่งผ่านธุรกิจนั้น จะต้องเป็นการตัดสินใจของเจ้าของธุรกิจในครอบครัว (ซึ่งเป็นเจ้าของ) ด้วยความเห็นชอบหรือยอมรับจากสมาชิกในครอบครัวว่า เจ้าของหรือคณะสมาชิกในครอบครัวเห็นว่าจะให้สมาชิกคนใดคนหนึ่งในครอบครัว นั้น เป็นผู้บริหารของธุรกิจครอบครัว

สิ่งเหล่านี้หากมีกระบวนการข้อบังคับ/ข้อสัญญาผู้ถือหุ้นหรือข้อ พึงปฏิบัติโดยความเห็นชอบของสมาชิกในครอบครัวไว้ชัดเจนและประกอบด้วยมีการ สื่อสารด้วยการพูดคุยกันอย่างสม่ำเสมอ ปัญหาดังกล่าวก็ย่อมจะลดน้อยลง หรืออาจจะไม่มีเลยก็ได้

แผนการสืบทอดหรือส่งผ่านธุรกิจของเจ้าของธุรกิจ หรือสมาชิก ในครอบครัวจึงควรจะมีการกำหนดกฎเกณฑ์ไว้ให้ชัดเจน อันจะทำให้การรักษาธุรกิจครอบครัวสามารถเจริญเติบโตได้อย่างมั่นคง แน่นอนที่กลยุทธ์หรือวิธีการถ่ายโอนอำนาจในแต่ละครอบครัวย่อมมีความแตกต่าง และไม่สามารถใช้เป็นสูตรสำเร็จได้

แต่ละครอบครัวคงต้องเลือกวิธีใดๆ ที่เหมาะสมกับครอบครัวของตนเอง โดยอาจจะเรียนรู้ประสบการณ์ของครอบครัวอื่นๆ

โดยผมเชื่อว่าการจัดโครงสร้างทางกฎหมายที่เหมาะสมตามที่ได้เขียนมา หลายตอนแล้ว ก็จะทำให้การสืบทอดหรือการส่งผ่านธุรกิจกระทำได้อย่างมีรูปแบบและหลักเกณฑ์ ที่เป็นที่ยอมรับได้ทุกฝ่าย (ไม่ว่าสมาชิกในครอบครัว คู่ค้า สถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้) ซึ่งก็จะทำให้ธุรกิจอยู่ได้อย่างยั่งยืน

กลยุทธ์การส่งผ่านธุรกิจ : ความเห็นนักวิชาการไทย

มีหนังสือเล่มหนึ่งที่อยากให้ท่านผู้อ่านได้อ่านก็คือ หนังสือที่เขียนโดยท่าน รศ.ธงชัย สันติวงษ์ พิมพ์โดย สำนักพิมพ์ประชุมช่าง พ.ศ. 2546 เช่น หนังสือ “การส่งผ่านธุรกิจสู่รุ่นที่ 3” หนังสือเล่มนี้จะได้บอกกระบวนการส่งผ่านธุรกิจในธุรกิจในประเทศไทยว่า ในการดำเนินการส่งผ่านธุรกิจในการจัดการการบริหารธุรกิจนั้น ควรดำเนินการอย่างไร

ท่านผู้อ่านก็จะได้พบกับภาพของจริงที่เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยผมขอนำบทสรุปมาเล่าสู่กันฟัง ส่วนรายละเอียดท่านผู้สนใจควรไปหาอ่านจากหนังสือเล่มนี้เอาเอง (ตอนนี้ไม่ทราบว่าจะมีจำหน่ายอีกหรือไม่)

ในหนังสือดังกล่าวท่านอาจารย์ธงชัย สันติวงษ์ ได้วางกลยุทธ์ไว้ 10 ประการ

1.การส่งผ่านธุรกิจนั้นไม่ควรจะให้คนรุ่นที่ 3 ขึ้นดำรงตำแหน่งใหญ่ทันที หาก ขาดการฝึกขาดประสบการณ์และการสั่งสมบารมี คนรุ่นที่ 3 ควรได้ฝึกหัดงานหรือฝ่ายการทำงานในระดับล่างเสียก่อนก่อนที่จะเข้าไปดำรง ตำแหน่งใหญ่ซึ่งอาจจะเกิดความผิดพลาดได้

2.ไม่ควรแต่งตั้งให้สมาชิกในครอบครัวเป็นกรรมการในบริษัทเลยทีเดียว ควรให้สมาชิกในครอบครัวได้เรียนรู้จากชีวิตจริงคือ ทำงานระดับเล็ก หรือเป็นพนักงานเบื้องต้นก่อนจะแต่งตั้งเป็นกรรมการ เพราะสมาชิกดังกล่าวจะต้องมีประสบการณ์และได้รับการฝึกฝนเสียก่อน การที่จะให้ลูกหลานเข้าเป็นกรรมการโดยมีการจ้างนักบริหารมืออาชีพนั้น เป็นการเรียนลัดและอาจจะเกิดปัญหาได้ ดังนั้น จึงควรจะให้ลูกหลานได้ฝึกงานในเบื้องต้นก่อน

3.ในช่วงการส่งผ่านธุรกิจ เจ้าของกิจการซึ่งเป็นผู้สร้างธุรกิจนั้น ไม่ควรจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับกิจการมากในช่วงถ่ายโอนธุรกิจนัก เพียงแต่ควรจะคอยดูแลกำกับอยู่ห่างๆ

ดังนั้น การที่เจ้าของกิจการค่อยๆ วางมือจากธุรกิจแต่เป็นเพียงผู้คอยแก้ไขปัญหาประสานงาน เช่น ควรจะเป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการมากกว่าจะเป็นผู้บริหารเสียเองในช่วงโอนต่อที่ มีการส่งผ่านธุรกิจ

4.เจ้าของกิจการนั้นไม่ควรจะมาสอนธุรกิจให้แก่ลูกตนเอง เพราะธุรกิจในปัจจุบันนั้นมีการเปลี่ยนแปลงมาก ควรถือคติว่า คนเป็นครูจะไม่สอนลูกตัวเอง เนื่องจากมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดเกินไป

ในทำนองเดียวกันการฝึกอบรมควรจะไม่ควรให้พ่อแม่สอนลูกโดยตรงแต่ควรจะเป็น ลุง น้า หรือมืออาชีพเป็นผู้สอน ทำนองเดียวกับที่ว่า “ลูกไม่เชื่อพ่อ”

view