จากประชาชาติธุรกิจ
การ เปลี่ยนแปลงขั้วแห่งมหาอำนาจทางเศรษฐกิจจากซีกโลกตะวันตกมาเป็นซีกโลกตะวัน ออก มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการซัพพลายเชนอย่างไร ดร.เคนท์ โกคิง พาร์ตเนอร์กลุ่มบริษัท ที่ปรึกษาด้านซัพพลายเชน บริษัท เอคเซนเชอร์ ประจำภูมิภาคอาเซียน ซึ่งมีประสบการณ์ด้านการให้คำปรึกษาให้กับบริษัทชั้นนำข้ามชาติต่าง ๆ ได้มาวิเคราะห์ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น
ดร.เคนท์บอกว่า เดิมเศรษฐกิจมาจากสหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น แต่ปัจจุบันได้ผันเปลี่ยนเป็นจีน และอินเดีย รัสเซีย บราซิล พอเปลี่ยนแล้ว การบริหารซัพพลายเชน (SCM) จะทำแบบเดิมไม่ได้ ระบบที่เคยลงทุนไว้ในอดีตไม่สามารถ ตอบสนองได้มากพอ จะเกิดปัญหาตามมา 5 ประการ
1.จะเกิดการแย่งชิงบุคลากรที่มีฝีมือ สังเกตได้ว่าเกณฑ์เฉลี่ยอายุของคนในประเทศที่พัฒนาแล้วจะอยู่ในวัยสูงอายุ มากขึ้น
2.การหมุนเวียนของเงินทุน เปลี่ยนมาลงทุนทางเอเชียมากขึ้น โดยเฉพาะจีน
3.การแข่งขันเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพยากร 4.ผู้บริโภคในตลาดเกิดใหม่ ความต้องการเปลี่ยนมาเป็นตลาดแถบเอเชีย เช่น จีน อินเดีย รัสเซีย บราซิล เกาหลีใต้ 5.นวัตกรรม บริษัทชั้นนำย้ายฐานไปผลิตที่จีน และอินเดีย
ภาพเศรษฐกิจที่ เปลี่ยนแปลงไปส่งผลให้เกิดสิ่งท้าทายต่อการบริหารซัพพลายเชน 6 ประการ เพราะปัจจุบันลูกค้ามีความ คาดหวังเพิ่มขึ้น โดยยอมจ่ายราคาสูงขึ้น ขณะที่ต้นทุนวัตถุดิบมีราคาสูงขึ้น ราคาด้านพลังงานมีความผันผวนตลอดเวลา การดำเนินการธุรกิจเองเพิ่มความซับซ้อนมากขึ้น ดังนั้นจำเป็นต้องมีความยืดหยุ่นในการบริหาร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และสุดท้ายการบริหารซัพพลายเชนให้ยั่งยืน ต้องคำนึงถึงปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ เช่น เรื่องสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทำให้เห็นว่า ผลประกอบการในอดีตไม่สามารถเป็นตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานที่จะเกิดขึ้นใน อนาคต
ล่าสุดทางบริษัท เอคเซนเชอร์ได้ทำการศึกษาวิจัย เพื่อก้าวสู่ความเป็นเลิศด้านซัพพลายเชน จากการถามผู้บริหาร 1,500 ราย ใน 21 ประเทศ ในทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชีย ใน 10 ภาคอุตสาหกรรม หลายขนาดองค์กร เกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านซัพพลายเชน ได้แก่ งานด้านการวางแผน การผลิต การดำเนินการให้บรรลุผล การจัดการบริการ การบริหารวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ และการจัดซื้อ
ผลจากการสำรวจพบว่า ซัพพลายเชนช่วยด้านการเงินให้ดีขึ้น สามารถลดต้นทุน ถ้าเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ บริษัทที่มีระบบการบริหารจัดการซัพพลายเชนที่ดีจะปรับตัวได้ ถ้าสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการจัดซื้อได้ จะทำให้ประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่ายได้ถึง 30% หากเทียบกับองค์กรที่ไม่มีประสิทธิภาพการจัดการซื้อที่ดี เท่ากับทำให้องค์กรมีผลกำไรเพิ่มมากกว่า 10 เท่า
การบริหารจัดการ ซัพพลายเชนมีกลยุทธ์ 7 ประการ เพื่อขับเคลื่อนไปสู่ความสำเร็จ
1.ต้องมีเป้าหมายชัดเจน เพื่อให้เกิดการสร้างมูลค่า ยกตัวอย่าง บริษัท ซาร่า ซึ่งทำธุรกิจเสื้อผ้ามีเป้าหมายเปลี่ยนแปลงให้ทันกระแสแฟชั่น จะนำข้อมูลจากร้านค้าเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมามาวิเคราะห์ว่า แฟชั่นจะเป็นอย่างไร และจะตัดเสื้อผ้าใหม่ไปวางภายใน 2 สัปดาห์ ขณะที่เสื้อผ้าเก่าวางเพียง 4 สัปดาห์
2.การทำระบบซัพพลายเชนต้อง ดูตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ ไม่พิจารณาเพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง ยกตัวอย่าง บริษัท ลีแอนด์ฟุง ขายสินค้าหลากหลาย ไม่มีโรงงานผลิตเอง แต่สามารถบริหารจัดการผ่านกระบวนการซัพพลายเชนให้เกิดมูลค่าได้
3.เนื่อง จากกระบวนการบริหารจัดการซัพพลายเชนในแต่ละกลุ่มธุรกิจแตกต่างกัน อาจเลือกทำเฉพาะบางกลุ่มธุรกิจ บางผลิตภัณฑ์ที่ให้ตอบแทนสูง เช่น บริษัท เดลล� คอมพิวเตอร์ จะใช้ข้อมูลความต้องการของลูกค้ามาออกแบบบริหารซัพพลายเชน ช่วยให้องค์กรมีประสิทธิภาพสูง สามารถวางกลยุทธ์เจาะตลาดที่แตกต่างได้มากขึ้น โดยไม่ใช้งบฯลงทุนมากเกินความจำเป็น
4.การหาความสมดุลในการสร้าง ความเป็นเลิศด้านซัพพลายเชนให้แก่องค์กร ไม่ต้องลงทุนสร้างความเป็นเลิศในทุกด้าน แต่เลือกเพียงบางด้านให้เป็นจุดเด่นเหนือกว่าคู่แข่ง ขณะเดียวกันองค์กรไม่ควรล้าหลังในด้านใดหนึ่ง แต่ควรพัฒนาทุกสายงานซัพพลายเชนให้ได้ระดับมาตรฐาน เทียบชั้นกับบริษัทคู่แข่ง โดยเลือกสร้างความเป็นเลิศเพียง 1-2 ด้าน ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ขององค์กร เช่น บริษัท โคคา-โคลาเดิมจ้างคนผลิตขวดโค้ก 600 ราย ซึ่งแต่ละรายมีกระบวนการผลิตที่แตกต่างกัน เพื่อให้สามารถลดต้นทุนลงได้ ได้ปรับการผลิตขวดให้มีมาตรฐานเดียวกันทั้งหมด
5.การพิจารณาในด้าน การลงทุนเพื่อสร้างความเป็นเลิศเฉพาะทาง ให้เลือกลงทุนในส่วนที่จะช่วยสร้างมูลค่า ยกตัวอย่าง บริษัทแอปเปิล (แมคอินทอช) ซึ่งเป็นองค์กรที่มุ่งเน้นวัตถุประสงค์ด้านคุณค่าในด้านนวัตกรรม แอปเปิลจึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ จึงเน้นการเก็บข้อมูลความต้องการของลูกค้า รวมทั้งคำติชมจากลูกค้าซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าสินค้า มีจุดอ่อนตรงไหน จะได้พัฒนาสินค้าและ แก้ปัญหาได้ถูกจุด ในด้านอื่น ๆ บริษัท แอปเปิลมีความสามารถด้านซัพพลายเชนมากพอที่จะแข่งขันได้
6.การนำ ระบบเทคโนโลยีมาใช้ให้เป็นประโยชน์ เช่น บริษัท ดาวเคมีคอล ใช้ระบบไอทีมาประเมินผลซัพพลายเออร์ โดยให้คะแนนความเสี่ยงแต่ละราย ถ้ารายใดมีความเสี่ยงมาก ต้องหาวิธีลดความเสี่ยงลง และ 7.การพัฒนาบุคลากร มารับผิดชอบงานด้านซัพพลายเชน และสร้างวัฒนธรรมในองค์กรให้เข้าใจเรื่องซัพพลายเชน
บริษัทที่จะ ประสบความสำเร็จเรื่องซัพพลายเชนได้นั้น ผู้บริหารองค์กรต้องเห็นว่า การบริหารจัดการซัพพลายเชน ถือเป็นหัวใจสำคัญของกลยุทธ์การดำเนินงานของบริษัท คนที่รับผิดชอบเรื่องซัพพลายเชนจะต้องสามารถบริหารจัดการสร้างมูลค่าเพิ่ม ให้แก่สินค้าและบริการ เพื่อให้องค์กรมีผลประกอบการที่ดีขึ้นได้ โดยแต่ละองค์กรต้องออกแบบซัพพลายเชนให้เหมาะสม โดยอาศัยกลยุทธ์การบริหารซัพพลายเชน 7 ประการ เพื่อขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความสำเร็จ
ถ้าหากองค์กรไทยต้องการแข่ง ขันได้กับองค์กรทั่วโลก องค์กรไทยต้องปรับขีดความสามารถด้านซัพพลายเชนให้อยู่ในระดับยอดเยี่ยมที่ สุดในภาคอุตสาหกรรมเดียวกัน เพราะทุกวันนี้องค์กรไทยมิได้ดำเนินธุรกิจอยู่กับบริษัทในประเทศเท่านั้น แต่เริ่มขยายธุรกิจสู่ประเทศอื่น ๆ และพัฒนาสู่การเป็นบริษัทข้ามชาติในตลาด เกิดใหม่ ดังนั้นจึงต้องพิจารณาถึงความต้องการและสภาพการณ์ทางธุรกิจในประเทศอื่น ๆ ด้วย