จาก โพสต์ทูเดย์
รายงานโดย :กิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์: |
ผมเขียนเรื่อง การสืบทอดธุรกิจหรือการส่งผ่านธุรกิจของเจ้าของธุรกิจครอบครัว จากรุ่น 1 ไปสู่รุ่น 2 รุ่น 3 และนำเสนอแผนสืบทอดธุรกิจไปแล้ว 2 ตอน วันนี้จะเป็นตอนสุดท้ายให้เราต้องขบคิดกัน มาดูกันต่อในหัวข้อที่ 5 นะครับ
6.สมาชิกครอบครัวรุ่นใหม่ไม่ควรตัดสินใจในการลงทุนใดๆ อย่างรวดเร็ว ที่เรียกว่า “เสี่ยยุคใหม่ ไม่ควรสั่งลุย” เพราะอาจจะเกิดปัญหาอุปสรรคมากมาย
7.การที่มีธุรกิจครอบครัวนั้น และหากมีผลประโยชน์ขัดแย้งกัน ก็ควรจะแยกออกมาจากการทำธุรกิจ คือ จัดสรรผลประโยชน์ในขณะที่ธุรกิจใหญ่โตขึ้น โดยการจัดตั้งบริษัทโฮลดิง โดยให้ทุกฝ่ายถือหุ้นหรือโดยการกระจายบริษัทให้เป็นบริษัทในเครือ และให้แต่ละสมาชิกเป็นคนที่สามารถจัดการการบริหารจัดการได้
8.การเมืองในองค์กรจะต้องมีการเรียนรู้กันว่าจะทำอย่างไร ซึ่งปัจจุบันนี้จึงมีความสำคัญมากว่า กลยุทธ์ต่างๆ จะต้องนำมาใช้กับบุคคลภายนอกเท่านั้น อย่างนักการเมืองในองค์กรไม่นำมาใช้กับคนภายใน เพราะจะทำให้เกิดปัญหาข้อขัดแย้งได้ง่าย
9.อย่าให้คนสนิทใกล้ชิดทำให้ธุรกิจครอบครัวอ่อนแอ เพราะฉะนั้นจะต้องป้องกันไม่ให้มีคนที่ไม่ซื่อสัตย์เข้ามาบริหารจัดการ หรือแม้แต่สมาชิกในครอบครัวที่ไม่สุจริต
10.การประสานสู้ศึกข้ามวัฒนธรรม ซึ่งปัจจุบันนี้เป็นยุค โลกาภิวัตน์ ความเปลี่ยนแปลงต่างๆ มีมาก ธุรกิจครอบครัวก็ต้องมีการวางแผนระบบการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าการวิเคราะห์ การวางแผนกลยุทธ์แบบลงลึก การฝึก การตัดสินใจ การเปลี่ยนวิธีการ บริหาร การรักษาวัฒนธรรมแบบเก่า และการมีความเฉลียวฉลาด ในการตัดสินใจ รวมทั้งการแปลงวัฒนธรรมให้สอดคล้องกับ ยุคโลกาภิวัตน์ด้วย
การจัดตั้งระบบการบริหารจัดการจึงมีความสำคัญ และที่สำคัญก็คือ ควรจะยืนห่างไกลจากศูนย์กลางอำนาจของรัฐ (หมายความว่า ไม่ควรยุ่งเกี่ยวกับการเมืองนัก)
ผมมีข้อสังเกตว่า ปัจจุบันนี้มีความเชื่อกันว่า การใกล้ศูนย์กลางอำนาจของรัฐนั้น จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจมากกว่า ผมคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่จะต้องศึกษาในรายละเอียดต่อไป
ผมคิดว่าการใช้อิงการเมืองอำนาจรัฐ (โดยการบริจาคให้บริษัทหรือนักการเมือง) จำเป็นในบางกรณี (เพื่อป้องกันก็ขอไม่ให้ถูกกลั่นแกล้ง) แต่ต้องไม่ใกล้ชิดเกินไปและไม่ทำอะไรผิดกฎหมาย เพราะลมการเมืองเปลี่ยนแปลงเร็ว ถ้าดำเนินนโยบายไม่ดีอาจมีผลกระทบต่อธุรกิจครอบครัวได้
ในประเทศไทยจะเห็นการทำธุรกิจครอบครัว โดยเฉพาะต่างจังหวัดจะอิงการเมืองโดยการเลือกตั้งในระดับท้องถิ่นและระดับ ประเทศ ทั้งนี้อาจจะเป็นไปเพื่อปกป้องธุรกิจของตนเองหรือแสวงหาประโยชน์ในธุรกิจตน เอง (แต่ปัจจุบันรัฐธรรมนูญและกฎหมายก็มีการบังคับไว้มากขึ้นเกี่ยวกับเรื่องผล ประโยชน์ทับซ้อน การเปิดเผยทรัพย์สิน)
โดยส่วนตัวผมไม่ค่อยเห็นด้วย หรือไม่ยอมให้มีการต่อสัญญาหรือข้อตกลง หรือหากต่อก็ต้องเสียค่าตอบแทนเพิ่ม ซึ่งก็มีตัวอย่างที่เกิดขึ้นในเมืองไทยที่สมาชิกในครอบครัวเข้าไปยุ่งเกี่ยว กับการเมือง ถ้าหากจะไปยุ่งก็ควรจะไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของครอบครัว
เพราะมิฉะนั้นแล้ว อาจมีผลกระทบต่อธุรกิจที่ทำอยู่ได้ โดยจะมีการขุดคุ้ยเรื่องต่างๆ ได้ หรือไม่ยอมให้มีการต่อสัญญาหรือข้อตกลง หรือหากต่อก็ต้องเสียค่าตอบแทนเพิ่ม ซึ่งก็มีตัวอย่างที่เกิดขึ้นในเมืองไทยหลายกรณี
การกำหนดไว้ในธรรมนูญหรือข้อบังคับของสภาครอบครัวในเรื่องดังกล่าว เกี่ยวกับการเกี่ยวข้องของสมาชิกในครอบครัวกับการมอง จึงควรกำหนดไว้ให้ชัดเจนว่าจะเข้าไปเกี่ยวข้องแค่ไหนเพียงใด และระหว่างที่เข้าไปเกี่ยวข้อง ความสัมพันธ์กับธุรกิจของครอบครัวจะเป็นเช่นไร